banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มานิ

ชาติพันธุ์ / มานิ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ คนในเรียกตัวเองว่า มานิ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ปัจจุบันเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลา พัทลุง และยะลา และประเทศเพื่อนบ้านชายแดนภาคใต้ของไทยจากมาเลเซียถึงอินโดนีเซีย ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง คำค้น มานิ , โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า, Mani , Orang Asli, Nigro-itos, Semang, Sakai , Chong, Mos, Tonga, Ngo, Ngo-pa, Senoi (Southeast Asian people) , Orang Asal (Malaysian people)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

2001

Imprint

Rochester,Vt. : InnerTraditions, c2001

Collection

SAC Library-Books-GN468.W65 2001

Annotation

ผู้เขียนได้เข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ San’oi ในมาเลเซียเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ได้เรียนรู้ภาษาของชาว San’oi  ร่วมกินดื่ม นอนหลับพักผ่อนกับพวกเขาและได้สังเกตวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ในแต่ละวันขย่างใกล้ชิด จนเกิดความรู้สึกชื่นชมในวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างจากสังคมตะวันตก โดยเฉพาะศาสตร์แห่งการรู้แจ้งของ San’oi ทั้งการรับรู้ความเป็นจริง ความรู้สึกนึกคิด ความฝันหรือการรับรู้ว่าตัวเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ รวมไปถึงศาสตร์แห่งการบำบัดรักษาที่แตกต่างไปจากการแพทย์ทั่วไป มีการเปรียบเทียบกับแนวคิดแบบอารยธรรมตะวันตกซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า แนวคิดแบบสังคมตะวันตกอาจทำให้เราสูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงหรือทำให้ราหลงลืมอะไรบางอย่างไป
 

อ่านต่อ...
image

Author

บุญเสริม ฤทธาภิรมย์

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วารสาร รามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2557) หน้า 71-88

Annotation

“เงาะซาไก” เป็นชื่อที่คนไทยทั้งส่วนราชการ นักวิชาการ สื่อมวลชน ตลอดจนคนไทยทั่วไปเรียกชนพื้นเมืองซึ่งมีผิวพรรณดำคล้ำปนแดง มีผมหยิกหย็อยเหมือนผลเงาะ ที่อาศัยอยู่ในป่าทางภาคใต้ของประเทศไทย บทความวิจัยนี้ได้สืบสาวประวัติความเป็นมาของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในป่าและตั้งถิ่นฐานในแหลมมลายูจนพบว่า ชนพื้นเมืองหรือเงาะป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าทางภาคใต้ของไทยนั้นคือ ชนเผ่านิกริโต Negritoหรือเซมัง Semang จัดเป็นพวกนิกรอยด์ Negroid) ไม่ใช่ชนเผ่าซาไก sakai) หรือเซนอย  ชนเผ่าซาไกไม่มีหลงเหลือในประเทศไทยอีกแล้ว พบได้เฉพาะที่ประเทศมาเลเซียเท่านั้น ทั้งสองเผ่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนหลายประการ ดังนั้น การเรียกชนพื้นเมืองทางภาคใต้ของไทยซึ่งเป็นชนเผ่านิกริโตหรือเซมังว่า “เงาะซาไก” นั้นถือว่าไม่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ

อ่านต่อ...
image

Author

บุญเสริม ฤทธาภิรมย์.

Imprint

สตูล :วิทยาลัยชุมชนสตูล,2557.

Collection

SAC Library-Book-DS570.ง7บ72 2557

Annotation

นำเสนอเรื่องราวแสดงถึงความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนของชาวไทยที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ซาไก ความแตกต่างของกลุ่มชนเผ่าซาไกและเผ่าเซมัง มีความเป็นมา แหล่งที่อยู่ และลักษณะที่คล้ายคลึงกันแต่ไม่ใช่สายตระกูลเดียวกัน มีลักษณะของภาษาที่ต่างกัน สามารถแบ่งลักษณะความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ออกเป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มเซมัง คือกลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณแหลมมลายูและบริเวณทิวเขาทางภาคใต้ของไทย มีลักษณะผิวดำ ค่อนน้ำตาลไหม้ ตัวไม่สูงมากนัก ริมฝีปากหนา ผมหยิกขมวดเป็นก้นหอย และกลุ่มเผ่าซาไก ที่อพยพมาจากตอนใต้ของจีน ตัวค่อนข้างสูง ผิวคล้ำดำแดงออกเหลือง ผมคดไปมาเป็นลอนแต่ไม่หยิกหรือขมวดกลม อาศัยอยู่ทางตอนล่างของแหลมมลายูประเทศมาเลเซียเท่านั้น
 

อ่านต่อ...
image

Author

พระครูศรีจริยาภรณ์ (ชรัช อุชุจาโร), เปรมจิต พรหมสาระเมธี, บุษบา กิติจันทโรภาส, ณัฐพร บัวโฉม

Imprint

กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552

Collection

SAC Library-Books-DS570.ก64 2552

Annotation

“ซาไก” กลุ่มชาติพันธุ์นิกริโตหลากชื่อที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ตลอดจนประเทศมาเลเซีย จากรายงานผลการศึกษาซาไกกลุ่มหนึ่งในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ถูกจัดให้มีพื้นที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน ได้รับพระราชทานนามสกุล มีสิทธิถือบัตรประจำตัวประชาชนไทย ประกอบกับการมีโอกาสการเข้าถึงระบบการศึกษา ส่งผลให้ซาไกในพื้นที่ธารโตมีความเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนการแต่งกาย ภาษา ประเพณี และความเชื่อดั้งเดิมกำลังเลือนหายไป
 

อ่านต่อ...
image

Author

โรม บุนนาค

Imprint

กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2550

Collection

SUT General stack -DS582.52 .ร924 2550

Annotation

“เงาะ” เป็นคนป่าเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้ของไทย ครั้งในอดีตในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสจังหวัดพัทลุง มีพระราชประสงค์อยากจะได้ลูกเงาะมาชุบเลี้ยงไว้สักคนหนึ่ง ผู้รั้งราชการเมืองพัทลุงจึงได้รับหน้าที่สนองพระราชประสงค์จัดหาเด็กผู้ชายอายุ 10 ขวบชื่อ “คนัง”กำพร้าพ่อแม่ เมื่อถึงวังมีพิธีทำขวัญคนัง ได้รับการดูแลอย่างดี หัดให้ใช้ช้อนส้อมกินข้าว มีการฝึกสอนให้รู้จักระเบียบต่างๆ ของราชสำนัก คนังเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของทั้งเจ้านาย ข้าราชการ เมื่อคนังอายุเข้า 14 ปีก็ต้องออกจากพระราชวัง ไปทำงานเป็นเวรมหาดเล็ก เมื่ออยู่นอกวังชีวิตของคนังเริ่มตกต่ำลง มีเรื่องผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวพันมากขึ้น จนกระทั่งจบชีวิตลงในวัยหนุ่มกำดัดเท่านั้น

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ