• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1467 times Read more...
Friday, 18 January 2019 14:11

วงจรอุบาทว์

ภาพยนตร์โดย    อิฟฟาน ยูโซะ, อัจญมัล เริงสมุทร, สิกรี มุเสะ

ระยะเวลา 10.50  นาที

เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นในจังหวัดสามชายแดนใต้ สังคมมักจะตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่ามันต้องเกิดจากผู้ก่อการร้ายและมิติทางศาสนา ความจริงของความรุนแรงจึงถูกทำให้เหลือมิติเดียวเท่านั้นวงจรอุบาทว์” เลือกที่จะเล่าเรื่องที่สะท้อนเงื่อน และเหตุของความรุนแรงผ่านในมิติอื่นๆ ที่สังคมอาจมองข้ามไป นอกจากเนื้อหาที่น่าสนใจแล้วหนังเรื่องนี้ยังมีงานโปรดักชั่นที่ปราณีต มีชั้นเชิงชวนติดตามจนไม่อาจละสายตา

 

Tuesday, 20 March 2018 14:15

Day after Day

เรื่องราวของสามีภรรยาสูงอายุคู่หนึ่ง ฝ่ายภรรยาต้องรับมือกับภาวะความจำเสื่อมของสามีที่ขาดหายไปนานเท่ากับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นานเท่ากับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของเขาและเธอ

นิด เด็กสาววัยรุ่นได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้งขณะที่เธอออกกำลังกายอยู่ในสวนสาธารณะ พี่หน่อย พี่สาวของนิดพยายามตามหาและรั้งตัวเธอไว้ ไม่ให้กลับบ้าน แต่ด้วยความเป็นห่วงใครบางคน นิดจึงดึงดันที่จะกลับบ้านให้ได้ ท่ามกลางเส้นทางอันตราย ไม่มีใครรู้ว่านิดรู้สึกอย่างไร และใครกันที่รอคอยเธออยู่ที่บ้าน

ในแถบจังหวัดทางใต้ของมณฑล Guangxi ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ยังมีหมอผี (Shamans) ที่ชาวเผ่านุง Nung เชื่อถือและยังทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรม (Shamanistic) ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดความสงบสุขในชีวิตความเป็นอยู่และในสังคม โดยพิธีจะมีการขึ้นในวันแรกของเดือนทางจันทรคติ หมอผีที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้านจะมาสวด และมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมาเข้ามาร่วมพิธีและคอยดู คำทำนายของหมอผี หากพบว่าจะมีโรคภัยเกิดขึ้นหมอผีจะช่วยจัดการให้ โดยให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือโดยผ่านกระบวนการทางพิธีกรรม (Shamanistic) ของเขาต่อไป

Thursday, 19 September 2013 14:28

Tiger's Apprentice

เรื่องราวการเดินทางของ M. Trinh Nguyen สู่เวียดนาม แผ่นดินแม่ เพื่อบันทึกวิธีการรักษาพื้นบ้านของลุงคนโต ด้วยความสงสัยที่ว่าวิธีการดังกล่าวเป็นเพียง "เวทย์มนต์" อย่างที่ญาติของเธอในสหรัฐอเมริกาได้กล่าวย้ำ หรือว่าลุงของเขาจะเป็นหมอพื้นที่บ้านที่กำลังสาปสูญไป เธอได้มีโอกาสเฝ้าสังเกตคนไข้ และขั้นตอนการรักษา รวมทั้งการผลิตยาสำหรับการบำบัดเนื้องอก เรื้อน และอาการติดเชื้อ เธอยังได้มีโอกาสค้นหาคนไข้ของลุงและพูดคุยกับหมอยาและแพทย์ในท้องถิ่น เธอยังต้องเผชิญกับรัฐบาลเวียดนามในความพยายามที่จะระงับการนำภาพเสียงที่ เธอบันทึกเรื่องราว ด้วยความคิดที่ว่าโลกตะวันตกจะมองการรักษ์เช่นนี้ว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัย ในท้ายที่สุดเธอสำนึกได้ว่าตลอดการค้นหานี้เองที่ทำให้เธอกลายเป็นผู้เริ่ม ฝึกหัดการรักษา

Thursday, 19 September 2013 14:08

Shamans of Siquijor : The Healers

จากระยะทางกว่าสามร้อยไมล์ไปทางตอนใต้ของกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นพื้นที่เขตร้อนชื้น เป็นที่ตั้งของเกาะชื่อ Siquijor ณ ที่แห่งนี้มีชื่อเสียงทางด้านการรักษาพยาบาลแบบดั้งเดิม การรักษาแบบนักมายากล และการรักษาโดยพ่อมดหมอผี "การรักษาโดย Shamans เป็นรักษาด้วยวิธีปฏิบัติตามความเชื่อของพวกเขา ผนวกกับคำแนะนำที่เชื่อว่ามาจากโลกที่อยู่เหนือธรรมชาติ ส่วนหมอพื้นบ้านดั้งเดิมจะรักษาโรคโดยใช้สมุนไพร วิชาอาคม การใช้เวทย์มนตร์และวิธีการอื่นๆ ประกอบกัน ซึ่งการรักษาแบบพื้นบ้านจะยังคงมีคุณค่าสำหรับชีวิตทางสังคมและจิตวิญญาณของ ชุมชนหรือเป็นเพียงประเพณีเก่าที่กำลังจะตายไปหรือไม่ก็ยังไม่เป็นที่ทราบ ได้

การอาบน้ำของทารกในภาคใต้ของอินเดีย เป็นบทบาทที่เกี่ยวข้องของพยาบาลผดุงครรภ์และแม่ตามอายุของทารก โดยมีขั้นตอนและการปฏิบัติ ติดตามชมได้จากภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้

The bathing of infants in southern India. The respective roles of the midwife and mother according to the baby's age.

เมื่อ ค.ศ. 1978 ผู้นำทางศาสนาระดมให้คนบนเกาะบาหลีทำพิธี "ล้างเกาะ" หรือ eka dasa rudra ด้วยการเผาร่างของผู้เสียชีวิต หลายคนต้องใช้พละกำลังในการค้นหา และจัดการสงเคราะห์ศพหมู่ ภาพยนตร์แสดงให้เห็นขั้นตอนของการเตรียมการและลำดับของพิธี การเผา หลังการเผา แลพการลอยอังคารในทะแล้ว นอกจากนี้ ยังมีอรรถาธิบายของผู้เข้าร่วมพิธีจำนวนสี่คน

In 1978, as part of the preparations for the island-wide ceremony eka dasa rudra, religious officials urged all Balinese to cleanse the island by cremating their dead. Many were forced to pool resources and hold group cremation rituals. The film shows preparations for such a ceremony and its cycle of rituals: the cremation, post-cremation and casting of the ashes into the sea. This film includes subtitled comments by four of the participants.

Thursday, 19 September 2013 11:22

Pualasakan : Fete annuelle des chamanes

เป็นพิธีกรรมของกลุ่มหมอผี (Shamans) เรียกพิธีนี้ว่า Pualasakan เกิดขึ้นในหมู่บ้าน Puyuma ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไต้หวัน พิธีจะมีขึ้นตรงกับวันที่สามของเดือนทางจันทรคติ หมอผีเหล่านี้เป็นสตรีที่สามารถติดต่อและสื่อสารกับวิญญาณได้ และให้คำทำนายทายทักแก่ชุมชนได้ พิธี Pualasakan จะดำเนินไปเป็นเวลาแปดวัน ในระหว่างเวลาดังกล่าวพวกเขาจะสร้างความสัมพันธ์ทางจิตใจในกลุ่มของตนเองเอง ด้วย พิธีในวันแรกหมอผีจะทำการบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางในห้องพักของบ้านก่อนเริ่ม พิธี ในวันที่สองที่พวกเขาย้ายจากหมู่บ้านไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อการชำระ ล้างจิตวิญญาณ ในวันที่สามพวกเขาไปที่แม่น้ำเพื่อชำระล้างตัวเอง วันที่สี่เป็นการปฏิบัติต่อเนื่องจากวันก่อน ในวันที่ห้าที่พวกเขาเรียกวิญญาณของผู้ช่วยเหลือจากชายหาดเพื่อให้พวกเขา กลับไปยังหมู่บ้าน และเย็นวันนั้นพวกเขาทำถุงเพื่อใช้ในพิธีกรรม ในวันที่หกเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับถึงที่ใช้ในพิธีกรรม ในวันที่เจ็ดของพวกเขาออกไปในสวนสมุนไพรสำหรับการเลือกเก็บใ่ส่ถุงเพื่อนำมา ใช้ประโยชน์ มีการจัดเลี้ยงและมอบของขวัญให้กับชาวบ้านและการร้องรำทำเพลง วันสุดท้ายของพิธีกรรมเป็นเรื่องราวของการเดินทางที่เหนือธรรมชาติในโลกของ บรรดาหมอผีที่ล่วงลับไปแล้ว

Thursday, 19 September 2013 11:16

Murugmalla

ใน Murugmalla ทางตอนใต้ของอินเดีย, สุสาน ("dargha") ของนักบุญมุสลิมซูฟีได้กลายเป็นสถานที่ของการแสวงบุญผู้ป่วยที่มาเพื่อ แสวงหาการบำบัดโรคที่เป็นอยู่

In Murugmalla, in southern India, the tomb ("dargha") of a Sufi Muslim saint has become a place of pilgrimage where the sick come to seek healing.

Page 1 of 3