banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มานิ

ชาติพันธุ์ / มานิ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ คนในเรียกตัวเองว่า มานิ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ปัจจุบันเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลา พัทลุง และยะลา และประเทศเพื่อนบ้านชายแดนภาคใต้ของไทยจากมาเลเซียถึงอินโดนีเซีย ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง คำค้น มานิ , โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า, Mani , Orang Asli, Nigro-itos, Semang, Sakai , Chong, Mos, Tonga, Ngo, Ngo-pa, Senoi (Southeast Asian people) , Orang Asal (Malaysian people)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สิริพร สมบูรณ์บูรณะ

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2558

Collection

SAC Library-Book-DS570.ง7 ส64 2558

Annotation

: รายงานวิจัยได้เรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษามานิซาไกในจังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล ในปีพ.ศ. 2558 โดยมีขอบเขตของงานวิจัยเป็นการศึกษาภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์สังคมผ่านการเรียกตนเองและการถูกเรียกของมานิซาไก การศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชน ที่มา และประวัติย่อของชุมชน วิถีชีวิต อัตลักษณ์ต่างๆ ได้แก่ อาชีพ ระบบเครือญาติ สายตระกูล การแต่งกาย ฯลฯ การศึกษาเรื่องความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและพิธีกรรม รวมไปถึงการศึกษาสถานการณ์สำคัญและการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันของชนเผ่ามานิ เช่น การเปลี่ยนศาสนา การสูญหายของภาษาดั้งเดิม การอพยพเข้าทำงานในเมือง ปัญหาที่ประสบในปัจจุบัน และความเคลื่อนไหวของเครือข่ายชาติพันธุ์ทั้งในประเทศและข้ามพรมแดนรัฐ

อ่านต่อ...
image

Author

พัชสนันท์ ชูสง

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต,2557

Annotation

: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาว “มานิ” หรือแถบจังหวัดพัทลุง สงขลาจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ซาไก” ส่วนจังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาสจะเรียกว่า “ซาแก” มีลักษณะเตี้ย ผิวดำ ผมหยิก มีความสูงเพียง 145-150 ซม. กะโหลกศีรษะกว้าง อพยพมาอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยและในแหลมมลายู คนไทยทั่วไปเรียกว่า “เงาะป่า” ภาษาซาไกจะอยู่ในตระกูลภาษาคำโดดเช่นเดียวกับภาษามอญหรือเขมร การปฏิบัติเกี่ยวกับการเกิดของมารดาชาวซาไกที่นั้นญาติพี่น้องและสามีจะเตรียมหายาสมุนไพรต่างๆให้พร้อมเพื่อช่วยให้ลูกคลอดง่าย หมอที่ทำคลอดจะเรียกว่า “โต๊ะมีดัน” หรือ “โต๊ะดัน”  พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้หญิงซาไกถ้าแต่งงานแล้วประจำเดือนไม่มาแสดงว่าตั้งครรภ์แล้วจะต้องบอกสามีเป็นคนแรก ในการปฏิบัติตัวในการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการแพ้หรือมีน้อย ซึ่งชนเผ่านี้จะไม่นิยมไปฝากครรภ์กับหมออนามัยแต่จะปรึกษาหมอตำแยประจำเผ่าและเน้นรักษาด้วยยาสมุนไพร
 

อ่านต่อ...
image

Author

ฉัตรวรรณ พลเพชร

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2557

Annotation

: กลุ่มชาติพันธุ์ซาไกเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในผืนป่าทางภาคใต้ของประเทศไทยมาช้านาน วิถีชีวิตของซาไกต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานจากระบบนิเวศของป่ามาตอบสนองต่อความต้องการทั้งด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ในอดีตระบบนิเวศของป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์ทำให้ซาไกดำรงชีวิตได้อย่างราบรื่น แต่ปัจจุบันระบบนิเวศได้ถูกทำลายจนขาดความสมดุล พื้นที่ป่าเกิดความเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของซาไก งานวิจัยนี้ศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สังคมวัฒนธรรมของชาวซาไก และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่ส่งผลให้ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของซาไกเปลี่ยนแปลงไป โดยทำการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ซาไกในเขตพื้นที่ป่าเทือกเขาบรรทัด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งยังคงดำรงชีวิตด้วยวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนภายในป่า โดยทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2556 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ 2557
 

อ่านต่อ...
image

Author

วิสา เสกธีระ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557

Annotation

: ชาวมันนิคือกลุ่มชนพื้นเมืองที่อยู่อาศัยแถบเทือกเขาบรรทัดทางภาคใต้ของประเทศไทยมาเนิ่นนานก่อนกลุ่มคนอื่นๆ ในอดีตชนพื้นเมืองกลุ่มนี้ดำรงชีวิตแบบสังคมหาของป่าล่าสัตว์ (Hunting-Gathering Society)    มีวิถีชีวิตเร่ร่อน ไม่มีการตั้งถิ่นฐานแบบถาวร มีเพียงที่พักอาศัยแบบชั่วคราวที่เรียกว่า “ทับ” และ “ลา”เท่านั้น แต่ในปัจจุบันชาวมันนิได้เปลี่ยนมาตั้งรกราก สร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวร ทำให้รูปแบบที่พักอาศัยของชาวมันนิเปลี่ยนไปจากเดิม วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาการตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยของชาวมันนิในเชิงสถาปัตยกรรม โดยทำการศึกษาหมู่บ้านชาวมันนิ 4กลุ่มในเขตอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน พ.ศ. 2554 โดยศึกษาตั้งแต่วิวัฒนาการในการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะทางกายภาพของการตั้งถิ่นฐาน การใช้พื้นที่ รูปแบบสถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาเชิงช่างของชาวมันนิ รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐาน
 

อ่านต่อ...
image

Author

อิสระ ชูศรี

Imprint

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2553

Collection

Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

Annotation

งานวิจัยเล่มนี้วิจัยเกี่ยวกับ กลุ่ม “มานิ” ในประเทศไทย ซึ่งส่วนมากคนไทยจะเรียกว่า “เงาะป่า” หรือ “ซาไก” เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย ดำรงชีพโดยการหาของป่า ล่าสัตว์ หาหัวมันป่า กล้วยป่า ผลไม้ป่า จับปลาตามลำธารและล่าสัตว์เล็ก ชนกลุ่มนี้จะสร้างที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราวด้วยพืชตระกูลปาล์ม และอพยพถิ่นฐานไปในพื้นที่ที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ เงาะป่าหรือซาไกจะเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะผิวคล้ำ ริมฝีปากหนา ตาโต ผมหยิกหยอยและขมวดเป็นก้นหอย กลุ่มที่สองกลุ่ม “มลาบรี” หรือ ตองเหลือง คือคนป่าอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยโดยจังหวัดแพร่ น่าน ชนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตโดยการหาของป่า เช่น ผลไม้ หัวเผือก หน่อไม้ ฯลฯ และพักอาศัยอยู่ในเพิงที่มีแค่หลังคาไว้กันแดดกันฝนที่ทำจากใบไม้ขนาดใหญ่ มีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่เคยปรากฏเป็นตัวอักษร และกลุ่มที่สามกลุ่ม “มอแกล็น” อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับกลุ่มชนอุรักละโว้ย ส่วนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันภายในพื้นที่มีทั้งภาษาไทย ภาษามอเก็น และภาษาอุรักละโว้ย
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ