banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ศริญญา นาคราช

Imprint

เชียงใหม่ : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, [254-?]

Collection

SAC Library- Books-DS570.ก6ศ46

Annotation

          นำเสนอวัฒนธรรมการทอผ้าของกะเหรี่ยง ตั้งแต่วิวัฒนาการของเครื่องทอผ้ากะเหรี่ยง ส่วนประกอบหลักของเครื่องทอแบบ การเตรียมด้ายและการขึ้นเครื่องทอ วิธีการปลูก การเก็บ และการปั่นฝ้าย การย้อมสีและลาย วิธีทอผ้า การตัดเย็บ และวิธีการเก็บรักษาผ้าของกะเหรี่ยงในภาคเหนือของประเทศไทย โดยการทอผ้าของกะเหรี่ยงแบ่งได้เป็น การทอธรรมดา และการทอลวดลาย กล่าวถึงการประดิษฐ์ลวดลายบนผืนผ้าขณะที่ทอ ซึ่งประกอบไปด้วย ลายเส้นในเนื้อผ้า ลายสลับสี ลายจก ลายขิด และการทอลายโดยการแทรกวัสดุอื่นประกอบ นอกจากนี้ยังอธิบายการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นบน จังหวัดอุทัยธานี และบ้านห้วยฮ่อมนอก จังหวัดลำพูน เอาไว้อีกด้วย

อ่านต่อ...
image

Author

Marlowe, David H

Imprint

[S.L : S.N., 1995?]

Collection

SAC Library-Books-GN635.T4E85 V.2

Annotation

            ความสัมพันธ์ระหว่างกะเหรี่ยงกับกลุ่มชาติพันธุ์นั้นต่างมีความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างกัน และแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเป็น ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ด้วย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ ไม่มีกลุ่มใดที่สามารถอยู่อย่างไม่สัมพันธ์กับกลุ่มได้  ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดปัญหาขึ้น จะส่งผลกระทบกับโครงสร้างทางสังคมของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ในบทความนี้แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ของกะเหรี่ยงสะกอบนพื้นที่สูงกับกลุ่มคนบนพื้นที่ราบ ในจังหวัดเชียงใหม่ และการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ โดยทำการศึกษาที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง และตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ศึกษาได้กล่าวถึงประวัติของกะเหรี่ยงสะกอในประเทศไทย การแลกเปลี่ยนผลผลิต ค่าแรงและการแลกเปลี่ยนแรงงาน รวมไปถึงมุมมองของกะเหรี่ยงที่มีต่อกลุ่มชาติพันธ์อื่น ๆ
 

อ่านต่อ...
image

Author

สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Imprint

กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2561

Collection

SAC Library-Books-S602.87 .ส46 2561

Annotation

            คนปกาเกอะญอใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับป่ามาอย่างยาวนาน จึงมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการพึ่งพาป่า โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับอาหารการกิน ซึ่งการจัดการอาหารของปกาเกอะญอมีความเฉพาะในเชิงอัตลักษณ์ ที่กลมกลืนกันระหว่างการจัดความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ธรรมชาติ และสิ่งเหนือธรรมชาติ (จิตวิญญาณ) โดยในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับการทำไร่หมุนเวียน และนำเสนออาหารของปกาเกอะญอผ่านคนสองกลุ่ม คือคนทำอาหารทั้งจากในชุมชนและจากนอกชุมชน ซึ่งอาศัยผลผลิตไร่หมุนเวียนและป่าผืนเดียวกันของท้องถิ่นนั้น ๆ จาก 3 ชุมชน ใน 3 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ หมู่บ้านห้วยหินลาดใน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านแดลอ-เขล่อคี (แม่ลายเหนือ) อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหมู่บ้านแม่เหยาะคี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

อ่านต่อ...
image

Author

โครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Imprint

เชียงใหม่: โครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557

Collection

SAC Library-Books-DS588.ห7 ล642 2557

Annotation

            เนื้อหากล่าวถึงล้านนาตั้งแต่อดีต ตั้งแต่สมัยพญามังรายได้สถาปนอาณาจักรล้านนาขึ้น  ผ่านยุครุ่งเรือง และความเปลี่ยนแปรต่างๆมากมาย  แต่คนเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ลื้อ กะเหรี่ยง อาข่า ม้ง และอื่น ๆ ยังมีเรื่องเล่าของตนเอง ผ่านภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง โดยเนื้อหาได้แบ่งเป็น 4หมวดใหญ่  ได้แก่ หมวดที่ 1ปรัชญา ศาสนา ภาษาและวรรณกรรม, หมวดที่สอง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และอื่นๆ, หมวกที่สาม ที่อยู่อาศัย สถาปัตยกรรม ดนตรี และอื่นๆ , หมวดที่สี่เกี่ยวกับชาติพันธุ์  ประกอบด้วยหลายบทความที่กล่าวถึงล้านนา สะท้อนผ่าน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของไทยวน หรือคนเมือง ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ของล้านนา และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่อยู่ในล้านนาเช่นเดียวกัน โดยผ่านบทบาทของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความรู้ให้กับคนที่อยู่ในเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง มุ่งนำความรู้เผยแพร่สู่ชุมชน และยกระดับการศึกษา  เพื่อนำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นผู้นำด้านล้านนาคดีให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสามารถที่จะอนุรักษ์ สืบสานพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ของท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป

อ่านต่อ...
image

Author

อาภรณ์ สุนทรวาท

Imprint

นครปฐม : เพชรเกษม พริ้นติ้ง, 2551

Collection

SAC Library-Books-DS570.ก6ม56 2551

Annotation

          การใช้ชีวิตความเป็นอยู่เหมือนชาวไทย แต่ก็ยังมีความเป็นกะเหรี่ยงอยู่ ทำให้กลุ่มไทยกะเหรี่ยงอำเภอสวนผึ้ง พยายามฟื้นฟูวัฒนธรรมให้สามารถแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม มีรูปแบบชัดเจน โดยการเลือก
และการสร้างสรรค์เครื่องดนตรีในการรำกะเหรี่ยงเพื่อแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของไทยกะเหรี่ยง บทความนี้
จึงได้นำเสนอเครื่องดนตรีของคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง โดยสามารถแบ่งตามลักษณะได้เป็น เครื่องตี เครื่องเป่า และเครื่องดนตรีสากล เพื่อให้เห็นถึงลักษณะความโดดเด่น แสดงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของเครื่องดนตรีของคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ