ประเพณีลากพระหรือชักพระ

เป็นประเพณีสำคัญหนึ่งของภาคใต้ จัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (หลังวันออกพรรษา) เป็นเรื่องราวตามพุทธประวัติในตอนที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ ซึ่งชาวเมืองได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบก แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้ถือเป็นประเพณีลากพระ หรือชักพระสืบมา ต่อมาเมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น จึงนำพระพุทธรูปมาแห่แทนพระพุทธองค์ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็มีการลากพระต่างกัน มีทั้งการลากพระทางน้ำ และการลากพระพระทางบก ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของชุมชนว่าตั้งอยู่ใกล้กับการคมนาคมทางใด หากอยู่ใกล้น้ำมักจัดการลากพระทางน้ำ หากอยู่ไกลจากน้ำมักลากพระทางบก

ประเพณีลากพระของวัดโคกเหรียง มีความโดดเด่นในเรื่องเรือพระ เพราะประยุกต์ให้เกิดความสวยงามทั้งในเรื่องรูปแบบศิลปะ การรักษาขนบตามความเชื่อ และการนำครื่องยนต์กลไกมาใช้ ซึ่งวัดและชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างและตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม นอกจากแสดงให้เห็นถึงศรัทธาที่มีต่อศาสนาแล้ว ยังแสดงถึงพลังสามัคคีของชุมชนที่ร่วมมือกันสร้างเรือพระจนถึงการลากเรือพระซึ่งต้องอาศัยคนจำนวนมาก และยังเกิดความสุข ความสนุกสนานจากการได้พบปะพูดคุยหยอกล้อกัน

ผู้ร่วมเวทีเสวนา

พระครูประโชติธรรมรักษ์

วัดละไม

พระศักรินทร์ สิริภทฺโท

วัดพะโคะ

นายอนันต์ ปานรังษี

ผู้สร้างเรือพระของวัดโคกเหรียง

นายธีระ จันทิปะ

สถาบันทักษิณคดีศึกษา