banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สุชาดา ลิมป์

Imprint

กรุงเทพฯ : วิริยะธุรกิจ, 2557

Collection

วารสาร สารคดี ปีที่ 30 ฉบับที่ 355 (ก.ย. 2557) หน้าที่ 140-164

Annotation

            ศึกษาพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่างานบุญมาบุ๊โคะ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บ้านมอทะ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก โดยถูกถ่ายทอดเรื่องราวผ่านประสบการณ์ของทีมงานสารคดี แสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตของชาวปกาเกอะญอที่ล้วนขับเคลื่อนชีวิตด้วยวิถีเกษตร งานบุญเจดีย์มาบุ๊โคะจึงเสมือนพิธีเฉลิมฉลองผลิตผลใหม่หลังฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อแสดงความขอบคุณต่อธรรมชาติ ที่ช่วยดูแลพืชผลอย่างดีตลอดฤดูกาล รวมถึงการศึกษาวัฒนธรรมที่ชาวกะเหรี่ยงให้ความสำคัญอย่างมากคือวัฒนธรรมการกิน วัฒนธรรมพี่น้องชาติพันธุ์ผ่านการใช้ชีวิตในแต่ละวันของชาวกะเหรี่ยง

อ่านต่อ...
image

Author

กุศล พยัคฆ์สัก

Imprint

ปทุมธานี : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555

Collection

วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ปีที่ 31, ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2555), หน้า 137-168

Annotation

          กลุ่มผู้นำหนุ่มสาวปกาเกอะญอ เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยพัฒนาตัวเองด้วยการสร้างอัตลักษณ์ของคนสองวัฒนธรรม จากการเรียนรู้วัฒนธรรมของตน นำมาปรับใช้ หรือโต้ตอบกับความเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายนอก และความเป็นลูกหลานที่ดีของชาวปกาเกอะญอด้วยการทำงานอย่างเสียสละ
เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และร่วมเรียนรู้กับกลุ่มต่าง ๆ บทความนี้มุ่งนำเสนอความเป็นผู้นำของหนุ่มสาวปกาเกอะญอภายใต้อัตลักษณ์ของคนสองวัฒนธรรม และความเป็นลูกหลานที่ดี รวมไปถึงการใช้การเมืองวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อเสนอแนวทางการจัดการทรัพยากรในรูปแบบต่าง ๆ โดยยกตัวอย่างการศึกษาจากผู้นำคนหนุ่มสาว 4 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านกลาง ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ผู้ประกาศศาสนาคริสตจักรที่ 19 (เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน) เจ้าหน้าที่สนามของมูลนิธิรักษ์ป่าไม้ และอาสาสมัครชุมชนของเครือข่ายกลุ่มเกษตรภาคเหนือ มาอภิปรายถึงสิ่งที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงได้สร้างอัตลักษณ์ขึ้น

 

อ่านต่อ...
image

Author

นาถฤดี เด่นดวง

Imprint

นครปฐม : สำนักงานวิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553

Collection

วารสารสหศาสตร์ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (มี.ค./ส.ค. 2553), หน้า 87-115

Annotation

            พยาธิเป็นปัญหาที่บั่นทอนสุขภาพของคนไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งห่างไกลจากความเจริญ และอยู่บริเวณแนวชายแดน เนื่องจากประชาชนเหล่านี้มักมีปัญหาสภาพบ้าน สิ่งแวดล้อม และสุขาภิบาลที่ทรุดโทรม ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วยจากพยาธิ ผู้ศึกษาจึงมุ่งศึกษาและอธิบายความเชื่อทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับการป่วยเป็นของชาวกะเหรี่ยง ที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทยกับพม่าในจังหวัดกาญจนบุรี โดยอธิบายถึงแนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ ในการป่วยเป็นพยาธิ ชนิดของพยาธิที่พบ ความเชื่อของกะเหรี่ยงที่เกี่ยวกับสาเหตุและอันตรายของการเป็นพยาธิ อาการป่วยเป็นพยาธิที่กะเหรี่ยงสังเกตเห็น การรักษาแบบใช้ยาแผนปัจจุบันและใช้ยาสมุนไพร รวมไปถึงความเชื่อในการป้องกันการเป็นพยาธิซึ่งมีทั้งชาวบ้านที่เริ่มป้องกันและชาวบ้านที่ไม่สนใจป้องกัน

อ่านต่อ...
image

Author

รุจ เรืองมณี

Imprint

กรุงเทพฯ : สารคดี, 2536

Collection

สารคดี ปีที่ 8, ฉบับที่ 95 (ม.ค. 2536), หน้า 126-140

Annotation

            กะเหรี่ยงบ้านวัดจันทร์ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าสนอันอุดมสมบูรณ์มากว่าร้อยปี ป่าสนเป็นเสมือน “ขุมทรัพย์” หล่อเลี้ยงชีวิต ให้ทั้งน้ำดื่มใช้ และทำการเกษตร ชาวบ้านรู้ถึงคุณค่าของป่าแห่งนี้ดีจึงรักษาป่าสนผืนใหญ่นี้ไว้ แต่มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการเข้ามารุกราน ทำลายป่า แม้ชาวบ้านจะไม่เห็นด้วยแต่ก็ไม่สามารถโต้แย้งได้ บทความนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความพยายามของกะเหรี่ยงบ้านวัดจันทร์ที่ร่วมกันคัดค้าน ต่อต้าน การเข้ามาขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อมาพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งโครงการการทำไม้สนที่บ้านวันจันทร์นี้เป็นการดำเนินการตามแผน โดยที่ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรม
 

อ่านต่อ...
image

Author

หน่อว์ ที่ พ่อว์

Imprint

กรุงเทพฯ : สารคดี, 2536

Collection

วารสาร สารคดี ปีที่ 9 ฉบับที่ 99 (พ.ค. 2536) หน้าที่ 147-154

Annotation

            บทความนี้ได้เล่าถึงเรื่องของอดีตสถาปนิกชาวอเมริกันวัย 48 ปี ที่สละงานรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่อไปเป็นครูสอนศิลปะ เขาได้เดินทางมาสอนเด็ก ๆ ชาวปวาเกอะยอหรือที่คนไทยเรียกว่า "กะเหรี่ยง" ในชุมชน 5 แห่งบริเวณเขตชายแดนจังหวัดตาก เป็นระยะเวลากว่า 6 สัปดาห์ เขามีความเชื่อมั่นในตัวเยาวชนชาวปวาเกอะญอที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่แพ้นักเรียนที่มีโอกาสดีทั้งหลาย โดยภายในบทความจะนำเสนอภาพวาดของเด็ก ๆ ประกอบกับข้อความบรรยายความหมายผ่านหัวข้อบันทึกหลักฐาน และอิสรภาพแห่งจินตนาการ

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ