Wednesday, 18 September 2013 12:32

De pere en fils

เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอความเป็นอยู่ในสังคมชาวอินเดียการถ่ายทอดความรู้ส่ง ต่อกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน นั่นคือการทำกลอง เครื่องดนตรีชนิดใช้ตีที่มีใช้มากในอินเดีย ในภาพยนตร์จะได้เห็นขั้นตอน กรรมวิธีในการผลิตกลองขึ้นมาสัก 1 ใบต้องใช้ระยะเวลาและความชำนาญอย่า่งมาก และในที่สุดก็สามารถผลิตกลองได้ตามความประสงค์ ขั้นตอนต่างๆล้วนแล้วแต่ทำด้วยมือทั้งสิน ไม่ได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เลย ส่งที่พบเห็นในภาพยนต์นอกจากจะพบกับขั้นตอนการผลิตกลองแล้ว ยังได้พบเห็นความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย

The film presents a society in the Indian knowledge to pass from father to offspring. That is the drum. Instrument that has been hit in India. The film will see the steps. A method of producing a leaflet to drum up some time and expertise to run by. And, in turn, can be produced according to the camera. Procedures and products are all handmade. Do not have the technology to use it. This is seen in the movies will find the process camera. Also found a relationship in the family.

Wednesday, 18 September 2013 12:31

La fiancee

เนื้อหาของภาพยนตร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นที่หมู่บ้านในประเทศอัฟกานิสถาน เนื้อหาเกี่ยวกับวัยรุ่นสตรีมุสลิมสาวอายุประมาณ 15 ปี ชื่อ Ranissa ที่ต้องเตรียมตัวสำหรับการแต่งงานของเธอในอนาคต เนื่องจากเธอได้ถูกหมั้นหมายไว้ก่อนหน้านี้เป็นเวลาร่วมสามปีแล้ว โดยความยินยอมของพ่อแม่เพื่อให้เธอไปเป็นภรรยาคนที่สองของผู้ที่มาหมั้นเธอ ไว้ เธอจะต้องเตรียมตัวเรียนรู้การรับผิดชอบเรื่องต่างๆในครัวเรือน การดูแลเด็ก การเตรียมอาหาร การดูแลฝูงปศุสัตว์ต่อไป

In a village in Afghanistan, a young Muslim woman aged 15, Ranissa, prepares for her wedding. Engaged for three years to a man chosen by her parents to become his second wife, she must start taking responsibility for the household: child care, meal preparation, monitoring of herds.

Sideswri เป็นภัตตาคารอาศรมเบงกอล ภัตตาคารนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกัลกัต ที่ร้านอาหารแห่งนี้เปรียบเสมือนสังคมเล็กๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของอินเดียที่อยู่ด้วยกันเสมือนพี่ น้อง

Sideswri is an ashram bengali restaurant, located in central Calcutta. This micro society shows intense brotherhood.

Wednesday, 18 September 2013 12:28

Enfants de Diraralei : Toilettes, sommeil et jeux

Diraralei เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ บนเกาะ Botel Tobago (ติดกับไต้หวัน) ชาว Yami ที่อาศัยอยู่ที่นี่จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามอายุ กลุ่มผู้สูงอายุจะอาศัยอยู่ในบ้านเดิมชั้นล่าง ส่วนคนหนุ่มสาวมักอาศัยอยู่ชั่วคราวชั้นบนของบ้าน ทั้งสองกลุ่มอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันแต่การดูแลเด็กจะมีความแตกต่างกัน คือพ่อแม่ที่สูงอายุจะดูแลเด็กเป็นอย่างดีโดยผูกเปลญวนแกว่งไกวให้เด็กนอน พร้อมร้องเพลงกล่อมไปด้วยทั้งระหว่างการให้อาหารและและแต่งตัวเด็กได้รับการ สัมผัส ส่วนแม่ที่ยังอายุน้อยจะเลี้ยงลูกด้วยนมขวด และจะให้กล่อมเด็กให้หลับภายในอ้อมแขนของตนเองมากกว่าจะไกวโดยเปล การอาบน้ำจะมีการหยอกล้อเล่นกับเด็กไปพร้อมๆกันสลับกับเสียงหัวเราะภาพยนตร์ พบกับการดูแลเด็กๆของชาว Yami ได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้

Wednesday, 18 September 2013 11:20

Mon papa en guerre

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีประชากรมากกว่า 4 ล้านคนที่ได้รับผลของสงคราม และ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดนั้นเป็นเด็กที่กำลังเรียนหนังสือ ... อดีตของพวกเขาตกอยู่ในความหวาดกลัวจากสงคราม จากช่วงเวลาอันหวาดกลัวพวกเขาเหล่านั้นได้เติบโตมาเป็น พ่อ เป็นลุง เป็นปู่ย่าตายาย ในช่วงเวลานั้นพวกเขามีเพียงดินสอ ปากกา เป็นอาวุธเท่านั้น เรื่องราวที่นำเสนอในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มาจากข้อความที่อยู่ในไดอารี่ และประวัติส่วนบุคคลระหว่างปี 1914 – 1918 เขียนด้วยลายมือของผู้ที่เป็นพ่อที่มีต่อลูกๆของพวกเขา บอกเล่าถึงความหวัง ความหวาดกลัว ถ้อยคำแนะนำ ทั้งน้ำตาและรอยยิ้ม ความรักแท้และบริสุทธิ์ถูกเขียนลงบนบันทึกทุกๆวันระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เก็บไว้ด้วยความหวงแหนเหมือนกับสมบัติที่มีค่าอย่างยิ่ง

Wednesday, 18 September 2013 11:18

Pierre Perrault : La trilogie de l'ile-aux-Coudres

Pierre Perrault เกิดที่เมือง Montreal รัฐ Quebec ประเทศแคนาดา Pierre เรียนหนังสือทางด้านกฎหมายก่อนที่จะผันตัวเองไปสร้างภาพยนตร์และเขียน หนังสือตามที่ตัวเองชอบ เขาสนใจเรื่องราวที่เป็นความจริงมากกว่าลักษณะของนิยาย ดังนั้นภาพยนตร์ที่เขาสร้างจึงเป็นเรื่องราวจริงของผู้คนที่เกิดขึ้น และจากการที่เขาได้พบกับชาวบ้านที่ IIe-aux-Coudres และได้สัมผัสกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ได้เห็นการเรียนรู้การใช้ชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งต่างจากพวกเราที่ต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตด้วยการอ่าน Pierre มีผลงานภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นหลายเรื่องด้วยกันได้ อาทิ "For the rest of the world" ในปี 1963 ซึ่งเป็นเรื่องราวของชาวประมงที่พยายามจะช่วยกันรื้อฟื้นการประมงบริเวณ ท่าเรือที่ถูกละทิ้งมาเป็นเวลานาน "The Reign of the Day" ในปี 1967 เป็นเรื่องของการเดินทางในยุโรป และเรื่อง "water cars" ในปี 1968 เป็นต้น ติดตามประวัติพร้อมผลงานของเขาได้

Wednesday, 18 September 2013 11:17

Grass : A nation's battle for life

 

ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้สร้างโดยผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง King Kong เป็นภาพยนตร์ขาวดำ เกี่ยวกับเรื่องราวการเดินทางของชนเผ่า Bakhtiari ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่ยากจนในประเทศอิหร่าน มีอาชีพเลี้ยงปศุสัตว์ซึ่งต้องเร่ร่อนพาฝูงปศุสัตว์เดินทางผ่านขึ้นภูเขาสูง ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ การเดินทางด้วยเท้าเปล่า เพื่อไปหาดินแดนปศุสัตว์ใหม่สำหรับสัตว์เลี้ยงของพวกเขาที่จะได้อาหารจาก ทุ่งหญ้าสีเขียวก่อนที่ปศุสัตว์ของเขาจะตายจากความหิว ระหว่างการเดินทางท่านจะได้พบกับ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าเร่ร่อนนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้เชื่อมโยงกับภาพยนตร์เรื่อง People of the wind ซึ่งเป็นเรื่องราวของชนเผ่ากลุ่มเดียวกันแต่ต่างยุคสมัย ซึ่งยังคงมีเรื่องราวการเดินทางที่ไม่แตกต่างกัน

 

This documentary follows the journey of the Bakhtiari, a poor nomadic tribe in Iran, as they herd their livestock up snow-covered mountain passes--barefoot--to get to the grazing lands on the other side of the mountains before their animals die from hunger.

Wednesday, 18 September 2013 11:14

People of the wind

 

นี่เป็นภาพยนตร์สารคดีที่ได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ ด้วยเส้นทางที่ยาวไกลมากกว่าสองร้อยไมล์ของแม่น้ำสายยาว ภูเขาสูงที่แทบจะหาทางไปไม่ได้เลย ที่นี่มีเมืองแต่ไม่มีถนน ไม่มีสะพานข้ามลำน้ำ เมื่อเข้ามาแล้วเหมือนจะไม่มีทางกลับไปได้เลย กลุ่มคนที่มีชื่อเรียกว่า Bakhtiari เป็นชนเผ่าเร่ร่อน ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความทรหดอดทน พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่อันแสนไกลและอันตราย ในทุกๆ ปีประชากรของกลุ่มชนพื้นเมืองนี้ทั้งหญิงชายและเด็ก ประมาณ 500,000 คน พร้อมปศุสัตว์มากกว่าล้านตัว ต้องต่อสู้กับสภาพอากาศอันหนาวเย็นและโหดร้ายตลอดเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งความหนาวเย็นนี้พอๆกับบนเทือกเขาแอลป์และในพื้นที่ของสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อรอเวลาให้ฤดูร้อนและทุ่งหน้าปศุสัตว์กลับมาอีกครั้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำได้สวยงาม การนำเสนอภาพในมุมกว้างที่ตื่นตา การบันทึกเสียงที่ยอดเยี่ยม พบกับความตื่นตาในการเดินทางย้ายถิ่นผ่านภูเขา Zardeh Kuh ลำธารน้ำแข็งอันเย็นเฉียบ ทั้งหมดติดตามได้จาก People of the Wind

Ongka's big moka : The Kawelda of Papua, New Guinea (Disappearing World Series)

Ongka เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่มีความสามารถและเป็นผู้นำของชนเผ่า Kawelka ซึ่งมีถิ่นที่อาศัยกระจายอยู่บนพื้นที่ภูเขาสูงทางภาคตะวันตกเหนือแถบเทือก เขา Hagan ในนิวกินี ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอถึงความพยายามของเขาที่จะจัดให้มีพิธีเฉลิมฉลอง เทศกาลของขวัญและการแลกเปลี่ยนที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่เมือง Moka ปี 1974 Ongka ใช้เวลาในการเตรียมงานกว่าห้าปีในการจัดเทศกาลของขวัญและการแลกเปลี่ยน เขาใช้ความพยายามในการโน้มน้าวผู้คนรวบตัวเพื่อการรวบรวมสิ่งของที่เขาคิด ว่าจะเป็นของขวัญในเทศกาลแลกเปลี่ยน เช่น สุกรจำนวนกว่า 600 ตัว วัว รถจักรยานยนต์ และเงินสดประมาณ 5,500 ปอนด์ เป็นต้น Ongka จึงเป็นตัวอย่างของบุคคลที่น่าจดจำ ภาพยนตร์กำกับเรื่องรายโดยการถ่ายทอดผ่านตัวละครหลักคนนี้และความสำคัญของ สุกรที่ใช้เป็นของแลกเปลี่ยน รวมทั้งศักดิ์ศรีของการมีชีวิตอยู่ของกลุ่มชนเผ่าบนพื้นที่สูงแห่งนี้

Wednesday, 18 September 2013 11:10

La route du betail

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 12 ปี โหลใน Kerala (ในภาคใต้ของอินเดีย), มีการซื้อขายวัวกันมากเพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร การซื้อขายนี้มีตลาดใหญ่อยู่ที่ชายแดนรัฐทมิฬนาดู และในภาคเหนือของอินเดีย ได้แก่ โอริสสา, มัธยประเทศ, ฯลฯ เป็นต้น ทุกวันนี้การซื้อขายน้อยลงและราคาก็ถูกลงมากเนื่องจากมีกฏเข้มงวดห้ามการรับ ประทานอาหารที่มีเนื้อวัว ในการขนส่งวัวไปขายจะมี 2 ทาง คือ การลำเลียงโดยรถบรรทุก และการเดินทางเท้าในภาพยนตร์จะได้พบกับรายละเอียด ฉากของชีวิตประจำวันอื่น ๆ ที่มีฉากของขบวนวัวที่ถูกส่งไปขาย

 

During the past dozen years in Kerala (in southern India), cattle have been primarily sold for beef. The animals are bought in the neighboring state of Tamil Nadu and also in northern India (Orissa, Madhya Pradesh, etc.) where the prices are lower because prohibitions against eating beef are stricter. The two ways in which the cattle are transported, by truck or driven on foot, are described in detail. Scenes of everyday life alternate with scenes of the cattle convoys.

Page 5 of 7