banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มานิ

ชาติพันธุ์ / มานิ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ คนในเรียกตัวเองว่า มานิ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ปัจจุบันเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลา พัทลุง และยะลา และประเทศเพื่อนบ้านชายแดนภาคใต้ของไทยจากมาเลเซียถึงอินโดนีเซีย ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง คำค้น มานิ , โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า, Mani , Orang Asli, Nigro-itos, Semang, Sakai , Chong, Mos, Tonga, Ngo, Ngo-pa, Senoi (Southeast Asian people) , Orang Asal (Malaysian people)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

พัชสนันท์ ชูสง

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต,2557

Annotation

: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาว “มานิ” หรือแถบจังหวัดพัทลุง สงขลาจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ซาไก” ส่วนจังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาสจะเรียกว่า “ซาแก” มีลักษณะเตี้ย ผิวดำ ผมหยิก มีความสูงเพียง 145-150 ซม. กะโหลกศีรษะกว้าง อพยพมาอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยและในแหลมมลายู คนไทยทั่วไปเรียกว่า “เงาะป่า” ภาษาซาไกจะอยู่ในตระกูลภาษาคำโดดเช่นเดียวกับภาษามอญหรือเขมร การปฏิบัติเกี่ยวกับการเกิดของมารดาชาวซาไกที่นั้นญาติพี่น้องและสามีจะเตรียมหายาสมุนไพรต่างๆให้พร้อมเพื่อช่วยให้ลูกคลอดง่าย หมอที่ทำคลอดจะเรียกว่า “โต๊ะมีดัน” หรือ “โต๊ะดัน”  พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้หญิงซาไกถ้าแต่งงานแล้วประจำเดือนไม่มาแสดงว่าตั้งครรภ์แล้วจะต้องบอกสามีเป็นคนแรก ในการปฏิบัติตัวในการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการแพ้หรือมีน้อย ซึ่งชนเผ่านี้จะไม่นิยมไปฝากครรภ์กับหมออนามัยแต่จะปรึกษาหมอตำแยประจำเผ่าและเน้นรักษาด้วยยาสมุนไพร
 

อ่านต่อ...
image

Author

ฉัตรวรรณ พลเพชร

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2557

Annotation

: กลุ่มชาติพันธุ์ซาไกเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในผืนป่าทางภาคใต้ของประเทศไทยมาช้านาน วิถีชีวิตของซาไกต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานจากระบบนิเวศของป่ามาตอบสนองต่อความต้องการทั้งด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ในอดีตระบบนิเวศของป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์ทำให้ซาไกดำรงชีวิตได้อย่างราบรื่น แต่ปัจจุบันระบบนิเวศได้ถูกทำลายจนขาดความสมดุล พื้นที่ป่าเกิดความเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของซาไก งานวิจัยนี้ศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สังคมวัฒนธรรมของชาวซาไก และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่ส่งผลให้ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของซาไกเปลี่ยนแปลงไป โดยทำการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ซาไกในเขตพื้นที่ป่าเทือกเขาบรรทัด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งยังคงดำรงชีวิตด้วยวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนภายในป่า โดยทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2556 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ 2557
 

อ่านต่อ...
image

Author

วิสา เสกธีระ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557

Annotation

: ชาวมันนิคือกลุ่มชนพื้นเมืองที่อยู่อาศัยแถบเทือกเขาบรรทัดทางภาคใต้ของประเทศไทยมาเนิ่นนานก่อนกลุ่มคนอื่นๆ ในอดีตชนพื้นเมืองกลุ่มนี้ดำรงชีวิตแบบสังคมหาของป่าล่าสัตว์ (Hunting-Gathering Society)    มีวิถีชีวิตเร่ร่อน ไม่มีการตั้งถิ่นฐานแบบถาวร มีเพียงที่พักอาศัยแบบชั่วคราวที่เรียกว่า “ทับ” และ “ลา”เท่านั้น แต่ในปัจจุบันชาวมันนิได้เปลี่ยนมาตั้งรกราก สร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวร ทำให้รูปแบบที่พักอาศัยของชาวมันนิเปลี่ยนไปจากเดิม วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาการตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยของชาวมันนิในเชิงสถาปัตยกรรม โดยทำการศึกษาหมู่บ้านชาวมันนิ 4กลุ่มในเขตอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน พ.ศ. 2554 โดยศึกษาตั้งแต่วิวัฒนาการในการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะทางกายภาพของการตั้งถิ่นฐาน การใช้พื้นที่ รูปแบบสถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาเชิงช่างของชาวมันนิ รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐาน
 

อ่านต่อ...
image

Author

บุญเสริม ฤทธาภิรมย์

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วารสาร รามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2557) หน้า 71-88

Annotation

“เงาะซาไก” เป็นชื่อที่คนไทยทั้งส่วนราชการ นักวิชาการ สื่อมวลชน ตลอดจนคนไทยทั่วไปเรียกชนพื้นเมืองซึ่งมีผิวพรรณดำคล้ำปนแดง มีผมหยิกหย็อยเหมือนผลเงาะ ที่อาศัยอยู่ในป่าทางภาคใต้ของประเทศไทย บทความวิจัยนี้ได้สืบสาวประวัติความเป็นมาของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในป่าและตั้งถิ่นฐานในแหลมมลายูจนพบว่า ชนพื้นเมืองหรือเงาะป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าทางภาคใต้ของไทยนั้นคือ ชนเผ่านิกริโต Negritoหรือเซมัง Semang จัดเป็นพวกนิกรอยด์ Negroid) ไม่ใช่ชนเผ่าซาไก sakai) หรือเซนอย  ชนเผ่าซาไกไม่มีหลงเหลือในประเทศไทยอีกแล้ว พบได้เฉพาะที่ประเทศมาเลเซียเท่านั้น ทั้งสองเผ่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนหลายประการ ดังนั้น การเรียกชนพื้นเมืองทางภาคใต้ของไทยซึ่งเป็นชนเผ่านิกริโตหรือเซมังว่า “เงาะซาไก” นั้นถือว่าไม่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ

อ่านต่อ...
image

Author

บุญเสริม ฤทธาภิรมย์.

Imprint

สตูล :วิทยาลัยชุมชนสตูล,2557.

Collection

SAC Library-Book-DS570.ง7บ72 2557

Annotation

นำเสนอเรื่องราวแสดงถึงความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนของชาวไทยที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ซาไก ความแตกต่างของกลุ่มชนเผ่าซาไกและเผ่าเซมัง มีความเป็นมา แหล่งที่อยู่ และลักษณะที่คล้ายคลึงกันแต่ไม่ใช่สายตระกูลเดียวกัน มีลักษณะของภาษาที่ต่างกัน สามารถแบ่งลักษณะความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ออกเป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มเซมัง คือกลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณแหลมมลายูและบริเวณทิวเขาทางภาคใต้ของไทย มีลักษณะผิวดำ ค่อนน้ำตาลไหม้ ตัวไม่สูงมากนัก ริมฝีปากหนา ผมหยิกขมวดเป็นก้นหอย และกลุ่มเผ่าซาไก ที่อพยพมาจากตอนใต้ของจีน ตัวค่อนข้างสูง ผิวคล้ำดำแดงออกเหลือง ผมคดไปมาเป็นลอนแต่ไม่หยิกหรือขมวดกลม อาศัยอยู่ทางตอนล่างของแหลมมลายูประเทศมาเลเซียเท่านั้น
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ