การรำกริช

ถือว่าเป็นกระบวนการขั้นตอนหนึ่งในการทำกริช เมื่อทำกริชเสร็จ ช่างทำกริชจะนำมาทดลองร่ายรำเพื่อทดสอบความคล่องตัวในการใช้ นอกจากนั้น การรำกริชยังถือเป็นการออกกำลังกายผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการทำกริชอีกด้วย โดยเฉพาะการแกะสลักหัวกริช ซึ่งเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความละเอียดประณีตสูง ช่างทำกริชจะต้องนั่งนิ่งใช้สมาธิ และใช้กำลังข้อมือเป็นเวลานาน ทำให้เมื่อยชา การรำกริช จึงเป็นการช่วยคลายกล้ามเนื้อ คลายเอ็น ทำให้ร่างกายของช่างทำกริชมีสุขภาวะที่ดี

จากท่วงท่าของช่างทำกริช การรำกริช ได้ถูกนำมาใช้เป็นการแสดงศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า ที่เรียกว่า “ซีละ” โดยมีต้นกำเนิดมาจากชวา และได้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการแสดงซีละแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ ซีละกายง ซีละตารี และซีละยาโต๊ะ

ผู้ร่วมเวทีเสวนา

นายตีพะลี อะตะบู

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลตะโล๊ะหะลอ

นายซุลกาฟา อะตะบู

ผู้สาธิตท่ารำกริช

นายสุชล ชูเพ็ง

ประธานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้