• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1469 times Read more...

The Hamat'sa หรือ "Cannibal Dance" (ร่ายรำการกินมนุษย์) เป็นพิธีกรรมที่เป็นภาพลักษณ์สำคัญของกลุ่ม Kwakwaka'wakw (Kwakiutl) people ในบริติช ดคลัมเบีย (British Columbia) ภาพยนตร์นี้ย้อนรอยประวัติศาสตร์การบอกเล่าทางมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับ การร่ายรำนี้ ด้วยการกลับไปดูภาพยนตร์เก่าที่เกี่ยวข้องกับชุมชนพื้นถิ่น เพื่อฉายให้เห๊นมุมมองที่เปลี่ยนแปลงของการร่ายรำในปัจจุบัน ภาพยนตร์อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทำงานของผู้สร้างภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะตั้งคำถามเกี่ยวกับจรรยาบรรณาในการสร้างตัวแทนทาง ชาติพันธุ์ และยังสะท้อนการต่อรองระหว่างการทำงานของนักมานุษยวิทยากับสมาชิกที่ี่้ร่วม วิจัย

The Hamat'sa (or "Cannibal Dance") is the most important-and highly represented-ceremony of the Kwakwaka'wakw (Kwakiutl) people of British Columbia. This film traces the history of anthropological depictions of the dance and, through the return of archival materials to a First Nations community, presents some of the ways in which diverse attitudes toward this history inform current performances of the Hamat'sa. With a secondary focus on the filmmaker's fieldwork experience, the film also attends specifically to the ethics of ethnographic representation and to the renegotiation of relationships between anthropologists and their research partners.

Caime ชนพื้นถิ่นชาว Xavante แสดงความเห็นไว้ที่ช่วงเกริ่นนำของวิดีโอเกี่ยวกับมูาบ้านของเขา Pimentel Barbosa ในเมือง Mato Grosso ประเทศบราซิล เขาได้เรียนรู้วิธีใช้กล้องวิดีโอ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเก็บภาพเพื่อการบันทึก กล้องของเขามีบทบาททางการศึกษา สำหรับสอนให้คนในหมู่บ้านรู้จักพิธีกรรม และการเดินทางออกล่าสัตว์ ซึ่งไม่ใช่ว่าทุกจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ กล้องยังเป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง และบันทึกความทรงจำเพื่ออนุรักษ์ประเพณีสำคัญของชุมชน นอกจากนี้ วิดีโอยังทำหน้าที่สื่อสารสำหรับการพบปะในกลุ่มผู้นำ ซึ่งจัดในพื้นที่อันห่างไกล หรือใช้สำหรับบันทึกความพิลึกพิลันของวัฒนธรรมอื่น เช่นวงดนตรีเฮวี่เมทัลเข้ามาแสดงในหมู่บ้าน บทบาทของเขาในการถ่ายทำวิดีโอของ Caime ทำให้เขามีโอกาสเดินทางและหาประสบการณ์ในวัฒนธรรมอื่น

Caime, a Xavante Indian, comments on the introduction of video documentation to his village, Pimentel Barbosa in Mato Grosso, Brazil. He recalls learning to use video equipment and becoming more selective with the images he chooses to record. His camera fills an educational role, teaching the whole village about ceremonies and hunting trips in which not everyone may participate. It also functions as a tool for self-evaluation, and as a collective memory aid in preserving important traditions. Video can communicate meetings between leaders that take place far away or record the idiosyncrasies of other cultures when a heavy metal band comes to visit the village. His role as a video-maker has allowed Caime to travel and experience other cultures.

ภาพยนตร์แสดงให้เห็นการทำงานด้านการเกษตรของชาว Naga ระหว่างรอบปี ชายชาว Angami-Naga ถางไม้ถางหญ้าในฤดูใบไม้ร่วง จากนั้น เผาพื้นที่และเตรียมดินสำหรับการปักดำ จากนั้น หัวหน้า Konyak เป็นผู้ปลูกพืชหัวมัน

This film shows scenes of agricultural work of the Naga that occurs during the course of a year. A man of the Angami-Naga clears a wood lot in autumn. Afterwards, a man from the Konyak Naga burns and clears a field to prepare for sowing. Finally, a chief of the Konyak plants the taro bulbs.

Page 2 of 2