banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สุริยา รัตนกุล

Imprint

นครปฐม : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547

Collection

SAC Library-Books-DS570.ก65ส74 2547

Annotation

            บทความนี้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอาหารของกะเหรี่ยง ตั้งแต่หน้าที่ในครัว การตำข้าว ความเชื่อเรื่องวันพระที่เกี่ยวข้องกับการตำข้าว วัฒนธรรมการกินของกะเหรี่ยง รวมถึงนำเสนอสูตรอาหารกะเหรี่ยงที่สามารถนำไปปรุงได้จริง ทั้งน้ำพริก แกง และผัดต่าง ๆ หรือใช้ศึกษาในเชิงวิชาการจากสูตรอาหาร ให้ได้รับความรู้เรื่องความคิดรวบยอด (Concept) หรือทางอรรถศาสตร์ (Semantics) ของกะเหรี่ยงที่แตกต่างจากไทย ที่เห็นได้จากเรื่อง ชนิดของเนื้อสัตว์ ความคาว เครื่องแกง ชนิดของแกง เป็นต้น ในบทความนี้ยังสอดแทรกเคล็ดลับการปรุงอาหารกะเหรี่ยงให้อร่อย และมีเนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างอาหารไทยกับอาหารกะเหรี่ยง โดยความรู้ที่นำมาเขียนนี้ได้มาจากการทำวิจัยภาคสนามในหมู่บ้านกะเหรี่ยง ที่ตำบลห้วยบง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2519 และในเดือนธันวาคม 2521 – มกราคม 2522 และจากการที่ผู้เขียนได้ใกล้ชิดกับชาวกะเหรี่ยงเป็นเวลากว่า 5 ปี

อ่านต่อ...
image

Author

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Imprint

กรุงเทพ ฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2547

Collection

SAC Library-Books- DS570.ศ73 2547

Annotation

            ศึกษากระบวนการและหน้าที่ในการดำรงความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ความสัมพันธ์ทางชาติพันธ์ และการแสดงออกในเรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ในการปฏิสัมพันธ์ข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดคนพลัดถิ่น และอื่นๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 สมัยคือ สมัยก่อนมโนทัศน์ชาติพันธุ์ธำรง สมัยนิยมศึกษาชาติพันธุ์ธำรง และสมัยหลังชาติพันธุ์ธำรงการธำรงชาติพันธุ์นั้น ไม่อยู่นิ่งตายตัว มีการเคลื่อนไหวข้ามพรมแดน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงชาติพันธุ์ของแต่ละกลุ่มนั้นมีการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ เพื่อความอยู่รอด อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นที่มีการปรับเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ว่าอยู่ในเวลาใด นอกจากนี้เนื้อหางานเขียนยังเล่าถึง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ข้ามยุคสมัยที่เกี่ยวกับการศึกษาในสังคมไทย ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจการเมือง ประวัติศาสตร์ และการเดินทางข้ามพรมแดนไปประเทศที่ทำงาน และประเทศบ้านเกิดเมืองนอน 

อ่านต่อ...
image

Author

ศิขริน เอกะวิภาต

Imprint

[กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.], 2530

Collection

SAC Library-Research and Thesis- DS570.ก6ศ62 2546

Annotation

            ศึกษาลักษณะทางประชากร การดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และความต้องการใช้ประโยชน์จากสื่อ รวมไปถึงรูปแบบการดำเนินชีวิต สภาพทั่วไปของสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ตั้ง อาณาเขตติดต่อของถิ่นที่อยู่อาศัย ตลอดจนประวัติชนชาติกะเหรี่ยงในประเทศไทย คติความเชื่อ ภาษา การแบ่งกลุ่ม ลักษณะถิ่นที่อยู่ ศาสนา ระบบเศรษฐกิจ วิถีและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยทำการศึกษาจากชาวกะเหรี่ยงตำบลบ้านคา จังหวัดราชบุรี ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2546

อ่านต่อ...
image

Author

ภาสกร ภูแต้มนิล

Imprint

มหาสารคาม : โครงการปริญญาเอกไทศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2546

Collection

SAC Library-Books-DS570.ท9ส64 2546

Annotation

            กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อเป็นกรอบในการดำรงและการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยความเชื่อที่ยึดโยงสังคมกะเหรี่ยงคือ ลัทธิฤาษี ซึ่งเป็นความเชื่อที่ตกผลึกสั่งสมมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ กะเหรี่ยงจึงดำรงอยู่อย่างพึ่งพาธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ มีข้อห้ามทางศาสนาเป็นเครื่องมือควบคุมทางสังคม โดยมีฤาษีเป็นผู้นำทางความเชื่อที่มีบทบาทในการปกครอง เมื่อความเจริญเข้ามามีความสำคัญ เกิดการพยายามเปลี่ยนแปลงโดยรัฐชาติ โดยเข้าไปจัดระบบการศึกษา ยกเลิกพิธีกรรมความเชื่อ และมองกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชนกลุ่มน้อย หรือคนชายขอบ ที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงาน ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย บริเวณชายแดนไทย-พม่า โดยเป็นการมองที่ขาดความเข้าใจถึงรากของปัญหา ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ บทความนี้ได้ศึกษาการปรับตัวของกะเหรี่ยงบริเวณชายแดนไทย-พม่า ผ่านลัทธิฤาษีซึ่งถูกมองว่าเป็นวาทกรรมของคนกะเหรี่ยงที่กลายเป็นคนชายขอบ

อ่านต่อ...
image

Author

สุทัศน์ สุภาษี

Imprint

เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ม8ส74 2546

Annotation

            ศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์จากป่าของชุมชนพื้นเมืองชาวม้ง และกะเหรี่ยงในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง และความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร เนื่องจากมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีความเชื่อ หรืออุดมการณ์สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างอย่างชัดเจน จึงมุ่งศึกษาถึงปัจจัยต่างที่มีผลต่อการเข้าไปใช้ผลิตภัณฑ์จากป่าเช่น สถานภาพทางภูมิศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจ รวมถึงภูมิปัญญาชนเผ่าในการเข้าไปใช้ รักษา อนุรักษ์ การจัดกรป่า และการดำรงชีวิตที่อาศัยผลิตภัณฑ์จากป่าของชุมชนพื้นเมืองม้ง และกะเหรี่ยง เพื่อนำไปใช้เปรียบเทียบกับเส้นมาตรฐานความยากจนในชนบทเฉลี่ยทั้งประเทศ

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ