banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ชนะพันธ์ รวีโชติภัคนันท์

Imprint

[ขอนแก่น]: การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6 ช36 2554

Annotation

            ศึกษารูปแบบวิถีชีวิตด้านต่าง ๆ ของกะเหรี่ยงที่อยู่ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พบว่ากะเหรี่ยงได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เนื่องมาจากภัยสงครามในสมัยนั้น โดยบอกเล่าผ่านบทเพลงพื้นบ้านกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชนที่รักความสงบ ดำรงชีพโดยการทำอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง กะเหรี่ยงมีความเชื่อถือผู้นำและยึดมั่นต่องานประเพณีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม  เพื่อนำผลการศึกษาไปปรับใช้กำหนดยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาของเทศบาล เช่น ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนชาวกะเหรี่ยง อนุรักษ์ความเป็นอยู่ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเรียนรู้ชุมชนเช่นโครงการฝึกอบรมอาชีพด้านเกษตรกรรม ทอผ้า และส่งเสริมการแต่งกายพื้นบ้าน ตลอดจนสนับสนุนด้านความเป็นอยู่และสุขภาพเพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
 

อ่านต่อ...
image

Author

จุไรพร จิตพิทักษ์

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553

Collection

Thailis

Annotation

          ศึกษาการปรับตัวของวัยรุ่นปกาเกอะญอในเมืองเชียงใหม่ ภายใต้บริบทของเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการศึกษาการปรับตัวทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของกลุ่มวัยรุ่นชายและหญิง การรวมกลุ่มหรือความเป็นชาติพันธุ์ของวัยรุ่นปกาเกอะญอ ที่ได้ถูกสร้างความเป็นชายขอบทั้งจากสังคมใหม่และครอบครัวเดิม ทำให้พวกเขาจำเป็นต้องมีการสร้างยุทธศาสตร์ในการปรับตัวขึ้น ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ของสังคม โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มวัยรุ่นในองค์กรศาสนา กลุ่มวัยรุ่นในองค์กรNGOs และกลุ่มวัยรุ่นที่ทำงาน ซึ่งแต่ละกลุ่มมีเงื่อนไขและสถานการณ์ที่เผชิญแตกต่างกันไปตามลักษณะของพื้นที่และกิจกรรม แสดงให้เห็นถึงการตีความนิยามใหม่เกี่ยวกับชีวิตหรือโลกทัศน์ในการใช้ชีวิตของกลุ่มวัยรุ่นปกาเกอะญอ

อ่านต่อ...
image

Author

นาถฤดี เด่นดวง

Imprint

นครปฐม : สำนักงานวิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553

Collection

วารสารสหศาสตร์ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (มี.ค./ส.ค. 2553), หน้า 87-115

Annotation

            พยาธิเป็นปัญหาที่บั่นทอนสุขภาพของคนไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งห่างไกลจากความเจริญ และอยู่บริเวณแนวชายแดน เนื่องจากประชาชนเหล่านี้มักมีปัญหาสภาพบ้าน สิ่งแวดล้อม และสุขาภิบาลที่ทรุดโทรม ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วยจากพยาธิ ผู้ศึกษาจึงมุ่งศึกษาและอธิบายความเชื่อทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับการป่วยเป็นของชาวกะเหรี่ยง ที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทยกับพม่าในจังหวัดกาญจนบุรี โดยอธิบายถึงแนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ ในการป่วยเป็นพยาธิ ชนิดของพยาธิที่พบ ความเชื่อของกะเหรี่ยงที่เกี่ยวกับสาเหตุและอันตรายของการเป็นพยาธิ อาการป่วยเป็นพยาธิที่กะเหรี่ยงสังเกตเห็น การรักษาแบบใช้ยาแผนปัจจุบันและใช้ยาสมุนไพร รวมไปถึงความเชื่อในการป้องกันการเป็นพยาธิซึ่งมีทั้งชาวบ้านที่เริ่มป้องกันและชาวบ้านที่ไม่สนใจป้องกัน

อ่านต่อ...
image

Author

อาภรณ์ สุนทรวาท

Imprint

นครปฐม : เพชรเกษม พริ้นติ้ง, 2551

Collection

SAC Library-Books-DS570.ก6ม56 2551

Annotation

          การใช้ชีวิตความเป็นอยู่เหมือนชาวไทย แต่ก็ยังมีความเป็นกะเหรี่ยงอยู่ ทำให้กลุ่มไทยกะเหรี่ยงอำเภอสวนผึ้ง พยายามฟื้นฟูวัฒนธรรมให้สามารถแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม มีรูปแบบชัดเจน โดยการเลือก
และการสร้างสรรค์เครื่องดนตรีในการรำกะเหรี่ยงเพื่อแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของไทยกะเหรี่ยง บทความนี้
จึงได้นำเสนอเครื่องดนตรีของคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง โดยสามารถแบ่งตามลักษณะได้เป็น เครื่องตี เครื่องเป่า และเครื่องดนตรีสากล เพื่อให้เห็นถึงลักษณะความโดดเด่น แสดงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของเครื่องดนตรีของคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

 

อ่านต่อ...
image

Author

คมลักษณ์ ไชยยะ

Imprint

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6ค44 2551

Annotation

            การศึกษานี้เป็นการศึกษามิติทางชาติพันธุ์ของกะเหรี่ยงที่ชุมชนชายแดนบ้องตี้บน หมู่ที่ 1 ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี  ได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กะเหรี่ยงใน หรือกะเหรี่ยงที่เกิดและอาศัยในฝั่งประเทศไทย และกะเหรี่ยงนอก หรือกะเหรี่ยงที่เคลื่อนย้ายมาจากฝั่งประเทศพม่า เนื่องจากว่าชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิมที่มีจำนวนมากที่สุดในอาณาบริเวณนี้ จึงค่อนข้างมีบทบาททางสังคมที่โดนเด่นกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่มีขนาดเล็กกว่า เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างกะเหรี่ยงในกับกะเหรี่ยงนอก และกระบวนการปรับตัวของกะเหรี่ยงพลัดถิ่นในบริบทของหมู่บ้านชายแดนไทย-พม่า จึงมุ่งความสนใจไปยังการปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างกะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่ม เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของผู้คนที่อาศัยอยู่ ณ อาณาบริเวณชายแดนแห่งหนึ่งของรัฐ-ชาติไทย

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ