เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563
คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ คนในเรียกตัวเองว่า มานิ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ปัจจุบันเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลา พัทลุง และยะลา และประเทศเพื่อนบ้านชายแดนภาคใต้ของไทยจากมาเลเซียถึงอินโดนีเซีย ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง คำค้น มานิ , โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า, Mani , Orang Asli, Nigro-itos, Semang, Sakai , Chong, Mos, Tonga, Ngo, Ngo-pa, Senoi (Southeast Asian people) , Orang Asal (Malaysian people)
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Title
Author
อิสระ ชูศรี
Imprint
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2553
Collection
Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
งานวิจัยเล่มนี้วิจัยเกี่ยวกับ กลุ่ม “มานิ” ในประเทศไทย ซึ่งส่วนมากคนไทยจะเรียกว่า “เงาะป่า” หรือ “ซาไก” เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย ดำรงชีพโดยการหาของป่า ล่าสัตว์ หาหัวมันป่า กล้วยป่า ผลไม้ป่า จับปลาตามลำธารและล่าสัตว์เล็ก ชนกลุ่มนี้จะสร้างที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราวด้วยพืชตระกูลปาล์ม และอพยพถิ่นฐานไปในพื้นที่ที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ เงาะป่าหรือซาไกจะเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะผิวคล้ำ ริมฝีปากหนา ตาโต ผมหยิกหยอยและขมวดเป็นก้นหอย กลุ่มที่สองกลุ่ม “มลาบรี” หรือ ตองเหลือง คือคนป่าอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยโดยจังหวัดแพร่ น่าน ชนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตโดยการหาของป่า เช่น ผลไม้ หัวเผือก หน่อไม้ ฯลฯ และพักอาศัยอยู่ในเพิงที่มีแค่หลังคาไว้กันแดดกันฝนที่ทำจากใบไม้ขนาดใหญ่ มีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่เคยปรากฏเป็นตัวอักษร และกลุ่มที่สามกลุ่ม “มอแกล็น” อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับกลุ่มชนอุรักละโว้ย ส่วนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันภายในพื้นที่มีทั้งภาษาไทย ภาษามอเก็น และภาษาอุรักละโว้ย
Author
ทยา เตชะเสน์
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553
Annotation
ดนตรีเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมและสังคม การศึกษาเรื่องราวทางดนตรีสามารถสะท้อนให้เห็นลักษณะของกลุ่มคน ความเป็นมาและวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละสังคม วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้ทำการศึกษาดนตรีของกลุ่มชนพื้นเมืองซึ่งผู้เขียนเรียกว่า ชาวซาไก ในเขตตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ 2551 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ 2553 โดยทำการศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวซาไก และศึกษาด้านดนตรีชาติพันธุ์ตั้งแต่ลักษณะ ทำนอง จังหวะเพลงซาไก ซึ่งมีเพลงร้องจำนวน 4 เพลงคือ เพลงเชียวเชียวกลุง เพลงอาแว เพลงวองเบ๊าะ และเพลงจัมเปซ รวมถึงศึกษาลักษณะทางกายภาพของเครื่องดนตรี ลักษณะและการสร้างเครื่องดนตรีจำนวน 6 ชิ้นคือกลองบัง ซาแกง ยาฮุ บองบง ลาแบ และจองหน่อง วิธีการเล่นเครื่องดนตรี ระบบเสียง ระดับเสียง เนื้อร้องและความหมาย วัตถุประสงค์ในการร้อง ความหมายและบทบาทของดนตรีในสังคมซาไก ด้วยระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยดุริยางควิทยา
Author
สุนิตดา ชูสวัสดิ์
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2553
Annotation
การพัฒนาของรัฐไทยหรือกระบวนการสร้างความทันสมัย (Modernity) นี้ เกิดจากการพัฒนาของรัฐไทยผ่านนโยบายต่าง ๆ และได้สร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาวมันนิหรือซาไก ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ความเป็นอยู่แตกต่างจากคนไทยส่วนใหญ่ในสังคม ความแตกต่างนี้เองทำให้ชาวมันนิถูกสังคมส่วนใหญ่ผลักไสให้กลายเป็น “คนอื่น” หรือเป็น “คนชายขอบ” ทั้งที่ชาวซาไกนั้นมีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และมีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาอัตลักษณ์ของซาไกก่อนการเข้ามาพัฒนาของรัฐไทยว่ามีวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อย่างไร และศึกษาอัตลักษณ์ของซาไกภายใต้บริบทการพัฒนาของรัฐไทยว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไรบ้าง โดยทำการศึกษาบุคคลภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับซาไก และกลุ่มชาติพันธุ์ซาไกในเขตพื้นที่บ้านโหล๊ะหาร ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุงตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2553
อ่านต่อ...Title
Author
อนงค์ เชาวนะกิจ
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552
Annotation
ในปัจจุบัน วิถีชีวิตของชาวมันนิซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีความเป็นอยู่ที่ผูกพันกับป่าและทรัพยากรธรรมชาติ กำลังประสบปัญหาพื้นป่ามีความเสื่อมโทรมลง ทรัพยากรทางธรรมชาติที่ไม่อุดมสมบูรณ์เช่นเดิม อีกทั้งการพัฒนาของรัฐไทยและวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามามีผลกระทบกับสังคมวัฒนธรรมของชาวมันนิ วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาประวัติความเป็นมา สังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิซาไกจากอดีตถึงปัจจุบัน และศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิซาไกเพื่อให้คนในสังคมภาคใต้อยู่ร่วมกันด้วยการยอมรับและเข้าใจความแตกต่าง โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาชุมชนมันนิซาไกกลุ่มเขาหัวช้าง เขตจังหวัดพัทลุง กลุ่มเหนือคลองตง จังหวัดตรัง และกลุ่มวังสายทอง จังหวัดสตูล รวมทั้งศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูสังคมวัฒนธรรมที่ศูนย์พัฒนามลาบรี จังหวัดน่าน และชุมชนโอรัง-อัสลี ณ รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะสำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับชาวมันนิ
อ่านต่อ...Title
Author
พระครูศรีจริยาภรณ์ (ชรัช อุชุจาโร), เปรมจิต พรหมสาระเมธี, บุษบา กิติจันทโรภาส, ณัฐพร บัวโฉม
Imprint
กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552
Collection
SAC Library-Books-DS570.ก64 2552
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
“ซาไก” กลุ่มชาติพันธุ์นิกริโตหลากชื่อที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ตลอดจนประเทศมาเลเซีย จากรายงานผลการศึกษาซาไกกลุ่มหนึ่งในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ถูกจัดให้มีพื้นที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน ได้รับพระราชทานนามสกุล มีสิทธิถือบัตรประจำตัวประชาชนไทย ประกอบกับการมีโอกาสการเข้าถึงระบบการศึกษา ส่งผลให้ซาไกในพื้นที่ธารโตมีความเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนการแต่งกาย ภาษา ประเพณี และความเชื่อดั้งเดิมกำลังเลือนหายไป
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
![]() |
![]() |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ