เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563
คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ คนในเรียกตัวเองว่า มานิ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ปัจจุบันเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลา พัทลุง และยะลา และประเทศเพื่อนบ้านชายแดนภาคใต้ของไทยจากมาเลเซียถึงอินโดนีเซีย ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง คำค้น มานิ , โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า, Mani , Orang Asli, Nigro-itos, Semang, Sakai , Chong, Mos, Tonga, Ngo, Ngo-pa, Senoi (Southeast Asian people) , Orang Asal (Malaysian people)
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Author
John H. Brandt
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
JSS. VOL.49 (pt.2) 1961. p.123-160
Annotation
บทความนี้เป็นการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์นิกริโต (Negrito) ทางภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่วิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ประชากร วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา อาวุธ ประเพณีและความเชื่อต่าง ๆ โดยสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มชาติพันธุ์นิกริโตเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มสุดท้ายที่หลงเหลือจากการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยบนพื้นดินและพื้นที่ป่าของกลุ่มชนเผ่าดั้งเดิม ชาวนิกริโตเป็นพวกนิโกรตัวเตี้ยแคระ สันนิษฐานว่าอพยพเข้ามาจากทวีปแอฟริกาเมื่อหลายล้านปีก่อนในสมัยที่ทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกายังเป็นพื้นแผ่นเดียวกัน พวกเขาใช้ภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติก สายเดียวกับภาษามอญ-เขมร เดิมใช้ธนูเป็นอาวุธ ภายหลังยอมรับกระบอกไม้ซางจากพวกซาไกมาใช้เนื่องจากมีการติดต่อใกล้ชิด ในประเทศไทยมีชาวนิกริโตไม่เกิน 300 คนเท่านั้น ชนกลุ่มนี้มีความขี้อายตามธรรมชาติทำให้ปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอกได้ค่อนข้างยาก ปัจจุบันชาวนิกริโตในไทยได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐไทยและการบุกรุกพื้นที่ของบุคคลภายนอก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมของชาวนิกริติอย่างมาก
Author
Lisitsky, Gene
Imprint
New York : Viking Pren, 1963
Collection
SUT General stack อาคารหอสมุดชั้นล่าง- GN400 .L56
Annotation
หนังสือเล่มนี้นำเสนอเรื่องราวและวิถีชีวิตของชนเผ่าดั้งเดิม 4 กลุ่มได้แก่ ชนเผ่าเซมัง (Semang) ในป่าฝนร้อนชื้นของแหลมมลายู ชนเผ่าเอสกิโม (Eskimos) ที่อยู่อาศัยท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเย็นยะเยือกซึ่งรายล้อมไปด้วยน้ำแข็งในแถบอาร์คติก ชนเผ่าเมารี (Maoris) แห่งนิวซีแลนด์ และชนเผ่า Hopi ที่มีความเป็นอยู่ท่ามกลางทะเลทรายแห้งแล้งทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐอริโซน่า หากเราพูดถึงมนุษย์หรือสังคมวัฒนธรรม คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงผู้คนในสังคมอุตสาหกรรมที่เพิ่งถือกำเนิดมาได้เพียงไม่กี่ร้อยปี แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีกลุ่มชนเผ่าเหล่านี้ที่มีสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากสังคมสมัยใหม่ กลุ่มคนเหล่านี้อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติรอบตัวเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ซับซ้อน รูปแบบทางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของชนเผ่าดั้งเดิมทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวนี้เป็นสิ่งยืนยันว่า ความเป็นมนุษย์นั้นมีได้หลายรูปแบบ การศึกษาเรื่องราวของกลุ่มคนเหล่านี้เองจึงช่วยให้นักมานุษยวิทยาเข้าใจมนุษย์และสังคมได้ดียิ่งขึ้น
Author
Lisitsky, Gene
Imprint
New York : Viking Pren, 1963
Collection
SUT General stack อาคารหอสมุดชั้นล่าง- GN400 .L56
Annotation
หนังสือนำเสนอเรื่องราวของชนเผ่าดั้งเดิม 4 กลุ่มได้แก่ ชนเผ่าเซมัง (Semang) ในป่าฝนร้อนชื้นของแหลมมลายู ชนเผ่าเอสกิโม (Eskimos) ที่อยู่อาศัยบนพื้นที่รายล้อมไปด้วยน้ำแข็งในแถบอาร์คติก ชนเผ่าเมารี (Maoris) แห่งนิวซีแลนด์ และชนเผ่า Hopi ที่อยู่ท่ามกลางทะเลทรายของรัฐอริโซน่า กลุ่มชนเผ่าเหล่านี้ที่มีสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากสังคมสมัยใหม่ อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ซับซ้อน รูปแบบทางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของชนเผ่าดั้งเดิมทั้ง 4 กลุ่มนี้เป็นสิ่งยืนยันว่า ความเป็นมนุษย์นั้นมีได้หลายรูปแบบ การศึกษาเรื่องราวของกลุ่มคนเหล่านี้เองจึงช่วยให้นักมานุษยวิทยาเข้าใจมนุษย์และสังคมได้ดียิ่งขึ้น
อ่านต่อ...Author
Robert Knox Dentan
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
Dissertation for the degree of Doctor of Philosophy (Anthropology) – Yale University, 1965
Annotation
: ดุษฎีนิพนธ์นี้ เป็นการศึกษารูปแบบพฤติกรรมการกินอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มย่อยที่ชื่อว่า เซนอย เซไม Senoi Semai หรือ ซาไกกลาง (central Sakai) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชนเผ่าแห่งเทือกเขามาลายัน จากข้อมูลการใช้ชีวิตร่วมกับคนกลุ่มนี้เป็นระยะเวลาหนึ่งปีครึ่งของผู้ศึกษา ประเด็นหลักของการศึกษาได้แก่ ภูมิหลัง ลักษณะทั่วไปของพื้นที่ สภาพแลดล้อม ลักษณะทางชีวิวิทยา ลักษณะทางกายภาพของประชากร ผู้คน เศรษฐกิจ การจัดองค์กรทางสังคม กลุ่ม กลุ่มย่อย และการขัดเกลาทางสังคม ทั้งญาติและครอบครัว ถิ่นกำเนิด อัตลักษณ์ คำอธิบายเกี่ยวกับรูปแบบการเลี้ยงดู ความกลัว ความก้าวร้าว ความหลากหลาย ความหิวโหยและ ความกระหาย การจัดการเกี่ยวกับอาหารที่ทำจากพืชและสัตว์ การเกษตรกรรม การอภิปรายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ความคิดเกี่ยวกับข้อห้าม taboo พิธีกรรมเกี่ยวกับอาหารและแนวคิดที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพิกเฉยต่ออาหาร รวมไปถึงพิธีกรรมที่ละเลยเกี่ยวกับอาหาร ภายใต้แนวคิดทฤษฎี ritual avoidance ที่ว่าด้วยกิจกรรมทางพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุสิ่งของในสถานะวิกฤติ ข้อห้ามของชาวเซไมดูเหมือนจะสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีนี้ แม้อาจไม่ใช่ทั้งหมดของข้อห้าม แต่ข้อห้ามจะเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง พิจารณาได้ว่าไม่ว่าจะเป็นข้อห้ามหรือ ritual avoidance ก็ตาม จำต้องแยกจากความโง่เขลาและความมั่งคั่ง ยิ่งไปกว่านั้นข้อห้ามดูเหมือนจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เกิดขึ้น
Author
Alan Gordon Fix
Imprint
Dissertation for the degree of Doctor of Philosophy (Anthropology) –University of Michigan, 1971
Collection
ไม่ระบุ
Annotation
ดุษฏีนิพนธ์เล่มนี้เลือกกลุ่มเซไม เซมอย (Semai Semoi) กลุ่มชนเผ่าบนเทือกเขามลายันในมาเลเซีย เป็นกลุ่มประชากร ในการศึกษา ซึ่งมีรูปแบบการดำรงชีวิตในลักษณะทำสวนประกอบการเก็บของป่าล่าสัตว์ (hunting and gathering) กลุ่มเซไมไม่ได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับวัฒนธรรมอื่น ประชากรไม่ได้แยกตัวโดดเดี่ยว จนทำให้กลายเป็นปัญหาในการศึกษา ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาก่อนหน้าเกี่ยวกับกลุ่มเซไมมักปรากฏการศึกษาเฉพาะกลุ่มตามลำพัง แต่การศึกษานี้ มุ่งสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มท้องถิ่นหมู่บ้านต่าง ๆ ร่วมด้วย ประมาณทั้งหมด 8 ชุมชน บนพื้นที่ 120 ตารางไมล์ รวมปราะชากรมากกว่า 775 คน โดยเก็บข้อมูลภาคสนาม เป็นระยะเวลา 8 เดือน (ตุลาคม 1968 ถึงพฤษภาคม 1969) หมู่บ้านทั้งหมด กระจายไปในสภาพตามธรรมชาติของครอบครัวชาวเซไม มีการศึกษาสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ การประกอบสร้างเป็นครอบครัวและชุมชน ข้อมูลประชากรรที่ได้มาจากสถิติ ในปี ค.ศ. 1960 และ1965 จากโรงพยาบาล Gombak Aborigine Hospital เพื่อตรวจสอบและบ่งชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของประชากร การศึกษาพันธุกรรมจากเลือดกรุ๊ปเลือด ABO การศึกษานี้พิจารณาการจัดกลุ่มเขตแดนทางสังคม การตั้งถิ่นฐาน รูปแบบการแต่งงาน รวมไปถึง การแต่งงานในหมู่ญาติ ภายใต้โครงสร้างของเพศและอายุ ความอุดมสมบูรณ์ การตาย สาเหตุของการตาย สัดส่วนทางเพศ และการเติบโตของประชากรในพื้นที่ Satak ประวัติศาสตร์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รูปแบบการอพยพ การศึกษาพบผลของรูปแบบการอพยพต่อการกระจายตัวของรหัสพันธุกรรม (ยีน) ในพื้นที่ Satak โดยมีปัจจัยทั้งสังคมวัฒนธรรม ปัจจัยทางประชากร ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานสังคมแบบลูกพี่ลูกน้อง ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มเครือญาติ ส่งผลต่อการรักษาประชากรในปัจจุบัน ขณะที่ประวัติการตั้งถิ่นฐานแสดงให้เห็นการกระจายการตั้งรกราก อันเนื่องมาจากการทะเลาะเบาะแว้ง โรคระบาด และการสูญเสียที่ดินให้กับชาวมาเลย์ มีแนวโน้มของประชากรเพศชายเพิ่มขึ้น มีการแยกตัวในระยะยาวของการตั้งถิ่นฐานของชาวเซไม สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขา ที่ราบระหว่างแม่น้ำนำไปสู่การตั้งถิ่นฐาน ก่อตั้งกลุ่มภายในบริเวณแอ่งที่ราบมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมแต่ภาษาถิ่น ระยะห่างทางภูมิศาสตร์มีบทบาทต่อการจัดโครงสร้างของการอพยพและการเลือกคู่ครอง ปัจจัยนี้สัมพันธ์กับความแตกต่างทางพันธุกรรม เพราะระยะทางมีนัยยะสำคัญ ซึ่งปรากฏระยะห่างทางพันธุกรรมมากขึ้น ดังปรากฏในโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงตามกลุ่มตัวอย่างในท้องถิ่น การแยกตัวไม่มากนักมีต่อการปรับตัวของยีนในกลุ่มประชากรใกล้เคียง
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
![]() |
![]() |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ