banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ดรุณี สิงห์พงไพร

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559

Collection

Thai Digital Collection (TDC) - TDC-ThaiLIS

Annotation

            การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านห้วยห้อม ตำบาลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวในชุมชนหลังการเข้ามาของการพัฒนา โดยพบว่า ในราว พ.ศ.2500 การพัฒนาถูกนำเข้ามาโดยองค์กรภายนอกหรือการพัฒนาทำให้เกิดการก่อรูป ความสัมพันธ์ทางสังคมแบบใหม่ และทำการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่าง ๆ เพื่อมาทดแทนวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอ เช่น มีการส่งเสริมการปลูกกาแฟ กาทำผ้าทอขนแกะ หรือแม้แต่การเข้ารับนับถือศาสนาคริสต์ของคนบางกลุ่ม การพัฒนาเหล่านี้ ได้สร้างกลุ่มชนชั้นใหม่ คือกลุ่ม “เส่โข่” หรือคนรวย สามารถยกระดับตนเองให้มีบทบาทในการจัดการชุมชนและสร้างความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ ผ่านการจ้างงานสร้างอาชีพ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงคุณค่า ความเชื่อในวัฒนธรรมของชุมชน

อ่านต่อ...
image

Author

ภูมิชาย คชมิตร

Imprint

ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ท9ภ74 2558

Annotation

            ศึกษาถึงการธำรงชาติพันธุ์ของคนทวาย ในบ้านบ้องตี้บน และบ้านท้ายเหมือง ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในอดีตคนงานเหมืองแร่ที่เข้ามาทำงานเหมืองแร่ที่บ้านบ้องตี้บน และบ้านท้ายเหมือง เมื่อประมาณสี่สิบปีที่แล้ว กระทั่งเหมืองแร่ปิดกิจการ อดีตคนงานเหมืองแร่ก็ยังคงสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณที่เป็นเหมืองแร่เก่าต่อไป นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 หลังจากที่กองกำลังทหารพม่าตีค่ายกะเหรี่ยงอิสระที่ตั้งอยู่ตามเส้นแนวชายแดนฝั่งประเทศพม่า  ทางการไทยจึงได้มีนโยบายมอบสัญชาติไทยให้กับคนต่างด้าวจากประเทศพม่า  หลังจากที่มีการโอนสัญชาติให้คนต่างด้าวเป็นจำนวนมาก ทำให้ลูกของคนต่างด้าวและคนที่เกิดในประเทศไทยได้รับสัญชาติไทย ฉะนั้นแล้วเมื่อคนในหมู่บ้านได้รับสัญชาติไทยมีการแบ่งแยกกันเองสำหรับ คนไทย และคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่มีสัญชาติไทยแต่เดิมจะเรียกตัวเองว่า “ไทยเก่า” หรือ “ไทยเดิม”ส่วน  คนพม่า คนมอญ คนมุสลิม และอื่นๆ ก็จะถูกเรียกว่า “ไทยใหม่”           

อ่านต่อ...
image

Author

สุชาดา ลิมป์

Imprint

กรุงเทพฯ : วิริยะธุรกิจ, 2557

Collection

วารสาร สารคดี ปีที่ 30 ฉบับที่ 355 (ก.ย. 2557) หน้าที่ 140-164

Annotation

            ศึกษาพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่างานบุญมาบุ๊โคะ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บ้านมอทะ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก โดยถูกถ่ายทอดเรื่องราวผ่านประสบการณ์ของทีมงานสารคดี แสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตของชาวปกาเกอะญอที่ล้วนขับเคลื่อนชีวิตด้วยวิถีเกษตร งานบุญเจดีย์มาบุ๊โคะจึงเสมือนพิธีเฉลิมฉลองผลิตผลใหม่หลังฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อแสดงความขอบคุณต่อธรรมชาติ ที่ช่วยดูแลพืชผลอย่างดีตลอดฤดูกาล รวมถึงการศึกษาวัฒนธรรมที่ชาวกะเหรี่ยงให้ความสำคัญอย่างมากคือวัฒนธรรมการกิน วัฒนธรรมพี่น้องชาติพันธุ์ผ่านการใช้ชีวิตในแต่ละวันของชาวกะเหรี่ยง

อ่านต่อ...
image

Author

โครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Imprint

เชียงใหม่: โครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557

Collection

SAC Library-Books-DS588.ห7 ล642 2557

Annotation

            เนื้อหากล่าวถึงล้านนาตั้งแต่อดีต ตั้งแต่สมัยพญามังรายได้สถาปนอาณาจักรล้านนาขึ้น  ผ่านยุครุ่งเรือง และความเปลี่ยนแปรต่างๆมากมาย  แต่คนเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ลื้อ กะเหรี่ยง อาข่า ม้ง และอื่น ๆ ยังมีเรื่องเล่าของตนเอง ผ่านภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง โดยเนื้อหาได้แบ่งเป็น 4หมวดใหญ่  ได้แก่ หมวดที่ 1ปรัชญา ศาสนา ภาษาและวรรณกรรม, หมวดที่สอง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และอื่นๆ, หมวกที่สาม ที่อยู่อาศัย สถาปัตยกรรม ดนตรี และอื่นๆ , หมวดที่สี่เกี่ยวกับชาติพันธุ์  ประกอบด้วยหลายบทความที่กล่าวถึงล้านนา สะท้อนผ่าน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของไทยวน หรือคนเมือง ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ของล้านนา และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่อยู่ในล้านนาเช่นเดียวกัน โดยผ่านบทบาทของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความรู้ให้กับคนที่อยู่ในเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง มุ่งนำความรู้เผยแพร่สู่ชุมชน และยกระดับการศึกษา  เพื่อนำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นผู้นำด้านล้านนาคดีให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสามารถที่จะอนุรักษ์ สืบสานพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ของท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป

อ่านต่อ...
image

Author

กุศล พยัคฆ์สัก

Imprint

ปทุมธานี : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555

Collection

วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ปีที่ 31, ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2555), หน้า 137-168

Annotation

          กลุ่มผู้นำหนุ่มสาวปกาเกอะญอ เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยพัฒนาตัวเองด้วยการสร้างอัตลักษณ์ของคนสองวัฒนธรรม จากการเรียนรู้วัฒนธรรมของตน นำมาปรับใช้ หรือโต้ตอบกับความเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายนอก และความเป็นลูกหลานที่ดีของชาวปกาเกอะญอด้วยการทำงานอย่างเสียสละ
เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และร่วมเรียนรู้กับกลุ่มต่าง ๆ บทความนี้มุ่งนำเสนอความเป็นผู้นำของหนุ่มสาวปกาเกอะญอภายใต้อัตลักษณ์ของคนสองวัฒนธรรม และความเป็นลูกหลานที่ดี รวมไปถึงการใช้การเมืองวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อเสนอแนวทางการจัดการทรัพยากรในรูปแบบต่าง ๆ โดยยกตัวอย่างการศึกษาจากผู้นำคนหนุ่มสาว 4 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านกลาง ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ผู้ประกาศศาสนาคริสตจักรที่ 19 (เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน) เจ้าหน้าที่สนามของมูลนิธิรักษ์ป่าไม้ และอาสาสมัครชุมชนของเครือข่ายกลุ่มเกษตรภาคเหนือ มาอภิปรายถึงสิ่งที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงได้สร้างอัตลักษณ์ขึ้น

 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ