• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1440 times Read more...
Friday, 18 January 2019 14:18

สติ

ภาพยนตร์โดย    ฮาฟิซ หละบิลลา, อัฟฟาน ดอลี, อับดุลเราะมาน อาแวกือจิ

ระยะเวลา 7 นาที

ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอชีวิตของ “หญิงบ้า” หรือ ผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ชีวิตอยู่ในสี่จังหวัดชายแดนใต้ คนชายขอบในสังคมชายขอบ ถูกตีความ พิพากษาแตกต่างจากพื้นที่อื่นหรือไม่อย่างไร

 

Friday, 18 January 2019 14:11

วงจรอุบาทว์

ภาพยนตร์โดย    อิฟฟาน ยูโซะ, อัจญมัล เริงสมุทร, สิกรี มุเสะ

ระยะเวลา 10.50  นาที

เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นในจังหวัดสามชายแดนใต้ สังคมมักจะตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่ามันต้องเกิดจากผู้ก่อการร้ายและมิติทางศาสนา ความจริงของความรุนแรงจึงถูกทำให้เหลือมิติเดียวเท่านั้นวงจรอุบาทว์” เลือกที่จะเล่าเรื่องที่สะท้อนเงื่อน และเหตุของความรุนแรงผ่านในมิติอื่นๆ ที่สังคมอาจมองข้ามไป นอกจากเนื้อหาที่น่าสนใจแล้วหนังเรื่องนี้ยังมีงานโปรดักชั่นที่ปราณีต มีชั้นเชิงชวนติดตามจนไม่อาจละสายตา

 

Sunday, 15 September 2013 23:12

Tabu

ภาพยนตร์เรื่อง Tabu ถูกสร้างโดยผู้กำกับ 2 คน คือ F.W. Murnau ผู้สร้าง Nosferatu, Sunrise และ Robert Flaherty ผู้สร้าง Nanook of the North ภาพยนตร์เรื่อง TABU ถ่ายทำที่ตาฮิติ Tabu เป็นเรื่องราวของชาวเกาะและความรักของหนุ่มสาวชาวที่มีต่อกัน ภาพยนตร์นำเสนอวิถีชีวิตความเป็นอยู่โดยธรรมชาติของชาวเกาะเรื่องราวดู เหมือนจะมีแต่ความสุข แต่ต่อมาหญิงสาวถูกคำสั่งจากหัวหน้าเผ่าให้เป็นหญิงสาวต้องห้ามสำหรับผู้ชาย ทุกคนทำให้ทั้งคู่ไม่สมหวังในความรัก Tabu เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ขาวดำที่งดงามที่สุด และเคยได้รับรางวัลออสการ์ในปี 1931

Sunday, 15 September 2013 23:04

Un coupable ideal

เป็นภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับรางวัลออสการ์มีเนื้อหาเกี่ยวของกับวัยรุ่น ผิวสีชาวอเมริกันอายุ 15 ปี ที่ถูกจับกุมที่ Jacksonville รัฐฟลอริดา เขาถูกกล่าวหาว่าเข้าไปขโมยของและฆ่านักท่องเที่ยวหญิงสูงอายุที่โรงแรม ฟลอริด้า ภาพยนตร์จะนำท่านไปพร้อมกับทีมงานป้องกันสิทธิของวัยรุ่นเพื่อติดตามความ จริงที่เกิดขึ้นกับผู้ต้องหา ติดตามกระบวนการทำงานหาความจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางศาลของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งผลการสอบสอนออกมาจึงพบว่า Brenton Butler ผู้ต้องหาเป็นเพียงแค่เหยื่อเท่านั้นเอง

Sunday, 15 September 2013 22:47

La haine

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่นชาวฝรั่งเศส 3 คน ในย่านชานเมือง Ghetto โดยภาพยนตร์ได้ดำเนินเรื่องติดชีวิตของพวกเขาในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงว่าพวก เขาทำอะไรกันบ้าง Vinz เด็กหนุ่มชาวยิว Said เด็กหนุ่มชาวอาหรับ และ Hubert นักมวยผิวสี ทั้งหมดเติบโตขึ้นท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติและการกดขี่ ด้วยกำลังจากตำรวจ จุดแตกหักของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อมีการจลาจลเกิดขึ้นและปืนของเจ้าหน้าที่ ตำรวจหายไป ปรากฏว่า Vinz เก็บมันได้ และจากการปะทะกันเพื่อนของได้รับบาดเจ็บ Vinz จึงตั้งใจว่าจะฆ่าตำรวจถ้าเพื่อนของเขาเสียชีวิตจากฝีมือของตำรวจ

Sunday, 15 September 2013 22:29

Half life : a parable for the nuclear age

ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอข้อมูลที่เปิดเผยผลกระทบจากการทดลองระเบิด นิวเคลียร์ของสหรัฐที่หมู่เกาะมาร์แชลล์ และหมู่เกาะเล็ก ๆ กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ภาพยนตร์ได้รวบรวมข้อมูลและวิดีโอจากหอจดหมายเหตุของกระทรวงกลาโหมเรื่อง Bravo Nuclear Test พร้อมกับการสัมภาษณ์ผู้คนที่ได้รับผลกระทบและได้รับการรักษาจากรังสีของ ระเบิด การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์นี้ทำเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ใกล้เกาะ Bikini แต่ผลการตรวจสอบพบว่าคนที่อาศัยในหมู่เกาะ Rongelap และ Utirik Atolls ก็ได้รับผลกระทบด้วย และไม่ได้รับการตรวจจากผลกระทบนี้ในเบื้องต้นด้วย ทั้งที่กองทัพเรือในบริเวณใกล้เคียงได้รายงานเข้ามาว่ามีละอองเล็กๆตกใน พื้นที่ด้วยเหล่านั้น จากเหตุการณ์นี้เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากลมที่พัด เปลี่ยนทิศทาง หลักฐานที่รวบรวมในภาพยนตร์เรื่อง Half - Life นี้ ทำให้อเมริกาถูกประณามอย่างมาก เพราะผลกระทบได้เกิดขึ้นกับประชาชนบนหมู่เกาะมาร์แชลล์ที่ได้ผลกระทบและ ต้องกลายมาเป็นเหยื่อ ซึ่งไม่ต่างจากเหยื่อสงครามนั่นเอง

ในปี 1998 บริษัทลีวายส์ประกาศการปรับโครงสร้างบริษัทในแถบยุโรปโดยจะย้ายฐานผลิตในประ เทศเบลเยี่ยมและฝรั่งเศสออก คนงานทั้งหมดจะต้องตกงานโดยเหลือเวลาทำงานอีกเพียงเดือนเดียว ในขณะที่โรงงานในประเทศตุรกี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และที่อื่นก็ไม่ได้รับเงินตอบแทนเพิ่ม แต่ก็ยังไม่รุนแรงเท่ายุโรป พบชีวิตการต่อสู้ของคนงานโรงงาน Levi’s ซึ่งท้ายสุดโรงงานก็ปิดและย้ายฐานการผลิตไปยังแถบประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า รวมทั้งจ้างบริษัทรายย่อยผลิต ทำให้คนงานสตรีจำนวนมากต้องตกงาน ติดตามการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้

Sunday, 15 September 2013 21:56

Runaway

ภาพยนตร์เป็นการนำเสนอเรื่องจริงของสตรีชาวอิหร่านในกรุงเตหรานที่หนีออกจาก บ้านมาอาศัยอยู่ในบ้านพักพิงเพื่อนำพาตัวเองออกมาสู่ความเป็นอิสระจากการถูก ทารุณกรรมจากครอบครัวของตนเอง เช่น ถูกพ่อทำร้าย พี่ชายทำร้าย ผู้สร้างต้องการนำเสนอให้เห็นถึงลักษณะของครอบที่ผู้ชายเป็นใหญ่ซึ่งมักจะมี ผลต่อบุตรสาว รวมทั้งสตรีคนอื่นในครอบครัว ในภาพยนตร์เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งในสังคมชนบทของประเทศน่าจะมีปัญหามากกว่าที่เห็นก็ได้

Sunday, 15 September 2013 21:31

The Day I Will Never Forget

สารคดีนำเราไปรู้จักกับมุมมองจากท้องถิ่นในการถกเถียงถึงการขลิบอวัยวะเพศ หญิงในสังคมเคนยา Massai และ Somali เป็นสังคมของผู้นับถือมุสลิม และมีประชากรบางส่วนที่นับถือคริสต์เอวองจิล เพิ่งลงมติรับรองกฎหมายห้ามมิให้การขลิบอัวยวะเพศของเด็กหญิง ทั้งนี้ โดยปราศจากความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ภาพยนตร์เริ่มต้นเรื่องราวของ Fardhosa นางพยาบาลผู้รณรงค์ต่อสู้อย่างไม่ท้อถอย ในการย้ำให้ผู้คนเห็นอันตรายอันเกิดจากขลิบ ที่มีผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ จากนั้น เราจะไปฟังมุมมองของ Simalo เด็กหญิงชาวมาไซที่หนีจากไนโรบี เมื่อต้องเผชิญหน้ากับแม่ของเขาเองในการจัดการแต่งงานและทำร้ายเธอเมื่อเธอ ไม่ยินยอม ในช่วงท้าย ภาพยนตร์พาเราไปรู้จักกลุ่มเด็กนักเรียนหญิง Marakwet ที่ท้าทายกับพอ่แม่ในการเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมาหลายร้อยปีในชั้นศาล

The documentary explores the local dimensions of the female circumcision debate in Kenyan societies. In a region of Kenya that is home to Muslims, Massai and Somali and crosscut by Christian evangelists, recently passed legislation makes it illegal for a girl to be circumcised without first consenting to the procedure. The film begins with Fardhosa a nurse on a tireless campaign to open people's eyes to the dangers of circumcision, both physical and mental. Next, Simalo, a Maasai runaway girl returns from Nairobi to confront her mother, who was responsible for her mutilation and young marriage.

Sunday, 15 September 2013 21:07

Margaret Mead: Taking Note

เมื่อมาร์กาเร็ต มี้ด เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1978 อาจกล่าวได้ว่า เธอเป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมาก ที่สุดคนหนึ่ง ภาพยนตร์ฉายให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างเรื่องราวส่วนตัวกับคุณูปการทางวิชาการของเธอ โดยอาศัยการสนทนากับเธอก่อนการเสียชีวิต เกี่ยวกับครอบครัวและภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนาม นอกจากนี้ การพูดคุยยังเกี่ยวข้องกับเพื่อนพ้อง ครอบครัว และนักศึกษารุ่นต่างๆ Born in 1901 in Philadelphia, Mead เกิดเมื่อ ค.ศ. 1901 เมืองฟิลาเดลเฟีย เธอสนใจมานุษยวิทยาครั้งแรก เมื่อเป็นนักศึกษาที่ Barnard ในขณะนั้น เธอได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Franz Boas และ Ruth Benedict เมื่อ ค.ศ. 1925 เธอตัดสินใจออกเดินทางไปซามัว (Samoa) "ฉันเดินทางไปซามัวตามที่อาจารย์ของฉันบอกให้ออกเดินทางไปยังดินแดนที่มี เรือเข้าเทียบท่าทุกๆ สามสัปดาห์)

Page 1 of 2