banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง

Imprint

กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), 2548

Collection

SAC Library-Books-DS566.ว64 2548

Annotation

            ศึกษาวิธีชีวิตตั้งแต่การเลือกที่ตั้งถิ่นฐานของชาวกะเหรี่ยง โดยศึกษาผ่านชุมชนกะเหรี่ยงที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทั้งหมด 6 หมู่บ้านภายใขเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรคือ บ้านสะเนพ่อง บ้านเกาะสะเดิ่ง บ้านไล่ดว่-สาละวะ บ้านกองม่องทะ บ้านทิไร่ป้า บ้านจะแก-วาจุคู้ ที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มุ่งเน้นศึกษามิติทางกายภาพก่อนและหลังกรมป่าไม้ประกาศให้ผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ส่งผลให้กะเหรี่ยงที่ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยอยุธยาต้องตกเป็นเป้าในการถูกอพยพออกจากป่า รวมถึงในด้านการศึกษาหลังการเข้าไปของระบบที่ใช้หลักสูตรจากส่วนกลางที่ไม่มีความสัมพันธ์กับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวกะเหรี่ยง
 

อ่านต่อ...
image

Author

สังคีต จันทนะโพธิ

Imprint

กรุงเทพฯ: มติชน, 2548

Collection

SAC Library-Books-DS570.ช65ส62 2548

Annotation

            ผู้เขียนถ่ายทอดเรื่องราวผ่านประสบการณ์ให้อยู่ในรูปแบบของสารคดีที่บันทึกวิถีชีวิตของหญิงสาวชาวดอย และขนมธรรมเนียมประเพณีที่ควรศึกษาหรือดำรงไว้ ซึ่งถูกบันทึกไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2500 มุ่งเสนอชีวิตของหญิงสาวชาวดอยที่มีภาระทั้งงานบ้าน งานไร่ หรืองานทุกอย่างที่ต้องรับผิดชอบหลังแต่งงาน ผ่านหัวข้อต่าง ๆ เช่น ความงามความรักของสาวเผ่าลีซอ ล่องช่วงแลสาวไทยลื้อ แรกรักของกะเหรี่ยงแควใหญ่ เชกวาเส้นด้ายแดงพรหมจรรย์กะเหรี่ยงยางดอย สววรค์กลางดินของกะเหรี่ยงเล็งปอย จากที่กล่าวมาล้วนมีขนมธรรมเนียมประเพณีเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ

อ่านต่อ...
image

Author

จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์

Imprint

กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547

Collection

คลังปัญญาจุฬาฯ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Annotation

            ศึกษาและทำความเข้าใจองค์ความรู้เรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพของชาวกะเหรี่ยง ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ตะกั่ว การศึกษานี้ได้อธิบายในเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพ และความเจ็บป่วยจากหญิง-ชาย ความทุกข์และปัญหาต่าง ๆ ผ่านมิติทางเพศ รวมทั้งศึกษากระบวนการปรับตัวและรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพโดยเชื่อมโยงระหว่างระดับปัจเจก ครอบครัวและชุมชน รวมไปถึงการเรียกร้องต่อปัญหาที่เกิดขึ้น จากกลุ่มตัวอย่างกะเหรี่ยงหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ในเขตพื้นที่หมู่ 4 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ และหมู่ 3 ตำบลนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
 

อ่านต่อ...
image

Author

ขวัญชีวัน บัวแดง

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2547

Collection

SAC Library-Books-GN316.ศ731 2547

Annotation

            การแสดงละคร จ่า เป็นการแสดงร่ายรำและเล่นละครของคนกะเหรี่ยงที่มีลักษณะเฉพาะแบบพม่า มักจะเริ่มแสดงหลังสองทุ่มจนถึงเช้า เริ่มจากการร่ายรำประกอบการร้องเพลง เพื่อไหว้ครู การบูชาเทพ รำเดี่ยวชาว รำเดี่ยวหญิง รำหมู่ การแสดงของตัวตลก และการแสดงละครหลายเรื่องทั้งที่เป็นชาดก นิทานพื้นบ้าน รวมทั้งเรื่องที่แต่งให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยผู้เขียนได้ศึกษาการแสดงจ่าในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นอำเภอที่อยู่ติดกับชายแดนไทย – พม่า ในส่วนที่มีแม่น้ำเมยกั้นอยู่ ในช่วงกลางปี 2545 ในบทความนี้ได้กล่าวถึงความเป็นมาของละครจ่าในประเทศพม่า การตระเวนแสดงในพื้นที่ชุมชน คณะละครในพื้นที่ศึกษา การแสดงและการดูละครจ่า สมาชิกคณะละครไร้สัญชาติ รวมถึงมีบทพิจารณาอัตลักษณ์ของกะเหรี่ยงกับละครจ่า โดยตั้งคำถามว่าการแสดงละครจ่า เป็นการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของกะเหรี่ยงหรือไม่ ซึ่งมีคำตอบหลายประการที่เชื่อมกันอยู่
 

อ่านต่อ...
image

Author

สุริยา รัตนกุล

Imprint

กรุงเทพฯ : สหธรรมิก, 2547

Collection

SAC Library-Books-PL4209.4.ส74ร54

Annotation

            กะเหรี่ยงโดยเฉพาะกะเหรี่ยงสะกอมีความสามารถในการร้องเพลง และการร้องเพลงของสะกอเป็นการร้องแบบมีแบบมีแผน มีการกำหนดชนิดของเพลงในแต่ละงาน บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงวิวัฒนาการวัฒนธรรมกะเหรี่ยงเกี่ยวกับเรื่องของเพลงกะเหรี่ยงสะกอโดยเฉพาะ เนื่องจากกะเหรี่ยงสะกอมีชื่อเสียงว่า
เก่งในเรื่องการร้องเพลงเป็นอย่างมาก โดยจะมีการกล่าวถึงภูมิหลัง เรื่องราวของชนเผ่ากะเหรี่ยงในประเทศไทย
ระบบเสียงของภาษากะเหรี่ยงสะกอ ทั้งพยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะควบกล้ำ เสียงพยัญชนะท้าย เสียงวรรณยุกต์ ประเภทของเพลงกะเหรี่ยง รวมไปถึงตัวอย่างของเนื้อเพลงกะเหรี่ยง พร้อมด้วยคำแปล ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นหลังจากการทำงานวิจัยภาคสนามระหว่าง พ.ศ.2517 - พ.ศ.2524 ในบริเวณจังหวัดต่าง ๆ ที่มีชาวกะเหรี่ยง
ตั้งถิ่นฐานอยู่ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน ลำพูน และกาญจนบุรี

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ