banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มานิ

ชาติพันธุ์ / มานิ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ คนในเรียกตัวเองว่า มานิ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ปัจจุบันเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลา พัทลุง และยะลา และประเทศเพื่อนบ้านชายแดนภาคใต้ของไทยจากมาเลเซียถึงอินโดนีเซีย ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง คำค้น มานิ , โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า, Mani , Orang Asli, Nigro-itos, Semang, Sakai , Chong, Mos, Tonga, Ngo, Ngo-pa, Senoi (Southeast Asian people) , Orang Asal (Malaysian people)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย จัดทำขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อแนะนำกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ตามชื่อที่กลุ่มเรียกตนเองหรือต้องการให้สังคมเรียก พยายามค้นคว้าวิจัยเพื่อให้มีเนื้อหาทันสมัย แสดงให้เห็นพลวัตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในปัจจุบัน โดยมุ่งหมายที่จะสื่อสารกับสาธารณะ ให้บุคคลทั่วไปมีความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์และรู้จักวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย แนะนำกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย จัดเรียงตามลำดับอักษรตามชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง ให้ข้อมูลชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง       ชื่อเรียกที่คนภายนอกเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ ภายในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไป ประชากร ประวัติ/ที่มา วิถีชีวิต ประเพณี/เทศกาล ศาสนา/ความเชื่อ ศิลปะการแสดง ตำนาน และสถานการณ์ปัจจุบัน

 

อ่านต่อ...
image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย

Annotation

ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย จัดทำขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้นักวิชาการรุ่นใหม่สนใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ และมีแหล่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว   ผู้สนใจสามารถเรียกใช้ข้อมูลตามประเด็น และสามารถประมวลเนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเด็นวิจัยในเชิงลึกต่อไป
            ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย รวบรวม สังเคราะงานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเรียงตามชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง มีผลงานทั้งสิ้นประมาณ 1260 รายการ นอกจากนี้ยังมี บทความชาติพันธุ์ ข่าวชาติพันธุ์ ข้อมูลเครือข่ายชาติพันธุ์ และข่าวความเคลื่อนไหวด้านการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ไว้บริการด้วย
 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีบูรพา

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

SAC Library-Audio Visual Materials-CDF 000042

Annotation

เป็นการบอกเล่าถึงเรื่องราวของเงาะป่า หรือซาไก โดยมีคุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ เป็นผู้ดำเนินรายการ และคุณนิวรณ์ เขมาวนิช อดีตทหารพราน ซึ่งเป็นผู้พบเจอเงาะป่า หรือซาไก ที่อาศัยอยู่บนเขตรอยต่อที่เรียกว่า สันไม้ไผ่ มีการบอกเล่าถึงเรื่องราวของการอพยพเพื่อตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของเงาะป่า การสร้างที่อยู่อาศัย การหาอาหารเพื่อดำรงชีวิต การทำอุปกรณ์ที่เรียกว่า “กระบอกตุด” เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ การมีชีวิตแบบแบ่งปัน และพึ่งพาอาศัยกัน และเมื่อแหล่งอาหารที่เคยพักอาศัยหมดลง เงาะป่า หรือซาไก ก็ต้องทิ้งทับเก่า เพื่ออพยพออกเดินทาง แสวงหาแหล่งอาหารเพื่อตั้งทับใหม่ เพื่อสืบต่อวิถีแห่งป่า และดำรงเผ่าพันธุ์สืบต่อไป
 

อ่านต่อ...
image

Author

2001

Imprint

Rochester,Vt. : InnerTraditions, c2001

Collection

SAC Library-Books-GN468.W65 2001

Annotation

ผู้เขียนได้เข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ San’oi ในมาเลเซียเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ได้เรียนรู้ภาษาของชาว San’oi  ร่วมกินดื่ม นอนหลับพักผ่อนกับพวกเขาและได้สังเกตวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ในแต่ละวันขย่างใกล้ชิด จนเกิดความรู้สึกชื่นชมในวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างจากสังคมตะวันตก โดยเฉพาะศาสตร์แห่งการรู้แจ้งของ San’oi ทั้งการรับรู้ความเป็นจริง ความรู้สึกนึกคิด ความฝันหรือการรับรู้ว่าตัวเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ รวมไปถึงศาสตร์แห่งการบำบัดรักษาที่แตกต่างไปจากการแพทย์ทั่วไป มีการเปรียบเทียบกับแนวคิดแบบอารยธรรมตะวันตกซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า แนวคิดแบบสังคมตะวันตกอาจทำให้เราสูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงหรือทำให้ราหลงลืมอะไรบางอย่างไป
 

อ่านต่อ...
image

Author

สิริพร สมบูรณ์บูรณะ

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2558

Collection

SAC Library-Book-DS570.ง7 ส64 2558

Annotation

: รายงานวิจัยได้เรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษามานิซาไกในจังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล ในปีพ.ศ. 2558 โดยมีขอบเขตของงานวิจัยเป็นการศึกษาภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์สังคมผ่านการเรียกตนเองและการถูกเรียกของมานิซาไก การศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชน ที่มา และประวัติย่อของชุมชน วิถีชีวิต อัตลักษณ์ต่างๆ ได้แก่ อาชีพ ระบบเครือญาติ สายตระกูล การแต่งกาย ฯลฯ การศึกษาเรื่องความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและพิธีกรรม รวมไปถึงการศึกษาสถานการณ์สำคัญและการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันของชนเผ่ามานิ เช่น การเปลี่ยนศาสนา การสูญหายของภาษาดั้งเดิม การอพยพเข้าทำงานในเมือง ปัญหาที่ประสบในปัจจุบัน และความเคลื่อนไหวของเครือข่ายชาติพันธุ์ทั้งในประเทศและข้ามพรมแดนรัฐ

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ