• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1462 times Read more...
Friday, 18 January 2019 14:53

ONE MORE TIME

ภาพยนตร์โดย ทรงพล สุทธิกานต์ พูลทวี, สกาวรัตน์ วีรวุฒิไกร, เจ๊ะฟาเดีย เจ๊ะอาแว

ระยะเวลา 10.20 นาที

 

ภาพยนตร์แนว Yuri (ยูริ) หรือหญิงรักหญิง ใสๆ หวานๆ เรื่องนี้ แทบจะไม่กล่าวถึงความรุนแรงจากสถานการณ์ชายแดนใต้เลย น่าสนใจว่าความรักของคนเพศเดียวกันในพื้นที่ชายแดนใต้ เกิดขึ้น ดำรงอยู่หรือถูกพัฒนาความสัมพันธ์ไปในรูปแบบใด เรื่องราวของเธอและเธออาจทำให้เราได้มองเห็น “ความหลากหลายของความรัก” มากขึ้นกว่าที่เคย

 

Friday, 18 January 2019 14:46

LINE (เพศทางเลือก)

ภาพยนตร์โดย ชนสรณ์ แวหะมะ, ณัฐริณีย์ สุหลง, วิภาวนี อักษรชู

ระยะเวลา 10 นาที

 

การพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้คนในครอบครัวและสังคมยอมรับในการเป็นเพศทางเลือกของตัวเอง เป็นประเด็นหลักที่หนังเลือกหยิบมานำเสนอ รวมไปถึงทุกข์และสุข ความกดดัน การยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อเพศทางเลือกในจังหวัดชายแดนใต้จะถูกพิสูจน์ หรือเสนอผ่านเงื่อนไขอะไร ต่างหรือเหมือนกับที่อื่นหรือไม่อย่างไร

ภาพยนตร์โดย    อับดุลการีม หะมะ, อิรฟาน รีดน, เฟอดินันต์ ยือโร๊ะ

ระยะเวลา 10.20 นาที

หนังแนว Coming of Age ของเด็กผู้ชายมุสลิมในเมืองหลวง ที่ถูกส่งไปอยู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความหวาดกลัว กริ่งเกรง และไม่วางใจต่อสถานที่และผู้คนที่นั่น จะคลี่คลายหรือขมวดปมให้เพิ่มขึ้นมากน้อยหรือไม่เพียงใด และมีเงื่อนไขอะไรมาสร้างประสบการณ์ให้ชีวิตในวัยเปลี่ยนผ่านนี้ “สัมผัสที่อบอุ่น” นำประสบการณ์นั้นมาถ่ายทอดไว้อย่างละมุนละไม

Wednesday, 18 September 2013 12:34

Family portrait sittings

ภาพยนตร์นำเสนอภาพครอบครัวที่เป็นภาพประวัติศาสตร์ของครอบครัวผู้สร้าง ภาพยนตร์เรื่องนี้ ต้นกำเนิดของพวกเขาอยู่ที่เมือง Abruzzi ในประเทศอิตาลี ต่อมาได้อพยพเข้าเมืองไปยังสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการต่อสู้ของพวกเขา และช่วงการเติบโตของรุ่นเด็ก ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของบุคคลใน 2 ยุค คือรุ่นปู่ย่าตายายที่เป็นผู้อพยพและรุ่นเด็กที่เติบโตขึ้นเป็นชาวอเมริกัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อีกทั้งยังเป็นเรื่องราวของผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เองซึ่งเติบโตในยุค fifties ภาพยนตร์ไม่เพียงแต่จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวเท่านั้น แต่พวกเขายังได้เล่าถึงเรื่องราวที่มีคุณค่าอื่นอีก อาทิ ศาสนา การเมือง และการศึกษา มันเป็นเรื่องราวของการต่อสู้ชีวิตของพวกว่าทำอย่างไรให้ปรับตัวได้ และทำอย่างไรให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้ ภาพยนตร์เรื่อง Family Portrait Sittings จึงไม่ได้เป็นเรื่องราวเฉพาะบุคคลดังที่ปรากฏในภาพยนตร์ที่พวกเขาประสบความ สำเร็จและมีความสุขเท่านั้น แต่มันได้แสดงถึงความอดทนและการเปลี่ยนแปลงในรุ่นหนึ่งที่จะเป็นหนทางทาง เดินไปข้างหน้าต่อไป

Wednesday, 18 September 2013 12:32

De pere en fils

เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอความเป็นอยู่ในสังคมชาวอินเดียการถ่ายทอดความรู้ส่ง ต่อกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน นั่นคือการทำกลอง เครื่องดนตรีชนิดใช้ตีที่มีใช้มากในอินเดีย ในภาพยนตร์จะได้เห็นขั้นตอน กรรมวิธีในการผลิตกลองขึ้นมาสัก 1 ใบต้องใช้ระยะเวลาและความชำนาญอย่า่งมาก และในที่สุดก็สามารถผลิตกลองได้ตามความประสงค์ ขั้นตอนต่างๆล้วนแล้วแต่ทำด้วยมือทั้งสิน ไม่ได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เลย ส่งที่พบเห็นในภาพยนต์นอกจากจะพบกับขั้นตอนการผลิตกลองแล้ว ยังได้พบเห็นความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย

The film presents a society in the Indian knowledge to pass from father to offspring. That is the drum. Instrument that has been hit in India. The film will see the steps. A method of producing a leaflet to drum up some time and expertise to run by. And, in turn, can be produced according to the camera. Procedures and products are all handmade. Do not have the technology to use it. This is seen in the movies will find the process camera. Also found a relationship in the family.

Wednesday, 18 September 2013 12:31

La fiancee

เนื้อหาของภาพยนตร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นที่หมู่บ้านในประเทศอัฟกานิสถาน เนื้อหาเกี่ยวกับวัยรุ่นสตรีมุสลิมสาวอายุประมาณ 15 ปี ชื่อ Ranissa ที่ต้องเตรียมตัวสำหรับการแต่งงานของเธอในอนาคต เนื่องจากเธอได้ถูกหมั้นหมายไว้ก่อนหน้านี้เป็นเวลาร่วมสามปีแล้ว โดยความยินยอมของพ่อแม่เพื่อให้เธอไปเป็นภรรยาคนที่สองของผู้ที่มาหมั้นเธอ ไว้ เธอจะต้องเตรียมตัวเรียนรู้การรับผิดชอบเรื่องต่างๆในครัวเรือน การดูแลเด็ก การเตรียมอาหาร การดูแลฝูงปศุสัตว์ต่อไป

In a village in Afghanistan, a young Muslim woman aged 15, Ranissa, prepares for her wedding. Engaged for three years to a man chosen by her parents to become his second wife, she must start taking responsibility for the household: child care, meal preparation, monitoring of herds.

Sideswri เป็นภัตตาคารอาศรมเบงกอล ภัตตาคารนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกัลกัต ที่ร้านอาหารแห่งนี้เปรียบเสมือนสังคมเล็กๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของอินเดียที่อยู่ด้วยกันเสมือนพี่ น้อง

Sideswri is an ashram bengali restaurant, located in central Calcutta. This micro society shows intense brotherhood.

Wednesday, 18 September 2013 12:29

Un village turkmene

Qorcangu เป็นหมู่บ้านในภาคเหนือของอัฟกานิสถาน ผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพชาว Turkmenian มีอาชีพทอผ้า โดยมีการศึกษาผ่านงานฝีมือและกิจกรรมประจำวันของครอบครัว

Qorcangu, a village in northern Afghanistan, is inhabited by Turkmenian immigrants specialized in weaving. Village life is studied through the crafts and daily activities of a family.

Wednesday, 18 September 2013 12:28

Enfants de Diraralei : Toilettes, sommeil et jeux

Diraralei เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ บนเกาะ Botel Tobago (ติดกับไต้หวัน) ชาว Yami ที่อาศัยอยู่ที่นี่จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามอายุ กลุ่มผู้สูงอายุจะอาศัยอยู่ในบ้านเดิมชั้นล่าง ส่วนคนหนุ่มสาวมักอาศัยอยู่ชั่วคราวชั้นบนของบ้าน ทั้งสองกลุ่มอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันแต่การดูแลเด็กจะมีความแตกต่างกัน คือพ่อแม่ที่สูงอายุจะดูแลเด็กเป็นอย่างดีโดยผูกเปลญวนแกว่งไกวให้เด็กนอน พร้อมร้องเพลงกล่อมไปด้วยทั้งระหว่างการให้อาหารและและแต่งตัวเด็กได้รับการ สัมผัส ส่วนแม่ที่ยังอายุน้อยจะเลี้ยงลูกด้วยนมขวด และจะให้กล่อมเด็กให้หลับภายในอ้อมแขนของตนเองมากกว่าจะไกวโดยเปล การอาบน้ำจะมีการหยอกล้อเล่นกับเด็กไปพร้อมๆกันสลับกับเสียงหัวเราะภาพยนตร์ พบกับการดูแลเด็กๆของชาว Yami ได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้

Wednesday, 18 September 2013 12:26

Hakka : les Chinois tels qu'en eux-memes

ฮากกา Hakka เป็นชาวจีนฮั่นที่ พูดภาษาฮากกาอาศัยอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซี และฝูเจี้ยน ของประเทศจีน ที่มณฑลฝูเจี้ยนที่ตั้งถิ่นฐานเดิมของชาวจีนฮากกาเมื่อครั้งเดินทางอพยพเข้า มาทางตอนเหนือของจีน และได้ผ่านแม่น้ำ Tingjiang จากนั้นได้เดินทางไปยังมณฑลกวางตุ้งและส่วนอื่นของจีน ดังนั้นแม่น้ำ Tingjiang ถือว่ายังเป็นแม่น้ำแม่ของชาวฮากกา ที่มณฑลฟูเจี้ยถิ่นที่อาศัยของชาวฮากกามีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่มี เอกลักษณ์ไม่ไม่เหมือนใครเป็นที่รู้จักกันในชื่อ TU Lou ในอักษรจีนหมายถึงโครงสร้างดิน อาคารของ TU Lou จะมีลักษณะทรงกลมหรือสี่เหลี่ยม ได้รับการออกแบบเหมือนป้อมปราการขนาดใหญ่ที่รวมกันและมีหลายพาร์ทเมนต์ที่ ซับซ้อนอาคาร มีทางเข้าเพียงทางเดียว ไม่มีหน้าต่างที่ชั้นระดับพื้นดิน ในแต่ละชั้นจะได้การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย เช่น ชั้นแรกเป็นที่พักปศุสัตว์ ชั้น 2 เก็บรักษาอาหาร และชั้นสามและสูงกว่าที่มีพื้นที่ใช้สอย TU - Lou ถูกสร้างขึ้นเพื่อต้านทานการโจมตีจากโจร ชาวฮากกกามีวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ รวมทั้งความเชื่อที่เป็นของชุมชน ดังนั้นในแต่ละปีก็จะมีการจัดการเฉลิมฉลองขึ้น

Page 1 of 3