• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1440 times Read more...

ภาพยนตร์โดย    อับดุลการีม หะมะ, อิรฟาน รีดน, เฟอดินันต์ ยือโร๊ะ

ระยะเวลา 10.20 นาที

หนังแนว Coming of Age ของเด็กผู้ชายมุสลิมในเมืองหลวง ที่ถูกส่งไปอยู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความหวาดกลัว กริ่งเกรง และไม่วางใจต่อสถานที่และผู้คนที่นั่น จะคลี่คลายหรือขมวดปมให้เพิ่มขึ้นมากน้อยหรือไม่เพียงใด และมีเงื่อนไขอะไรมาสร้างประสบการณ์ให้ชีวิตในวัยเปลี่ยนผ่านนี้ “สัมผัสที่อบอุ่น” นำประสบการณ์นั้นมาถ่ายทอดไว้อย่างละมุนละไม

ภาพยนตร์โดย    ทีมนาซิกาบูโปรดักชั่น ซาการียา แม, อัมมัร มะลาเฮง, อิลหาม มะนะแล 

ระยะเวลา 10 นาที

เรื่องราวของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่สมาชิกมีความหลากหลายทางความเชื่อ ความศรัทธา และความแตกต่างทางศาสนา แต่ต้องมาทำสารคดีร่วมกัน แน่นอน การปฏิสัมพันธ์กันย่อมมีทั้งความขัดแย้ง ความเห็นต่าง ความไม่เชื่อและไม่ใช่ต่อกันและกัน  หนังเรื่องนี้จะบอกให้เรารู้ว่าพวกเขาจะมีวิธีขัดกันฉันมิตรอย่างไร

 

Friday, 18 January 2019 14:04

45 องศา

ภาพยนตร์โดย    นาธิป ทองจันทร์ และ อัฐพล ปิริยะ

ระยะเวลา 11  นาที

“จะเป็นอย่างไรเมื่อมอง “ความเป็นอื่น” โดยใช้ภาพสะท้อนจากสุนัข” นี่คือโจทย์ที่ทีมทำหนังเรื่องนี้วางไว้ 45  องศา จึงเป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องผ่านสายตาของหมา ในจังหวัดชายแดนใต้มุมมองของหมาจะพาเราไปเรียนรู้ เข้าใจ ครุ่นคิด ตีความ อะไรในจังหวัดชายแดนใต้ หนังเรื่องนี้กำลังชี้ชวนและเชิญชม

Tuesday, 20 March 2018 14:36

อันนิส (Annis)

อันนิส เด็กสาวมุสลิม ขออนุญาตพี่สาวไปเล่นที่บ้านพลอยเพื่อนบ้านชาวพุทธ ที่เพิ่งรับสุนัขบาดเจ็บตัวหนึ่งมาดูแล อันนิสอาสาช่วยพลอยทำแผลให้สุนัข เมื่อพี่สาวของอันนิสกลับมาเห็นเธอจับสุนัขเข้าพอดี  อันนิสจะต้องรับมือกับพี่สาวที่ไม่พอใจ และจัดการความรู้สึกที่มีต่อพลอยและเจ้าสุนัขตัวนั้น

หนังสั้นที่ชวนผู้ชมตั้งคำถามเกี่ยวกับ “มลายูมุสลิม” ผ่านวิถีอิสลาม ที่มีฉากหลังเป็นเรื่องราวและบรรยากาศในพื้นที่ที่งดงามชวนให้ติดตาม และชวนสำรวจว่าสิ่งที่เราได้รับรู้และได้ยินเกี่ยวกับมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แท้จริงแล้วเป็น “ความเห็น” หรือ “ข้อเท็จจริง” กันแน่

เรื่องราวในโรงเรียนสุดวุ่นของเพื่อนร่วมห้องต่างศาสนา คนหนึ่งพุทธ อีกคนมุสลิม ที่ขัดแย้งกันด้วยเรื่องของภาษา เมื่อคนหนึ่งไม่พูดภาษาไทย อีกคนก็ฟังภาษามลายูไม่เข้าใจ ความขัดแย้งนี้บานปลายจนเกือบนำไปสู่การใช้ความรุนแรง

Tuesday, 20 March 2018 14:20

ฮิญาบ (Hijab)

หญิงสาวชาวพุทธ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปปัตตานีในช่วงพลบค่ำ ท่ามกลางผู้โดยสารมุสลิม ความมืดมิด และเสียงสื่อสารด้วยภาษาที่เธอไม่เข้าใจ รวมกันเป็นความหวาดระแวง และหวาดกลัวอันตรายจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้น เธอจะจัดการความรู้สึกและแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร

แบและสุฤทธิ์ เป็นเพื่อนรักกันแต่เด็ก เวลาทำให้พวกเขาห่างกัน แต่เวลาก็นำพาให้พวกเขากลับมาพบกันอีกครั้ง  พร้อมกับจุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิตของสุฤทธิ์

Monday, 16 September 2013 16:38

Il etait une fois en France

At the beginning of the 80s, young students from the Maghreb put the first ranging-poles of the Movement Beur. Bathed by the leftist sphere of influence, this Second Generation tries to become emancipated and to go out of the social and mental ghetto in which it survives for a long time. This movement is 20 years old today: what is its inheritance? These "walkers" of the 80s didn't manage to pass on this need, this will to involve in the social, political and cultural world. Today, they tell us their feelings, their hopes, their regrets, concerning a critical and subjective glance this movement and the political and social disengagement of the 3rd generation. Many young people from immigration have difficulty in finding their place as citizen. 20 years later persist a feeling of faintness and a distrust towards the also perceptible political. Faintness also perceptible with the former of the Beur Movement who regret this absence of political transmission between the generations.

Monday, 16 September 2013 16:29

Les enfants du pays

ประมาณเดือนพฤษภาคม ปี 1940 ที่เมือง Ardennes ประเทศฝรั่งเศส ช่วงนั้นกองทัพเยอรมันกำลังเตรียมตัวที่จะบุกฝรั่งเศส ชายชราชื่อ Gustave ซึ่งอาศัยอยู่ตามลำพังในหมู่บ้านกับหลานสาวชื่อ Camille และหลานชายชื่อ Etienne ช่วงนั้นคนในหมู่บ้านได้อพยพออกจากหมู่บ้านไปหมดแล้ว Gustave จึงดูมีความสุขมากเพราะเหลือเขาเป็นใหญ่สุดในหมู่บ้าน สำหรับ Etienne นั้นไม่ได้มีความวิตกทุกข์ร้อนอะไรเพราะเขายังเป็นเด็กเกินไป มีแต่ Camille เท่านั้นที่เริ่มรู้สึกเหงาและเบื่อหน่ายที่จะต้องทนกับความเห็นแก่ตัวและ ความน่าเบื่อหน่ายของคุณปู่ของเธอ แต่มาวันหนึ่งเรื่องราวเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อมีทหารสัญชาติแอฟริกันได้ลาด ตระเวนเข้ามาที่หมู่บ้านร้างแห่งนี้ ติดตามเรื่องราวทั้งหมดได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้

Page 1 of 4