banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สุภาค์พรรณ ขันชัย

Imprint

กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546

Collection

SAC Library-Research and Thesis-HV640.5 B9ส74 2546

Annotation

            การศึกษาภูมิหลังและสถานการณ์การอพยพหนีภัยของผู้อพยพจากพม่า ศึกษาผลกระทบของการมีพื้นที่รองรับต่อชุมชนไทยในบริเวณใกล้เคียง รวมถึงศึกษาความต้องการของผู้อพยพจากพม่าที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่รองรับผู้หนีภัยที่กระทรวงมหาดไทยจัดไว้ เนื่องมาจากมีผู้อพยพจากพม่าจำนวนมากที่ไม่เข้าไปอยู่ในพ้นที่รองรับที่จัดไว้ให้ แต่กลับอาศัยอยู่หลบ ๆ ซ่อน ๆ ตามหมู่บ้านใกล้เคียงกับพื้นที่รองรับ ลักษณะการอยู่อาศัยไม่เป็นหลักแหล่งของคนเหล่านี้ทำให้ไม่มีใครทราบจำนวนที่แน่นอน ส่งผลถึงการวางแผนช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านความเป็นอยู่ สาธารณสุข และการศึกษาเป็นต้น การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกพื้นที่ 2 แห่งคือ หมู่บ้านที่ใกล้กับพื้นที่รองรับผู้หนีภัยบ้านแม่หละ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง และหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับพื้นที่รองรับผู็หนีภัยบ้านอุ้มเปี้ยม ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก  โดยเริ่มทำการศึกษาสิจัยตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2544

อ่านต่อ...
image

Author

ศิริชัย พันธุ์เจริญ

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6ศ63 2546

Annotation

            การศึกษาวิจัยนี้มุ่งค้นหาคำตอบให้กับกระบวนการปรับตัวในการจัดการทรัพยากรตามแบบประเพณีภายใต้บริบทกฎหมายของรัฐที่มีความเกี่ยวพันกับระบบกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในการใช้ทรัพยากรของชุมชนของปกากะญอ โดยมีกรอบแนวคิดในการศึกษาและวิเคราะห์ 2 ประการ คือ แนวความคิดในการควบคุมและจัดการทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น และแนวคิดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์และสิทธิ ผู้วิจัยศึกษาจากกลุ่มปกากะญอที่ บ้านห้วยหินลาดใน ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในงานวิจัยนี้ยังมีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของชาวกะเหรี่ยง การประกอบอาชีพ สภาพสังคม จารีต ประเพณี และความเชื่อของเผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนวิถีปฏิบัติจากคนรุ่งหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง

อ่านต่อ...
image

Author

ทัศนีย์ หิรัญวงษ์

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6ท65 2546

Annotation

            กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้ชื่อว่ามีภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่ามาช้านาน แต่ภายใต้กระแสการพัฒนาของรัฐ กะเหรี่ยงประสบปัญหาการถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการศึกษาระบบนิเวศของป่า ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนิเวศวิทยาของกะเหรี่ยงที่อยู่บนดอยอินทนนท์ ในหมู่บ้านแม่กลางหลวง และหมู่บ้านอ่างกาน้อย โดยศึกษาครอบคลุมถึงบริบท ข้อจำกัด และสภาพปัญหาการถ่ายทอดความรู้ด้านนิเวศวิทยา รวมถึงศึกษาแนวทางการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสม เน้นการศึกษาบริบทและแนวทางการถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ด้านนิเวศวิทยาที่สั่งสมมาของกะเหรี่ยง ว่ามีการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวด้วยวิธีการใด อีกทั้งยังศึกษาปัญหาและอุปสรรคการถ่ายทอดที่เกิดขึ้น

อ่านต่อ...
image

Author

วรุตม์ ศิริกิม

Imprint

กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก, 2546.

Collection

SAC Library-Research and Thesis- DS570.ก6ว47 2546

Annotation

            การศึกษากระบวนการอยู่ร่วมกับป่าของชุมชนกะเหรี่ยง โดยวิเคราะห์จาก ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิต ความคิดความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม พฤติกรรมการใช้ประโยชน์ การรักษาผืนป่าของชุมชนบ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้วิจัยได้มองกระบวนการอยู่ร่วมกับป่าของชาวป่าแป๋ เป็น 2 มิติ คือ มิติของนามธรรม และมิติของรูปธรรม กระบวนการในมิตินามธรรมเป็นเรื่องของวิธีคิดเป็นหลัก แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกเป็นเรื่องของความคิดความเชื่อของชาวป่าแป๋ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องผี และขวัญ แต่ไม่ใช่เลือนหายไป แต่มีการประยุกต์ เชื่อมโยงความรู้จากภายนอกมากขึ้นกว่าความรู้ดั้งเดิมของชุมชน ทำให้เกิดการผสมระหว่างความรู้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสนา และส่วนที่สองเป็นวิธีคิดความรู้เกี่ยวกับป่าและการดูแลรักษาป่า ชาวป่าแป๋มีความคิดต่อป่าว่าเป็นแหล่งน้ำ ต้นน้ำที่อยู่อาศัยของสัตว์ เป็นที่พักพิงจึงต้องมีการอนุรักษ์ไว้ เพราะถ้าไม่มีป่าก็ไม่มีน้ำ มิติที่เป็นรูปธรรม คือการนำเอามิติที่เป็นนามธรรมข้างต้นมาเปลี่ยนเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้ในชุมชน โดยเห็นได้จากกฎของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนภายนอกเห็นว่าเขารักษาป่าไว้ได้

อ่านต่อ...
image

Author

ทรงพล รัตนวิไลลักษณ์

Imprint

เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6ท42 2546

Annotation

            ปัจจุบันกลุ่มปกาเกอะญอถูกคุกคามจากอำนาจรัฐให้ออกจากป่า ทำให้ปกาเกอะญอที่บ้านขุนวินสร้างตัวตนอย่างเด่นชัดมากขึ้นโดยการให้ความหมาย  การต่อรอง และการตอบโต้เกี่ยวกับป่า เป็นความพยายามเพื่อที่จะอยู่กับป่าได้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาลักษณะ และกระบวนการสร้างตัวตนผ่านการปฏิบัติเกี่ยวกับป่าของชุมชนปกาเกอะญอบ้านขุนวิน หมู่ที่ 16 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวิธีการวิจัยโดยการทำความเข้าใจเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาพัฒนาเป็นกรอบคิด มีการสร้างเครื่องมือในการวิจัย มีการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ทั้งวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วมโดยผ่านการสัมภาษณ์กลุ่ม สัมภาษณ์รายบุคคล นำข้อมูลมาวิเคราะห์กับแกนนำชุมชน นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการ

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ