banner image

Subject Guide

Home / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทใหญ่

ชาติพันธุ์ / ไทใหญ่

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทใหญ่

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ทั้งแผนที่แสดงที่ตั้งถิ่นฐาน สภาพภายในหมู่บ้าน ลักษณะบ้านเรือนและข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ โดยใช้ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยชื่อที่คนในใช้เรียกตัวเองหรือต้องการให้สังคมเรียกในชื่อนี้ รวมถึงการค้นคว้าเนื้อหาที่แสดงให้เห็นพลวัตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้สาธารณะมีความรับรู้และเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น

อ่านต่อ...
image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของขาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) หรือ Inter Mountain Peoples’ Education and Culture in Thailand Association (IMPECT) เป็นองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ชนเผ่าพื้นเมือง) เน้นการทำงานแทนชนเผ่าพื้นเมืองและเพื่อชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายหลักของการจัดตั้งเพื่อสนับสนุนให้ชนเผ่าพื้นเมืองใช้ “มิติคุณค่าทางวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง” เป็นรากฐานในการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายตนเอง
ปัจจุบันสมาคมได้เน้นการทำงานพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมกับสมาชิกเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์หลัก ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ดาระอาง ไทใหญ่ ม้ง เมี่ยน ลีซู ละหู่ ลัวะ และอาข่า และเน้นการทำงานประสานความร่วมมือกับภาคีองค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนและเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง มีความเข้มแข็งสามารถคุ้มครองสิทธิและกำหนดวิถีชีวิตตามกรอบวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีต่อไป


 

อ่านต่อ...
image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

สถาบันไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน ดำเนินการจัดเก็บรวบรวมองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทใหญ่ แปลตำราไทใหญ่ มีการจัดประชุมและจัดเวทีเสวนาวิชาการ ทั้งในระดับชุมชนและระดับชาติ
จัดนิทรรศการและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านไทใหญ่
 ตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลวัฒนธรรมไทใหญ่ระดับชุมชน 4 ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้วัฒนธรรมประเพณี จัดกิจกรรมฝึกอบรมเกี่ยวกับประเพณี 12 เดือน จัดทำและ

อ่านต่อ...
image

Author

ทองแถม นาถจำนง

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 75 (ก.ค. 2561), หน้า 33-38

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวกับ “แถน” ในวัฒนธรรมสายไทหลวงที่ผู้เขียนกล่าวว่าประกอบด้วยไทใหญ่, ไทมาว, ไทอาหม ฯลฯ โดยยกเอาเรื่องของแถนจากเอกสารประวัติศาสตร์และตำนานของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวมาอธิบายโดยสังเขป ในส่วนของเอกสารประวัติศาสตร์และตำนานของกลุ่มคนไทใหญ่ที่ถูกยกมากล่าวถึงมีอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน คือ พงศาวดารไทใหญ่ ฉบับของ N.Elias พิมพ์ขึ้นที่กัลกัตตา ในพ.ศ. 2419 กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์แปลเป็นภาษาไทยและพงศาวดารเมืองมาว จากหนังสือคนไทยในพม่า ของบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า พงศาวดารของชาไทใหญ่ทั้งสองเรื่องนี้ เรียกประมุขสูงสุดของเมืองฟ้าหรือสวรรค์ ว่า “ขุนตูงคำ, ขุนตึงคำ” ซึ่งเทียบได้เท่ากับ “แถนหลวงฟ้าคื่น” หรือ “แถน” นั่นเอง

 

อ่านต่อ...
image

Author

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา.

Imprint

พิษณุโลก : ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2561.

Collection

Research and Thesis: PL4191.N6 อ623 2561

Annotation

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และภูมิปัญญาทางภาษาไทใหญ่ภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งศึกษาสถานการณ์ภาษาไทใหญ่และแนวทางการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการสืบสานภูมิปัญญาภาษา เพื่อหาแนวทางกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาไทใหญ่อย่างยั่งยืน โดยศึกษาข้อมูลในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจและสอบถามจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การซักข้อมูลภาษา การสังเกต การมีส่วนร่วม การศึกษาเอกสารและสื่อสังคมออนไลน์ จากการศึกษาพบว่า                   1) ลักษณะที่โดดเด่นของภาษาไทใหญ่คือระบบเสียงวรรณยุกต์ การสร้างคำใหม่ด้วยการประสมคำที่ซับซ้อนสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนรวมทั้งการใช้ภาษาสื่อสารที่ทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจความต้องการและความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูด และ 2) ศึกษาสถานการณ์ภาษาและวัฒนธรรมพบว่า ชาวไยใหญ่ในท้องถิ่นนี้ยังพูดภาษาของตนเอง และยังมีวิธีการธำรงภาษาของตนเองไว้ การกระตุ้นส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาและวัฒนธรรมไทใหญ่อย่างยั่งยืน เน้นที่การรวมกลุ่มสร้างความเข้าใจ โดยมีฐานกิจกรรมชุมนุมประเพณีต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งพิจารณาหาปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน
 

อ่านต่อ...

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre Library

20 Baromaratchachonnani Rd, Taling Chan, Bangkok 10170

Tel. +662-880-9429 Ext. 3702 - 4 Fax. +662-434-6254 E-mail. library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @SAC-library หรือคลิ๊กเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library

SAC Library (8th Floor)

Mon-Fri : 8:30 am – 4:30 pm

Saturday: 9:00 am – 4:00 pm

SukKaiChai Library

Mon-Fri : 8:00 am – 18:00 pm

Saturday: 8:00 am – 17:00 pm

The library will be closed on public holidays and on the dates announced by the government.