banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ขวัญชีวัน บัวแดง

Imprint

เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2551

Collection

SAC Library-Books- DS570.ก6ข563 2551

Annotation

            ความสัมพันธ์ระหว่างกะเหรี่ยงกับคนเมื่อที่อยู่อาศัยบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมย อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก กับที่อยู่บริเวณแม่น้ำเมย รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า  โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2545 ถึง          30 กันยายน 2548 ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างออกไปในแต่ละช่วงซึ่งเกิดจากการการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในพื้นที่ระหว่างกลุ่มอำนาจหลัก โดยมีการแบ่งความสัมพันธ์ออกเป็นสามยุค ได้แก่ยุคแรก ยุคก่อนเกิดรัฐสมัยใหม่ จนถึงพ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นช่วงที่อังกฤษ ไทย และพม่ายังไม่เข้ามาจัดการพื้นที่ คนกะเหรี่ยง และคนเมืองค่อนข้างมีอิสระในการบุกเบิกที่ทำกิน ยุคที่สองเป็นยุครัฐกันชน ประมาณ พ.ศ. 2510-2530 เป็นยุคที่รัฐกะเหรี่ยงและรัฐไทยเข้ามามีส่วนในการควบคุมพรมแดนบริเวณแม่น้ำเมย ในช่วงนี้มีการพัฒนาสู่ความทันสมัย สุดท้ายยุคที่สามเป็นยุคที่รัฐกันชนล่มสลาย ทำให้กองกำลังเคเอ็นยูต้องเข้ามาอยู่ในค่ายอพยพในฝั่งไทย บริเวณชายแดนไทยพม่า มีความเข้มงวด มีกองกำลังหลายฝ่ายเข้ามาควบคุมพื้นที่ในฝั่งประเทศพม่า ส่วนรัฐไทยมีความเข้มงวด เรื่องคนข้ามแดนและสินค้า ทำให้เกิดวาทกรรม แรงงานข้ามชาติ ผู้อพยพที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

อ่านต่อ...
image

Author

สุรินทร วงศ์คำแดง

Imprint

เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550

Collection

SAC Library-Research and Thesis -R611.ก6 ส74 2550

Annotation

            วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้ศึกษาถึงเรื่องการจัดการความรู้ของหมอพื้นบ้านชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ระยะเวลาในการวิจัย 1 ปี การวิจัยจะแยกออกเป็นกลุ่มหมอไสยศาสตร์ หมอสมุนไพร และหมอตำแย ที่อยู่ใน3หมู่บ้านคือ หมู่บ้านหนองแดง หมู่บ้านสันม่วง หมู่บ้านโป่งขาว อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีวิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษหรือผู้อาวุโส แต่ในการถ่ายทอดนั้นหมอพื้นบ้านจะไม่มีการรวมกลุ่มอย่างชัดเจน ไม่มีการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบ แต่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน โดยการรักษานั้นจะเน้นผสมผสานระหว่างความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่า

อ่านต่อ...
image

Author

สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์

Imprint

กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.), 2550

Collection

SAC Library-Books-GT3286.ท9ว63 2550

Annotation

            กะเหรี่ยงเป็นที่ยึดมั่นในประเพณีวัฒนธรรมของตนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งล้วนมากจากอิทธิพลของประเพณีวัฒนธรรมที่มีผลสืบเนื่องมาถึงระบบครอบครัวและการรู้ระเบียบสังคมเช่น ประเพณีการแต่งงาน พิธีศพ และค่านิยมทางสังคมในบางเรื่อง การศึกษาครั้งนี้จึงได้ศึกษาพิธีกกรมการไหว้ผีเพื่อขอให้ผีคุ้มครอง และให้เพาะปลูกได้ผลผลิตเป็นจำนวนมากโดยมี “ฮีโข่” หรือหัวหน้าหมู่บ้านที่เป้นทั้งผู้นำการเมืองและศาสนาตามจารีตประเพณีรับผิดชอบการประกอบพิธี โดยแบ่งเป็นพิธีกรรมตามวงจรชีวิต พิธีกรรมเกี่ยวกับการผลิต พิธีกรรมตามโอกาส นอกจากนี้ยังเน้นศึกษาพิธีกรรมความตายในช่วงก่อนจัดพิธีศพ ระหว่างจัดพิธีศพ หลังพิธีศพ และการเปลี่ยนแปลงศาสนาและความเชื่อที่ส่งผลกระทบในเกิดการเปลี่ยนแปลงในพิธีกรรมความตาย
 

อ่านต่อ...
image

Author

บัณฑิต บุญศรี

Imprint

เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ช6 บ63 2549

Annotation

            ศึกษาวิธีการนำพระธรรมจาริกที่นำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไปประกาศ เผยแผ่ และอบรม แนะนำชาวเขาที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่โครงการธรรมจาริกในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยจำนวน 50 อาสรม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาศีลธรรมวันอาทิตย์แก่เด็กชาวเขา จัดงานประเพณีต่าง ๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญแห่งชาติ ให้การสงเคราะห์อนุเคราะห์เกื้อกูลด้านปัจจัยการดำเนินชีวิต และสาธารณสุขแก่ชาวเขาผู้ยากไร้ จัดตั้งสถานศึกษา อบรมอาชีพ เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นไทยให้แก่ชาวเขา จากกระบวนการดังกล่าวทำให้ชาวเขาประพฤติตนเป็นพลเมืองดี และเป็นพุทธศาสนิกชนที่รู้จักบุญคุณแผ่นดินไทยที่อาศัยอยู่ใต้พระบรม-โพธิสมภาร พระธรรมจาริก ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความเป็นไทยห้แก่ชาวเขาดำเนินควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล

อ่านต่อ...
image

Author

นิคม กิจฺจสาโร

Imprint

กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2548

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6น624 2548

Annotation

            การศึกษานี้ได้นำเสนอปัญหา วิถีชีวิต และความสัมพันธ์ของคนในชุมชนปกาเกอะญอที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เยาวชนคนหนุ่มสาวไม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาดั้งเดิม และดำเนินชีวิตตามกระแสสังคมสมัยใหม่ ดังนั้นจึงมีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอจำนวน 12 ชุมชนได้แก่ บ้านวัดจันทร์, บ้านหนองแดง, บ้านห้วยฮ่อม, บ้านโป่งขาว, บ้านเด่น, บ้านหนองเจ็ดหน่วย, บ้านห้วยบง, บ้านแจ่มน้อย, บ้านห้วยอ้อ, บ้านห้วยครก, บ้านดอยตุง และ บ้านสันม่วง ในตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 1 ปี 6 เดือน ซึ่งการศึกษาวิจัยมุ่งเน้นภูมิปัญญาปกาเกอะญอ ที่เป็นคำสอน สุภาษิต คำพังเพย ข้อห้าม ข้อปฏิบัติ เปรียบเทียบกับคำสอนทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณี

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ