Title Author Imprint Collection Url Annotation
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ http://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย จัดทำขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อแนะนำกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ตามชื่อที่กลุ่มเรียกตนเองหรือต้องการให้สังคมเรียก พยายามค้นคว้าวิจัยเพื่อให้มีเนื้อหาทันสมัย แสดงให้เห็นพลวัตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในปัจจุบัน โดยมุ่งหมายที่จะสื่อสารกับสาธารณะ ให้บุคคลทั่วไปมีความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์และรู้จักวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย แนะนำกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย จัดเรียงตามลำดับอักษรตามชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง ให้ข้อมูลชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง       ชื่อเรียกที่คนภายนอกเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ ภายในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไป ประชากร ประวัติ/ที่มา วิถีชีวิต ประเพณี/เทศกาล ศาสนา/ความเชื่อ ศิลปะการแสดง ตำนาน และสถานการณ์ปัจจุบัน

 
ฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย ไม่ระบุ ไม่ระบุ ฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย จัดทำขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้นักวิชาการรุ่นใหม่สนใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ และมีแหล่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว   ผู้สนใจสามารถเรียกใช้ข้อมูลตามประเด็น และสามารถประมวลเนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเด็นวิจัยในเชิงลึกต่อไป
            ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย รวบรวม สังเคราะงานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเรียงตามชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง มีผลงานทั้งสิ้นประมาณ 1260 รายการ นอกจากนี้ยังมี บทความชาติพันธุ์ ข่าวชาติพันธุ์ ข้อมูลเครือข่ายชาติพันธุ์ และข่าวความเคลื่อนไหวด้านการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ไว้บริการด้วย
 
เงาะป่า คนในโลกที่กาลเวลาไม่เคยเคลื่อนไหว ทีวีบูรพา ไม่ระบุ SAC Library-Audio Visual Materials-CDF 000042 เป็นการบอกเล่าถึงเรื่องราวของเงาะป่า หรือซาไก โดยมีคุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ เป็นผู้ดำเนินรายการ และคุณนิวรณ์ เขมาวนิช อดีตทหารพราน ซึ่งเป็นผู้พบเจอเงาะป่า หรือซาไก ที่อาศัยอยู่บนเขตรอยต่อที่เรียกว่า สันไม้ไผ่ มีการบอกเล่าถึงเรื่องราวของการอพยพเพื่อตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของเงาะป่า การสร้างที่อยู่อาศัย การหาอาหารเพื่อดำรงชีวิต การทำอุปกรณ์ที่เรียกว่า “กระบอกตุด” เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ การมีชีวิตแบบแบ่งปัน และพึ่งพาอาศัยกัน และเมื่อแหล่งอาหารที่เคยพักอาศัยหมดลง เงาะป่า หรือซาไก ก็ต้องทิ้งทับเก่า เพื่ออพยพออกเดินทาง แสวงหาแหล่งอาหารเพื่อตั้งทับใหม่ เพื่อสืบต่อวิถีแห่งป่า และดำรงเผ่าพันธุ์สืบต่อไป
 
Original wisdom : stories of an ancient way of knowing 2001 Rochester,Vt. : InnerTraditions, c2001 SAC Library-Books-GN468.W65 2001 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073058 ผู้เขียนได้เข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ San’oi ในมาเลเซียเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ได้เรียนรู้ภาษาของชาว San’oi  ร่วมกินดื่ม นอนหลับพักผ่อนกับพวกเขาและได้สังเกตวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ในแต่ละวันขย่างใกล้ชิด จนเกิดความรู้สึกชื่นชมในวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างจากสังคมตะวันตก โดยเฉพาะศาสตร์แห่งการรู้แจ้งของ San’oi ทั้งการรับรู้ความเป็นจริง ความรู้สึกนึกคิด ความฝันหรือการรับรู้ว่าตัวเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ รวมไปถึงศาสตร์แห่งการบำบัดรักษาที่แตกต่างไปจากการแพทย์ทั่วไป มีการเปรียบเทียบกับแนวคิดแบบอารยธรรมตะวันตกซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า แนวคิดแบบสังคมตะวันตกอาจทำให้เราสูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงหรือทำให้ราหลงลืมอะไรบางอย่างไป
 
รายงานการวิจัยเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ กรณีกลุ่มซาไกหรือมานิในภาคใต้ : จังหวัดพัทลุง ตรังและสตูล สิริพร สมบูรณ์บูรณะ กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2558 SAC Library-Book-DS570.ง7 ส64 2558 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094807 : รายงานวิจัยได้เรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษามานิซาไกในจังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล ในปีพ.ศ. 2558 โดยมีขอบเขตของงานวิจัยเป็นการศึกษาภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์สังคมผ่านการเรียกตนเองและการถูกเรียกของมานิซาไก การศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชน ที่มา และประวัติย่อของชุมชน วิถีชีวิต อัตลักษณ์ต่างๆ ได้แก่ อาชีพ ระบบเครือญาติ สายตระกูล การแต่งกาย ฯลฯ การศึกษาเรื่องความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและพิธีกรรม รวมไปถึงการศึกษาสถานการณ์สำคัญและการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันของชนเผ่ามานิ เช่น การเปลี่ยนศาสนา การสูญหายของภาษาดั้งเดิม การอพยพเข้าทำงานในเมือง ปัญหาที่ประสบในปัจจุบัน และความเคลื่อนไหวของเครือข่ายชาติพันธุ์ทั้งในประเทศและข้ามพรมแดนรัฐ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพมารดาและทารก: กรณีศึกษาชนเผ่าซาไก จังหวัดตรัง พัชสนันท์ ชูสง ไม่ระบุ ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต,2557 : วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาว “มานิ” หรือแถบจังหวัดพัทลุง สงขลาจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ซาไก” ส่วนจังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาสจะเรียกว่า “ซาแก” มีลักษณะเตี้ย ผิวดำ ผมหยิก มีความสูงเพียง 145-150 ซม. กะโหลกศีรษะกว้าง อพยพมาอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยและในแหลมมลายู คนไทยทั่วไปเรียกว่า “เงาะป่า” ภาษาซาไกจะอยู่ในตระกูลภาษาคำโดดเช่นเดียวกับภาษามอญหรือเขมร การปฏิบัติเกี่ยวกับการเกิดของมารดาชาวซาไกที่นั้นญาติพี่น้องและสามีจะเตรียมหายาสมุนไพรต่างๆให้พร้อมเพื่อช่วยให้ลูกคลอดง่าย หมอที่ทำคลอดจะเรียกว่า “โต๊ะมีดัน” หรือ “โต๊ะดัน”  พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้หญิงซาไกถ้าแต่งงานแล้วประจำเดือนไม่มาแสดงว่าตั้งครรภ์แล้วจะต้องบอกสามีเป็นคนแรก ในการปฏิบัติตัวในการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการแพ้หรือมีน้อย ซึ่งชนเผ่านี้จะไม่นิยมไปฝากครรภ์กับหมออนามัยแต่จะปรึกษาหมอตำแยประจำเผ่าและเน้นรักษาด้วยยาสมุนไพร
 
การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตด้านปัจจัยพื้นฐานอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ : กรณีศึกษ ฉัตรวรรณ พลเพชร ไม่ระบุ วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2557 : กลุ่มชาติพันธุ์ซาไกเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในผืนป่าทางภาคใต้ของประเทศไทยมาช้านาน วิถีชีวิตของซาไกต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานจากระบบนิเวศของป่ามาตอบสนองต่อความต้องการทั้งด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ในอดีตระบบนิเวศของป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์ทำให้ซาไกดำรงชีวิตได้อย่างราบรื่น แต่ปัจจุบันระบบนิเวศได้ถูกทำลายจนขาดความสมดุล พื้นที่ป่าเกิดความเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของซาไก งานวิจัยนี้ศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สังคมวัฒนธรรมของชาวซาไก และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่ส่งผลให้ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของซาไกเปลี่ยนแปลงไป โดยทำการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ซาไกในเขตพื้นที่ป่าเทือกเขาบรรทัด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งยังคงดำรงชีวิตด้วยวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนภายในป่า โดยทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2556 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ 2557
 
การตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยของชาวมันนิ = The Manni ethnic group settlements and habitats วิสา เสกธีระ ไม่ระบุ วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557 : ชาวมันนิคือกลุ่มชนพื้นเมืองที่อยู่อาศัยแถบเทือกเขาบรรทัดทางภาคใต้ของประเทศไทยมาเนิ่นนานก่อนกลุ่มคนอื่นๆ ในอดีตชนพื้นเมืองกลุ่มนี้ดำรงชีวิตแบบสังคมหาของป่าล่าสัตว์ (Hunting-Gathering Society)    มีวิถีชีวิตเร่ร่อน ไม่มีการตั้งถิ่นฐานแบบถาวร มีเพียงที่พักอาศัยแบบชั่วคราวที่เรียกว่า “ทับ” และ “ลา”เท่านั้น แต่ในปัจจุบันชาวมันนิได้เปลี่ยนมาตั้งรกราก สร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวร ทำให้รูปแบบที่พักอาศัยของชาวมันนิเปลี่ยนไปจากเดิม วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาการตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยของชาวมันนิในเชิงสถาปัตยกรรม โดยทำการศึกษาหมู่บ้านชาวมันนิ 4กลุ่มในเขตอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน พ.ศ. 2554 โดยศึกษาตั้งแต่วิวัฒนาการในการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะทางกายภาพของการตั้งถิ่นฐาน การใช้พื้นที่ รูปแบบสถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาเชิงช่างของชาวมันนิ รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐาน
 
เราควรเรียกเงาะป่าในภาคใต้ของไทยว่าเงาะซาไกหรือ? บุญเสริม ฤทธาภิรมย์ ไม่ระบุ วารสาร รามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2557) หน้า 71-88 https://www.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/25584 “เงาะซาไก” เป็นชื่อที่คนไทยทั้งส่วนราชการ นักวิชาการ สื่อมวลชน ตลอดจนคนไทยทั่วไปเรียกชนพื้นเมืองซึ่งมีผิวพรรณดำคล้ำปนแดง มีผมหยิกหย็อยเหมือนผลเงาะ ที่อาศัยอยู่ในป่าทางภาคใต้ของประเทศไทย บทความวิจัยนี้ได้สืบสาวประวัติความเป็นมาของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในป่าและตั้งถิ่นฐานในแหลมมลายูจนพบว่า ชนพื้นเมืองหรือเงาะป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าทางภาคใต้ของไทยนั้นคือ ชนเผ่านิกริโต Negritoหรือเซมัง Semang จัดเป็นพวกนิกรอยด์ Negroid) ไม่ใช่ชนเผ่าซาไก sakai) หรือเซนอย  ชนเผ่าซาไกไม่มีหลงเหลือในประเทศไทยอีกแล้ว พบได้เฉพาะที่ประเทศมาเลเซียเท่านั้น ทั้งสองเผ่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนหลายประการ ดังนั้น การเรียกชนพื้นเมืองทางภาคใต้ของไทยซึ่งเป็นชนเผ่านิกริโตหรือเซมังว่า “เงาะซาไก” นั้นถือว่าไม่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ
เงาะภาคใต้ของไทยเป็นเผ่าเซมังไม่ใช่ซาไก บุญเสริม ฤทธาภิรมย์. สตูล :วิทยาลัยชุมชนสตูล,2557. SAC Library-Book-DS570.ง7บ72 2557 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093859 นำเสนอเรื่องราวแสดงถึงความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนของชาวไทยที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ซาไก ความแตกต่างของกลุ่มชนเผ่าซาไกและเผ่าเซมัง มีความเป็นมา แหล่งที่อยู่ และลักษณะที่คล้ายคลึงกันแต่ไม่ใช่สายตระกูลเดียวกัน มีลักษณะของภาษาที่ต่างกัน สามารถแบ่งลักษณะความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ออกเป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มเซมัง คือกลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณแหลมมลายูและบริเวณทิวเขาทางภาคใต้ของไทย มีลักษณะผิวดำ ค่อนน้ำตาลไหม้ ตัวไม่สูงมากนัก ริมฝีปากหนา ผมหยิกขมวดเป็นก้นหอย และกลุ่มเผ่าซาไก ที่อพยพมาจากตอนใต้ของจีน ตัวค่อนข้างสูง ผิวคล้ำดำแดงออกเหลือง ผมคดไปมาเป็นลอนแต่ไม่หยิกหรือขมวดกลม อาศัยอยู่ทางตอนล่างของแหลมมลายูประเทศมาเลเซียเท่านั้น
 
การศึกษาภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชนหาของป่าล่าสัตว์ในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นฐาน: อิสระ ชูศรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2553 Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG53H0003 งานวิจัยเล่มนี้วิจัยเกี่ยวกับ กลุ่ม “มานิ” ในประเทศไทย ซึ่งส่วนมากคนไทยจะเรียกว่า “เงาะป่า” หรือ “ซาไก” เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย ดำรงชีพโดยการหาของป่า ล่าสัตว์ หาหัวมันป่า กล้วยป่า ผลไม้ป่า จับปลาตามลำธารและล่าสัตว์เล็ก ชนกลุ่มนี้จะสร้างที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราวด้วยพืชตระกูลปาล์ม และอพยพถิ่นฐานไปในพื้นที่ที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ เงาะป่าหรือซาไกจะเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะผิวคล้ำ ริมฝีปากหนา ตาโต ผมหยิกหยอยและขมวดเป็นก้นหอย กลุ่มที่สองกลุ่ม “มลาบรี” หรือ ตองเหลือง คือคนป่าอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยโดยจังหวัดแพร่ น่าน ชนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตโดยการหาของป่า เช่น ผลไม้ หัวเผือก หน่อไม้ ฯลฯ และพักอาศัยอยู่ในเพิงที่มีแค่หลังคาไว้กันแดดกันฝนที่ทำจากใบไม้ขนาดใหญ่ มีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่เคยปรากฏเป็นตัวอักษร และกลุ่มที่สามกลุ่ม “มอแกล็น” อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับกลุ่มชนอุรักละโว้ย ส่วนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันภายในพื้นที่มีทั้งภาษาไทย ภาษามอเก็น และภาษาอุรักละโว้ย
 
ดนตรีซาไก กรณีศึกษาตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ทยา เตชะเสน์ ไม่ระบุ วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553 ดนตรีเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมและสังคม การศึกษาเรื่องราวทางดนตรีสามารถสะท้อนให้เห็นลักษณะของกลุ่มคน ความเป็นมาและวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละสังคม วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้ทำการศึกษาดนตรีของกลุ่มชนพื้นเมืองซึ่งผู้เขียนเรียกว่า ชาวซาไก ในเขตตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ 2551 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ 2553 โดยทำการศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวซาไก และศึกษาด้านดนตรีชาติพันธุ์ตั้งแต่ลักษณะ ทำนอง จังหวะเพลงซาไก ซึ่งมีเพลงร้องจำนวน 4 เพลงคือ เพลงเชียวเชียวกลุง เพลงอาแว เพลงวองเบ๊าะ และเพลงจัมเปซ  รวมถึงศึกษาลักษณะทางกายภาพของเครื่องดนตรี ลักษณะและการสร้างเครื่องดนตรีจำนวน 6 ชิ้นคือกลองบัง ซาแกง ยาฮุ บองบง ลาแบ และจองหน่อง วิธีการเล่นเครื่องดนตรี ระบบเสียง ระดับเสียง เนื้อร้องและความหมาย วัตถุประสงค์ในการร้อง ความหมายและบทบาทของดนตรีในสังคมซาไก ด้วยระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยดุริยางควิทยา
 
ซาไก: การสร้างความเป็นอื่นในบริบทการพัฒนาของรัฐไทย สุนิตดา ชูสวัสดิ์ ไม่ระบุ วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2553 การพัฒนาของรัฐไทยหรือกระบวนการสร้างความทันสมัย (Modernity) นี้ เกิดจากการพัฒนาของรัฐไทยผ่านนโยบายต่าง ๆ และได้สร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาวมันนิหรือซาไก ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ความเป็นอยู่แตกต่างจากคนไทยส่วนใหญ่ในสังคม ความแตกต่างนี้เองทำให้ชาวมันนิถูกสังคมส่วนใหญ่ผลักไสให้กลายเป็น “คนอื่น” หรือเป็น “คนชายขอบ” ทั้งที่ชาวซาไกนั้นมีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และมีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาอัตลักษณ์ของซาไกก่อนการเข้ามาพัฒนาของรัฐไทยว่ามีวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อย่างไร และศึกษาอัตลักษณ์ของซาไกภายใต้บริบทการพัฒนาของรัฐไทยว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไรบ้าง โดยทำการศึกษาบุคคลภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับซาไก และกลุ่มชาติพันธุ์ซาไกในเขตพื้นที่บ้านโหล๊ะหาร ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุงตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2553
กลุ่มชาติพันธุ์มันนิ (ซาไก) : แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูสังคมวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันในสัง อนงค์ เชาวนะกิจ ไม่ระบุ วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552 ในปัจจุบัน วิถีชีวิตของชาวมันนิซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีความเป็นอยู่ที่ผูกพันกับป่าและทรัพยากรธรรมชาติ กำลังประสบปัญหาพื้นป่ามีความเสื่อมโทรมลง ทรัพยากรทางธรรมชาติที่ไม่อุดมสมบูรณ์เช่นเดิม อีกทั้งการพัฒนาของรัฐไทยและวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามามีผลกระทบกับสังคมวัฒนธรรมของชาวมันนิ วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาประวัติความเป็นมา สังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิซาไกจากอดีตถึงปัจจุบัน และศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิซาไกเพื่อให้คนในสังคมภาคใต้อยู่ร่วมกันด้วยการยอมรับและเข้าใจความแตกต่าง โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาชุมชนมันนิซาไกกลุ่มเขาหัวช้าง เขตจังหวัดพัทลุง กลุ่มเหนือคลองตง จังหวัดตรัง และกลุ่มวังสายทอง จังหวัดสตูล รวมทั้งศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูสังคมวัฒนธรรมที่ศูนย์พัฒนามลาบรี จังหวัดน่าน และชุมชนโอรัง-อัสลี ณ รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะสำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับชาวมันนิ
รายงานผลการศึกษาชาวไทย "ซาไก" ใน เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการวัฒนธรรมศาสตร์ เรื่องหลากหลายชาติพัน พระครูศรีจริยาภรณ์ (ชรัช อุชุจาโร), เปรมจิต พรหมสาระเมธี, บุษบา กิติจันทโรภาส, ณัฐพร บัวโฉม กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552 SAC Library-Books-DS570.ก64 2552 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00064082 “ซาไก” กลุ่มชาติพันธุ์นิกริโตหลากชื่อที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ตลอดจนประเทศมาเลเซีย จากรายงานผลการศึกษาซาไกกลุ่มหนึ่งในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ถูกจัดให้มีพื้นที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน ได้รับพระราชทานนามสกุล มีสิทธิถือบัตรประจำตัวประชาชนไทย ประกอบกับการมีโอกาสการเข้าถึงระบบการศึกษา ส่งผลให้ซาไกในพื้นที่ธารโตมีความเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนการแต่งกาย ภาษา ประเพณี และความเชื่อดั้งเดิมกำลังเลือนหายไป
 
จากเงาะป่าซาไกมาสู่มหาดเล็กพิเศษ ใน เหตุเกิดในแผ่นดิน ร.๕ โรม บุนนาค กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2550 SUT General stack -DS582.52 .ร924 2550 “เงาะ” เป็นคนป่าเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้ของไทย ครั้งในอดีตในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสจังหวัดพัทลุง มีพระราชประสงค์อยากจะได้ลูกเงาะมาชุบเลี้ยงไว้สักคนหนึ่ง ผู้รั้งราชการเมืองพัทลุงจึงได้รับหน้าที่สนองพระราชประสงค์จัดหาเด็กผู้ชายอายุ 10 ขวบชื่อ “คนัง”กำพร้าพ่อแม่ เมื่อถึงวังมีพิธีทำขวัญคนัง ได้รับการดูแลอย่างดี หัดให้ใช้ช้อนส้อมกินข้าว มีการฝึกสอนให้รู้จักระเบียบต่างๆ ของราชสำนัก คนังเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของทั้งเจ้านาย ข้าราชการ เมื่อคนังอายุเข้า 14 ปีก็ต้องออกจากพระราชวัง ไปทำงานเป็นเวรมหาดเล็ก เมื่ออยู่นอกวังชีวิตของคนังเริ่มตกต่ำลง มีเรื่องผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวพันมากขึ้น จนกระทั่งจบชีวิตลงในวัยหนุ่มกำดัดเท่านั้น
ซาไก สุจี บุญลิ่มเต็ง. กรุงเทพฯ :สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2550 SAC Library-Book-PL4209.1.ส72ซ69 2550 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00054834 ซาไก หนังสือประเภทนิทานสำหรับเด็กที่สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ ผ่านตัวละครเด็กที่มีความสนใจในเรื่องของชนเผ่าซาไก จนนำไปสู่การพบตัวละครสำคัญของเรื่องคือ “ซา” หนุ่มชาวซาไกผู้เป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์แสดงวิถีชีวิตของซาไก  โดยเล่าถึงรูปร่างลักษณะนิสัย การดำรงชีพของชาวซาไกที่มีต่อพื้นป่า การแต่งกายของซาไกในอดีต ขนมธรรมเนียมประเพณีต่างๆ รวมไปถึงอธิบายขั้นตอนการทำข้าวของเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตของชนเผ่า เช่น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับล่าสัตว์และเป็นอาวุธประจำกายของชนเผ่าซาไกทุกคน มีชื่อเรียกว่า “บอเลา”
 
การสื่อสารของกลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาสู่ชุมชนเมืองในการปรับตัวและการแสดงอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ เชิญขวัญ ภุชฌงค์ ไม่ระบุ วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 นายคมกฤษ ศรีธารโต เป็น “เงาะป่า” หรือ “ซาไก” ที่เคยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านซาไก ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทางราชการไทยได้รวบรวมชาวซาไกที่มีวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนมาอยู่อาศัยแบบเป็นหลักแหล่ง จนในช่วงปีพ.ศ. 2544 นายคมกฤษและครอบครัวซาไกได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและย้ายต่อมาอยู่ที่จังหวัดนครนายก การย้ายถิ่นฐานของนายคมกฤษและครอบครัวจากสังคมชนเผ่ามาสู่สังคมชุมชนเมือง ทำให้ครอบครัวนี้ต้องเผชิญกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคมภายนอกมาตลอด ทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมากจนเกิดปัญหาด้านการสื่อสาร งานวิจัยนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาและกระบวนการแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสาร รวมทั้งศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อแสดงอัตลักษณ์ความเป็นซาไกระหว่างนายคมกฤษและครอบครัวกับคู่สื่อสารที่ไม่ใช่ชาวซาไก เป็นต้น
ณ เวิ้งอ่าวชาวใต้ ชุมชน ภูมิทัศน์และวัฒนธรรม : ภาคใต้ในแง่ภูมิลักษณะและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ใน ช สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) กรุงเทพฯ : สถาบันฯ, 2548 SAC Library-Book-GN316.ท9ส36 2548 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00048040 ร่องรอยและรากเหง้าทางวัฒนธรรมของภาคใต้ที่ถูกค้นพบจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ การสร้างสรรค์ และการใช้งานวัฒนธรรมทางวัตถุบางอย่าง ซึ่งกลายเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลหลักฐานการติดต่อการค้าที่ปรากฏในแหล่งโบราณคดีริมฝั่งทั้งสอง ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของภาคใต้โดยเริ่มตั้งแต่การเป็นชุมชนเมืองท่ารุ่นแรกๆ และเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชนตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มพุทธศตวรรษที่ 8 จนถึงช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ที่ได้มีการกำหนดให้สมัยประวัติศาสตร์ชาติไทยเริ่มต้นขึ้น จากการรองรับกับพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์และหลักฐานการใช้ภาษาไทยของคนพื้นถิ่นจากตัวอักษรที่พบจากศิลาจารึก
 
ชาวเลและซาไก: เจ้าของฝั่งทะเลตะวันตกในคืนวันแห่งความเปลี่ยนแปลง ในรู้จักทักษิณ อาภรณ์ อุกฤษณ์ กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. SAC Library-Book-DS568.ต9ส733 2547 : กลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายกลุ่มในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยบริเวณเทือกเขาบรรทัดเขตรอยต่อ3จังหวัด พัทลุง ตรัง สตูล ซึ่งเป็นที่อยู่ของซาไกหรือมันนิ บริเวณหมู่เกาะชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวเลหรืออูรักลาโว้ย อาศัยอยู่แถบเกาะสิเหร่ หาดราไวย์ แหลมหลา บ้านเหนือ และบ้านสะปำ จังหวัดภูเก็ต ทั้งมอเก็นตามับและมอเก็นปูเลาในจังหวัดพังงาและภูเก็ต ที่มีลักษณะวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มอันเป็นเอกลักษณ์ การดำรงชีวิต การรวมกลุ่ม สังคม ประเพณีการเกิด การแต่งงาน การตายและความเชื่อ ตลอดจนการดิ้นรนต่อสู้กับนายทุนจากสังคมเมือง ที่เข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา
คนเมืองเรียกเขาว่าซาไก เขาเรียกตนเองว่ามันนิ ในวิถีไทยฉบับ กิตติ บุษปวนิช กรุงเทพฯ : บริษัท วรพงศ์ เทคโนโลยีส์ จํากัด, 2548. SUT General stack - DS569 .ก66 2548 : “มันนิ” อีกหนึ่งชื่อเรียกขานของกลุ่มชาติพันธุ์ซาไก กระจายอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ป่าไม้ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดจนทางเหนือของประเทศมาเลเซียและเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แถบเทือกเขาบรรทัดที่ครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัด ตรัง พัทลุง และสตูล พบกลุ่มมันนิแต็นแอ็น ที่มีวิถีชีวิตแบบมันนิดั้งเดิม โดยพึ่งพิงกับป่าไม้ ความเป็นอยู่ใกล้เคียงกับมนุษย์ยุคหิน ยังคงอยู่ซึ่งรูปแบบการหาของป่าล่าสัตว์ ใช้อาวุธอย่าง “บอเลา” ที่ทำขึ้นเองเป็นเครื่องมือสำหรับการล่าหาอาหาร มีภูมิปัญญาด้านสมุนไพร นิสัยโดยแท้ของมันนิเป็นคนซื่อ
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐาน ในการดำรงชีวิตของชนเผ่าซาไกในจังหวัดตรัง หลังจากการป สุวัฒน์ ทองหอม ไม่ระบุ ปริญญานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2544 ในอดีต ชนเผ่าซาไกในจังหวัดตรัง แถบเทือกเขาบรรทัดดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์มาเป็นอาหาร เพราะพื้นป่าในสมัยนั้นมีความอุดมสมบูรณ์และมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่ปัจจุบัน ภายหลังรัฐบาลไทยประกาศใช้นโยบายใต้ร่มเย็น ฐัฐไทยเข้าไปปฏิบัติการปราบปรามกองกำลังคอมมิวนิสต์ในแถบเทือกเขาบรรทัดเป็นฐาน และมีการตัดถนนเข้าไปใกล้แนวป่าเพื่อลำเลียงกำลังพล ทำให้หลังสิ้นปฏิบัติการ บุคคลภายนอกอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในพื้นป่ามากขึ้น แหล่งอาหารตามธรรมชาติลดลงและทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนเผ่าซาไก เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลประเด็นดังกล่าว เพื่อให้เข้าใจในความเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของชนเผ่าซาไกให้มากยิ่งขึ้น
 
รายงานขั้นสรุปการขุดค้นที่ถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่, ถ้ำซาไก จังหวัดตรังและการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาทา โครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2543 ไม่ระบุ รายงานขั้นสรุปของโครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย  เป็นรายงานเล่มที่ 2 เนื้อหาเป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการขุดค้นที่ถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ และถ้ำซาไก จังหวัดตรัง ปีพ.ศ. 2534 และผลการวิเคราะห์ข้อมูลชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดีของชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไกที่จังหวัดตรัง โดยข้อมูลการสรุปได้แบ่งออกเป็น 4 บทตามลักษณะประเภทของข้อมูลที่ได้จากผลการวิเคราะห์ ซึ่งได้แก่ บทที่ 1 สภาพธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์และผลการขุดค้นทางโบราณคดี ถ้ำหมอเขียว และถ้ำซาไก บทที่ 2 ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำหมอเขียว และถ้ำซาไก ประจำปี 2534 บทที่ 3 ผลการวิเคราะห์และตีความข้อความทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นถ้ำหมอเขียว และถ้ำซาไกประจำปี 2534 และบทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี
 
ปาฐกถาสุด แสงวิเชียร พ.ศ. 2543 เรื่อง "ชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดีข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและพัฒ สุรินทร์ ภู่ขจร กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์สิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543 SAC Library-Book-จุลสาร 01435 การศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีเกี่ยวกับเรื่องยุคหินเก่าในประเทศไทย ในเรื่องของการตั้งถิ่นฐาน โดยการพบร่องรอยตามถ้ำต่างๆ เช่น แหล่งโบราณคดีถ้ำซาไกหรือถ้ำลาคนแก่ ในเขตหมู่2 บ้านควนไม้ดำ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง พัฒนาการของการดำรงชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์ ประชากรที่แพร่กระจายเข้ามากลุ่มแรกๆ เครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ล่าสัตว์ที่ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่แสดงซึ่งชั้นวัฒนธรรมในขั้นต่างๆ ไล่ระดับตั้งแต่วัสดุอุปกรณ์แบบหยาบๆมาจนถึงวัสดุที่มีความทนทานและเกิดจากความคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น อันชี้ให้เห็นถึงเรื่องราวและความเป็นมาในยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน
: Ethnoarchaeology of Hunter-gatherer group : a case study of pre-neolithic to modern orang asli in Surin Pookajorn กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2542 SAC Library-Book- GN855.T45 S97 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00029302 การศึกษาสำรวจทางโบราณคดีซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลทางชาติพันธุ์วิทยาโบราณคดีจากกลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี ชนเผ่าที่มีลักษณะสังคมแบบเก็บของป่าล่าสัตว์ Hunter-gathererซึ่งอาศัยอยู่ที่ถ้ำซาไก ในจังหวัดตรัง ผลการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แบบข้ามศาสตร์จากทั้งวัตถุทางโบราณคดื และข้อมูลทางชาติพันธุ์วรรณนาเพื่ออธิบายและสืบสร้างกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่ก่อนยุคหินใหม่ ช่วง 10,000 ปีมาแล้ว สัมพันธ์กับชาวโอรัง อัสลีในปัจจุบันในมิติของ  พื้นที่และเวลา เช่น ผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ DNA พรรณพืชและซากดึกดำบรรพ์  รูปแบบสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ รวมถึงประเพณี ความเชื่อ เป็นต้น ทำให้พบการก่อรูปวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองดั้งเดิมของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ 
 
ตองเหลือง ซาไก และชาวเลกับความกดดันทางวัฒนธรรมที่เลี่ยงไม่ได้ ใน สังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย / ศูนย์ กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2542 กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2542 SAC Library-Books-GN316.ท9ศ73 ศึกษาวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ในกลุ่มผู้คนที่ยังชีพด้วยการหาอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ 3 กลุ่มในประเทศไทยได้แก่ “ตองเหลือง” ในจังหวัดน่าน แพร่, “ซาไก” ในพื้นที่ป่าฝนเมืองร้อนจังหวัดตรัง สตูล พัทลุง ยะลา นราธิวาส และ “ชาวเล” ในพื้นที่ชายฝั่ง หมู่เกาะต่างๆในจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต กลุ่มสังคมเร่ร่อนเหล่านี้กำลังประสบกับความกดดันทางวัฒนธรรม ทั้งจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต้องการเพิ่มผลผลิต การถูกบุกรุกโดยเฉพาะที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารตามวิถีชีวิตดั้งเดิม ถูกเอารัดเอาเปรียบ ละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนจึงควรตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และร่วมกันแก้ไขช่วยเหลือ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ปัญหาสังคมวัฒนธรรมบนพื้นฐานสิทธิที่มนุษย์พึงมี 
ซาไก นิทานจากธารโต นงรัตน์ ก่อเกื้อ ไม่ระบุ สยามอารยะ ปีที่ 4, ฉบับที่ 50 (เม.ย. 2540), หน้า 70-73 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00067626 การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตจนถึงปัจจุบันของหัวหน้าหมู่บ้านซาไก ที่ชื่อว่า กล่อม ศรีธานโต โดยการบอกเล่าซึ่งกล่าวถึงวิถีชีวิตของเผ่าซาไกในอดีตที่เคยอาศัยอยู่ในป่าและมีความสุขในการใช้ชีวิตตามแบบฉบับของตน คือดำรงชีวิตหาของป่า ล่าสัตว์ และอพยพเคลื่อนย้ายแหล่งที่อยู่ไปเรื่อยๆ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ทำให้สมาชิกในเผ่าซาไกจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อกับชาวบ้านและโลกภายนอกมากขึ้น การบอกเล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาจากความรู้สึกกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
 
พฤติกรรมสุขภาพของชาวซาไก : กรณีศึกษาบ้านซาไก หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา วีรวัฒน์ สุขวราห์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล,2539. ไม่ระบุ ศึกษาพฤติกรรมของประชากรซาไกที่บ้านซาไก หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ในการดูแลสุขภาพตามความรู้ดั้งเดิมและการบำบัดรักษาด้วยวิธีการรักษาแผนใหม่ รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของชาวซาไก ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งสภาพภูมิศาสตร์ สภาพสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรม รวมถึงได้รับอิทธิพลจากกลุ่มสังคมภายนอก เมื่อรูปแบบวิถีชีวิตในสังคมเร่ร่อนหาอาหารเพื่อยังชีพแบบดั้งเดิมของซาไกเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพแต่เดิมที่มักเชื่อในอำนาจการกระทำของผี ส่งผลต่อวิธีการรักษา เช่น การใช้เวทมนตร์คาถาเสกหมากพลู หรือที่เรียกว่าทำ "ซาโฮส"  แต่เมื่อเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลง ซาไกได้รับการจัดสรรที่ดินจากทางการให้เข้ามาตั้งหลักแหล่งถาวร มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการยังชีพด้วยการรับจ้างและถางป่าแลกเปลี่ยนเงิน เมื่อซาไกได้รับอิทธิพลทางสังคมวัฒนธรรมและรูปแบบวิถีชีวิตจากชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิม ก็เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เพื่อให้เกิดการยอมรับจากกลุ่มสังคมในชุมชนใกล้เคียง รู้จักใช้ยาแผนปัจจุบันควบคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีการดั้งเดิมเมื่อเจ็บป่วย
จากชายเขตขันธ์ พัทลุงพารา สู่กรุงเทพมหานคร อาภาภิรัตน์ วัลลิโภดม ไม่ระบุ จุลสารไทยคดีศึกษา. ปีที่ 13, ฉบับที่ 1 (ส.ค. 2539), หน้า 54-59 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00067217 บทความว่าด้วยเรื่องราวของเด็กชายชาวซาไก นามว่า “คนัง” เด็กชายผู้มีโอกาสถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระพุทธเจ้าหลวง ผู้เขียนได้สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นความเป็นคนนอกกลุ่ม outgroup และการที่คนป่ายังคงถูกมองว่าห่างไกลความเป็นอารยะ uncivilized ผ่านเรียบเรียงเหตุการณ์ในชีวิตของคนังตั้งแต่เริ่มเข้าวังซึ่งเป็นที่โปรดปรานของผู้คนในวัง จนถึงช่วงบั้นปลายชีวิตที่ตกอับของคนัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เน้นให้เห็นถึงความล้มเหลวในการใช้ชีวิตและการปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ของคนังตามทัศนะของผู้เขียน
 
ชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก : กรณีศึกษาที่จังหวัดตรัง ใน เพราะขอบฟ้ากว้าง : รวมบทความจากคู่มือทัศนศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นครนายก : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 2538 SAC Library-Books-AC158.น64 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00018314 ซาไก ชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดตรัง พบว่าซาไก มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน การแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธคู่กาย รวมไปถึงประเพณี ความเชื่อต่างๆ ที่ล้วนสัมพันธ์กับธรรมชาติ เพื่อให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ในป่าเขาได้ เมื่อเวลาผ่านไปสภาพของป่าเขาเสื่อมโทรมลง ย่อมส่งผลให้วิถีชีวิตของพวก ตามมาด้วยปัญหาต่างๆ ทั้งกระทบโดยตรงต่อชนเผ่าซาไกเอง และต่อสังคมโดยส่วนรวมด้วย
เงาะชนผู้อยู่ป่า : ชาติพันธุ์มนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่ยังเหลืออยู่ สุวัฒน์ ทองหอม กรุงเทพฯ : บริษัททันเวลา, 2538. SAC Library-Book-DS570.ง7ส75 2538 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043715 เรื่องราวของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมที่สันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวไทยทางภาคใต้ในจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล ยะลา นราธิวาส ปัตตานี เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซีย เกี่ยวกับความเป็นมา วิถีชีวิต ที่อยู่อาศัย อาหาร การแต่งกาย ความเชื่อ ทัศนคติ วัฒนธรรม และประเพณีที่สามารถสร้างสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่น การตั้งชื่อพวกเขาจากกลุ่มคนภายนอกที่ส่วนใหญ่มีความหมายไปในทางเย้ยหยัน เหยียดหยาม และดูถูกดูแคลน เพราะมีความคิดว่าพวกเขาเป็นชนชาติที่ด้อยกว่าตน ซึ่งสะท้อนให้เห็นลักษณะทางกายภาพของพวก อีกทั้งพวกเขายังมีความเชื่อซึ่งสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ พื้นดิน รุ้งกินน้ำ ดวงจันทร์ สัตว์ป่า ฯลฯ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
 
มันนิ คนจรนอนไพร ใน ชีวิตบนเส้นด้ายของ 13 เผ่าไทย เงาศิลป์ คงแก้ว กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร, 2537 SAC Library-Books-DS570.ช65ง75 2537 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037983 กลุ่มมันนิที่อำเภอธารโต ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อาศัยอยู่ที่นิคมสร้างตนเองธารโต โดยการจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้ในการเพราะปลูก กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเดียวที่มีกาสร้างบ้านแบบถาวร มีการเพราะปลูก เด็กๆได้เรียนหนังสือ และสามารถติดต่อกับราชการได้เนื่องจากมีบัตรประชาชน การเป็นคนป่าทำให้มันนิมีความเชี่ยวชาญในการหาสมุนไพร ซึ่งถือว่ามีคุณค่าในเชิงธุรกิจ และยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ด้วยการ อยู่ทับ หาของป่า ล่าสัตว์ กินน้อยใช้น้อย ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติจนเสียสมดุล แต่การดำเดินชีวิตที่เรียบง่ายนี้กลับกายเป็นสิ่งที่คนภายนอกมองว่า คนกลุ่มนี้ยังไม่พัฒนา และถูกกลั่นแกล้งเหมือนตัวตลก ในปัจจุบันมันนิจะแต่งกายเหมือนกับคนทั่วไป แลกมาด้วยของป่าและแรงงาน มีประเพณีที่สำคัญคือ การเกิด การตาย การแต่งงาน ความเชื่อและโชคลาง
 
: ชาวเลและซาไก เจ้าของฝั่งทะเลตะวันตก : ในคืนวันแห่งความเปลี่ยนแปลง. อาภรณ์ อุกฤษณ์. ไม่ระบุ วารสารทักษิณคดี. ปีที่ 3, ฉบับที่ 3 (ต.ค. 2536 - ม.ค. 2537), หน้า 89-103 บทความนี้กล่าวถึง กลุ่มชาติพันธุ์ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ตามเทือกเขาบรรทัดรอยต่อ ๔ จัดหวัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และยะลา คือ ซาไก หรือ มันนิ และ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะชายฝั่งทะเลอันดามันคือ ชาวเลซึ่งมี ๒ กลุ่มคือ อูรักลาโว้ย และ มอเก็น  บทความนี้กล่าวถึงตำนานกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง ๒ ว่ามีความเกี่ยวพันกัน เนื่องจากมีเหตุไฟไหม้ใหญ่ ก็หลบหนีไปคนละทิศละทาง คนที่หนีขึ้นภูเขา คือกลุ่มชาติพันธุ์มันนิ ส่วนกลุ่มที่หนีลงน้ำ ก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จากนั้นจะเป็นเรื่องราวความความเป็นอยู่และวิถีขีวิตของชาวมันนิ กับชาวเล ปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา
 
ชาวเลและซาไก เจ้าของฝั่งทะเลตะวันตก : ในคืนวันแห่งความเปลี่ยนแปลง / อาภรณ์ อุกฤษณ์. อาภรณ์ อุกฤษณ์. ไม่ระบุ วารสารทักษิณคดี. ปีที่ 3, ฉบับที่ 3 (ต.ค. 2536 - ม.ค. 2537), หน้า 89-103 บทความนี้กล่าวถึง กลุ่มชาติพันธุ์ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ตามเทือกเขาบรรทัดรอยต่อ ๔ จัดหวัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และยะลา คือ ซาไก หรือ มันนิ และ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะชายฝั่งทะเลอันดามันคือ ชาวเลซึ่งมี ๒ กลุ่มคือ อูรักลาโว้ย และ มอเก็น  บทความนี้กล่าวถึงตำนานกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง ๒ ว่ามีความเกี่ยวพันกัน เนื่องจากมีเหตุไฟไหม้ใหญ่ ก็หลบหนีไปคนละทิศละทาง คนที่หนีขึ้นภูเขา คือกลุ่มชาติพันธุ์มันนิ ส่วนกลุ่มที่หนีลงน้ำ ก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จากนั้นจะเป็นเรื่องราวความความเป็นอยู่และวิถีขีวิตของชาวมันนิ กับชาวเล ปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา
 
เยือนชนเผ่า”ซาไก”และ”ชาวเล” บนเทือกเขาบรรทัด-สันการาคีรีและฝั่งทะเลอันดามัน ใน เสียงภูเขา : สื่อสถาน สุวิชานนท์ รัตนภิมล เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2536 SAC Library-Book-DS570.5 .ช82 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00029383 วิถีชีวิตของ‘ซาไก’หรือ’มันนิ’ กลุ่มคนที่อยู่ในป่าลึกบนภูเขาทางภาคใต้ในจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา นราธิวาส ยะลา และในประเทศมาเลเซีย ไม่ตั้งหมู่บ้านเป็นหลักแหล่ง ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาอาศัยอยู่ที่ใด รู้เพียงแค่อยู่ในป่าลึก และจะออกมารับจ้างชาวบ้านถางป่าถางไร่แลกกับค่าแรงราคาถูก มีเพียงที่บ้านซาไก หมู่ที่3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลาที่ทางจังหวัดหยิบยื่นให้เป็นที่อยู่หลักแหล่งของชาวซาไกเพื่ออนุรักษ์ในเชิงท่องเที่ยว ชาวซาไกมีความชำนาญในการใช้ลูกดอกและเชี่ยวชาญในการจำแนกพันธุ์ไม้ป่ามารักษาโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ
 
ชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก ในหัวเมืองริมฝั่งอันดามัน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.กองวิชาประวัติศาสตร์ อัมรินทร์ SAC Library-Book-DS588.ต9น64 : อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามป่าเขาทางตอนใต้ของประเทศไทยอย่าง “ซาไก” ตั้งแต่จังหวัด ตรัง พัทลุง สตูล ยะลา นราธิวาส จนไปถึงประเทศมาเลเซียและบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากชื่อซาไกแล้วชนเผ่านี้จะมีชื่อเรียกต่างออกไปหลายชื่อ อาทิ เงาะ เงาะป่า ชาวป่า ซาแก เป็นต้น ภายในบทความจะมีการศึกษาถึงเชื้อชาติหรือเผาพันธุ์และประชากรของชาวซาไก ลักษณะโดยทั่วไปของชาวซาไก วิถีชีวิต การดำรงชีวิต ความเชื่อและประเพณีต่าง ๆ และภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกันในแต่ละกลุ่ม มีการเรียกชื่อกลุ่มแตกต่างกันตามภาษาที่ใช้
 
: การศึกษาระบบเสียงภาษาซาไกแต็นแอ๊น ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เสาวณีย์ พากเพียร ไม่ระบุ วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532 ชาวซาไกซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในป่าทางภาคใต้ของประเทศไทยนั้นมีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน โดยภาษาซาไกจัดอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatics) ซึ่งเป็นตระกูลภาษาใหญ่ตระกูลหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ แต่กลับมีผู้ศึกษาภาษาซาไกในประเทศไทยเพียงคนเดียวเท่านั้น คือ รศ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์ ซึ่งได้จำแนกภาษาซาไกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ภาษาซาไกกันซิว ซาไกแต็นแอ๊น ซาไกแตะเด๊ะ และซาไกยะฮาย สำหรับภาษาซาไกแต็นแอ๊นนั้นมีซาไกที่พูดได้อาศัยอยู่แถบจังหวัดสตูล ตรัง พัทลุงโดยมีจำนวนแค่ 100 คนเท่านั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาภาษาซาไกแต็นแอ๊นที่ชาวซาไกอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรังใช้พูดกันในปี พ.ศ 2531 - 2532 ตั้งแต่ระบบหน่วยเสียง พยางค์ คำ การเน้นเสียง ทำนองเสียง โดยมีผู้ให้ข้อมูลบอกภาษา (informant) เป็นชาวซาไกแต็นแอ๊นจากบ้านเจ้าพะ หมู่ที่ 4 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน 4 คน
ซาไก ใน ถลาง ภูเก็ต และชายฝั่งทะเลอันดามัน วิสิฎฐ์ มะยะเฉียว กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532 SAC Library-Books- DS589.ภ7ถ46 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00017234 บทความนี้นำเสนอวิถีชีวิต “พวกคนัง” โดยเรียบเรียงจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ชาวป่าในสวนยางพารา บ้านคลองแร่ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ชาวป่ากลุ่มนี้แบ่งเป็นสองพวก คือคนัง (พวกเขาเอง) ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยใต้ อาศัยในจังหวัดพัทลุง ตรัง สงขลา และสตูล มีความใกล้ชิดกับคนไทยพุทธ อีกจำพวกคือ “ซาไก” อาศัยอยู่ในแถบยะลา ปัตตานี นราธิวาส มีความใกล้ชิดกับคนไทยอิสลาม และใช้ภาษายาวีเป็นสื่อ แม้ชาวป่าทั้งสองกลุ่มจะมีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน แต่ซาไกที่หุบเขาธารโตจะมีชีวิตที่ต่างไปจากชาวป่ากลุ่มอื่นมากกว่าเนื่องจากรับเอาวัฒนธรรมจากสังคมภายนอกเข้ามาใช้พอสมควร
 
เสน่ห์ยะลา ถ้ำงามหินอ่อน พระนอนศรีวิชัย ทะเลใหญ่บนภูเขา ชนเผ่าซาไก ใต้สุดสยาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว กรุงเทพฯ : วิคตอรี่พาวเวอร์พอยท์, 2530 SUT General stack DS589.ย6 ส77 จังหวัดยะลาเป็นเมืองเห่าแก่ที่รวมเชื้อชาติไว้สามกลุ่มคือมุสลิม ไทย และจีน ในหนังสือเล่มนี้แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดยะลา ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน ภูเขา วัด ถ้ำหรือถ้ำพระนอนที่มีพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่อยู่ภายใน หรือถ้ำคนโท และจังหวัดยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ซาไก ที่ถึงแม้จะมีการปรับตัวให้เข้ากับสังคมคนเมืองแต่ก็ยังคงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างเอาไว้ จังหวัดยะลาจึงเป็นหนึ่งในจังหวัดที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วัฒนธรรมประเพณี และธรรมชาติ
ตลกที่แสนเศร้าของซาไก ใน เอกสารทางวิชาการมานุษยวิทยา ศิลปากร ฉบับปฐมฤกษ์. อาภรณ์ อุกฤษณ์ กรุงเทพฯ: ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มศก.,2529 SAC Library-Book-GN4.อ72 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00018196 เป็นบทความที่บันทึกคำบอกเล่าของ “สหาย” ของผู้เขียนที่ได้เข้าไปใช้ชีวิตช่วงหนึ่งกับซาไกแต็นแอ็น “กลุ่มเฒ่าหนู” ช่วงพ.ศ. 2520-2524 บทความนี้ได้ถ่ายทอดถึงวิถีชีวิตของชาวซาไกด้านต่าง ๆ ผ่านตัวหัวหน้ากลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อและความเกรงกลัวผีสาง การไม่ชอบน้ำ มีการติดต่อกับสังคมภายนอก เช่น การนำหวายและน้ำผึ้งไปแลกสิ่งที่ต้องการ นอกจากนี้ยังรับเอาเทคโนโลยีจากคนนอกเช่น ปืน หรือ“ไอ้เชียง” (มีด) ทั้งนี้ยังนำเสนอข้อมูลใหม่ที่ขัดกับความรับรู้เดิมของผู้เขียนว่าซาไกมีระบบครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว ในขณะที่เฒ่าหนูคนเดียวมีเมีย 3-4 คน และมีการหย่าร้างและมีคู่ใหม่ได้ตามความเห็นชอบของหัวหน้ากลุ่ม
สัมผัสซาไก "กันชิว" ใน โบราณคดี ''26 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร SAC Library-Book-DS567 .ม56 2526 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00014470 การศึกษาและสัมภาษณ์กลุ่มซาไกกันซิว หรือ ชาวเงาะที่ใช้ภาษากันซิว อยู่ที่บ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของของผู้หญิงและผู้ชาย นิสัยใจคอ การเลือกที่อยู่อาศัย รวมไปถึงลักษณะสังคม ประเพณีและความเชื่อ  ชาวเงาะยังมีประเพณีการฝังศพที่เป็นลักษณะแบบก่อนประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ  มีประเพณีการแต่งงานโดยการฝากรักกันด้วยการให้ดอกไม้ แต่เนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ ต้องติดต่อรับเอาวัฒนธรรมจากคนกลุ่มใหญ่ จึงทำให้วัฒนธรรมทางภาษาเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นเหตุทำให้ภาษาซาไกอาจสูญไปด้วย และปัญหาที่ตามมาควบคู่ไปกับการเป็นชนกลุ่มน้อยคือ การถูกเอารัดเอาเปรียบที่ยังต้องการความช่วยเหลือ
พวกเซมัง = The Semang วนัช พฤกษะศรี เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยชาวเขากรมประชาสงเคราะห์, [มปป] SAC Library-Book-จุลสาร 00072 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046553 ทำความรู้จักกับชนชาตินิกริโตในเผ่าเซมังจากป่าในแหลมมลายูรวมทั้งตอนใต้ของประเทศไทย ที่ทางวิชาการมานุษยวิทยานั้นลงความเห็นว่าเป็นพวกเจ้าของถิ่นเดิมของเอเชียใต้และมักถูกสับสนกับชนเผ่าซาไก การแบ่งจำพวกของนิกริโตในแหลมมลายูเท่าที่ทราบคือ พวกตองก้า (Tonga) พบเฉพาะในจังหวัดตรัง พัทลุง และสตูล พวกเคนซิว (Kensiu) และพวกคินตั๊ก (Kintak) พบในจังหวัดยะลา และพวกจาฮาย (Jahai) ที่พบในจังหวัดนราธิวาส  มีเนื้อหาครอบคลุมถึงประเด็นของถิ่นอาศัย ลักษณะทางกายภาพ การใช้อาวุธ การสร้างที่อยู่ การรับประทานอาหาร และการใช้ภาษา
 
ซาไกที่นิคมสร้างตนเองธารโต ใน ทักษิณสารคดี ประพนธิ์ เรืองณรงค์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2525. SAC Library-Books-DS588.ต9ป456 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046553 การลงพื้นที่ศึกษาซาไกที่นิคมสร้างตนเองธารโต ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตซาไกจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากไทยและมลายู การแต่งกาย ประเพณีการแต่งงาน การเปลี่ยนมาใช้ปืนลูกซองแทนอาวุธโบราณ หรือกระทั่งสมรรถภาพร่างกายที่มีความต้านทานน้อยลงกว่าบรรพบุรุษมาก แม้ชาวซาไกได้รับการช่วยเหลือทางการศึกษา กับที่ดินสำหรับอยู่อาศัยและทำกิน แต่ก็ยังไม่มีทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัว และยังพบปัญหาความเคยชินกับวิถีชีวิตแบบเร่ร่อน นอกจากนี้ยังพบว่าชาวซาไกมีอัตราการเกิดที่น้อยลงมากสวนทางกับอัตราการตาย ทั้งนี้เป็นผลจากสมุนไพรคุมกำเนิดที่ได้ผลดีประกอบกับการเสียชีวิตด้วยโรคภัย
ซาไก เจ้าแห่งขุนเขาและสมุนไพร ไพบูลย์ ดวงจันทร์ กรุงเทพฯ : อนงค์ศิลป์, 2523 SAC Library - Book-จุลสาร 01116 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00005235 กลุ่มชนเผ่าซาไกอาศัยอยู่ตามป่าเขา กระจายกันอยู่ในบริเวณตอนใต้ของประเทศไทยแถบจังหวัดสตูล พัทลุง ยะลา นราธิวาส ตลอดจนถึงประเทศมาเลเซียและเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย  เป็นกลุ่มมนุษย์ชาติเก่าแก่ ถูกจัดว่าเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะสังคมแบบเริ่มแรกหรือยุคคนป่า มีลักษณะนิสัยร่าเริง ชอบเสียงดนตรี แต่ในขณะเดียวกันก็เกลียดการถูกดูถูกเหยียดหยาม พวกเขาไม่ชอบอาบน้ำ และอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง เครื่องแต่งกายจะทำขึ้นเองจากสิ่งที่หามาได้ตามธรรมชาติ อาหารการกินเป็นสิ่งที่หาเอาได้จากในป่า มีอาวุธประจำกายคือบอเลาและบิลา มีพิธีกรรมการทำศพที่สอดคล้องกับคนในสมัยหินเก่าตอนปลายและสมัยหินกลาง สังคมไม่ได้ให้ความสำคัญว่าพวกเขาก็เป็นราษฎรไทยที่เท่าเทียม มิหนำซ้ำยังถูกเอารัดเอาเปรียบและรีดเอาผลประโยชน์ขากพวก
 
ประวัติและเรื่องน่ารู้ของพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ สมันตรัฐบุรินทร์, พระยา พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, c2506 SAC Library-Books-DS569.ซ62ส46 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00011651 พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เข้ารับราชการเมื่อปีพ.ศ. 2432 เริ่มจากการเป็นล่ามภาษามลายูจนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ท่านได้ใช้ความชำนาญในภาษาและความเจนจัดด้านวัฒนธรรมมลายู ศึกษาและเผยแพร่งานวิชาการเกี่ยวกับชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในภาคใต้อย่างซาไก และบันทึกถ่ายทอดวิถีชีวิต ประเพณีของชาวมลายูเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจต่อไป
 
Taming the wild : aborigines and racial knowledge in colonial Malaya Sandra Khor Manickam Honolulu : University of Hawaii Press, 2015 SAC Library-Books-DS595 .M343 2015 http://lib.sac.or.th/Catalog/ BibItem.aspx?BibID=b00089276 หนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เห็นว่า การจัดระเบียบทางสังคม แนวคิดด้านความเป็นชาติและเผ่าพันธุ์ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกออกเป็นสองฝั่งคู่ตรงข้ามระหว่าง “ความเป็นคนมาเลเซีย”และ“ความเป็นชนพื้นเมือง” เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้นำเสนอประวัติความเป็นมาและเบื้องหลังของคำเรียกที่รัฐมาเลย์ใช้กับกลุ่มชนพื้นเมือง อาทิ โอรังอัสลี ซาไก นิกริโต หรือเซนอย และนำเสนอประวัติและพัฒนาการของแนวคิดด้านความเป็นชาติและเผ่าพันธุ์ ซึ่งผลงานของนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษและการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลสำคัญต่อการให้ความหมายและการจัดระเบียบสังคมในบริบทของมาเลเซีย
Malaysia's original people : past, present and future of the Orang Asli Endicott, Kirk M. Singapore : NUS Press, 2015 SAC Library-Books-GN635.M4 M35 2016 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00089909 กลุ่มโอรังอัสลี (Orang Asli) ในประเทศมาเลเซียเป็นกลุ่มคนแรก ๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบแหลมมลายู ถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มโอรังอัสลี ชนกลุ่มนี้มีวิถีชีวิตโดยการหาของป่า ล่าสัตว์ ตกปลา แลกเปลี่ยนของป่าซึ่งกันและกัน ไม่มีถิ่นที่อยู่ถาวร อพยพเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันวิถีชีวิตของกลุ่มโอรังอัสลีมีการเปลี่ยนแปลงเพราะนโยบายการพัฒนาของรัฐมาเลย์และวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตและสังคมของพวกเขา หนังสือเล่มนี้จึงได้รวบรวมเรื่องราวตั้งแต่การสำรวจตรวจสอบงานวิจัยทางมานุษยวิทยา ประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและสังคมกลุ่มโอรังอัสลีที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
Genetic and dental profiles of Orang Asli of Peninsular Malaysia / Edited by Zafarina Zainuddin. Zafarina Zainuddin. Pulau Pinang : MPH Distributors, c2012 SAC Library-Books- GN58.M28 G46 2012 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00089001 หนังสือล่มนี้เป็นการรวบรวมผลงานการศึกษาด้านพันธุกรรมและทันตกรรมในกลุ่มโอรัง อัสลี การศึกษาทางพันธุกรรม (genetic studies) ครอบคลุมทั้งตัวอย่างดีเอ็นเอฝ่ายบิดาและมารดา ตลอดจนพารามิเตอร์ทางชีวการแพทย์อีกหลากชนิดมาวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ ส่วนการศึกษาทางทันตกรรม (dental studies) นั้นรวมเทคนิควิธีการแสดงอัตลักษณ์ทางทันตกรรม (dental identification) การวิเคราะห์ลักษณะการบดเคี้ยว (occlusal traits) และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า ทั้งรวบรวมข้อมูลทางประชากรศาสตร์ ชาติพันธุ์วรรณนา ภาษาศาสตร์และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโอรัง อัสลี ตั้งแต่คริสต์ทศวรร ษ 1890 จนถึงปัจจุบันอีกด้วย
Malays and orang Asli: contesting indigeneity in Melayu : the politics, poetics and paradoxes of mal Maznah Mohamad Singapore : NUS Press, 2011 SAC Library-Books-DS523.4.M35M45 2011 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00076260 บทความนี้พูดถึงกระบวนการจัดวางตำแหน่งให้ชาวโอรังอัสลีกลายเป็นคนชายขอบ (marginalized People) ที่โดนจำกัดสิทธิต่าง ๆ ในขณะที่มีการประกอบสร้างให้ชาวมาเลย์กลายมาเป็นชนพื้นเมือง (indigenous peoples) ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ ประเทศชาติและมีสิทธิพิเศษมากมาย นโยบายของจักรวรรดิอังกฤษที่มีต่อชาวมาเลย์ ชาวจีน และชาวอินเดียทำให้เกิดการแบ่งแยกกันระหว่างชนชาติเจ้าของประเทศกับชนชาติที่ไม่ใช่เจ้าของ การสร้างภาพให้สังคมมองว่าชาวโอรังอัสลีล้าหลัง และเป็นคู่ตรงข้ามของชนชาติมาเลย์ กระบวนการดังกล่าวนี้ถูกผลิตซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายมาเลย์ที่มีอำนาจในการปกครอง
Ethnozooarchaeology of the Mani (Orang Asli) of Trang Province, Southern Thailand : a preliminary re Hitomi Hongo and Prasit Auetrakulvit Oxford : Oxbow Books ;Oakville,c2011 SAC Library-Books- CC79.E85E87 2011 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078116 กลุ่มสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ มานิ มีถิ่นอาศัยในผืนป่าฝนเขตร้อนทางภาคใต้ของประเทศไทย และตอนเหนือของมาเลเซีย บทความนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์กระดูกสัตว์ที่พบระหว่างการสำรวจทางชาติพันธุ์โบราณคดีในถ้ำซาไก จังหวัดตรัง  ซากดึกดำบรรพ์ที่พบบริเวณพื้นของถ้ำประมาณมีอายุราว  50-100 ปี ผลการวิเคราะห์พบว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นกลุ่มหลัก ค่างเป็นสัตว์ที่ถูกล่ามากที่สุด รองลงมาคือชะนีและลิงกัง กระรอกชะมด นก ปลาเต่า และจิ้งจก การฆ่าสัตว์ใช้วิธีการตัดศีรษะและเลาะกระดูกซึ่งอาจะเป็นทักษะขั้นแรกเริ่มของของการใช้เครื่องมือโลหะ
They have not progressed enough’: development's negated identities among two indigenous peoples (ora Nathan Porath ไม่ระบุ Journal of Southeast Asian studies. vol. 41, no. 2 (Jun. 2010), p.267-289 บทความวิจัยนี้ศึกษากลุ่มโอรังอัสลีหรือกลุ่มชนพื้นเมืองที่มีความแตกต่างกันสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่ม Meniq ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดยะลาทางภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนอีกกลุ่มคือกลุ่มโอรังซาไก (Orang Sakai) ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะริเยา (Riau) ประเทศอินโดนีเซีย โดยศึกษาเปรียบเทียบวาทกรรมการพัฒนาที่ผลิตขึ้นโดยรัฐชาติของแต่ละประเทศและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนพื้นเมืองดังกล่าว รวมถึงสำรวจผลกระทบจากวาทกรรมการพัฒนาที่มีต่ออัตลักษณ์ของกลุ่มคนพื้นเมืองเหล่านั้นในฐานะที่วาทกรรมการพัฒนานี้ได้กลายมาเป็นความจริงแท้ของสังคมวัฒนธรรมนั้นไป ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมการพัฒนาได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มคนพื้นเมือง เริ่มต้นจากภาษาที่รัฐชาติใช้ในการนิยามพวกเขา รัฐชาติได้ทำเครื่องหมายให้ชนพื้นเมืองเป็น “บุคคลที่ยังพัฒนาไม่พอ” ชนพื้นเมืองกลายมาเป็น “คนป่า” หรือ “คนที่มีความเจริญน้อย” ต้องรอคอยภาครัฐเข้าไปพัฒนาให้กลายเป็น “คนเมือง” ชนพื้นเมืองถูกให้ความหมายใหม่โดยรัฐเข้าไปลดคุณค่าและไม่ให้ความสำคัญกับความเป็นชาติพันธุ์ของคนกลุ่มนี้เลย
 
The Orang Asli and the UNDRIP : from rhetoric to recognition Colin Nicholas, Jenita Engi, Teh Yen Ping Subang Jaya, Malaysia : Center for Orang Asli Concerns, 2010 SAC Library-Books-KPG2107.M56N53 2010 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00077094 ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดังเดิม (UNDRIP) เป็นความพยายามขององค์การสหประชาชาติที่มุ่งหวังว่า ปฏิญญานี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยขจัดความเลวร้ายและภัยด้านสิทธิมนุษยชนที่กำลังคุกคามกลุ่มชนพื้นเมืองบนโลกใบนี้ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการธำรงรักษา และเข้าไปช่วยเหลือให้พวกเขาต่อสู้กับการถูกแบ่งแยกและถูกละเลย หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอให้เห็นตั้งแต่ ประวัติความเป็นมาของกลุ่มโอรังอัสลี และพัฒนาการด้านนโยบายของรัฐบาลมาเลเซียที่มีต่อกลุ่มโอรังอัสลีจนกระทั่งการมาถึงของคำปฏิญญา
Autonomy reconstituted : social and gender implications of resettlement on the Orang Asli of peninsu Yong, Carol Ooi Lin. Singapore : ISEAS. : Earthscan, 2009 SAC Library-Books-HC412.5 .I58 2009 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093564 : บทความนี้ศึกษาการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวโอรังอัสลี 2 กลุ่ม คือกลุ่มเตมวน  (Temuan) กับโครงการสร้างเขื่อน Temenggor ในรัฐเปรัค และกลุ่มยาไฮ (Jahai) กับโครงการสร้างเขื่อน Sungai Selangor ในกัวลา กูบู บาห์รู ประเทศมาเลเซีย การศึกษาพบว่าโครงการใหญ่ของภาครัฐ มักอ้างความจำเป็นระดับชาติเพื่อสร้างความยุติธรรมให้กับตนเองในการละเลยเสียงเรียกร้องของชาวบ้านตัวเล็ก ๆ ในที่นื้คือชาวโอรังอัสลี พวกเขาถูกบังคับให้โยกย้ายจากถิ่นฐานบ้านเกิดของบรรพบุรุษ การย้ายถิ่นทำให้ชาวโอรังอัสลีมีสภาพชีวิตที่ย่ำแย่ลง โดยจะสูญเสียสิทธิและความเป็นเจ้าของที่ดินของตัวเองและสูญเสียวิถีชีวิตดั่งเดิม
Urbanization and indigenous people, development among the Orang Asli, Malaysia in Urbanization and f Toshihiro Nobuta Quezon City, Philippines : New Day Publishers, c2009 SAC Library-Books- HT147.S6U73 2009 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00074206 บทความนี้นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลในการสร้าง ชุมชนโอรัง อัสลี ภายใต้แรงขับเคลื่อนของกระบวนการกลายเป็นเมืองของชุมชนในมาเลเซีย ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากกลุ่มชาวมาเลย์ ชาวจีน และชาวอินเดีย ชาวโอรัง อัสลี ส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากกระบวนการกลายเป็นเมืองในมาเลเซีย หรืออาจกล่าวได้ว่า โอรัง อัสลีเป็นเหยื่อของกระบวนการกลายเป็นเมือง  ผู้นำโอรัง อัสลี กล่าวว่า โอรัง อัสลีอาจจะหายไปภายใน 30  ปี เนื่องจากถูกกลืนกลาย จากกระบวนการลดทอนทางวัฒนธรรมลง  (de-culturalization) ทำให้สูญเสียประเพณีวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ที่กำลังสูญสลาย
 
Living on the periphery : development and the Islamization of the Orang asli Nobuta, Toshihiro Kyoto, Japan : Kyoto University Press, 2008 SAC Library-Books-GN635.M4N63 2008 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00074795 โอรังอัสลี (Orang asli) เป็นชื่อที่รัฐมาเลเซียบัญญัติขึ้นเพื่อเรียกรวมกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแหลมมลายู  3 กลุ่มคือ กลุ่มนิกริโตหรือเซมัง กลุ่มซาไกหรือเซนอย และกลุ่มมลายูอัสลี งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษากลุ่ม Temuan ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของมลายูอัสลีโดยทำการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1996 ถึงเดือนกันยายน ค.ศ 1998 เพื่อทำความเข้าใจอิทธิพลของนโยบายการพัฒนาโดยรัฐมาเลย์ที่มีต่อกลุ่มโอรังอัสลีและกระบวนการเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม จากเดิมที่มีความเชื่อเรื่องวิญญาณ (Animism) ผูกพันกันด้วยระบบเครือญาติ มานับถือศาสนาอิสลามซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ จนส่งผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหาหลายประการในสังคมของชาวโอรังอัสลีปัจจุบัน
Overwhelming terror : love, fear, peace, and violence among Semai of Malaysia / Dentan, Robert Knox Lanham, Md. : Rowman & Littlefield Publishers, c2008 SAC Library-Books-DS595.2.S3D45 2008 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00072295 กลุ่มเซไม (Semai) เป็นกลุ่มชาวโอรังอัสลีที่ใหญ่ที่สุดในแหลมมลายู งานศึกษาในอดีตได้อ้างว่าชาวเซไมและชาวโอรังอัสลีเป็นผู้รักความสงบและไม่มีประวัติด้านการสู้รบเกิดขึ้นในสังคมของพวกเขา งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมสังคมของกลุ่มเซไม และการเกิดขึ้นของความสงบดังกล่าวผ่านการศึกษาภาคสนามกลุ่มเซไมในช่วงปีค.ศ. 1960 ถึง 1990 ผู้เขียนได้ตั้งสมมุติฐานถึงสาเหตุของความสงบดังกล่าวว่า เกิดจากความหวาดกลัวซึ่งเป็นผลพวงจากการนำชาวเซไมไปเป็นทาสในสมัยก่อน ชาวเซไมไม่ตอบโต้ความรุนแรงด้วยความรุนแรงเพราะไร้เครื่องมือเครื่องใช้ในการสู้รบ จนทำให้สังคมเซไมไม่มีการสู้รบเกิดขึ้นเพราะมองว่าตัวเองไร้หนทางสู้ การถูกกดทับด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจนี้ได้นำมาสู่ปัญหาหลายประการซึ่งควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังเพื่อให้กลุ่มเซไมได้พบกับความสงบที่แท้จริง
 
Writing on Orang Asli into Malaysian history in New perspectives and research on Malaysian history : Hussain, Nik Haslinda Nik. [Kuala Lumpur] : MBRAS, c2007 SAC Library-Books-DS595.8.N49 2007 งานศึกษานี้กล่าวถึงกระบวนการจัดการและเรียบเรียงข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย นักประวัติศาสตร์ให้ความสนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงกระทบกับประวัติศาสตร์ของชาวโอรังอัสลีด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้เข้าใจในประวัติศาสตร์ที่จริงแท้ของพวกเขามากขึ้น การพูดถึงปัญหา การเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมของชาวโอรังอัสลีต้องถูกพิจารณาภายใต้บริบทของสังคมมาเลเซีย ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการเข้าไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวโอรังอัสลีในเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
 
Why are Aslian-speakers Austronesian in culture? Paper presented at the Preparatory meeting for ICAL Roger Blench ไม่ระบุ Paper presented at the Preparatory meeting for ICAL-3 EFEO, SIEM REAP, 28-29th JUNE 2006 http://www.rogerblench.info/Language/Austroasiatic/Aslian SR 2006.pdf กลุ่มคนพูดภาษาอัสเลียน (Aslian) ประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์เซไม กลุ่มเทเมียร์ กลุ่มยะห์ฮุทและกลุ่มอื่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแหลมมลายูมาช้านาน ภาษาอัสเลียนเป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic) สายเดียวกับภาษามอญ-เขมร โดยมีภาษาใกล้เคียงกับภาษาอัสเลียนมากที่สุดคือภาษาตระกูลย่อยโมนิค (Monic) และตระกูลย่อยนิโคบาเรส (Nicobarese) แม้จะอยู่กันละคนละตระกูลภาษา แต่กลับมีหลักฐานว่ากลุ่มผู้พูดภาษาอัสเลียนมีวัฒนธรรมบางส่วนแบบกลุ่มผู้พูดภาษาออสโตรนีเซียน (Austronesian) โดยจะเห็นได้จากเครื่องดนตรีที่พบในกลุ่มผู้พูดภาษาอัสเลียนที่เป็นรูปแบบของออสโตรนีเซียนเท่านั้นและไม่ปรากฏให้เห็นในโลกของออสโตรเอเชียติกเลย นอกจากนั้น ในงานวิจัยเล่มนี้ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์คำศัพท์ในภาษาอัสเลียนก็ค้นพบว่า ภาษาอัสเลียนได้มีการหยิบยืมคำศัพท์มาจากภาษาออสโตรนีเซียนยุคก่อนอันเป็นผลลัพท์จากการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ของผู้คนในแหลมมลายูที่ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
Reflections on the ‘Disappearing Sakai’: a Tribal Minority in Southern Thailand Annette Hamilton ไม่ระบุ Journal of Southeast Asian studies. vol. 37, no. 2 (Jun. 2006), p. 293-314 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00061778 ภาคใต้ของประเทศไทยมีกลุ่มชนพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าไม้แถบเทือกเขาบรรทัด คนไทยส่วนใหญ่รู้จักชนกลุ่มนี้กันในชื่อ“ซาไก” หรือ “เงาะป่า” ซึ่งเป็นชื่อเรียกที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย ปัจจุบันชาวซาไกในประเทศมีจำนวนไม่เกิน 300 คน เมื่อตระหนักว่า กลุ่มชนพื้นเมืองเหล่านี้เป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่สามารถอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน มีชีวิตรอดและสืบทอดเผ่าพันธุ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายพันปี แต่ในปัจจุบัน สิ่งแวดล้อมรอบตัวพวกเขาเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้วิถีความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบหลายประการ โดยมีสาเหตุสำคัญคือ การพัฒนาของรัฐสมัยใหม่ที่ล้มเหลวและละเลยความสำคัญของพวกเขาที่มีต่อการศึกษาประวัติความเป็นมาของมนุษย์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นโยบายการพัฒนาของรัฐไทยได้กลืนกลายความเป็นชาติพันธุ์ของพวกเขาหรือบีบให้พวกเขาต้องละทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเองไปอาศัยอยู่ที่อื่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวซาไกได้ “หายไป”
 
Names as sites of identity construction, negotiation, and resistance : signifying Orang Asli in Post Alice M. Nah Imprint : Leiden ;Boston : Brill, 2006 SAC Library-Books- DS595.R32 2006 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073914 บทความนี้เป็นการสำรวจความซับซ้อนและการเผชิญหน้าระหว่างปฏิบัติการนิยามชื่อ การสร้างอัตลักษณ์ และปฏิบัติการทางอำนาจกับกลุ่มโอรัง อัสลี แสดงให้เห็นชื่อเรียกของกลุ่มในแต่ละพื้นที่ ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกี่ยวข้องต่อคนกลุ่มชาติพันธุ์นี้ การจัดจำแนกทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของรัฐ การให้ชื่อของรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม aborigines people มาสู่คำเรียกในปัจจุบัน (Orang Asli) พรมแดนอันลื่นไหลระหว่างตัวตน คนอื่น  การจัดวางตำแหน่งแห่งที่ให้กับกลุ่มคน กลายเป็นเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์ แสดงให้เห็นความแตกต่าง ดังนั้น ชื่อ บทบาทของชื่อจึงเป็นพื้นที่บ่งบอกอัตลักษณ์ให้ปรากฏ ภายใต้ความหมายทางสังคมที่ถูกนิยาม ต่อรอง และต่อต้าน
 
Orang Asli women of Malaysia : perceptions, situations & aspirations Adela S. Baer Malaysia : Center for Orang Asli Concerns, 2006 SAC Library-Books-GN635.M4O73 2006 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00075494 หนังสือเล่มนี้เป็นงานศึกษาเพศหญิงในสังคมชาวโอรังอัสลีที่อาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย ในอดีตผู้หญิงในสังคมโอรังอัสลีเคยมีบทบาทหน้าที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเพศชาย แต่เมื่อมาเลเซียได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1957 หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และสื่อมวลชนนำเสนอแนวคิดสังคมชายเป็นใหญ่จนแนวคิดนี้แพร่หลายไปยังชุมชนชาวโอรังอัสลี ทำให้ชีวิตของผู้หญิงชาวโอรังอัสลีในปัจจุบันต้องประสบกับปัญหานานับประการ ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาท หน้าที่และความสำคัญของผู้หญิงในสังคมชาวโอรังอัสลีที่พวกเธอเป็นทั้งในฐานะมารดา ภรรยา และคนทำงาน
Orang Asli and their wood art Datuk Anthony Ratos ; with photographs by H. Berbar. Singapore : Marshall Cavendish Editions, c2006 SAC Library-Books- NK9779.A1R38 2006 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00071525 หนังสือภาพว่าด้วยศิลปะไม้แกะสลักของกลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี เป็นผลงานที่สะท้อน ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อ ของกลุ่มชนพื้นเมืองโอรัง อัสลีบนคาบสมุทรมาเลเซีย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ เนกริโต (Negrito) เซนอย (Senoi) และโปรโต มาเลย์ (Proto Malays)  ชาวโอรัง อัสลี เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกของมาเลเซีย ผู้พึ่งพาระบนิเวศป่าในชีวิตประจำวันเพื่อความอยู่รอด การล่าสัตว์ด้วยลูกดอก การตกปลาด้วยลอบไม้ไผ่ พร้อมรอยสักใบหน้าจากสีย้อมธรรมชาติ หนังสือแต่ละบทบอกเล่าถึงความเป็นชนพื้นเมืองกลุ่มนี้ตั้งแต่แนะนำข้อมูลประชากร ถิ่นที่อยู่ โลกทัศน์ วิถีการยังชีพ และความเชื่อ และผลงานการแกะสลักไม้ซึ่งมีลักษณะโดดเด่น
 
Moken and Semang : 1936-2004 Persistence and Change Hugo Adolf Bernatzik Bangkok, Thailand : White Lotus, 2005 SAC Library-Books- DS528.2.M58B41 2005 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00047739 ภาคแรก “Mergui and South Siam” ว่าข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางสำรวจสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชนพื้นเมือง 2 กลุ่มคือ กลุ่มมอแกน (Moken) และเซมัง (Semang) ในเมืองมะริด (Mergui) เขตตะนาวศรีของเมียนมาร์ และภาคใต้ของไทยปัจจุบัน เพื่อศึกษากลุ่มที่ยังคงวิถีแบบเก็บของป่าล่าสัตว์  รวมถึงกลุ่มซึ่งมีลักษณะทางวัฒนธรรมเร่ร่อน มีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่น ตลอดจนศึกษากลุ่มที่ถูกเรียกว่า “Indonesian Moi Peoples” เพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Melanesians
 
Into the mainstream or into the backwater? Malaysian assimilation of Orang Asli in Civilizing the m Christopher R. Duncan Ithaca : Cornell University Press, 2004 SAC Library-Books-GN635.S58C59 2004 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043134 บทความนี้แสดงให้เห็นความพยายามและเป้าหมายของรัฐมาเลย์ที่มีต่อชาวโอรังอัสลี และสาเหตุที่ความพยายามนั้นล้มเหลว อธิบายการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของนโยบายการพัฒนาที่รัฐมาเลย์นำมาใช้ รวมไปถึงแนวคิดและวิธีการทำงานของภาครัฐที่ส่งผลต่อชาวโอรังอัสลี การจัดการระบบเศรษฐกิจ การแบ่งแยกที่ดิน และการให้พื้นที่ทางสังคมแก่พวกเขา โดยตั้งแต่ปี 1961 รัฐมาเลย์พยายามที่จะเข้าไปรวบรวมชาวโอรังอัสลีซึ่งเป็นชนพื้นเมืองให้กลายมาเป็นชาวมาเลย์ทั่วไป รัฐพยายามเข้าครอบงำผ่านระบบเศรษฐกิจและนำกฎหมายเข้าไปควบคุมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา มีการก่อตั้งหน่วยงานจัดการดูแลกลุ่มชนพื้นเมือง (JHEOA)
 
: An integrated perspective on Orang Asli ethnogenesis in Southeast Asian archaeology : Wilhelm G. David Bulbeck Quezon City : University of the Philippines Press, 2004 SAC Library-Books- DS523.S66 2004 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073774 บทความแสดงมุมมองเชิงบูรณาการต่อการทำความเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี ในคาบสมุทรมาเลเซียจนถึงภาคใต้ของไทย ภายใต้หลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดค้นหลุมฝังศพที่พบในบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี การกระจายตัวทางภาษา Aslian ในมลายา ลักษณะทางภาษาศาสตร์ ลักษณะของคำศัพท์และสัทศาสตร์ ถิ่นกำเนิด ตลอดจนความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องทางเชื้อชาติในสมัยโบราณ ว่า กำเนิดของภาษา กระจายตัวในบริเวณนี้ รวมถึง พื้นที่อาณาจักรโบราณ รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาที่พบมาแล้ว นอกจากนั้นการเคลื่อนย้ายทางภาษา อธิบายให้เห็นการปรับตัวของภาษาที่เกิดขึ้นใหม่และวิถีชีวิต ที่มีการอพยพย้ายถิ่น กระจายพื้นที่ออกไปในวงกว้าง ปรากฏหลายสมมติฐานแสดงให้เห็นพัฒนาการของแนวคิดว่าด้วยเรื่องภาษาที่มีกลุ่มคนผู้พูดจำนวนน้อย หากกระจายตัวในวงกว้างจนกลายเป็นภาษาที่กำลังสูญหายไป ส่วนในเชิงวัฒนธรรม อันเป็นพลวัต ดังนั้นภาษาที่แยกตัวเป็นกลุ่มย่อยเล็ก ๆ จะอยู่รอดมานานหลายพันปี ประการต่อมา กรณีของชุมชนโอรัง อัสลีที่มีการพูดอย่างกว้างขวาง แสดงต้นกำเนิดในทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้พบการกระจายตัวที่มีการทับซ้อนกัน ประการสุดท้าย มีสมมติฐานจากการตีความตั้งแต่จากยุคหินใหม่ตอนปลายถึงยุคโลหะ ว่าพบบางส่วนของคาบสมุทร มีกลุ่มที่พูดภาษา Aslian เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของภาษาออกไป บางพื้นที่ของสาขาของภาษา Aslian ที่ได้สูญหายไป บทความแสดงให้เห็นรูปแบบ ของการ กระจายตัวของภาษาโบราณจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ นอกจากนั้นยังเห็นสหสัมพันธ์ทางมานุษยวิทยากายภาพจากลักษณะทางสัณฐาน ของฟัน สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ ลักษณะทางพันธุกรรมกับกลุ่ม Melayu Malays อีกด้วย บทความ บ่งชี้ถิ่นฐานของ Aslian ว่า proto-Aslian มีรัศมีการกระจายตัว ของสาขาอย่างหลากหลาย เสดง กำเนิด ไปตามชายฝั่งตะวันตก และการปรากฏการครอบครองอาณาจักรตอนกลางโดย proto-Besisiและอาจเป็น proto- MKKJMB (Maniq, Kensiu, Kentaq, Jahai, Mendriq และ Batek) ในแถบชายฝั่ง ภายใต้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่าง Aslian และ non-Aslianที่มาใหม่ ประเด็นนี้ทำให้เกิดความเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างยาวนานของการค้าในภูมิภาค แสดงระดับของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทางทะเลมหาสมุทรและภาคพื้นทวีปที่เชื่อมโยงกับการก่อกำเนิดทางชาติพันธุ์ของกลุ่มโอรัง อัสลี
 
Looking for money : capitalism and modernity in an Orang Asli village / Alberto G. Gomes Subang Jaya, Malaysia :Center for Orang Asli SAC Library-Books-DS595.2.S3G66 2003 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00049581 : หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยงานชาติพันธ์วรรณนาทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มโอรัง อัสลี ชนพื้นเมืองของมาเลเซีย ในสายตาและมุมมองของชาวมาเลเซียและชาวต่างชาติมักมองชนกลุ่มนี้ในแง่ของกลุ่มชนเร่ร่อนในผืนป่า พวกล้าหลัง และ ไร้เดียงสา เป็นกลุ่มเก็บของป่าล่าสัตว์ hunting and gathering   ขณะที่งานชิ้นนี้ซึ่งศึกษาพวกเซมัง หรือเนกริโต (Negrito) ในกลันตัน (Kelantan) ในช่วงคริสตทศวรรษ 1980 โดยศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของ Tapah Semai กับเศรษฐกิจของมาเลเซียภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมปัจจุบัน
The Orang Asli of west Malaysia: an undate Nagata, Shuichi ไม่ระบุ Moussons no. 4(2001), p.97-112 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00060470 บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลงานวิชาการด้านมานุษยวิทยาที่ทำการศึกษาวิจัยกลุ่มโอรังอัสลี ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศมาเลเซีย โดยงานศึกษาดังกล่าวจะต้องมีปรากฏออกมานับตั้งแต่ปี ค.ศ 1989 ขึ้นไปเท่านั้น เพื่อนำไปใช้ทบทวนองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชนพื้นเมืองกลุ่มนี้ด้วยข้อมูลงานศึกษาใหม่ ๆ ที่ไม่ล้าหลังจนเกินไปนัก โดยต้นกำเนิดของกลุ่มโอรังอัสลีนั้นเริ่มต้นจากชาวเพเกิน (Pagan) ที่เข้ามาอาศัยกระจัดกระจายกันไปทั่วแหลมมลายูและกลายเป็นกลุ่มตัวอย่างของงานศึกษาวิจัยในยุคศตวรรษที่ 19 จากนั้นได้เกิดการล่าอาณานิคมโดยจักรวรรดิอังกฤษขึ้น จนเวลาล่วงเลยผ่านไปหลายร้อยปี กลุ่มชนดั้งเดิมได้กลายมาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกรัฐมาเลย์บัญญัติคำเรียกว่า กลุ่มโอรังอัสลี ซึ่งปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงนานับประการภายใต้นโยบายการพัฒนาของรัฐ กระบวนการกลายเป็นสมัยใหม่ และความพยายามเข้ามามีส่วนร่วมของบุคคลภายนอกมากขึ้น
 
Social Integration and Energy Utilization : An Analysis of the Kubu Suku Terasing of Indonesia and t Charles Otto Blagden Ali M. A.Rachman SAC Library-Books- GN2.M6 1991 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059347 บทความเรื่องนี้อยู่ภายใต้แนวคิดทางทฤษฎี Elman R. Service, Leslie A. White เกี่ยวกับวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ จากกลุ่ม ชนเผ่า อาณาจักร และรัฐ เชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของการบริโภคพลังงาน ภายใต้กลุ่มศึกษาเปรียบเทียบ จากการจัดองค์กรทางสังคมในรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุดคือกลุ่ม Kubu Suku Terasing บนเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และTemuan Orang Asli ของมาเลเซีย ผลการศึกษาพบว่าด้วยการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นตามระดับของกลุ่มชนเผ่า ตามวิวัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมจากสังคมดั้งเดิมไปสู่อารยธรรมโดย กลุ่ม Kubu มีการบริโภคพลังงานสูงกว่ากลุ่ม Temuan แสดงให้เห็นว่า สังคมที่มีการจัดระเบียบในระดับสูงต้องการพลังงานสูงกว่า
 
Orang Asli now : the Orang Asli in the Malaysian political world / Roy Davis Linville Jumper Roy Davis Linville Jumper Lanham, Md. : University Press of America, c1999 SAC Library-Books-GN635.M4J83 1999 กลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลีในมาเลเซียตะวันตกนั้น มีกิจกรรมทางการเมืองในฐานะชนกลุ่มน้อย การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพวกเขา มีบทบาทไม่น้อยต่อรัฐบาลของมาเลเซียที่ต้องการให้โอรัง อัสลีมีความมั่นคง เช่นเดียวกับคนกลุ่มอื่นของมาเลเซียเช่น มาเลย์ จีน และอินเดีย หนังสือเล่มนี้สำรวจการมีส่วนร่วมทางการเมืองของโอรัง อัสลี นับเป็นงานวิจัยชิ้นแรก ๆ ที่พยายามทำความเข้าใจในมุมมอง ความรู้สึกเกี่ยวกับการเมืองของโอรังอัสลีจากภายในให้ปรากฏอย่างเด่นชัด การวิจัยแสดงให้เห็นแนวโน้มว่า พรรคการเมืองของมาเลเซียมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก แม้ไม่ได้มีความคาดหวังให้กลุ่มโอรัง อัสลีมีบทบาททางการเมืองของมาเลเซีย แต่อย่างน้อยก็สร้างให้ชาวโอรัง อัสลีเข้าไปอยู่ในสำนึกทางการเมืองของมาเลเซียได้บ้าง
Some Habitations of the Orang Asli of the Malay Peninsula in The architecture of South-East Asia thr Charles Otto Blagden Kuala Lumpur : Oxford University Press, 1998 SAC Library-Books-NA1511.A73 1998 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00016894 : สรุปจากเรื่อง  Pagan Rates of Malay Peninsula ตั้งแต่ปี ค.ศ.1906 รายงานว่า ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1890 มีงานศึกษาเกี่ยวกับชนพื้นเมืองโอรัง อัสลีในบริเวณรัฐเปรักของมาเลเซีย ซึ่งถือเป็น ความพยายามในการอธิบายวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบของชนกลุ่มนี้ จากข้อมูลของ Walter William Skeat และ Charles Otto Blagden เกี่ยวกับลักษณะการตั้งถิ่นฐานอาศัยและลักษณะบ้านเรือนของพวกเขาพบว่า  Kedah Semang และ Pangan ที่ Ban tun เป็นกลุ่มเร่ร่อนไม่มีถิ่นฐานแน่นอน อาศัยอยู่ตามป่า และเพิงหน้าผาหิน ส่วนกลุ่มที่อาศัยตามเพิงพักที่เป็นต้นไม้ และร่มเงาของกิ่งใบไม้ เป็นประเภทพึ่งพาธรรมชาติ มีลักษณะคล้ายรังนกที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำนั้นได้แก่ Perak Semang และ Pangan ขณะที่กลุ่ม ที่มีเพิงพักร่วมกันคล้าย กระท่อมทรงกลม เป็นครอบครัวเล็กขนาด 1 ถึง 2 ครอบครัว ได้แก่  Semang of Kedah ลักษณะเหมือน long-house นอกจากนั้นยังพบว่า บางครั้ง มีรูปแบบกระท่อมยกพื้นคล้ายคลึงกับพวก Malayan  กลุ่มที่มีลักษณะเป็นบ้านและกระท่อมคือ Perak Sakai ที่สร้างตามแบบทรงมาเลย์ ตามแนวไหล่เขา มีหลังคาปกคลุมด้วยใบไม้จำพวกใบปาล์ม และ กลุ่ม Pahang Sakai เป็นกระท่อมตามภูเขาซึ่งมีระดับความสูงค่อนข้างจะมาก รูปแบบสุดท้ายเรียกว่า  Orang laut  หรือ Sea-Jakun เป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มชนเผ่า Sletar  ที่ครอบคลุมพื้นที่จำกัดประมาณ 30 ตารางเมตร เป็นลักษณะอาศัยในเรือเพื่อบรรทุก เก็บอาหาร จากฝั่งและป่า
Orang Asli and Malays: eguity and native title in Malaysia in Land conflicts in Southeast Asia : ind Leonard Y. Andaya, Honolulu : University of Hawai Press, 1998 SAC Library-Books- HD880.8.L36 บทความนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจสังคม และการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของชาวโอรัง อัสลี บริเวณช่องแคบมะละกาในยุคสมัยก่อนการยึดครองของตะวันตก ชาวโอรัง อัสลีเป็นกลุ่มชนที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะชื่อเสียงด้านการเป็น “โจรสลัด” ที่คอยปล้นเรือสินค้าที่เข้ามาในช่องแคบมะละกา ความรู้เกี่ยวกับท้องทะเลทำให้พวกเขาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐสุลต่านมะละกามีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการค้าในคาบสมุทรมาเลย์ โจรสลัดโอรัง อัสลีจะรับรองความปลอดภัยให้กับเรือที่เข้ามาค้าขายกับรัฐสุลต่านมะละกาเพื่อแลกเปลี่ยนกับตำแหน่ง สถานะทางสังคมและสิ่งของมีค่าจากต่างถิ่น
 
Indigenous peoples and the state : politics, land, and ethnicity in the Malayan Peninsula and Borneo Robert L. Winzeler (editor) New Haven:Yale University Southeast Asia Studies,1997 SAC Library-Books- GN635.M4I53 1997 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00034938 หนังสือรวมบทความจากการประชุมประจำปีสมาคมมานุษยวิทยาอเมริกัน เกี่ยวกับความเป็นชาติพันธุ์และรัฐในบอร์เนียว และมะลายา ให้ความสนใจต่อการศึกษาชาวบอร์ดนี้และโอรัง อัสลี พัฒนาการ ระหว่างกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ไม่ใช่ชาวมาเลย์ในมาเลเซียตะวันตก รวมถึงกาลิมันตันของอินโดนีเซีย ด้วยรูปแบบวิถีชีวิตทางสังคมแบบเก็บของป่าและล่าสัตว์หรือ การทำไร่หมุนเวียน ส่งผลต่อพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จึงนำมาซึ่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐาน ความสัมพันธ์ และการจัดกลุ่ม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนโอรัง อัสลีในพื้นที่
 
Orang Asli amidst ethnic diversity : a case study in aboriginal political development in West Malays Roy Davis Linville Jumper ไม่ระบุ : Knoxville. Ann Arbor : The University of Tennessee, 1996 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกทางด้านรัฐศาสตร์ เป็นผลการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ทางตะวันตกของมาเลเซีย การศึกษาผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ก่อนอาณานิคม ยุคอาณานิคม และหลังอาณานิคม แสดงให้เห็นว่า กลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี มีพัฒนาการของอัตลักษณ์ร่วมของความเป็นโอรัง อัสลี      (a common pan-Orang Asli identity) และจิตสำนึกทางการเมือง (political consciousness)  ชาวโอรัง อัสลีกลุ่มชนที่มีถิ่นที่อยู่กระจัดกระจายจึงไม่เป็นไปตามแรงผลักทางการเมือง ด้วยเหตุปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ ที่ดิน และศาสนาอิสลาม เป็นตัวบ่งชี้สำคัญอย่างยิ่งต่อแรงขับเคลื่อนสำคัญเบื้องหลังการรวมตัวทางการเมือง ดังนั้นชาวโอรัง อัสลีจึงเป็นกังวลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและอิสรภาพทางศาสนา ผลการศึกษาพวกเขาสามารถต่อรองในการดำรงอยู่กับรัฐมาเลเซียและผู้ปกครองในยุคก่อนอาณานิคม ลักษณะของความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เป็นที่มมาของสมมติฐานของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า โอรัง อัสลีเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองในมาเลเซีย
Orang Asli amidst ethnic diversity : a case study in aboriginal political development in West Malays Roy Davis Linville Jumper Knoxville. Ann Arbor : The University of Tennessee, 1996 SAC Library-Books- Research- DS595.R32 2006 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00067716 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกทางด้านรัฐศาสตร์ เป็นผลการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ทางตะวันตกของมาเลเซีย การศึกษาผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ก่อนอาณานิคม ยุคอาณานิคม และหลังอาณานิคม แสดงให้เห็นว่า กลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี มีพัฒนาการของอัตลักษณ์ร่วมของความเป็นโอรัง อัสลี      (a common pan-Orang Asli identity) และจิตสำนึกทางการเมือง (political consciousness)  ชาวโอรัง อัสลีกลุ่มชนที่มีถิ่นที่อยู่กระจัดกระจายจึงไม่เป็นไปตามแรงผลักทางการเมือง ด้วยเหตุปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ ที่ดิน และศาสนาอิสลาม เป็นตัวบ่งชี้สำคัญอย่างยิ่งต่อแรงขับเคลื่อนสำคัญเบื้องหลังการรวมตัวทางการเมือง ดังนั้นชาวโอรัง อัสลีจึงเป็นกังวลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและอิสรภาพทางศาสนา ผลการศึกษาพวกเขาสามารถต่อรองในการดำรงอยู่กับรัฐมาเลเซียและผู้ปกครองในยุคก่อนอาณานิคม ลักษณะของความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เป็นที่มมาของสมมติฐานของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า โอรัง อัสลีเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองในมาเลเซีย ทั่วทุกหนแห่ง ดังนั้นชาวโอรัง อัสลีจึงเป็นกังวลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและอิสรภาพทางศาสนา ผ่านระยะเวลาที่พวกเขาสามารถต่อรองในการดำรงอยู่กับรัฐมาเลเซียและผู้ปกครองในยุคก่อนอาณานิคม ลักษณะของความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ของพวกเขาแสดงในสมมติฐานของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า โอรัง อัสลีเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองในมาเลเซีย
: Violence and the dream people : the Orang Asli in the Malayan emergency, 1948-1960 John D. Leary Athens: Ohio University, c1995 SAC Library-Books-DS595.2.S3L43 1995 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00034231 ผู้เขียนนำเสนอข้อมูลต่อมุมมองเรื่อง “ภาพลักษณ์ของชาวโอรังอัสลีที่เกลียดความรุนแรงและไม่นิยมความขัดแย้ง” ว่าเป็นมุมมองของนักมานุษยวิทยาที่เข้าไปศึกษาภาคสนาม โดยผู้เขียนได้หยิบยกยุคสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขบวนการกองกำลังคอมมิวนิสต์ขึ้น ซึ่งชาวโอรังอัสลีต้องตกอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล ทหารกับกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่เข้าไปในแถบพื้นที่ป่าซึ่งชาวโอรังอัสลีได้อาศัยอยู่ ทั้งฝั่งรัฐบาลและฝั่งคอมมิวนิสต์ต่างใช้กำลังเรียกร้องให้ชาวโอรังอัสลีทำตามความประสงค์ของตัวเอง ฝ่ายรัฐบาลได้จัดตั้งกองกำลังทหารที่เต็มไปด้วยชาวโอรังอัสลีเพื่อเข้าไปเข่นฆ่ากองกำลังคอมมิวนิสต์ที่หลบซ่อนอยู่ในป่า และยังมีอีกหลายสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าชาวโอรังอัสลีได้ใช้ความรุนแรงทั้งต่อฝ่ายรัฐบาล คอมมิวนิสต์และชนพื้นเมืองกลุ่มอื่น ๆ
What it is to be human : hope lies in our ability to bring back to awareness Robert J. Wolff. Freeland, WA : Periwinkle Press, 1994 SAC Library-Books- BD450.W66 1994 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078080 ข้อเขียนซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับกลุ่ม เซนอย กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมของมาเลเซียที่มักถูกสื่อเรียกว่า  “คนในยุคหิน Stone Age people” อาศัยอยู่ห่างไกลจากความศิวิไลซ์ของโลกตะวันตก ผู้เขียนเล่าเรื่องผ่านความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์และมุมมองของตนเอง ต่อกลุ่มคนที่เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ด้วยเป็นระยะเวลานาน และมีหลายหัวข้อ อาทิเช่น ความเชื่อ บุคคลในชุมชน ทรัพยากร เพื่อสะท้อนความเป็นมนุษย์ของชนกลุ่มนี้
 
Sakai cave : Trang province-Southern Thailand, report on the field work 1993 G. Albrecht, H.Berke, D. Burger, S Silpakorn University, Bangkok 1993 SAC Library-Books- GN776.32.T4S35 1993 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046055 รายงานการศึกษาภาคสนามทางชาติพันธุ์วรรณนาและโบราณคดีที่ถ้ำซาไก จังหวัดตรัง และบริเวณโดยรอบ ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1991 และ 1992 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (เซมังเหนือ) ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ถ้ำซาไก รายงานแสดงให้เห็น รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ที่มีลักษณะเป็นเพิงพักขนาดเล็กในพื้นที่ 3 – 4 ตารางเมตร อยู่กันเป็นกลุ่มครอบครัว ประมาณ 17 คน บอกเล่าการสังเกตการณ์รูปการณ์ล่าสัตว์ของกลุ่มมานิ รายงานแสดงให้เห็นว่า ต่อคำถามที่ว่า กลุ่มมานิในภาคใต้ของไทยมีแนวโน้มที่จะดำรงชีพอยู่รอด ดำรงชึพในรูปแบบเก็บของป่าล่าสัตว์ในผืนป่าฝน  ลักษณะนิสัยตามธรรมชาติของพวกเขาอยู่ในภาวะทำลาย มีการตัดเผาป่าอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นซึ่งถือว่า เป็นกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งคณะทำงานได้จัดวางแผนแนวทางในการรณรงค์ป้องกันกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นของกรมป่าไม้ต่อไป ขณะที่รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำซาไก ปรากฏลักษณะชั้นดินทางธรณีวิทยาที่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงถึงความเก่าแก่ในช่วงยุคหินใหม่ แม้จะมีความพยายามขุดค้นหลุมฝังศพ แต่พบโครงกระดูกน้อยมาก หรือถูกทำลายไปจนไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานชัดเจน
Same hair, different hearts : Semai identity in a Malay context : an analysis of ideas and practices Kroes, Gerco Berkeley : University of California Press, [1993] SAC Library-Books- DS595.2.S3R67 1993 ttp://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00049466 กลุ่มเซไม (Semai) คือ กลุ่มย่อยของเงาะซาไกหรือเซนอยเป็นชนพื้นเมืองมาเลเซียอาศัยอยู่ในแหลมมลายูร่วมกับกลุ่มโอรังอัสลีกลุ่มอื่น ๆ และชาวมาเลย์ทั่วไปเป็นเวลายาวนาน จากเดิมที่มีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ปัจจุบันชาวเซไมเริ่มถูกกลืนกลายอัตลักษณ์และความเป็นชาติพันธุ์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมาเลย์ทั่วไป หนังสือเล่มนี้ได้เปรียบเทียบความเชื่อด้านการแพทย์และการรักษาระหว่างกลุ่มเซไมกับชาวมาเลเซียทั่วไป ศึกษาตั้งแต่คติความเชื่อด้านสุขภาพและโรคภัย ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณ รวมไปถึงการรักษาความเจ็บป่วยและพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ว่าความเชื่อด้านการแพทย์และการรักษาของทั้งสองกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 
Healing sounds from the Malaysian rainforest : Temiar music and medicine Roseman, Marina Berkeley :University of California Press,[1993], c1991. SAC Library-Books-DS595.2.S3R67 1993 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00055252 เทเมียร์ (Temiar) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มย่อยของกลุ่มเงาะซาไกหรือเซนอย อาศัยอยู่ทางเหนือสุดของประเทศมาเลเซีย ชาวเทเมียร์มีความผูกพันกับพื้นป่าและใช้ทรัพยากรธรรมชาติในป่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตทั้งเป็นที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหารและยารักษาโรค พวกเขามีความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในป่าว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรคภัยและอาการเจ็บป่วย ชาวเทเมียร์จึงมีการใช้ดนตรีบำบัดในการรักษาโรคผ่านการขับร้องบทเพลง ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาดนตรีบำบัดในสังคมของชาวเทเมียร์นี้เป็นเวลา 1 ปี (ค.ศ. 1981-1982) เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการและบทบาทของดนตรีบำบัดในการรักษาการเจ็บป่วย ระบบความเชื่อและทัศนคติของชาวเทเมียร์ต่อการแพทย์และอาการเจ็บป่วย รวมไปถึงระบบสัญลักษณ์และการให้ความหมายที่สะท้อนให้เห็นผ่านดนตรีบำบัดนี้
 
Semelai culture and resin technology / Rosemary Gianno Rosemary Gianno : New Haven : Academy of Arts and Sciences, 1990 SAC Library-Books-Q11.C85 1990 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00072134 ผลงานหนังสือปรับปรุงเนื้อหาจากดุษฎีนิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยเยลเรื่อง Semelai Resin Technology ของผู้เขียน นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ สนใจเทคโนโลยีของ Semelai ที่ Tasek Bera รัฐปาหัง ชาวโอรัง อัสลีในมาเลเซีย มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ที่ให้น้ำยางที่นำมาแปรรูปเป็นเรซิ่นได้ งานชิ้นนี้พยายามทำความเข้าใจเทคโนโลยีและนัยยะทางวัฒนธรรมของยางไม้เรซิ่น ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากจุดยืนทางเศรษฐกิจสังคม การค้าผลผลิตจากป่าที่มีบทบาทสำคัญในการปรับตัวของกลุ่มชนพื้นเมืองในมลายา มาเลเซียตะวันตกจนกลายเป็นสินค้าในตลาด
 
The mystique of dreams : a search for utopia through Senoi dream theory G. William Domhoff Berkeley : University of California Press, c1985 SAC Library-Books- BF1078.D58 1985 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059722 หนังสือเล่มนี้ต้องการวิเคราะห์ทฤษฎีความฝันของเซนอย (Senoi dream theory) ซึ่งเป็นผลงานของ Kilton Stewart ที่อ้างว่าเป็นผลจากการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์เซนอยในประเทศมาเลเซีย ทฤษฎีดังกล่าวได้อธิบายว่า ในสังคมที่ไม่มีลำดับขั้นจะมีการถกเถียงกันเรื่องความฝันอย่างเสรี ผู้ฝันสามารถเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้าและควบคุม เอาชนะความรู้สึกของตนเองในสภาวะฝันแบบรู้ตัว (Lucid Dream) ได้ เพื่อคงสภาพจิตใจให้สงบและอยู่อย่างเป็นสุขในสังคม ทฤษฎีนี้ถูกนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยทางจิตใจที่ต้องเผชิญหน้ากับฝันร้ายด้วยวิธีฝันบำบัด ผู้เขียนได้โต้แย้งและอธิบายประวัติความเป็นมาและลักษณะทางชาติพันธุ์ของกลุ่มเซนอย บุคลิกและลักษณะนิสัยของ Kilton Stewart และได้สรุปว่า แม้ชาวเซนอยจะมีทฤษฎีความฝันแต่พวกเขาไม่ได้ใช้วิธีฝันบำบัดแบบที่ตะวันตกรับรู้และเข้าใจ
Semai Senoi population structure and genetic microdifferentiation Alan Gordon Fix Dissertation for the degree of Doctor of Philosophy (Anthropology) –University of Michigan, 1971 ไม่ระบุ ดุษฏีนิพนธ์เล่มนี้เลือกกลุ่มเซไม เซมอย (Semai Semoi) กลุ่มชนเผ่าบนเทือกเขามลายันในมาเลเซีย เป็นกลุ่มประชากร ในการศึกษา ซึ่งมีรูปแบบการดำรงชีวิตในลักษณะทำสวนประกอบการเก็บของป่าล่าสัตว์ (hunting and gathering) กลุ่มเซไมไม่ได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับวัฒนธรรมอื่น ประชากรไม่ได้แยกตัวโดดเดี่ยว จนทำให้กลายเป็นปัญหาในการศึกษา ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาก่อนหน้าเกี่ยวกับกลุ่มเซไมมักปรากฏการศึกษาเฉพาะกลุ่มตามลำพัง แต่การศึกษานี้ มุ่งสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มท้องถิ่นหมู่บ้านต่าง ๆ ร่วมด้วย ประมาณทั้งหมด 8 ชุมชน    บนพื้นที่ 120 ตารางไมล์ รวมปราะชากรมากกว่า 775 คน โดยเก็บข้อมูลภาคสนาม เป็นระยะเวลา 8 เดือน (ตุลาคม 1968 ถึงพฤษภาคม 1969) หมู่บ้านทั้งหมด กระจายไปในสภาพตามธรรมชาติของครอบครัวชาวเซไม มีการศึกษาสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ การประกอบสร้างเป็นครอบครัวและชุมชน ข้อมูลประชากรรที่ได้มาจากสถิติ ในปี ค.ศ. 1960 และ1965 จากโรงพยาบาล Gombak Aborigine Hospital เพื่อตรวจสอบและบ่งชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของประชากร การศึกษาพันธุกรรมจากเลือดกรุ๊ปเลือด ABO การศึกษานี้พิจารณาการจัดกลุ่มเขตแดนทางสังคม การตั้งถิ่นฐาน รูปแบบการแต่งงาน รวมไปถึง การแต่งงานในหมู่ญาติ ภายใต้โครงสร้างของเพศและอายุ ความอุดมสมบูรณ์ การตาย สาเหตุของการตาย สัดส่วนทางเพศ และการเติบโตของประชากรในพื้นที่ Satak ประวัติศาสตร์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รูปแบบการอพยพ การศึกษาพบผลของรูปแบบการอพยพต่อการกระจายตัวของรหัสพันธุกรรม (ยีน) ในพื้นที่ Satak โดยมีปัจจัยทั้งสังคมวัฒนธรรม ปัจจัยทางประชากร ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานสังคมแบบลูกพี่ลูกน้อง ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มเครือญาติ ส่งผลต่อการรักษาประชากรในปัจจุบัน ขณะที่ประวัติการตั้งถิ่นฐานแสดงให้เห็นการกระจายการตั้งรกราก อันเนื่องมาจากการทะเลาะเบาะแว้ง โรคระบาด และการสูญเสียที่ดินให้กับชาวมาเลย์ มีแนวโน้มของประชากรเพศชายเพิ่มขึ้น มีการแยกตัวในระยะยาวของการตั้งถิ่นฐานของชาวเซไม สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขา ที่ราบระหว่างแม่น้ำนำไปสู่การตั้งถิ่นฐาน ก่อตั้งกลุ่มภายในบริเวณแอ่งที่ราบมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมแต่ภาษาถิ่น ระยะห่างทางภูมิศาสตร์มีบทบาทต่อการจัดโครงสร้างของการอพยพและการเลือกคู่ครอง ปัจจัยนี้สัมพันธ์กับความแตกต่างทางพันธุกรรม เพราะระยะทางมีนัยยะสำคัญ ซึ่งปรากฏระยะห่างทางพันธุกรรมมากขึ้น ดังปรากฏในโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงตามกลุ่มตัวอย่างในท้องถิ่น การแยกตัวไม่มากนักมีต่อการปรับตัวของยีนในกลุ่มประชากรใกล้เคียง
 
Some senoi semai dietary restrictions : a study of food behavior in a Malayan hill tribe Robert Knox Dentan ไม่ระบุ Dissertation for the degree of Doctor of Philosophy (Anthropology) – Yale University, 1965 : ดุษฎีนิพนธ์นี้ เป็นการศึกษารูปแบบพฤติกรรมการกินอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มย่อยที่ชื่อว่า  เซนอย เซไม Senoi Semai หรือ ซาไกกลาง (central Sakai) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชนเผ่าแห่งเทือกเขามาลายัน จากข้อมูลการใช้ชีวิตร่วมกับคนกลุ่มนี้เป็นระยะเวลาหนึ่งปีครึ่งของผู้ศึกษา ประเด็นหลักของการศึกษาได้แก่ ภูมิหลัง ลักษณะทั่วไปของพื้นที่ สภาพแลดล้อม ลักษณะทางชีวิวิทยา ลักษณะทางกายภาพของประชากร ผู้คน เศรษฐกิจ การจัดองค์กรทางสังคม กลุ่ม กลุ่มย่อย และการขัดเกลาทางสังคม ทั้งญาติและครอบครัว ถิ่นกำเนิด อัตลักษณ์ คำอธิบายเกี่ยวกับรูปแบบการเลี้ยงดู ความกลัว ความก้าวร้าว ความหลากหลาย ความหิวโหยและ ความกระหาย การจัดการเกี่ยวกับอาหารที่ทำจากพืชและสัตว์ การเกษตรกรรม การอภิปรายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ความคิดเกี่ยวกับข้อห้าม taboo  พิธีกรรมเกี่ยวกับอาหารและแนวคิดที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพิกเฉยต่ออาหาร รวมไปถึงพิธีกรรมที่ละเลยเกี่ยวกับอาหาร ภายใต้แนวคิดทฤษฎี ritual avoidance ที่ว่าด้วยกิจกรรมทางพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุสิ่งของในสถานะวิกฤติ ข้อห้ามของชาวเซไมดูเหมือนจะสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีนี้ แม้อาจไม่ใช่ทั้งหมดของข้อห้าม แต่ข้อห้ามจะเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง พิจารณาได้ว่าไม่ว่าจะเป็นข้อห้ามหรือ ritual avoidance ก็ตาม จำต้องแยกจากความโง่เขลาและความมั่งคั่ง ยิ่งไปกว่านั้นข้อห้ามดูเหมือนจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เกิดขึ้น
 
Four ways of being human : an introduction to anthropology Lisitsky, Gene New York : Viking Pren, 1963 SUT General stack อาคารหอสมุดชั้นล่าง- GN400 .L56 หนังสือเล่มนี้นำเสนอเรื่องราวและวิถีชีวิตของชนเผ่าดั้งเดิม 4 กลุ่มได้แก่ ชนเผ่าเซมัง (Semang) ในป่าฝนร้อนชื้นของแหลมมลายู ชนเผ่าเอสกิโม (Eskimos) ที่อยู่อาศัยท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเย็นยะเยือกซึ่งรายล้อมไปด้วยน้ำแข็งในแถบอาร์คติก ชนเผ่าเมารี (Maoris) แห่งนิวซีแลนด์ และชนเผ่า Hopi ที่มีความเป็นอยู่ท่ามกลางทะเลทรายแห้งแล้งทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐอริโซน่า หากเราพูดถึงมนุษย์หรือสังคมวัฒนธรรม คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงผู้คนในสังคมอุตสาหกรรมที่เพิ่งถือกำเนิดมาได้เพียงไม่กี่ร้อยปี แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีกลุ่มชนเผ่าเหล่านี้ที่มีสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากสังคมสมัยใหม่ กลุ่มคนเหล่านี้อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติรอบตัวเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ซับซ้อน รูปแบบทางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของชนเผ่าดั้งเดิมทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวนี้เป็นสิ่งยืนยันว่า ความเป็นมนุษย์นั้นมีได้หลายรูปแบบ การศึกษาเรื่องราวของกลุ่มคนเหล่านี้เองจึงช่วยให้นักมานุษยวิทยาเข้าใจมนุษย์และสังคมได้ดียิ่งขึ้น
 
Four ways of being human : an introduction to anthropology Lisitsky, Gene New York : Viking Pren, 1963 SUT General stack อาคารหอสมุดชั้นล่าง- GN400 .L56 หนังสือนำเสนอเรื่องราวของชนเผ่าดั้งเดิม 4 กลุ่มได้แก่ ชนเผ่าเซมัง (Semang) ในป่าฝนร้อนชื้นของแหลมมลายู ชนเผ่าเอสกิโม (Eskimos) ที่อยู่อาศัยบนพื้นที่รายล้อมไปด้วยน้ำแข็งในแถบอาร์คติก ชนเผ่าเมารี (Maoris) แห่งนิวซีแลนด์ และชนเผ่า Hopi ที่อยู่ท่ามกลางทะเลทรายของรัฐอริโซน่า กลุ่มชนเผ่าเหล่านี้ที่มีสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากสังคมสมัยใหม่ อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ซับซ้อน รูปแบบทางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของชนเผ่าดั้งเดิมทั้ง 4 กลุ่มนี้เป็นสิ่งยืนยันว่า ความเป็นมนุษย์นั้นมีได้หลายรูปแบบ การศึกษาเรื่องราวของกลุ่มคนเหล่านี้เองจึงช่วยให้นักมานุษยวิทยาเข้าใจมนุษย์และสังคมได้ดียิ่งขึ้น
The Negrito of Peninsular Thailand John H. Brandt ไม่ระบุ JSS. VOL.49 (pt.2) 1961. p.123-160 บทความนี้เป็นการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์นิกริโต (Negrito) ทางภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่วิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ประชากร วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา อาวุธ ประเพณีและความเชื่อต่าง ๆ โดยสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มชาติพันธุ์นิกริโตเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มสุดท้ายที่หลงเหลือจากการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยบนพื้นดินและพื้นที่ป่าของกลุ่มชนเผ่าดั้งเดิม ชาวนิกริโตเป็นพวกนิโกรตัวเตี้ยแคระ สันนิษฐานว่าอพยพเข้ามาจากทวีปแอฟริกาเมื่อหลายล้านปีก่อนในสมัยที่ทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกายังเป็นพื้นแผ่นเดียวกัน พวกเขาใช้ภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติก สายเดียวกับภาษามอญ-เขมร เดิมใช้ธนูเป็นอาวุธ ภายหลังยอมรับกระบอกไม้ซางจากพวกซาไกมาใช้เนื่องจากมีการติดต่อใกล้ชิด ในประเทศไทยมีชาวนิกริโตไม่เกิน 300 คนเท่านั้น ชนกลุ่มนี้มีความขี้อายตามธรรมชาติทำให้ปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอกได้ค่อนข้างยาก ปัจจุบันชาวนิกริโตในไทยได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐไทยและการบุกรุกพื้นที่ของบุคคลภายนอก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมของชาวนิกริติอย่างมาก