• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1472 times Read more...
Sunday, 15 September 2013 19:11

Roma Stories (Japigia GagÌ)

ในเมือง Japigia ตั้งอยู่ปริมณฑลของบาริ ประเทศอิตาลี ชุมชนโรมา (ยิปซี - ชนเร่ร่อน) เผยให้เห็นสถานพักพิงที่ผิดกฏหมายและไร้เสถียรภาพ โบสถ์ท้องถิ่นเปิดให้พวกเขาพักพิงบางส่วน ในขณะที่ ศาลาว่าการของเมืองกลับปฏิเสธความช่วยเหลือเช่นนั้น จากเหตุของโครงการพัฒนาสถานีรถไฟในอนาคต อย่างไรก็ตาม ขณะที่พวกเขายังตกอยู่ในอันตรายทุกขณะด้วยนโยบายของการไล้รื้อ และยังชีพอยู่ได้เพียงการเร่ร่อนของทาน ชุมชนโรมาก็รวมพลังต่อสู้ และแสดงให้เห็นถึงพลังทางสังคมที่มีชีวิตอย่างยิ่ง

In Japigia, a neighborhood in the periphery of Bari, Italy, a small community of Roma (Gypsies) carve out an existence in an illegal, ramshackle encampment. The local church has offered them a piece of land with prefabricated houses, but the town hall is preventing this offer due to their own plans for a future a railway station. Continually in danger of evacuation and making a living primarily by begging for money, the Roma still manage to foster a strong community and lively social atmosphere.

Sunday, 15 September 2013 18:57

Bendum: In the Heart of Mindanao

ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นแผ่นดินเกิด และชีวิตประจำวันของชุมชนคนพื้นถิ่นในเขตพื้นที่สูงของมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ในหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชื่อว่า Bendum ชุมชนในพื้นที่สามารถต่อสู้ เพื่อเข้าควบคุมผืนป่าที่เป็นของบรรพชน ภายหลังจากการทำซุงและการทำลายป่าในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่องนี้เหมาะสำหรับการเรียนการสอนทางมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับ โลกาภิวัตน์ สิ่งแวดล้อมศึกษา และเศรษฐศาสตร์และเอเชียศึกษา

This documentary is about the homeland and daily life of an indigenous tribal community in the tropical uplands of central Mindanao, Philippines. In this small village called Bendum, the local community has successfully struggled, after decades of commercialized logging and deforestation, to gain control over their ancestral lands. Suitable for teaching Anthropology, Globalization, Environmental Studies, Economics and Asian Studies

The Hamat'sa หรือ "Cannibal Dance" (ร่ายรำการกินมนุษย์) เป็นพิธีกรรมที่เป็นภาพลักษณ์สำคัญของกลุ่ม Kwakwaka'wakw (Kwakiutl) people ในบริติช ดคลัมเบีย (British Columbia) ภาพยนตร์นี้ย้อนรอยประวัติศาสตร์การบอกเล่าทางมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับ การร่ายรำนี้ ด้วยการกลับไปดูภาพยนตร์เก่าที่เกี่ยวข้องกับชุมชนพื้นถิ่น เพื่อฉายให้เห๊นมุมมองที่เปลี่ยนแปลงของการร่ายรำในปัจจุบัน ภาพยนตร์อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทำงานของผู้สร้างภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะตั้งคำถามเกี่ยวกับจรรยาบรรณาในการสร้างตัวแทนทาง ชาติพันธุ์ และยังสะท้อนการต่อรองระหว่างการทำงานของนักมานุษยวิทยากับสมาชิกที่ี่้ร่วม วิจัย

The Hamat'sa (or "Cannibal Dance") is the most important-and highly represented-ceremony of the Kwakwaka'wakw (Kwakiutl) people of British Columbia. This film traces the history of anthropological depictions of the dance and, through the return of archival materials to a First Nations community, presents some of the ways in which diverse attitudes toward this history inform current performances of the Hamat'sa. With a secondary focus on the filmmaker's fieldwork experience, the film also attends specifically to the ethics of ethnographic representation and to the renegotiation of relationships between anthropologists and their research partners.

Caime ชนพื้นถิ่นชาว Xavante แสดงความเห็นไว้ที่ช่วงเกริ่นนำของวิดีโอเกี่ยวกับมูาบ้านของเขา Pimentel Barbosa ในเมือง Mato Grosso ประเทศบราซิล เขาได้เรียนรู้วิธีใช้กล้องวิดีโอ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเก็บภาพเพื่อการบันทึก กล้องของเขามีบทบาททางการศึกษา สำหรับสอนให้คนในหมู่บ้านรู้จักพิธีกรรม และการเดินทางออกล่าสัตว์ ซึ่งไม่ใช่ว่าทุกจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ กล้องยังเป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง และบันทึกความทรงจำเพื่ออนุรักษ์ประเพณีสำคัญของชุมชน นอกจากนี้ วิดีโอยังทำหน้าที่สื่อสารสำหรับการพบปะในกลุ่มผู้นำ ซึ่งจัดในพื้นที่อันห่างไกล หรือใช้สำหรับบันทึกความพิลึกพิลันของวัฒนธรรมอื่น เช่นวงดนตรีเฮวี่เมทัลเข้ามาแสดงในหมู่บ้าน บทบาทของเขาในการถ่ายทำวิดีโอของ Caime ทำให้เขามีโอกาสเดินทางและหาประสบการณ์ในวัฒนธรรมอื่น

Caime, a Xavante Indian, comments on the introduction of video documentation to his village, Pimentel Barbosa in Mato Grosso, Brazil. He recalls learning to use video equipment and becoming more selective with the images he chooses to record. His camera fills an educational role, teaching the whole village about ceremonies and hunting trips in which not everyone may participate. It also functions as a tool for self-evaluation, and as a collective memory aid in preserving important traditions. Video can communicate meetings between leaders that take place far away or record the idiosyncrasies of other cultures when a heavy metal band comes to visit the village. His role as a video-maker has allowed Caime to travel and experience other cultures.

Saturday, 14 September 2013 12:49

Couldn't be Fairer

ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดเผยสังคมอีกด้านหนึ่งของคนออสเตรเลียพื้นเมืองหรือที่รู้จักกันทั่วไปคือ Aborigin ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในออสเตรเลียท่ามกลางชนผิวขาว คนเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากปัญหาพิษสุราเรื้อรัง ความรุนแรงทางเชื้อชาติ การกดขี่ทางการเมืองโดยชาวออสเตรเลีย ด้วยการเลือกใช้ภาพยนตร์นำเสนอสภาพปัญหาของการละเมิดกับชนพื้นเมือง จึงเป็นข้อมูลที่มีชัดเจนที่ชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งทางเชื้อชาติที่เกิดขึ้น

"Couldn't Be Fairer" is an extraordinary depiction of a side of Australian aboriginal society which is hidden from the eyes of most white people. With unflinching honesty, it depicts the problems of alcoholism, racial violence and political oppression still faced today by the first Australians. Using astutely selected archival footage to give historical depth to scenes of contemporary desolation and abuse, the film is a hard-hitting statement about racial conflict.

Friday, 13 September 2013 11:07

Islam: Empire of Faith

ตั้งแต่กำเนิดศาสดาพยากรณ์มูฮัมมัด จนถึงชัยชนะของกษัตริย์ออตโตมัน ผลงานชิ้นนี้ฉายให้เห็นอารยธรรมที่ย้อนไปกว่าพันๆ ปีแรก โดยใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ อรรถาธิบายเกี่ยวกับศิลปะอิสลาม และการสัมภาษณ์ผู้รู้และนักวิชาการถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมอิสลาม และอารยธรรมนีี้เองที่ส่งอิทธิพลอย่างสำคัญต่อวัฒนธรรมตะวันตกและ ประวัติศาสตร์โลก โรเบิร์ต การ์ดเนอร์กล่าวถึงการผลิตภาพยนตร์เรื่อง อิสลาม จักรวรรดิแห่งศรัทธา ว่าเป็นข้อท้าทายตั้งแต่เริ่มต้น เพราะเรื่องราวครอบคลุมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกว่าพันปี และมีอิทธิพลในหลายบริเวณบนโลกใบนี้ "เราจำเป็นที่จะต้องนำเสนอภาพประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ที่เป็นทั้งฉากแสดงและฉากร่วมสมัยของสถาปัตยกรรมอิสลามและชีวิตในเมือง เพืื่อให้เราเข้าถึงอดีต แต่ยังคงความรู้สึกของความจริงแท้ แม้ฉากตอนจะมีลักษณะพาฝันและดึงดูดความประทับใจ หากแต่ยังเอื้อให้ผู้ชมรู้สึกว่า สิ่งที่ชมอยู่ต่อหน้ามีความถูกต้องทางประวัติศาสตร์"

From the birth of the prophet Muhammad to the glories of the Ottomans, this ground-breaking work illuminates the first thousand years of a misunderstood civilization. Historical enactments; a remarkable explication of Islamic art; and interviews with scholars recount the rise of the islamic civilization and it's profound impact on Western Culture and world history. Robert Gardner talked about the production of Islam: Empire of Faith that it was a big challenge from the beginning, simply because it covered more than a thousand years of history and culture, and a very large part of the world. We knew that we had to find a way to present images of cultural history — both re-enacted scenes and contemporary scenes of Islamic architecture and city life — in a way that would evoke the past, but maintain a sense of authenticity. The scenes would be dream-like and impressionistic but would still give viewers a sense that what they were seeing was accurate in historical terms.

Friday, 23 August 2013 08:50

Dead Birds

"ภาพยนตร์เกี่ยวข้องกับชนเผ่า Dani ที่อาศัยในหุบเขา Baliem ในบริเวณเทือกเขาทางไอเรียนตะวันตก เมื่อผม (โรเบิร์ต การ์ดเนอร์) ถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อ ค.ศ. 1961 ชน Dani ยังคงแบบแผนวัฒนธรรมในแบบกลุ่มชนยุคหินใหม่ พวกเขายังให้คุณค่าตามระบบสงครามและการแก้แค้นระหว่างเผ่า กลุ่มที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงกับโคตรตระกูลของ Dani อันเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก เข้าร่วมสงครามบ่อยครั้ง เมื่อนักรบคนหนึ่งตายในสนามรบ หรือตายจากบาดแผล หรือกระทั่งเด็กและผู้หญิงที่สูญเสียชีวิตจากการรุกรานของศัตรู ผู้กำชัยชนะจะเฉลิมฉลอง และผู้พ่ายแพ้จะไว้อาลัย เพราะการตายแต่ละครั้ง คือการล้างแค้น ความสมดุลจะเกิดขึ้นเมื่อวิญญาณที่ทนทุกข์จากการตาย และบรรดาจากการฆาตกรรมจะพึงใจเมื่อได้ล้างผลาญวิญญาณของศัตรู ในโลกของ Dani ไม่มีความคิดว่าสงครามจะจบลงเมื่อไร นอกจากว่า ฝนตกหรือฟ้านั่้นมืดค่ำลง หากปราศจากสงคราม ก็ไม่มีทางที่จะทำให้ผีเหล่านั้นพอใจ"

Page 4 of 4