banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ศริญญา นาคราช

Imprint

เชียงใหม่ : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, [254-?]

Collection

SAC Library- Books-DS570.ก6ศ46

Annotation

          นำเสนอวัฒนธรรมการทอผ้าของกะเหรี่ยง ตั้งแต่วิวัฒนาการของเครื่องทอผ้ากะเหรี่ยง ส่วนประกอบหลักของเครื่องทอแบบ การเตรียมด้ายและการขึ้นเครื่องทอ วิธีการปลูก การเก็บ และการปั่นฝ้าย การย้อมสีและลาย วิธีทอผ้า การตัดเย็บ และวิธีการเก็บรักษาผ้าของกะเหรี่ยงในภาคเหนือของประเทศไทย โดยการทอผ้าของกะเหรี่ยงแบ่งได้เป็น การทอธรรมดา และการทอลวดลาย กล่าวถึงการประดิษฐ์ลวดลายบนผืนผ้าขณะที่ทอ ซึ่งประกอบไปด้วย ลายเส้นในเนื้อผ้า ลายสลับสี ลายจก ลายขิด และการทอลายโดยการแทรกวัสดุอื่นประกอบ นอกจากนี้ยังอธิบายการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นบน จังหวัดอุทัยธานี และบ้านห้วยฮ่อมนอก จังหวัดลำพูน เอาไว้อีกด้วย

อ่านต่อ...
image

Author

เมืองพล เมฆเมืองทอง

Imprint

[กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2518]

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6ม82 2518

Annotation

            ศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนาโดยบรรยายถึงประวัติความเป็นมา ลักษณะทางกายภาพของกะเหรี่ยง สภาพทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ การนับถือศาสนา การศึกษา รวมถึงสังคมวัฒนธรรม โดยศึกษาจากบ้านเลโคะ ต.แม่ยาม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน มี 44 หลังคาเรือนมีประชากรรวม ราว 260 คน เริ่มศึกษาเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2517 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 เพื่อทำความเข้าใจสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน และยังทำให้ทราบถึงปัญหาต่างๆในหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย ปัญหาด้านการเมือง ปัญหาด้านอนามัย ปัญหาด้านการประกอบอาชีพ โดยทำการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้หมู่บ้านแห่งนี้ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน รวมถึงมีการศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีตามแบบฉบับของกะเหรี่ยงบ้านเลโคะที่ว่าด้วยเรื่องการแต่งกายที่แตกต่างกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง

อ่านต่อ...
image

Author

Marlowe, David H

Imprint

[S.L : S.N., 1995?]

Collection

SAC Library-Books-GN635.T4E85 V.2

Annotation

            ความสัมพันธ์ระหว่างกะเหรี่ยงกับกลุ่มชาติพันธุ์นั้นต่างมีความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างกัน และแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเป็น ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ด้วย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ ไม่มีกลุ่มใดที่สามารถอยู่อย่างไม่สัมพันธ์กับกลุ่มได้  ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดปัญหาขึ้น จะส่งผลกระทบกับโครงสร้างทางสังคมของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ในบทความนี้แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ของกะเหรี่ยงสะกอบนพื้นที่สูงกับกลุ่มคนบนพื้นที่ราบ ในจังหวัดเชียงใหม่ และการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ โดยทำการศึกษาที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง และตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ศึกษาได้กล่าวถึงประวัติของกะเหรี่ยงสะกอในประเทศไทย การแลกเปลี่ยนผลผลิต ค่าแรงและการแลกเปลี่ยนแรงงาน รวมไปถึงมุมมองของกะเหรี่ยงที่มีต่อกลุ่มชาติพันธ์อื่น ๆ
 

อ่านต่อ...
image

Author

สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Imprint

กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2561

Collection

SAC Library-Books-S602.87 .ส46 2561

Annotation

            คนปกาเกอะญอใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับป่ามาอย่างยาวนาน จึงมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการพึ่งพาป่า โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับอาหารการกิน ซึ่งการจัดการอาหารของปกาเกอะญอมีความเฉพาะในเชิงอัตลักษณ์ ที่กลมกลืนกันระหว่างการจัดความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ธรรมชาติ และสิ่งเหนือธรรมชาติ (จิตวิญญาณ) โดยในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับการทำไร่หมุนเวียน และนำเสนออาหารของปกาเกอะญอผ่านคนสองกลุ่ม คือคนทำอาหารทั้งจากในชุมชนและจากนอกชุมชน ซึ่งอาศัยผลผลิตไร่หมุนเวียนและป่าผืนเดียวกันของท้องถิ่นนั้น ๆ จาก 3 ชุมชน ใน 3 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ หมู่บ้านห้วยหินลาดใน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านแดลอ-เขล่อคี (แม่ลายเหนือ) อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหมู่บ้านแม่เหยาะคี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

อ่านต่อ...
image

Author

บัณฑิต ไกรวิจิตร

Imprint

กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6 บ632 2559

Annotation

            นับตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ข้อถกเถียงทางการเมืองสิ่งแวดล้อมนิยมขององค์กรอนุรักษ์และหน่วยงานรัฐ ซึ่งวางอยู่บนแนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพ และมีวิธีวิทยาที่เน้นให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการศึกษา ได้อธิบายชาวโผล่วด้วยภาพแทนที่หยุดนิ่ง มองว่าชาวโผล่วเป็นผู้ที่ไม่สามารถเข้าใจการเผชิญหน้าระหว่างชีวิตป่าได้ ภาพแทนดังกล่าวได้เข้ามาปะทะแบบพัวพันกับปฏิบัติการระหว่างชาวโผล่วเอง และชีวิตป่าของพวกเขา จนท้ายที่สุดกดให้ชาวโผล่วมีสถานะ “เบี้ยล่าง” เมื่อผ่านเวลาไป 30 ปี ชาวโผล่วได้สร้างสรรค์ภาพแทนผสม ที่รวมเอาภาพแทนทั้งจากองค์กรภายนอก และภาพแทนชีวิตป่าของพวกเขา ทำให้ชีวิตป่าเข้าสู่การต่อรองทางการเมือง และการสร้างภาพแทนชีวิตป่า วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาภาพแทน ที่ถูกสร้างขึ้นให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโผล่ว ในพื้นที่ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2559 แสดงให้เห็นถึงจักรวาลวิทยาของชาวโผล่วว่าเป็นผู้สร้างความรู้เกี่ยวกับป่า

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ