• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1440 times Read more...

สารคดีนำเสนอวงเสวนาของบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ชั้นนำ ศิลปิน และนักชาติพันธุ์วรรณนา เกี่ยวกับอนาคตของมานุษยวิทยาทัศนา เวทีดังกล่าวจัดขึ้นที่ Temple University โดยเน้นคำถามเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างผู้ที่ทำงานในสายนี้ สุนทรียะ การใช้สื่อสมัยใหม่ และการสร้างวิถีทางในการทำงานที่ใช้มุมมองของหลายสาขาวิชาไม่ว่าจะเป็น มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ผู้เข้าร่วมเสวนาสร้างบทสนทนาที่โดดเด่น และเกี่ยวเนื่องกับวาระในอนาคตของมานุษยวิทยาทัศนาที่อาศัยมุมมองจากหลาย สาขาวิชาในยุคของโลกาภิวัตน์ บทโต้ตอบต่างๆ เป็นประโยชน์ทั้งในเชิงปฏิบัติการและมุมมองทางทฤษฎี ผู้เข้าร่วมการเสวนาประกอบด้วย Phillip Alperson, Kelly Askew, Rebecca Baron, Michel Brault, Kathy Brew, Roderick Coover, Jayasinhji Jhala, Paul Stoller, and Lucien Taylor, Warren Bass, Noel Carroll, Kimmika Williams และอื่นๆ

Wednesday, 18 September 2013 12:49

Style wars

ภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับงานศิลปะที่เรียกว่า Graffiti ในรถไฟใต้ดินของนิวยอร์กซิตี้ ประมาณต้นทศวรรษ 1980 ผลงานเรื่องนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างสวยงาม เพลงประกอบที่ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์จับสาระสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองหลังจากปี 1970 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของนายกเทศมนตรี Mayor Kotch ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยอดเยี่ยมในด้านการศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้น เนื่องจากสามารถศึกษาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้หลายระดับ จึงทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมกระแสของวัฒนธรรมแบบนี้มันจึงเกิดขึ้นและ อะไรทำให้มันสำเร็จได้ ช่วยให้ได้เข้าใจถึงเหตุผลทางจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลัง ลักษณะเฉพาะของมนุษย์ สิทธิในอาณาเขต การแสวงหาและความต้องการการได้รับการยอมรับ มันแสดงออกทางศิลปะ Graffiti ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อสังคม ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ได้รับรางวัลกรังด์ปรีด์สารคดียอดเยี่ยมในปี 1983 จากเทศกาลภาพยนตร์ Sundance Film Festival. ดังนั้น STYLE WARS จึงถือว่าเป็นเอกสารที่ขาดไม่ได้ในการศึกษาวัฒนธรรม New York Street

Wednesday, 18 September 2013 12:44

Style wars plus, Style wars revisited

เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มวัยรุ่นนักวาดภาพ ที่เรียกว่า Graffiti ในนิวยอร์กซิตี้และกลุ่มนักเต้นแนวใหม่ประเภท hip-hop, b-boys พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงออกในกิจกรรมที่พวกเขามีความสามารถ แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งาน Graffiti ในพื้นที่โดยรอบนิวยอร์กซิตี้ ซึ่งทำให้เกิดข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมและความสวยงามของศิลปะประเภทดังกล่าว มีความขัดแย้งกันระหว่าง Graffitists และฝ่ายผู้ปกครอง รวมทั้งกลุ่ม Graffitists ด้วยกันเอง การหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน ด้วยความยิ่งใหญ่ของงาน Graffiti, b-boys และ hip-hop จากนิวยอร์กจึงทำให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นอกจากนี้ภาพยนตร์ได้นำเสนอผลงาน Graffiti รูปแบบ Style wars และบทสัมภาษณ์ด้วย

ภาพยนตร์นำเสนอข้อมูลภาพเก่าประกอบกับข้อมูลที่ Georges Condominas ได้ศึกษาไว้เมื่อครั้งที่เขาได้เข้าไปศึกษาเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ Mnong Gar ที่ Sar Luk ตอนกลางของเวียตนาม ซึ่งเป็นเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้มีภาพที่หาดู ได้ยาก เช่นประเพณีเกี่ยวกับความตาย เป็นต้น

Films presented in conjunction with the Georges Condominas old when the study was to study the story of the Sar Luk Mnong Gar ethnic group in central Vietnam. This is the story of the life of the ethnic groups that are rare. The traditions about death and so on.

อธิบายถึงการผลิตเครื่องมือจากหินและวิธีการใช้งานในการเกษตรและการยังชีพของชาว Ye - Ineri ในอินโดนีเซีย

Describes the manufacture of ceremonial stone axes and their use in the subsistence agriculture practiced by the villagers of Ye-Ineri

ภาพยนตร์ Nanook of the North ออกฉายเมื่อปี 1922 เป็นผลงานของ โรเบิร์ต เจ.ฟลาเฮอร์ตี้ (Robert J.Flaherty) หนุ่มอเมริกันนักสำรวจแร่ในอ่าวฮัดสัน แคนาดา ที่บันทึกภาพวิถีชีวิตของนานุค (Nanook) และครอบครัวซึ่งเป็นชาวอินนูอิต (Inuit ชื่อเรียกเอสกิโมในแถบอลาสก้าตอนเหนือ แคนาดา กรีนแลนด์) ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของฟลาเฮอร์ตี้และเชื่อกันว่าเป็นภาพยนตร์สารคดีขนาดยาวเรื่องแรกของโลก

ภาพยนตร์ Nanook of the North ได้ถ่ายทำใกล้ๆกับ Inukjuak ในอ่าวฮัดสันทางเหนือของเมืองควิเบกประเทศแคนาดา งานที่ผลิตขึ้นมีลักษณะเป็นผู้สังเกตการณ์ (observational) และเป็นนักสำรวจในคาบสมุทรอาร์กติกของแคนาดา Flaherty เองคุ้นเคยกับชาวอินนูอิตในพื้นที่อยู่แล้วจึงทำภาพยนตร์ที่เกี่ยวชีวิตประจำวันของคนเหล่านี้ ก่อนหน้านี้ Flaherty ได้ถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่นี้มาก่อน แต่วิดีโอที่ถ่ายไว้ถูกไฟไหม้เพราะเขาทิ้งก้นบุหรี่ลงบนแผ่นฟีล์มของเขาเอง Flaherty จึงต้องถ่ายทำ Nanook of the North ขึ้นมาใหม่ โดยได้รับทุนอุดหนุนจากบริษัทผลิตขนสัตว์ของประเทศฝรั่งเศส ภาพยนตร์ได้ถูกถ่ายทำระหว่างเดือนสิงหาคม 1920 ถึงสิงหาคม 1921

This classic film focuses on an ‘Eskimo’ hunter and his family as they struggle for survival against the harsh forces of nature in the Canadian artic. This film was Flaherty’s first film and has been widely acclaimed as the first full length documentary film. The film was shot near Inukjuak, on Hudson Bay in northern Quebec, Canada. Having worked as a prospector and explorer in Arctic Canada among the Inuit, Flaherty was familiar with his subjects and set out to document their lifestyle. Flaherty had shot film in the region prior to this period, but that footage was destroyed in a fire started when Flaherty dropped a cigarette onto the original camera negative (which was highly flammable nitrate stock). Flaherty therefore made Nanook of the North in its place. Funded by French fur company Revillon Frères, the film was shot from August 1920 to August 1921.

 

 

Wednesday, 18 September 2013 12:39

Petit a petit

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของ Damouré ผู้จัดการบริษัท นำเข้า / ส่งออกสินค้าในเมือง Ayorou ชื่อว่า "Petit à Petit" มีความคิดที่จะบ้านกล่องสำเร็จรูปส่งไปขายที่ปารีส ดังนั้นเขาจึงเดินทางไปหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ปารีส ในเมืองเขาได้พบวิถีความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากที่เขาอยู่เดิมอย่างสิ้นเชิง นอกจากตัวเองแล้ว Damoure ได้ชวนเพื่อนร่วมงานมาสัมผัสวิถีชีวิตในกรุงปารีสด้วย ทั้ง 2 ใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง ทั้ง 2 คนได้ตกหลุมรักกับหญิงสาวชาวกรุง ต่อมาทั้งหมดตัดสินใจเดินทางกลับแอฟริกาและได้สร้างบ้านใหม่ขึ้น แต่หญิงสาวทั้งสองที่มาอยู่ใหม่ก็ไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตในสังคมนี้ได้จึง เดินทางกลับไป ทั้งนี้เนื่องจากความไม่คุ้นชินกับสังคมที่นี่ พวกเขายังต้องการอยู่ในสังคมยุคใหม่ต่อไป

Wednesday, 18 September 2013 12:38

The sharkcallers of Kontu

ในปาปัวนิวกินี ที่หมู่บ้านชายฝั่งทะเลชื่อ Kontu มีชาวประมงที่สามารถฆ่าฉลามด้วยมือเปล่าของพวกเขา ... ชาวประมงที่นี่มีคุณลักษณะพิเศษที่พวกเขาสามารถจะล่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้ ด้วยมือเปล่า พวกเขาเชื่อในจิตวิญญาณของบรรพบุรุษที่ทำให้เขาสามารถทำเช่นนี้ได้ แต่เมื่อความเจริญเข้ามาพร้อมกับการศึกษาทางแบบการศึกษาแบบตะวันตก เรื่องเศรษฐกิจและศาสนาคริสต์ที่เผยแพร่เข้ามา ความเชื่อที่มีอยู่ก็ไม่ได้เลือนหายไป จิตวิญญาณของบรรพบุรุษยังอยู่กับความเชื่อของผู้สูงอายุด้วยความสุขต่อไป

Wednesday, 18 September 2013 12:34

Family portrait sittings

ภาพยนตร์นำเสนอภาพครอบครัวที่เป็นภาพประวัติศาสตร์ของครอบครัวผู้สร้าง ภาพยนตร์เรื่องนี้ ต้นกำเนิดของพวกเขาอยู่ที่เมือง Abruzzi ในประเทศอิตาลี ต่อมาได้อพยพเข้าเมืองไปยังสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการต่อสู้ของพวกเขา และช่วงการเติบโตของรุ่นเด็ก ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของบุคคลใน 2 ยุค คือรุ่นปู่ย่าตายายที่เป็นผู้อพยพและรุ่นเด็กที่เติบโตขึ้นเป็นชาวอเมริกัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อีกทั้งยังเป็นเรื่องราวของผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เองซึ่งเติบโตในยุค fifties ภาพยนตร์ไม่เพียงแต่จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวเท่านั้น แต่พวกเขายังได้เล่าถึงเรื่องราวที่มีคุณค่าอื่นอีก อาทิ ศาสนา การเมือง และการศึกษา มันเป็นเรื่องราวของการต่อสู้ชีวิตของพวกว่าทำอย่างไรให้ปรับตัวได้ และทำอย่างไรให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้ ภาพยนตร์เรื่อง Family Portrait Sittings จึงไม่ได้เป็นเรื่องราวเฉพาะบุคคลดังที่ปรากฏในภาพยนตร์ที่พวกเขาประสบความ สำเร็จและมีความสุขเท่านั้น แต่มันได้แสดงถึงความอดทนและการเปลี่ยนแปลงในรุ่นหนึ่งที่จะเป็นหนทางทาง เดินไปข้างหน้าต่อไป

Wednesday, 18 September 2013 11:18

Pierre Perrault : La trilogie de l'ile-aux-Coudres

Pierre Perrault เกิดที่เมือง Montreal รัฐ Quebec ประเทศแคนาดา Pierre เรียนหนังสือทางด้านกฎหมายก่อนที่จะผันตัวเองไปสร้างภาพยนตร์และเขียน หนังสือตามที่ตัวเองชอบ เขาสนใจเรื่องราวที่เป็นความจริงมากกว่าลักษณะของนิยาย ดังนั้นภาพยนตร์ที่เขาสร้างจึงเป็นเรื่องราวจริงของผู้คนที่เกิดขึ้น และจากการที่เขาได้พบกับชาวบ้านที่ IIe-aux-Coudres และได้สัมผัสกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ได้เห็นการเรียนรู้การใช้ชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งต่างจากพวกเราที่ต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตด้วยการอ่าน Pierre มีผลงานภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นหลายเรื่องด้วยกันได้ อาทิ "For the rest of the world" ในปี 1963 ซึ่งเป็นเรื่องราวของชาวประมงที่พยายามจะช่วยกันรื้อฟื้นการประมงบริเวณ ท่าเรือที่ถูกละทิ้งมาเป็นเวลานาน "The Reign of the Day" ในปี 1967 เป็นเรื่องของการเดินทางในยุโรป และเรื่อง "water cars" ในปี 1968 เป็นต้น ติดตามประวัติพร้อมผลงานของเขาได้

Page 1 of 2