Title Author Imprint Collection Url Annotation
ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ http://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ทั้งแผนที่แสดงที่ตั้งถิ่นฐาน สภาพภายในหมู่บ้าน ลักษณะบ้านเรือนและข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ โดยใช้ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยชื่อที่คนในใช้เรียกตัวเองหรือต้องการให้สังคมเรียกในชื่อนี้ รวมถึงการค้นคว้าเนื้อหาที่แสดงให้เห็นพลวัตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้สาธารณะมีความรับรู้และเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น
สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของขาวไทยภูเขาในประเทศไทย ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ https://impect.or.th/ สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของขาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) หรือ Inter Mountain Peoples’ Education and Culture in Thailand Association (IMPECT) เป็นองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ชนเผ่าพื้นเมือง) เน้นการทำงานแทนชนเผ่าพื้นเมืองและเพื่อชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายหลักของการจัดตั้งเพื่อสนับสนุนให้ชนเผ่าพื้นเมืองใช้ “มิติคุณค่าทางวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง” เป็นรากฐานในการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายตนเอง
ปัจจุบันสมาคมได้เน้นการทำงานพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมกับสมาชิกเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์หลัก ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ดาระอาง ไทใหญ่ ม้ง เมี่ยน ลีซู ละหู่ ลัวะ และอาข่า และเน้นการทำงานประสานความร่วมมือกับภาคีองค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนและเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง มีความเข้มแข็งสามารถคุ้มครองสิทธิและกำหนดวิถีชีวิตตามกรอบวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีต่อไป


 
สถาบันไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ http://www.taiyai.org/2011/index.php สถาบันไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน ดำเนินการจัดเก็บรวบรวมองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทใหญ่ แปลตำราไทใหญ่ มีการจัดประชุมและจัดเวทีเสวนาวิชาการ ทั้งในระดับชุมชนและระดับชาติ
จัดนิทรรศการและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านไทใหญ่
 ตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลวัฒนธรรมไทใหญ่ระดับชุมชน 4 ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้วัฒนธรรมประเพณี จัดกิจกรรมฝึกอบรมเกี่ยวกับประเพณี 12 เดือน จัดทำและพัฒนาหลักสูตรด้านวัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่ อบรมส่งเสริมอาชีพบนฐานวัฒนธรรมไทใหญ่ รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนภาษาไทใหญ่และอบรมครูผู้สอนผู้สอนภาษาไทใหญ่ 

 
(7) แถน ในวัฒนธรรมสายไทหลวง (ไทใหญ่ม ไทมาว, ไทอาหม ฯลฯ) ทองแถม นาถจำนง ไม่ระบุ ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 75 (ก.ค. 2561), หน้า 33-38 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068545 บทความนี้กล่าวถึงตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวกับ “แถน” ในวัฒนธรรมสายไทหลวงที่ผู้เขียนกล่าวว่าประกอบด้วยไทใหญ่, ไทมาว, ไทอาหม ฯลฯ โดยยกเอาเรื่องของแถนจากเอกสารประวัติศาสตร์และตำนานของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวมาอธิบายโดยสังเขป ในส่วนของเอกสารประวัติศาสตร์และตำนานของกลุ่มคนไทใหญ่ที่ถูกยกมากล่าวถึงมีอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน คือ พงศาวดารไทใหญ่ ฉบับของ N.Elias พิมพ์ขึ้นที่กัลกัตตา ในพ.ศ. 2419 กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์แปลเป็นภาษาไทยและพงศาวดารเมืองมาว จากหนังสือคนไทยในพม่า ของบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า พงศาวดารของชาไทใหญ่ทั้งสองเรื่องนี้ เรียกประมุขสูงสุดของเมืองฟ้าหรือสวรรค์ ว่า “ขุนตูงคำ, ขุนตึงคำ” ซึ่งเทียบได้เท่ากับ “แถนหลวงฟ้าคื่น” หรือ “แถน” นั่นเอง

 
อัตลักษณ์ ภูมิปัญญา และการสืบสานภาษาชาติพันธุ์ไทใหญ่ภาคเหนือตอนล่าง อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. พิษณุโลก : ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2561. Research and Thesis: PL4191.N6 อ623 2561 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094862 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และภูมิปัญญาทางภาษาไทใหญ่ภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งศึกษาสถานการณ์ภาษาไทใหญ่และแนวทางการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการสืบสานภูมิปัญญาภาษา เพื่อหาแนวทางกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาไทใหญ่อย่างยั่งยืน โดยศึกษาข้อมูลในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจและสอบถามจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การซักข้อมูลภาษา การสังเกต การมีส่วนร่วม การศึกษาเอกสารและสื่อสังคมออนไลน์ จากการศึกษาพบว่า                   1) ลักษณะที่โดดเด่นของภาษาไทใหญ่คือระบบเสียงวรรณยุกต์ การสร้างคำใหม่ด้วยการประสมคำที่ซับซ้อนสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนรวมทั้งการใช้ภาษาสื่อสารที่ทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจความต้องการและความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูด และ 2) ศึกษาสถานการณ์ภาษาและวัฒนธรรมพบว่า ชาวไยใหญ่ในท้องถิ่นนี้ยังพูดภาษาของตนเอง และยังมีวิธีการธำรงภาษาของตนเองไว้ การกระตุ้นส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาและวัฒนธรรมไทใหญ่อย่างยั่งยืน เน้นที่การรวมกลุ่มสร้างความเข้าใจ โดยมีฐานกิจกรรมชุมนุมประเพณีต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งพิจารณาหาปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน
 
ตำแหน่งทางศาสนา: การสร้างความหมายในสังคมไทใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ธรรศ ศรีรัตนบัลล์. ไม่ระบุ วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่ 35, ฉบับที่ 3 (ก.ย./ธ.ค. 2559),20-42 หน้า http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00069488 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการอธิบายความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ตำแหน่งทางศาสนานำหน้าชื่อของคนไทใหญ่ ภายใต้บริบททางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยศึกษาในช่วงทศวรรษ 2540-2560 เก็บข้อมูลในชุมชนไทใหญ่พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาพบว่า ในยุคจารีตสังคมไทใหญ่ได้สร้างระบบตำแหน่งทางศาสนาขึ้นเพื่อใช้กำหนดสถานภาพและบทบาทของสมาชิกในสังคม ตำแหน่งทางศาสนาจะถูกใช้นำหน้าชื่อ สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1) ตำแหน่งทางศาสนาที่ได้รับจากการบวช 2) ตำแหน่งทางศาสนาที่ได้รับจากการถวายวัตถุทาน และ 3) ตำแหน่งทางศาสนาที่ได้รับจากการทำหน้าที่ทางศาสนา นอกจากนี้ก็พบว่าตำแหน่งทางศาสนาถูกใช้เป็นกลไกในการสร้างเครือข่ายทางสังคมของชาวไทใหญ่ แต่ก็ถูกลดความสำคัญลง เมื่อถูกแทนที่ด้วยการเกิดขึ้นของรัฐไทยและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
 
ปอยซ้อนน้ำ: สงกรานต์ในแบบฉบับดั้งเดิมของไทใต้คง (ไทใหญ่ในยูนนาน) อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ไม่ระบุ จดหมายข่าวไทยศึกษา ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา. ปีที่ 4, ฉบับที่ 2 (เม.ย./มิ.ย. 2558), หน้า 30-38 : ภาพประกอบ http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00062432 บทความนี้กล่าวถึงประเพณีปอยซ้อนน้ำของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใต้คง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทหรือไทใหญ่กลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน ประเพณีปอยซ้อนน้ำ หรือประเพณีสงกรานต์ของชาวไทใต้คงนั้น ถือเป็นประเพณีใหญ่และสำคัญ ประเพณีนี้มีที่มาจากตำนานที่กล่าวถึงขุนสาง หรือขุนผี หรือขุนยักษ์ที่ถูกตัดคอศีรษะตกดินแล้วเกิดไฟลุกและเมื่อยกศีรษะขึ้นเกิดมีเลือดไหล คนจึงนำน้ำมารดให้สะอาด ประเพณีนี้จัดขึ้นในช่วงราววันที่ 11 – 13 เมษายน โดยวันแรกคนนิยมเก็บดอกหมอกก่อสร้อยหรือดอกบู้ไปวางไว้ที่โก๊งซ้อน ที่วัดประจำหมู่บ้าน ในวันที่สองจะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปมาที่โก๊งซ้อนเพื่อให้ชาวบ้านได้สรงน้ำ
 
คติชนในบริบทข้ามพรมแดน: งานปอยไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ ศิราพร ณ ถลาง และ สุพิน ฤทธิ์เพ็ญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 Book: DS582.5.ท9 ศ64 2558 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00088947 การศึกษางานปอยของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยทุกปีชาวไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่จะจัดงานปอย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทใหญ่ และยังเหมือนสายใยที่เชื่อมความเป็นชาวไทใหญ่จากรัฐฉานกับชาวไทใหญ่ที่ย้ายถิ่นฐานให้มาอยู่รวมกัน งานปอยจึงเปรียบเสมือนพื้นที่ให้แสดงความเป็นตัวตนของชาวไทใหญ่ ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ แม้กระทั่งการแต่งกาย
 
ไท ไทย ไทใหญ่ เมียนมาร์ : สำนึกทางชาติพันธุ์ในเงาอาเซียน ใน การบรรยายทางวิชาการครั้งที่ 7 เรื่อง ชาติพันธุ์ในเงาอาเซียน ศิรดา เขมานิฏฐา กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2557 Audio Visual Materials SAC 000737 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00082067 ผู้บรรยายกล่าวว่า คนภายนอกมักเรียกว่าคนไทใหญ่ หรือเงี้ยว แต่คำว่าเงี้ยวเป็นคำเรียกเชิงดูถูก แต่คนพม่าจะเรียกว่า ชาน ซึ่งมาจากการออกเสียงคำว่า สยามในภาษาพม่า ชาวตะวันตกซึ่งเรียกตามคนพม่าว่า ฉาน หรือ shan แต่คนไทใหญ่จะเรียกตัวเองว่า ไต ซึ่งกลุ่มไทใหญ่ก็จะมีกลุ่มย่อยอีก เช่น ไตโหลง ไตลื้อ ไตเขิน ไตสิบสองยูนนาน ไตมาว ไตเหนอ ไตแดง เป็นต้น สาเหตุที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ไตหลายกลุ่ม เนื่องจากลักษณะของกลุ่มชาติพันธุ์ไตชอบที่จะอยู่กันอย่างอิสระ แบ่งการปกครองกันตามพื้นที่ แต่มีความรับรู้กันเองว่าเป็นสายเครือไต คนไทใหญ่ที่เชียงใหม่ (อำภอฝาง, อำเภอไชยปราการและอำเภอแม่อาย) มีสำนึกของกลุ่มชาติพันธุ์ไต แต่ก็คิดว่าตัวเองเองป็นคนไทยด้วย มีการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมกับคนไทใหญ่ที่อพยพเข้ามาด้วย ยังคงใช้เครื่องมือที่ธำรงความเป็นอัตลักษณ์ไตด้วยประเพณีและเทศกาล เช่น การ ใส่เสื้อผ้าแบบคนไต การเปิดเพลงไต การแสดงของไต
ผู้บรรยายเล็งเห็นประโยชน์ในการเปิดประชาคมอาเซียนว่าสามารถสร้างเครือไตให้เป็นที่รู้จัก เพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนไม่น้อย และมองว่าตนเองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ข้ามชาติ พรมแดน โดยเสนอว่าไม่อยากให้มองอาเซียนแค่ 10 ชาติ แต่อยากให้มองคนไตเป็นพลเมืองหนึ่งในอาเซียน และอยากให้จัดทำพิพิธภัณฑ์เครือไตเพื่อให้เป็นศูนย์กลาง-ศูนย์รวมของคนไตและเครือไต ตลอดจนนำเสนอแนวโน้มของกลุ่มเครือไตที่อาจจะเกิดขึ้นในประชาคมอาเซียน คือ 1. เป็นกลุ่มคนไต เครือไตที่ชัดเจนมากขึ้น และ2. โดนกลืนรวมไปกับความเป็นพลเมืองของชาติ

 
ตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรมในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไต: กรณีศึกษาชุมชนไต อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ อรวรรณ วิไชย. ไม่ระบุ วารสารวิจิตรศิลป์ ปีที่ 5, ฉบับที่ 2 (Jul./Dec. 2557), หน้า 185-223 : ภาพประกอบ http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00061820 บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับวาทกรรมของไต เน้นเรื่องของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ปรากฏในลัทธิพิธีและความเชื่อของชุมชนไต อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่าชุมชนไตมีความเชื่อในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผ่านตำนานที่มีเรื่องราวเชื่อมโยงกับพระองค์ ด้วยความเชื่อของชาวไตเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อเรื่องวีรบุรุษ ทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เข้าไปอยู่ในความเชื่อของสังคมไตในฐานะ "วีรบุรุษสิ่งศักดิ์สิทธิ์" ในกระบวนการสร้างลัทธิพิธีและความเชื่อ (วาทกรรม) โดยมีที่มาจากความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ของเรื่องเล่าตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับเจ้าคำก่ายน้อย เจ้าฟ้าไตที่ได้ร่วมรบด้วยกัน ซึ่งจากคำบอกเล่านั้นก็พัฒนาไปสู่หนังสือประวัติศาสตร์และเหรียญบูชาทำให้เกิดการนับถือของคนในชุมชน ผลของวาทกรรมสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่มีต่อชุมชนทำให้พื้นที่อำเภอเวียงแหง ทำให้พระนเรศวรมหาราชมีสถานะเป็นที่เคารพของชุมชนไตในอำเภอเวียงแหง
 
การเมืองเชิงวัฒนธรรมของรสชาติ : วิถีอาหารของแรงงานไทใหญ่ในเมืองเชียงใหม่ บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล ไม่ระบุ วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา. ปีที่ 31, ฉบับที่ 2 (ก.ค./ธ.ค. 2555), หน้า 109-135 : ภาพประกอบ http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00065263 บทความนี้กล่าวถึงวิถีอาหารของแรงงานไทใหญ่ที่เข้ามาประกอบอาชีพในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลยังคงรักษาอัตลักษณ์การประกอบอาหารของช่วไทใหญ่ไว้ด้วยการทำอาหารไทใหญ่กินเอง มีการเลือกซื้อวัตถุดิบของอาหารไทใหญ่ในตลาดนัดและผู้ค้าเร่ชาวไทใหญ่ โดยโดยเฉพาะถั่วเน่าซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารหลายอย่างเช่น น้ำพริก อาหารประเภทอุ๊บ และแกง ผู้ศึกษาสรุปว่า การสร้างความแตกต่างระหว่างอาหารไทใหญ่ อาหารไทย และอาหารเมือง สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบหนึ่งของการเมืองเชิงวัฒนธรรมที่รสชาติอาหารเข้ามามีบทบาทสำคัญในบางบริบท บางสถานการณ์ และในหลายระดับ


 
บันทึกชาวไทใหญ่ในดินแดนลาว สราวุธ รูปิน ไม่ระบุ วารสารวิจิตรศิลป์ ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (Jan./Jun. 2555), หน้า 191-222 : ภาพประกอบ, แผนที่ http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00061703 บทความเรื่องนี้แปลจากเอกสารเรื่องประวัติความเป็นมาบ้านห้วยทราย เมื่อบ่อแก้ว สปป.ลาว โดย สุริยง ส.ห่าน และ โบ ห่าน ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวที่ชาวไทใหญ่เข้ามาอาศัยในบ้านห้วยทรายเพื่อทำการสำรวจและขุดหาแก้วหรือรัตนชาติ โดยเอกสารฉบับนี้เรียบเรียงขึ้นจากบันทึกของชาวไทใหญ่ที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจแก้วดังกล่าว นอกจากบันทึกเกี่ยวกับการเข้าไปค้นหาแก้วของชาวไทใหญ่แล้วนั้น ยังประกอบไปด้วยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงก่อนการยึดครองของฝรั่งเศส ซึ่งหมู่บ้านห้วยทรายได้กลายเป็นพื้นที่กันชนระหว่างการแย่งชิงอำนาจระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
ปลายขอบฟ้าฉาน : บันทึกการต่อสู้ทางการเมืองและวัฒนธรรมของกลุ่ม ชาติพันธุ์ในพม่า เจ้ายอดศึก. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2555 Books: DS530.8.ฉ6จ75 2555 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00075595 หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมบทความและบทสัมภาษณ์จำนวน 19 เรื่อง มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการต่อสู้      ที่ยาวนานทั้งทางด้านวัฒนธรรมและการเมืองของชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศพม่าที่ได้ทำการต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหาร เพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกครองตัวเอง ภายใต้ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย และในยุคที่ลัทธิอุดมการณ์ทางการเมืองภายหลังจากเหตุการณ์สงครามเย็น ซึ่งประเทศมหาอำนาจในโลกต่างเข้ามามีอิทธิพลกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยและรัฐบาลทหารพม่าเช่นกัน ทั้งยังเสนอถึงอิทธิพลด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการรักษาอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ ซึ่งได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีและค่านิยมความเชื่อต่างๆ ของชาวไทใหญ่และชาติพันธุ์อื่นๆ ในพม่า รวมทั้งทัศนคติ ของชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มีต่อประเทศไทยและประชาชนชาวไทย
 
เฮนไต ทีวีไทย. กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, 2554 Audio Visual Materials: CDF 000300 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00079071 สารคดีนี้กล่าวถึง การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเฮนไตในพื้นที่บ้านเมืองปอน เป็นชุมชนไทใหญ่ดั้งเดิม มีการตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลากว่า 200 ปี ตั้งอยู่ที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งยังคงมีร่องรอยการตั้งชุมชนแบบดั้งเดิมอยู่ โดยก่อนที่จะตั้งชุมชน คนในชุมชนจะมีการทำพิธีเสี่ยงสายหาพื้นที่ในการตั้ง “ใจบ้าน” เพื่อสร้างเสาหลักเมือง ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่คนชุมชนให้ความเคารพเป็นอย่างมาก มีการก่อตั้ง “หอเจ้าบ้าน” หรือ “หอผีประจำหมู่บ้าน” เป็นพื้นที่ของวิญญาณบรรพชนที่คอยปกปักษ์รักษาคุ้มครองลูกหลานในหมู่บ้าน          คนไทใหญ่จะอยู่อาศัยเป็นชุมชน ส่วนของพื้นที่การเกษตรนั้นจะแยกออกมาจากพื้นที่อยู่อาศัย ทุกๆ บ้านจะมีบ่อน้ำและมีบ่อน้ำรวมภายในวัด และคนในชุมชนจะมาหาบน้ำจากบ่อไปใช้ รูปแบบของบ้านที่อยู่อาศัยมีทั้งแบบดั้งเดิม และแบบสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตามสมัยนิยม บ้านแต่ละหลังจะมีการสร้างและแบ่งพื้นที่อย่างชัดเจน ชาวไทใหญ่จะมีพิธีปฏิบัติการบูชาบ้านบูชาเมือง การขอขมาลาโทษ และการบูชาเจ้าบ้าน ซึ่งทั้ง 3 พิธีนี้จะต้องทำเป็นประจำทุกปี
 
รายงานการวิจัยการศึกษาภาษิตภาษาไทใหญ่ นันทริยา สาเอี่ยม. เชียงใหม่ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554. Books: PN6519.ท9น64 2554 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00084732 การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างภาษิตภาษาไทใหญ่ และเพื่อศึกษาวัฒนธรรม       ไทใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในภาษิตภาษาไทใหญ่ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสำรวจเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาษิตและภาษิตภาษาไทใหญ่ รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาชาวไทใหญ่เพื่ออธิบายความหมายสุภาษิตภาษาไทใหญ่ จากการศึกษาพบว่าโครงสร้างของภาษิตไทใหญ่ส่วนมากมีสองวรรค โดยมีจำนวนคำในแต่ละวรรคแตกต่างกันไป มีวิธีการใช้สัมผัสระหว่างวรรค ส่วนวัฒนธรรมด้านต่างๆ ที่ปรากฏในภาษิตภาษาไทใหญ่นั้น มีทั้งการแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ การทำนา การประกอบอาชีพ อาหาร ศิลปะการแสดง ดนตรีและการละเล่น ความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ ช่วงอายุ การทำบุญ การพูด การฟัง มารยาท หน้าตา รวมไปถึงคำสอนในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ในรายงานการวิจัยได้รวบรวมภาษิตภาษาไทใหญ่พร้อมทั้งความหมายภาษาไทยให้ผู้สนใจได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
 
อัตลักษณ์ไทใหญ่ในกระแสความเปลี่ยนแปลง มนธิรา ราโท, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 Books: DS528.2.อ63 2554 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00075785 หนังสือรวบรวมบทความบางส่วนจากการนำเสนอในการประชุม International Conference, Performing Arts, and Exhibitional on "Shan Studies" ซึ่งจัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม 2552 ประกอบไปด้วยบทความจากนักวิชาการไทยในประเด็นต่างๆ ด้านฉานศึกษา ทั้งเรื่องของภาษา พิธีกรรม การย้ายถิ่น ผ้าทอชาวไทใหญ่และภูมิสถาปัตย์ ซึ่งจะทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ และบางส่วนของประเทศไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และสิ่งสำคัญที่แม้ว่าจะเกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม ชาวไทใหญ่ก็ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ของตนเองไว้อย่างเข้มแข็ง
 
สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ไทยใหญ่ วีระพงศ์ มีสถาน. กรุงเทพฯ : เอกพิมพ์ไทย, 2544. Books: DS570.ท94ว64 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028894 หนังสือเล่มนี้ ได้เรียบเรียงขึ้น จากการค้นคว้าข้อมูลทางเอกสารและการเก็บข้อมูลภาคสนามจาก บ้านปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้วิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม รวมทั้งการสัมภาษณ์ และร่วมใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านของชาวไทยใหญ่ ข้อมูลได้ถูกเรียบเรียงทั้งในส่วนของประวัติความเป็นมา ประชากร  ที่อยู่อาศัยและลักษณะบ้านเรือน การแต่งกาย ลักษณะภาษาไทยใหญ่ โครงสร้างทางสังคม การประกอบอาชีพ ศาสนาและความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม อาหารการกิน การสันทนาการ รวมไปถึงของใช้ในวัฒนธรรม ทั้งนี้ผู้เขียนได้ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล โดยจำแนกหมวดหมู่อย่างชัดเจน พร้อมทั้งมีภาพประกอบ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าเรื่อง ภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์โดยเฉพาะชาวไทยใหญ่ในประเทศไทยต่อไป
 
ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, 2554. DS582.5.ท9ส46 2544 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028049 หนังสือเล่มนี้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ "ไทใหญ่" ซึ่งได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารพงศาวดารและวรรณกรรมภาษาไทท้องถิ่น หนังสือและเอกสารภาษาจีน โดยนำเสนอข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ถิ่นที่อยู่ ประวัติและการพัฒนาการของไทใหญ่ในเอกสารจีนและไท 2) กำเนิด พัฒนาการ และการล่มสลายของอาณาจักรเมืองมาวหลวงและอาณาจักรไทใหญ่ และ 3) ไทยใหญ่ในจีนหลังการล่มสลายของอาณาจักรเมืองมาวหลวง ซึ่งรายละเอียดทั้ง 3 กล่าวถึงความเป็นมาและประวัติศาสตร์ของชนชาติไทใหญ่ ถิ่นกำเนิดและการย้ายถิ่น รวมไปถึง การเมือง สังคม และวัฒนธรรมบรรพบุรุษไทใหญ่ จนถึงยุคสมัยที่มีการขยายอำนาจของพม่าและจีน ซึ่งชาวไทใหญ่ในรัฐฉานก็ต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นจากการยึดครองของพม่า
 
วิถีไทยใหญ่ บ้านแม่ละนา 2 ทีวีไทย. กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, 2553 Audio Visual Materials: VT 000789 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00069144 สารคดีเรื่องนี้กล่าวถึง การพักผ่อนในโฮมสเตย์บ้านแม่ละนา อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งในตอนเช้านักท่องเที่ยวจะได้ตักบาตร ชาวไทยใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด ซึ่งรูปแบบของการตักบาตรของชาวไทยใหญ่จะมีการผูกปิ่นโตมาถวายที่วัดเป็นประจำทุกวัน แต่หากในวันที่เป็นงานบุญหรือวันสำคัญชาวบ้านจะยืนเรียงรายรอตักบาตรกันอยู่หน้าวัด วัดของชาวไทยใหญ่จะตั้งอยู่กลางชุมชนเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน สถาปัตยกรรมของวัดมีความโดดเด่นคงเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาวไทยใหญ่ มีพระพุทธรูปที่สวยงามเป็นที่เคารพและเลื่อมใสของคนในชุมชน โดยเฉพาะพระพุทธรูปปานปอง ซึ่งสร้างจากข้าวตอกดอกไม้ที่ชาวบ้านนำมาถวายรวมกัน ผสมกับยางไม้และปั้นขึ้นเป็นพระพุทธรูป จากนั้นนำเสนอการท่องเที่ยวภายในถ้ำปะการัง ระยะทางภายในถ้ำประมาณ 700 เมตร ภายในถ้ำมีสิ่งต่างๆ หินหลายประเภทที่สวยงามและน่าสนใจ ซึ่งผู้นำเที่ยวคือคนในชุมชนที่ได้รับการอบรมให้ร่วมกันอนุรักษ์และป้องกันไม่ให้ธรรมชาติภายในถ้ำถูกทำลาย การมาใช้ชีวิตในโฮมสเตย์บ้านแม่ละนา นักท่องเที่ยวจะได้รับชม “ลิเกไต” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวไทยใหญ่ ใช้ดนตรีพื้นบ้านหลายชิ้น รวมทั้งรูปแบบการแต่งกายที่ใช้ในการแสดงก็แสดงให้เห็นถึงอัตตลักษณ์ที่สำคัญของชาวไทยใหญ่ ซึ่งการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านแม่ละนานี้เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือร่วมใจของชาวไทยในชุมชน 
 
วิถีไทยใหญ่ บ้านแม่ละนา 1 ทีวีไทย. กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, 2553 Audio Visual Materials SAC 000342 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00069143 นำเสนอการจัดการท่องเที่ยวรูปแบบโฮมสเตย์ของชุมชนบ้านแม่ละนา อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชุมชน โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมทำโฮมสเตย์ จำนวน 16 หลัง กิจกรรมในการท่องเที่ยวที่บ้านแม่ละนานอกจากจะนอนพักโฮมสเตย์แล้วยังมีการเยี่ยมชมนาข้าวอายุกว่าร้อยปี หากนักท่องเที่ยวมาในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็จะสามารถทดลองเกี่ยวกับร่วมกับชาวบ้านได้ กิจกรรมการทอผ้าลวดลายของชาวไทยใหญ่ที่สามารถซื้อกลับไปเป็นของฝาก กิจกรรมการบีบน้ำมันงาซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้าน ผลิตจากงาขาวไร้สารเคมี การแสดงลิเกไทยใหญ่และงานประเพณีต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวสามารถร่วมชมได้ ตลอดจนนำเสนออาหารไทยใหญ่ที่เจ้าของที่พักจัดหาให้นักท่องเที่ยวได้รับประทาน นอกจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในหมู่บ้านแม่ละนาแล้ว ในบริเวณโดยรอบประกอบด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ เช่น ถ้ำแม่ละนา ถ้ำลอด และถ้ำปะการังอีกด้วย
 
การแสดงทางวัฒนธรรมครั้งที่ 49 ตวยตางก่า ถ่อมกวาม ไตเวียงแหง ชมฟ้อนรำ ฟังเพลง ชาวไต (ใหญ่) เวียงแหง ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2553 Audio Visual Materials SAC 000342 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068600 การแสดงจ๊าดไต เป็นการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ไต จากอำเภอเวียงแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับประเทศพม่า เริ่มตั้งแต่การไหว้ครู เนื้อเรื่องกล่าวถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหนุ่มหญิงสาวชาวไทใหญ่ โดยแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวไทใหญ่ เช่น งานออกพรรษา ซึ่งเป็นที่มาของการแสดงกิงกะหร่า ซึ่งเป็นการแสดงตามความเชื่อว่าเป็นการต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์  รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงพิธีแต่งงานของชาวไทใหญ่และประเพณีส่างลองของชาวไทใหญ่ ที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่
 
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาติพันธุ์ ขมุ ปะหล่อง ไทใหญ่ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553. Audio Visual Materials: CDF 000329 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00074133 วีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนชาติไทใหญ่ จำนวน 42 ตอน แบ่งเป็น 5 หมวด ดังนี้
          หมวดที่ 1 ชีวิตประจำวัน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตทั่วไปของชาวไทใหญ่โดยนำธรรมชาติใกล้ตัวมาใช้ เช่น การซักผ้าด้วยมะคำดีควายแทนผงซักฟอก การไพใบตองตึงมามุงหลังคา การถนอมอาหารอย่างถั่วเน่า ซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวไทใหญ่ต้องมีไว้ทุกครัวเรือน
          หมวดที่ 2 พิธีกรรมและความเชื่อของชาวไทใหญ่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ พระพุทธศาสนา การดูฤกษ์ยาม การใช้คาถารักษาโรค
          หมวดที่ 3 องค์ความรู้และภูมิปัญญาที่ได้เรียนรู้จากบรรพบุรุษ เช่น การใช้ยาสมุนไพรรักษาโรค หรือการสุ่มยา การตีมีดเพื่อใช้ในการทำเกษตรหรือในครัวเรือน การทำปานซอยหรือการแกะสลักลวดลายบนแผ่นไม้และสังกะสี
          หมวดที่ 4 การละเล่นและเครื่องดนตรี การละเล่นส่วนใหญ่ที่ฝึกความสามมัคคี ฝึกสติปัญญา กติกาง่ายๆ หรือหาและใช้วัสดุธรรมชาติใกล้ตัว อย่างการทำตึ่งตุงจากกระบอกไม้ไผ่ให้มีเสียงเหมือนกลอง
          หมวดที่ 5 หัตถกรรมและกับดักสัตว์ เป็นสิ่งที่เรียนรู้จากบรรพบุรุษ เพื่ออำนวยความสะดวก และประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การทำไม้กวาดดอกหญ้า การทำเครื่องจักรสานหรือทำกับดักสัตว์เพื่อดักมาเป็นอาหาร



 
รายงานการวิจัยศิลปกรรมและประวัติชุมชนรอบวัดพม่า-ไทใหญ่ อุษณีย์ ธงไชย. เชียงใหม่ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553 Research and Thesis: NA6022.ห7อ75 2553 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070919 งานวิจัยนี้มีเก็บข้อมูลจากวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองจังหวัดลำปางจำนวนทั้งหมด 15 วัด          เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนและข้อมูลงานพุทธศิลป์ต่างๆ ภายในวัด โดยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23-25 มีชาวพม่าชาวไทใหญ่และชนกลุ่มน้อยจากพม่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้นับถือพุทธศาสนา มีความเชื่อว่าการพบสิ่งที่ดีในโลกหน้าจะต้องมาจากการสะสมบุญในโลกปัจจุบันดังนั้นการทำบุญที่สำคัญ โดยเฉพาะการทำบุญกับพระศาสนา เช่น การสร้างวัด การถวายเครื่องอัฐบริขารและอาหารแด่พระสงฆ์ การรวบรวมปัจจัยหรือแม้แต่การอุทิศแรงกายเพื่อสร้างศาสนสถาน ทำให้ปรากฏศาสนสถานและงานพุทธศิลป์ของชนกลุ่มนี้อยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 รูปแบบการสร้างได้รับอิทธิพล ทั้งทางด้านโครงสร้างสถาปัตยกรรม พระพุทธรูป งานพุทธศิลป์อื่นๆ จากรูปแบบศิลปะพม่า สกุลช่างมัณฑเลย์ ซึ่งในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่และไม่ได้มีการดัดแปลงเหมือนในจังหวัดอื่นๆ จึงกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดลำปาง มีเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาท่องเที่ยวและสามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
 
"ผงชูรส" การเปลี่ยนแปลงความหมายเชิง "สัญญะ" จาก "สารปรุงแต่ง" สู่วิถีครัวไต (ไทใหญ่) ใน เอกสารประกอบการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 9 ปาก-ท้องของกินจริยธรรมและการเมืองเรื่องอาหารการกิน 25-27 มีนาคม 2553 นุชนภางค์ ชุมดีและสิริวรรณ สิรวณิชย์ กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2553 Books Chapter TX355.ศ73 2553 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068325 บทความนี้อภิปรายถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านการบริโภคและวัฒนธรรมอาหารไต หรือไทใหญ่ ในพื้นที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวถึงการนำผงชูรสเข้ามาในพื้นที่นี้ด้วยขบวนวัวต่าง ม้าต่าง ซึ่งเป็นรูปแบบการค้าขายที่ชาวบ้านที่มีทุนนำสินค้าประเภทต่างๆ ทั้งกะปิ กุ้งเสียบ นม สบู่ ปลากระป๋อง รวมถึงผงชูรสเข้ามาขายให้แก่ชาวบ้าน ในวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ที่แต่เดิมมี ถั่วเน่า เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงรส แต่เมื่อมีผงชูรสเข้ามาช่วยให้เกิดรสชาติที่กลมกล่อมจึงทำให้ชาวไทใหญ่จำนวนไม่น้อยเกิดการติดผงชูรสถึงขนาดที่มีคำพูดติดปากที่ว่า “ไม่ใส่ไม่ได้เดี๋ยวไม่อร่อย”
จากผลการเก็บข้อมูลของผู้เขียน นำมาสู่ข้อสรุปที่สำคัญ 2 ประการ นั่นคือ ผงชูรสในการสร้างความหมายตอกย้ำสัญญะของความอร่อยและผงชูรสเป็นภาพตัวแทนของสินค้าสมัยใหม่ที่เป็น “สัญญะของความอร่อยแบบง่ายๆ”
 
ชาวคะฉิ่นและชาวไทใหญ่อพยพ : เมื่อเขาเลือกชีวิตใหม่ไม่ "กู้ชาติ" ใน อุษาคเนย์ที่รัก จอมพล ดาวสุโข. กรุงเทพฯ: โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553 Books Chapter: DS521.อ75 2553 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068036 บทความนี้กล่าวถึง ชาวคะฉิ่นและชาวไทใหญ่ที่ได้อพยพมาตั้งรกราก ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยที่หมู่บ้านชาวคะฉิ่น ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่สามัคคี อำเภอเชียงดาว และหมู่บ้านชาวไทใหญ่ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านต้นผึ้ง อำเภอฝาง ซึ่งคน 2 กลุ่มนี้ได้ถูกกดขี่โดยรัฐบาลทหารพม่าและรัฐบาลทหารไทใหญ่ไล่ที่ทำกิน เนื่องจากเป็นพื้นที่สงคราม จึงได้ทิ้งแผ่นดินเกิด แล้วอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพื่อความอยู่รอด โดยเริ่มต้นจากการเข้ามาทำงานในสวนส้ม ได้รับค่าตอบแทนและที่อยู่อาศัย โดยยังคงมีวิถีชีวิตที่คงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชนกลุ่มน้อย ทั้งนี้เหล่าลูกหลานของผู้อพยพต่างก็ได้รับการศึกษาแบบไทย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังติดปัญหาเรื่องของสัญชาติ และความเท่าเทียมของกลุ่มน้อย
 
แรงงานข้ามชาติไทใหญ่ นิรมล เมธีสุวกุล, ทีวีไทย. กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, 2552 Audio Visual Materials: CDF 000617 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068518 ตั้งแต่รัฐบาลพม่าได้ผิดสัญญาปางหลวงกับรัฐไทใหญ่ (อยู่บริเวณรัฐฉาน ประเทศพม่า) ทำให้เกิดสงครามระหว่างชาวไทใหญ่กับรัฐบาลพม่า นอกจากนั้นชาวไทใหญ่ยังถูกรัฐบาลพม่ากดขี่ทางด้านสิทธิมนุษยชน และการบังคับใช้แรงงาน ชาวไทใหญ่จึงต้องหนีภาวะสงครามเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีแรงงานไทใหญ่หลายแสนคน มาประกอบอาชีพที่หลากหลาย และถือว่าเป็นแรงงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับแรงงานไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ จะใช้ช่วงเทศกาลงานบุญปอยส่างลองในเดือนเมษายนของทุกปีรวมตัวกัน ซึ่งงานบุญปอยส่างลองเป็นเหมือนศูนย์รวมชาวไทใหญ่พลัดถิ่นให้ได้พบปะพี่น้องชาวไทใหญ่ในต่างแดน และเป็นพื้นที่แสดงความเป็นตัวตนของชาวไทใหญ่ ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ แม้กระทั่งการแต่งกาย
ภาษาไทใหญ่ นิรมล เมธีสุวกุล, ทีวีไทย. ออกอากาศ วันที่ 14 มิ.ย. 2552 (25.16 นาที) Audio Visual Materials: CDF 000616 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068519 ชาวไทใหญ่มีความพยายามในการรักษาภาษาชาติพันธุ์ของตนเองไว้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน  ท่ามกลางเหตุการณ์ความขัดแย้งและการลี้ภัย ซึ่งคนที่พูดภาษาคำเมืองหรือภาษาล้านนาจะสามารถทำความเข้าใจภาษาไทใหญ่ได้ไม่ยาก ส่วนอักษรไทใหญ่มีพื้นฐานมาจากภาษามอญและปรากฏอยู่ในอักษรธรรมด้วย
ในอดีตรัฐฉานเคยมีหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาไทใหญ่ ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้ชาวไทใหญ่ไม่ได้รับอิสรภาพทางชาติพันธุ์ การสอนภาษาไทใหญ่จึงเหลือเพียงภายในวัดหรือบางหมู่บ้านที่ผู้นำชุมชนเป็นผู้ออกทุนและจัดการเรียนการสอน เพื่อสืบสานภาษาวัฒนธรรมไทใหญ่ไว้ ในประเทศไทยบริเวณที่มีชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ เช่น อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ มีการสอนภาษาไทใหญ่ให้แก่เด็กในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน โดยอาศัยลานวัด ลานหน้าบ้าน เป็นที่ดำเนินการเรียนการสอน
 
จ้าดไต มหรสพแห่งความสุข ทีวีไทย. กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, 2552 Audio Visual Materials: CDF 000583 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068517 สารคดีนี้กล่าวถึง “จ้าดไต” ศิลปะการแสดงที่สำคัญของชนชาติไทใหญ่ มีจุดกำเนิดจากเมืองสีป้อ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือรัฐฉาน คิดค้นโดยพ่อเฒ่าออเจ่ยะ โดยนำเครื่องดนตรีของไตมาผสมผสานกับบทเพลงโบราณ แล้วนำมาแสดงบนเวที ทั้งการร้องเต้น เล่น ฟ้อน เป็นเรื่องที่ถือว่าแปลกใหม่ของชาวไตในสมัยนั้น ในยุคสมัยเหตุการณ์สู้รบกันของรัฐบาลทหารพม่า และกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ ชาวบ้านจากรัฐฉานที่มีการอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย โดยกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหน จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2514 คณะจ้าดไต ได้เดินทางเข้ามา ณ บ้านเปียงหลวง ตามคำเชิญของนายพลโมเฮง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารและประชาชนชาวไทใหญ่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของคณะจ้าดไตในเปียงหลวงและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จ้าดไตก็ถือว่าเครื่องมือย่างหนึ่งที่แสดงถึงอัตลักษณ์ที่สำคัญของชาวไทใหญ่ มักจะแสดงในพิธีสำคัญหรืองานบุญต่างๆ องค์ประกอบหลักของจ้าดไต มี 2 ส่วนคือ การแสดงและวงดนตรี ซึ่งมีเครื่องดนตรีเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์  โดยเฉพาะ “ปียอ” เป็นเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการแสดงจ้าดไต เนื้อหาการแสดงก็จะมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องศาสนา ธรรมชาติ ประเพณี ความรัก เป็นต้น
 
ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ไทใหญ่ ทีวีไทย. กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, 2552 Audio Visual Materials: CDF 000584 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068516 สารคดีนี้กล่าวถึงกลุ่มคนไทใหญ่ว่าเป็นชนชาติที่เก่าแก่ ไทใหญ่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นที่สุดในรัฐฉาน ในอดีตแบ่งการปกครองออกเป็น 33 เมืองแต่ละเมืองมีเจ้าฟ้าปกครองเมืองแบบอิสระ บางช่วงตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอื่น จนได้รับสมญานามว่า “ดินแดนสามฝ่ายฟ้า” ภายหลังสมัยอาณานิคมอังกฤษคืนเอกราชให้ปกครองตนเอง ก็เกิดความขัดแย้งภายในกับรัฐบาลทหารพม่าจึงนำมาซึ่งการอพยพย้ายถิ่นหนีเข้ามาในประเทศไทย โดยชาวไทใหญ่จะอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย อัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ที่โดดเด่น เห็นได้จาก เครื่องแต่งกายทั้งชายและหญิง สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะ ภาษา ซึ่งชาวไทใหญ่มีภาษาเป็นของตนเอง ได้รับอิทธิพลมาจากภาษามอญโบราณ ชาวไทใหญ่มีความเคารพและศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ทำให้มีการสร้างวัดและพระพุทธรูป และเห็นได้จากวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น พิธีปอยส่างลอง งานบุญปอยจ่าตี่ งานจองพารา งานปอยวังกะป่า
 
ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ธิตินัดดา มณีวรรณ์ และ ยุทธการ ขันชัย. เชียงใหม่ : มิ่งเมือง, 2552 Books: GV1703.ท9ธ63 2552 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078476 การศึกษาวิจัยเรื่องศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวไทใหญ่ในล้านนาโดยเก็บข้อมูลการแสดงของชาวไทใหญ่ที่ปรากฏในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่อาศัยอยู่หนาแน่นและมีกลุ่มที่อนุรักษ์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านไว้อย่างเข้มแข็ง ผลการศึกษาพบว่าการแสดงของชาวไทใหญ่จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา เช่น การฟ้อนนก กิงกะหร่า การเต้นโตและการเต้นรูปสัตว์สองเท้าสี่เท้า  ศิลปะการแสดงที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น ก้าแลว ก้าลาย ซึ่งพัฒนามาจากศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว การก้ามองกากและการเล่นติ่งตุง ซึ่งเป็นการแสดงเพื่อความสนุกสนาน และศิลปะการแสดงประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ เช่น การฟ้อนไต
 
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมในชุมชนไทใหญ่ ใน เรือนพื้นถิ่นไทย-ไท ชัยสิทธิ์ ด่านกิติกุล, สิงหนาท แสงสีหนาท. กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551. Books: NA7435อ457 2551 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060515 โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของแหล่งตั้งถิ่นฐานชาวไทใหญ่ ด้วยการเปรียบเทียบแบบแผนทางภูมิทัศน์ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดพัฒนาการทางวัฒนธรรมชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและแคว้นใต้คง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลการศึกษาพบว่าชุมชนไทใหญ่ทั้งสองแหล่งมีพัฒนาการทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงออกไปจากแผนดั้งเดิม เริ่มจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างชาติพันธุ์ไทกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน ชุมชนชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีการรับเอาวัฒนธรรมจากชาติพันธุ์ไทยและความเป็นคนเมืองเข้ามาใช้มากขึ้น ในขณะเดียวกันชาวไทยใต้คง ก็มีการรับเอาวัฒนธรรมจากชาวจีนและความเป็นคนเมืองเข้ามาใช้เช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่าชาวใต้คงไม่มีแนวโน้มที่จะมุ่งสู่การกลืนกลายทางวัฒนธรรมเหมือนอย่างชุมชนชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งการผสมผสานทางวัฒนธรรมนั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ในทั้งสองพื้นที่ 
 
ไทใหญ่ : ความเป็นใหญ่ในชาติพันธุ์ โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551 Books: DS570.ท98ม56 2551 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00084767 หนังสือเล่มนี้จัดทำเพื่อเป็นเอกสารสนับสนุนโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา จำนวน 3 กลุ่มคือ ไทยอง ไทใหญ่และไทลื้อ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลในการบริการความรู้ในรูปแบบต่างๆ และเป็นการเตรียมข้อมูลในลักษณะของพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ซึ่งจะนำไปสู่การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์          ชาติพันธุ์ต่อไปในอนาคต โดยได้รวบรวมข้อมูลความเป็นมาของชาวไทใหญ่ ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การตั้งถิ่นฐาน เรือนไทใหญ่ ศิลปกรรม ลวดลายเครื่องประดับหลังคา สถาปัตยกรรม ประเพณี การละเล่นพื้นเมือง งานหัตถกรรม เครื่องจักสาน ผ้าและการแต่งกาย รวมไปถึงคัมภีร์ของชาวไทใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยคัมภีร์โหราศาสตร์และคัมภีร์สุขศาสตร์
 
ไทใหญ่พลัดถิ่น แล้วเราอยู่กันอย่างไรในแดนอื่น ใน การประชุมประจำปี ทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 6 รัฐ : จากมุมมองของชีวิตประจำวัน ธันวา เบญจวรรณ กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2550 Audio Visual Materials SAC 000166 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00053030 ในจังหวัดเชียงใหม่มีชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาอาศัยและทำงานอยู่ในเขตอำเภอเมืองเป็นจำนวนมาก ซึ่งการเข้ามาหางานทำในประเทศไทยนั้นถือว่าไม่ยากนัก เนื่องจากมีการชักชวนของเพื่อฝูงหรือญาติที่มาทำงานอยู่ก่อนแล้ว กล่าวคือ การอพยพเข้ามาทำงานนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลของเครือข่ายสังคมชาวไทใหญ่ กลุ่มชาวไทใหญ่อพยพนี้มีความรู้สึกว่าไม่ได้รับการยอมรับทั้งในด้านการทำงานและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนไทย แรงงานไทใหญ่อพยพกลุ่มนี้มีการปรับตัวไปตามบริบทของสถานการณ์ เช่น การมีชื่อที่ใช้หลากหลายแล้วแต่บริบทที่จะใช้ การพยายามทำตัวเองให้เป็นคนไทย หรือเลือกใช้ภาษาและคำพูดแบบไทย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแรงงานชาวไทใหญ่อพยพจะพยายามปรับตัวให้เข้ากับบริบทอย่างไทย แต่พวกเขาก็ยังคงมีการรวมตัวกันในพิธีหรือประเพณีสำคัญของชาวไทยใหญ่ เพื่อแสดงออกถึงการมีตัวตนของคนไทใหญ่และยังรักษาอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ตนไว้อย่างเหนียวแน่น

 
พื้นเมืองแสนหวี ฉบับหอคำเมืองไหญ เรณู วิชาศิลป์. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์ม, 2550. DS528.2.S5ร73 2550 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060369 หนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์ ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา เป็นผู้คัดลอก “พงศาวดารแสนหวี” จากต้นฉบับของเจ้าฟ้าเมืองไหญ นับเป็นนักวิชาการไทยคนแรกที่ได้อ่านต้นฉบับประวัติศาสตร์ไทใหญ่ที่บันทึกด้วยภาษาไทใหญ่ ต่อมาท่านได้ถึงแก่กรรมลง โดยที่ผลงานยังไม่ทันได้เผยแพร่ เรณู วิชาศิลป์ จึงได้ขออนุญาตจากทายาท ที่จะสานต่อผลงานให้เสร็จสมบูรณ์ หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงเนื้อหาพื้นเมืองแสนหวี ทั้งส่วนของตำนานและประวัติศาสตร์  มีลักษณะการดำเนินเรื่องเป็นการบันทึกลำดับกษัตริย์และเหตุการณ์ในแต่ละเมืองแต่ละรัชสมัย ใบบทนำได้อธิบายอักษรและอักขรวิธีของไทใหญ่ โดยมีจำนวนทั้งหมด 253 หน้า มีวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาจากต้นฉบับในภาษาไทใหญ่มาเป็นภาษาไทย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 พิมพ์ภาษาไทใหญ่ตามต้นฉบับเดิมส่วนที่ 2 ถ่ายทอดอักษรไทใหญ่เป็นตัวอักษรไทย ส่วนที่ 3 เขียนคำอ่านเป็นภาษาไทย และ ส่วนที่ 4 แปลเป็นภาษาไทยมาตรฐาน
 
พระภิกษุข้ามถิ่นอัตลักษณ์ข้ามแดน ศึกษาเปรียบเทียบพระภิกษุพม่าและ พระภิกษุไทใหญ่ในภาพเหนือของประเทศไทย ศุภสิทธิ์ วนชยางค์กูล ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 Research and Thesis BQ568.ห7 ศ74 2549EB http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00092987 วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้กล่าวว่า ปัญหาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเป็นเหตุผลหลักที่สำคัญที่ทำให้พระภิกษุพม่าและพระภิกษุไทใหญ่เคลื่อนย้ายข้ามแดนเขามายังพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยพระภิกษุไทใหญ่จะมีการปรับตัวมากกว่าพระภิกษุพม่า ในการเข้ามาอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งการปรับตัวที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน คือ การเปลี่ยนสีจีวรและการโกนคิ้วให้เหมือนกับพระภิกษุไทย ในขณะที่พระภิกษุพม่ามีการปรับตัวน้อยกว่าและยังคงดำรงอัตลักษณ์ของตนได้ชัดเจนมากกว่าพระภิกษุชาวไทใหญ่
 
รายงานการวิจัยโครงการการศึกษาและพัฒนาการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มแรงงาน ข้ามชาติ : กรณีศึกษากลุ่มแรงงานไทใหญ่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (1 กุมภาพันธ์ - 30 กันยายน 2549) ขวัญชีวัน บัวแดง...[และคณะ]. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549. Research and Thesis: HD8700.55.ข56 2549 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060482 การวิจัยเรื่องนี้เน้นการศึกษาสถานการณ์การสื่อสารสุขภาพในกลุ่มแรงงานไทยในจังหวัดเชียงใหม่โดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้อง และสำรวจสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ของแรงงานไทใหญ่ การศึกษาพบว่าแรงงานไทใหญ่ที่อพยพเข้ามาจากประเทศพม่ามีอาชีพหลักคือทำงานก่อสร้าง ด้านปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ที่เกิดมักจะเกิดจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน  ซึ่งนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาล แต่ก็เกิดปัญหาในการสื่อสารเนื่องจากความแตกต่างด้านภาษาและวัฒนธรรม ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานและองค์กรด้านการสื่อสารสุขภาพของแรงงานข้ามชาติทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่เข้ามาดำเนินการประสานงานเมื่อเกิดปัญหา แต่อย่างไรก็ดี พบว่ามีข้อจำกัดในการเข้าถึงสื่อสุขภาพของแรงงานชาวไทใหญ่ เช่น การขาดเนื้อหาที่สอดคล้องกับปัญหาของแรงงาน และความสามารถของแรงงานในการเข้าถึงสื่อที่มีอยู่ ซึ่งนำมาสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสื่อสุขภาพให้มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ
 
รัฐฉานในช่วงสมัยอาณานิคม: รากฐานความเข้มแข็งทางอัตลักษณ์ไทใหญ่หรือ ปมแตกหักความขัดแย้งทางชาติพันธุ์? ใน การประชุมเชิงวิชาการและ นิทรรศการเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง อาสา คำภา. อุบลราชธานี : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี , 2549 Books Chapter: DS523.3.ก64 2549 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00051640 บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมของรัฐฉานในช่วงสมัยอาณานิคม จากการศึกษาพบว่าอังกฤษไม่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองของรัฐฉานตามนโยบาย "แบ่งแยกและปกครอง" รัฐฉานในยุคของอังกฤษจึงมีความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ความสัมพันธ์ระหว่าง "เจ้าฟ้า" ชนชั้นปกครองกับราษฎรยังคงเป็นเช่นเดิม ซึ่งการถูก "แช่แข็ง" ในช่วงสมัยอาณานิคม อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทใหญ่และรัฐฉาน ไม่ได้รู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคนพม่าได้อย่างสนิทใจ นำไปสู่ความขัดแย้ง ในช่วงที่พม่าเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เกิดการต่อต้านอย่างที่รุนแรง แต่ก็ทำให้คนไทใหญ่ยังคงความเป็นตัวตน และมีจุดมุ่งหมายที่จะต่อสู้ของขบวนการกู้ชาติกับกองทัพพม่า และกินระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษจนกระทั่งปัจจุบัน
 
บันทึกจากสนามรบ : สิบปีไม่วางอาวุธของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ เจ้ายอดศึก เขียน ; เสือ แปล ; นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: ศยาม, 2549. Books: DS530.8.S45ย54 2549 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078448 หนังสือเล่มนี้ ได้มีการรวบรวมข้อมูลและเขียนขึ้นด้วยภาษาและตัวอักษรไทใหญ่ โดย พันเอกเจ้ายอดศึกผู้นำสูงสุดของกองทัพ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน และได้ถอดความเป็นภาษาไทยโดย "เสือ" หนึ่งในชาวไทยใหญ่ผู้รักชาติ ผู้ร่วมต่อสู้ในกองทัพกู้ชาติไทใหญ่ โดยได้กล่าวถึงการรวบรวมก่อตั้ง         กองกำลังทหารกู้ชาติไทใหญ่ ซึ่งในเวลานั้นประชาชนและทหารไทใหญ่ต่างอยู่ในภาวะสิ้นหวัง หมดกําลังใจ เนื่องจากขุนส่า ผู้นำสูงสุดแห่งกองทัพเมืองไตยอมจำนนต่อรัฐบาลทหารพม่า ทั้งนี้ในระยะเวลาสิบปีที่          กองกำลังใช้ความอดทนในการผ่านวิกฤตหลายต่อหลายครั้ง รวมถึงวิธีการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อผลักดันให้ปัญหารัฐฉานเข้าไปอยู่ในความรับรู้ของประชาคมโลก ในขณะเดียวกันก็พยายามให้ความรู้ประชาชน            ทั่วรัฐฉานรู้จักและเข้าใจในระบบอบประชาธิปไตย
 
ตำราการแพทย์และสมุนไพรชนเผ่าไทยใหญ่ (Shan) บรรณาธิการ, ยิ่งยง เทาประเสริฐ ; สังเคราะห์และเรียบเรียงโดย กันยานุช เทาประเสริฐ และคณะ. เชียงราย : วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2549. Books: R644.ท9ต64 2549 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00075764 หนังสือเล่มนี้เป็นการนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของชนเผ่าไทใหญ่ โดยมีรายละเอียด ได้แก่ ประวัติความเป็นมา แนวความคิดความเชื่อเกี่ยวการเกิด การตาย เหตุแห่งการเจ็บป่วยอาการ ระบบโรค การตรวจวินิจฉัย วิธีการรักษา การส่งเสริมป้องกันดูแลการปฏิบัติตน โดยแบ่งการรักษาได้  3 ประเภท คือ 1) การรักษาด้วยการบำบัดทางจิตใจด้วยพิธีกรรม 2) การรักษาโรคโดยการบำบัดทางกาย และ 3)การรักษาโดยการบำบัดด้วยยาสมุนไพร รวมทั้งเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรของชนเผ่าไทใหญ่ การสำรวจแหล่งสมุนไพรและพัฒนาเป็นศูนย์ขยายพันธุ์พืชสมุนไพรของชุมชน รวมไปถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพและยาสมุนไพร นอกจากนี้ได้นำเสนอสมุนไพรที่ใช้ในการดูแลสุขภาพของชนเผ่าไทใหญ่ โดยกล่าวถึง ชื่อท้องถิ่น สรรพคุณ ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ พร้อมทั้งภาพประกอบ

 
คนพลัดถิ่นกับการกลายเป็นสินค้า : ประสบการณ์ชีวิตของชุมชนไทใหญ่กับ การค้าแรงงาน ในมิติทางสังคมวัฒนธรรมบริเวณชายแดนไทย-พม่า อรัญญา ศิริผล. Research and Thesis DS530.8.ฉ6อ46 2548 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073671 งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาประสบการณ์ของคนไทใหญ่พลัดถิ่นในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า บริเวณบ้านต้นฮุง ตำบลม่อนปีน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งเนื้อหาของงานวิจัยออกเป็น 3 ส่วน เพื่ออภิปรายมูลเหตุที่ทำให้ชาวไทใหญ่ในพื้นที่ชายแดนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นและการกลายเป็นสินค้า
ส่วนแรก ผู้วิจัยกล่าวถึงบริบทของประวัติศาสตร์ชายแดนไทย-พม่า โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ พ.ศ. 1818 – 2490 และ พ.ศ. 2490 - ปัจจุบัน เนื้อหาในส่วนนี้เป็นการอภิปรายความสำคัญเรื่องพรมแดนที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการจำกัดและลดทอนความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเป็นชาติพันธุ์
ส่วนที่สอง ผู้วิจัยกล่าวถึงกระบวนการกลายเป็นสินค้าของคนพลัดถิ่น ที่เกิดขึ้นจากการอพยพเข้ามาของแรงงานชาวไทใหญ่ซึ่งสอดรับกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจการเกษตร แรงงานชาวไทใหญ่จึงกลายเป็นสินค้าในการแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนและรัฐ
ส่วนสุดท้าย ผู้วิจัยกล่าวถึงประสบการณ์ของคนไทใหญ่พลัดถิ่นกับการจัดวางตัวตนในบ้านใหม่ภายหลังจากที่ได้อพยพเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยกลุ่มคนไทใหญ่พลัดถิ่นนี้เชื่อมโยงตัวเองกับความรู้สึกสำนึกถึงบ้านเกิดผ่านพิธีกรรมทางศาสนา งานบุญหรืองานปอยที่ความหมายทางวัฒนธรรมและการให้คุณค่ายังคงสอดคล้องกับระบบแบบเดิม กิจกรรมทางวัฒนธรรมเหล่านี้ถูกใช้เป็นที่ทางในการจัดวางตัวตนและสร้างความคุ้นเคยในบ้านใหม่ (รัฐไทย)
 
รายงานการวิจัยเบื้องต้นเรื่องการศึกษาการแต่งกายของชาวไทยใหญ่จาก จิตรกรรมฝาผนังวัดท่าข้าม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และวัดบวกครกหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ปิยฉัตร อุดมศรี เชียงใหม่ : ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548. Research and Thesis: ND2835.ฮ9ป64 2548 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068960 การศึกษาการแต่งกายของชาวไทใหญ่จากจิตรกรรมฝาผนังวัดท่าข้าม อำเภอแม่แตง และวัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรูปจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างไทใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังของล้านนา มีปรากฏในที่ฝาผนังด้านข้างของวิหาร เรื่องราวที่นำมาเขียนจะเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ วรรณกรรมพื้นเมืองล้านนา และทศชาติชาดก ในภาพประกอบด้วยชนขั้นสูงไปจนถึงชาวบ้าน โดยผู้วิจัยได้จำแนกรูปแบบการแต่งกายบุคคลเป็นตามสถานภาพ ได้แก่ กษัตริย์ เจ้านาง นางกำนัล ทหาร ชาวบ้าน ชนชั้นสูงจะแต่งกายแบบชนชั้นสูงของพม่า ส่วนการแต่งกายของชาวบ้านจะเป็นลักษณะทางล้านนา
 
สตรีราชสำนักไทใหญ่ในเรื่องเล่าของนักเขียนสตรีร่วมสมัย : การศึกษาบทบาท ของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์ ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 Research and Thesis PN98.W64 จ64 2547EB http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00092834 การศึกษาบทบาทของสตรีไทใหญ่ในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะจากวรรณกรรมที่เป็นเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ Twilight over Burma: My life as a Shan Princess ของ Inge Sargent, The White Umbrella ของ Patricia Elliott และ My Vanished World: The True Story of a Shan Princess ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของสตรีราชสำนักไทใหญ่ โดยบทบาทในพื้นที่ส่วนตัว คือบทบาทในครอบครัว ทั้งในสถานภาพของความเป็นลูก ภรรยาและแม่ โดยสตรีในราชสำนักไทใหญ่สามารถขึ้นมาเป็นผู้นำครอบครัวได้และมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น ส่วนบทบาทในพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ บทบาททางสังคมและการเมือง สตรีราชสำนักไทใหญ่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ เรียกร้องความเป็นธรมและเอกราชให้แก่ไทใหญ่ มีบทบาททางการเมืองและสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากบริบททางสังคมการเมืองที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย

 
การย้ายถิ่นของชาวไทใหญ่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ ปณิธิ อมาตยกุล. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547 Research and Thesis: DS731.T27ป36 2547 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059837 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่นฐานของชาวไทใหญ่ที่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาวิวัฒนาการและขั้นตอนการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ของชาวไทใหญ่ และเพื่อศึกษาถึงความเป็นอยู่และปัญหาของชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐานต่างๆ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่เป็นทางการ โดยผลวิจัยพบว่า
    1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการย้ายถิ่นฐานของชาวไทใหญ่ คือ ปัจจัยผลักดัน ได้แก่ การขาดแคลนที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน รายได้ไม่พอต่อการดำรงชีพ ความบีบคั้นทางสังคมและการเมือง และปัจจัยดึงดูด คือ จังหวัดเชียงใหม่มีแหล่งงานมาก มีญาติพี่น้อง รวมทั้งมีความคล้ายคลึงทางภาษาและวัฒนธรรม
    2. ชาวไทใหญ่เริ่มอพยพย้ายถิ่นมายังเมืองเชียงใหม่จำนวนมากช่วงหลังจากที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ โดยมี 2 ลักษณะคือ ออกเดินทางจากรัฐฉานมุ่งตรงสู่จังหวัดเชียงใหม่ และ ออกเดินทางจากรัฐฉานสู่ประเทศไทยตามแนวชายแดน และอาศัยบริเวณนั้นสักระยะหนึ่ง จึงเดินทางต่อมายังจังหวัดเชียงใหม่เพื่อตั้งถิ่นฐานต่อไป
    3. ความเป็นอยู่ของชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีบัตรประจำตัวประชาชน จะประกอบอาชีพมั่งคง มีรายได้แน่นอน มีอยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยอยู่อาศัยกระจายไปตามที่ต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ และ กลุ่มที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนไทย จะประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง มีรายได้ต่ำและไม่แน่นอน อยู่อาศัยกับนายจ้าง โดยจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ มักจะมีปัญหาในการหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจและการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างและเพื่อนร่วมงาน

 
ลวดลายฉลุโลหะประดับชั้นหลังคาศาสนสถานไทใหญ่ : รายงานการวิจัยเบื้องต้น กมลรัตน์ อัตตปัญโญ. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547 Research and Thesis: NA6022.ห7ก44 2546 : http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045983 การศึกษาเรื่องลวดลายฉลุโลหะประดับชั้นหลังคาศาสนสถานไทใหญ่ ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เก็บข้อมูลจากวัดจำนวน 6 วัด ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของวัดพม่าและไทใหญ่ โดยได้ศึกษาถึงความเป็นมาของลวดลาย ลักษณะโครงสร้าง รูปทรงและเทคนิคการทำและวัสดุที่ใช้ในการประดับชั้นหลังคาโบสถ์วิหารและศาลาการเปรียญ จากการศึกษาพบว่า รูปแบบของลายโลหะฉลุหรือปานซอย จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ความเชื่อที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และความเชื่อด้านอื่นๆ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับฐานะของบุคคล ความเชื่อเรื่องลวดลายจากสัตว์ ขนาดของลวดลาย จะมีขนาดพอเหมาะพอดี ไม่หนา ไม่ใหญ่และยาวจนเกินไป การตกแต่งลวดลายโลหะฉลุ สามารถทำได้ 2 ประเภทคือทำลายซ้ำกันตลอดความยาวของแผ่นโลหะ และลายต่อเนื่อง คือเป็นลายที่มีการผสมกัน การเคลื่อนไหวของทิศทางและตัวละลายมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
 
การออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทใหญ่ บ้านใหม่หมอกจ๋ามอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แก่นจันทร์ มะลิซอ. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546 Research and Thesis: TS1413.ท9ก83 2549 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045985 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของผ้าทอไทใหญ่ บ้านใหม่หมอกจ๋าม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทใหญ่ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยผลวิจัยพบว่า กระบวนการทอผ้าเริ่มพร้อมกับการย้ายถิ่นของชาวบ้าน ภายหลังได้รับการสนับสนุนโดยมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือมาสอนวิธีทอการผ้าเพิ่มเติม จากนั้นได้นำความรู้มาประกอบอาชีพและเผยแพร่ให้แก่ผู้อื่น โดยเอกลักษณ์ของผ้าทอไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋าม มีลวดลาดขวางตัดกับเส้นด้านยืน สีพื้นเป็นสีอ่อน ลวดลายเป็นสีเข้ม ต่อมาได้ประดิษฐ์และดัดแปลงจากผ้าทอยกดอกและผ้าทอตีนจก โดยปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับรูปแบบของผ้าทอไทใหญ่ ผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบนำเสนอและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด คือ โคมไฟ กระเป๋าสะพาย กระเป๋าถือ และกล่องนามบัตร ส่วนผลิตภัณฑ์รูปแบบของเสื้อผ้าที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด คือ เสื้อชุดโอกาสพิเศษ ชุดลำลอง และชุดทำงาน ตามลำดับ
 
การปรับปรน เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ : กรณีศึกษาชาวไทยใหญ่หมู่บ้านถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิมุข ชาญธนะวัฒน์ เชียงใหม่ : สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2546 Research and Thesis DS570.ท94พ64 2546 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037057 วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรับปรน เปลี่ยนแปลง ตลอดจนกระบวนการและผลกระทบจากการปรับปรน เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ในชุมชนหมู่บ้านถ้ำลอด ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากโดยมีผลจากปัจจัยภายใน ได้แก่ การเพิ่มประชากร ความต้องการเป็นคนไทย และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การพัฒนาของรัฐ การพัฒนาจากบุคคลและองค์กรอิสระ และการอพยพของประชากรต่างถิ่น กระบวนการปรับปรน เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมนั้น เกิดจากการยอมรับการปฏิบัติด้านการขัดเกลาสังคม การลอกเลียนแบบ การมีค่านิยมแบบใหม่ การยอมรับลักษณะของความเป็นสากล และการหยิบยืมทางวัฒนธรรมจากสังคมภายนอกเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของตน
 
รายงานวิจัยย่อยฉบับสมบูรณ์สิทธิของผู้พลัดถิ่น : ศึกษากรณีชาวไทใหญ่จาก ประเทศพม่า สุรสม กฤษณะจูฑะ กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2546. Research and Thesis: DS530.8.ฉ6ส74 2546 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057011 การศึกษาประเด็นของสิทธิภายใต้มุมมองของผู้พลัดถิ่นชาวไทใหญ่จากประเทศพม่า จากการศึกษาพบว่าคนเหล่านี้มีสิทธิตามกฎหมาย แต่ไม่สามารถนำสิทธิเหล่านั้นมาเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองได้ รวมทั้งไม่สามารถรู้ได้ว่าตนเองมีสิทธิใดบ้าง ทำให้การเรียกร้องให้สิทธิก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้พลัดถิ่นชาวไทใหญ่สามารถแสดงถึงสิทธิได้คือ “การบริโภค” ซึ่งคนเหล่านี้สามารถแสดงออกได้โดยปราศจากการควบคุมใดๆ ทำให้พวกเขามีตัวตน มีอำนาจซื้อ แต่ก็จำกัดอยู่ในระดับท้องถิ่นที่อาศัยอยู่เท่านั้น ไม่สามารถเกิดการรวมตัวเป็นชุมชน เชื่อมโยงคนเข้าหากันได้ ทำให้อำนาจในการเจรจากับโลกภายนอกลดลงเช่นกัน

 
รายงานการวิจัยการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาพื้นฐานสำหรับแรงงาน ต่างด้าว (ชาวไทยใหญ่/พม่า) กรณีศึกษาอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อรวรรณ พนาพันธ์. ลำปาง : ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ, 2546. Research and Thesis: HD8700.55.อ45 2546 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046069 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและปัญหาอุปสรรคในการจัดการศึกษาพื้นฐานสำหรับแรงงานต่างด้าวชาวไทยใหญ่/พม่าในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกตและการจัดกลุ่มสนทนา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาพื้นฐานสำหรับแรงงานต่างด้าวในปัจจุบัน (ชาวไทยใหญ่/พม่า) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการ คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายประสานงานในพื้นที่ สรรหาหาครูอาสาสมัคร จากนั้นให้ครูอาสาสมัครพบกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างแรงจูงใจและนัดหมายเวลาเรียน และ 2) ขั้นการปฏิบัติ จะเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยมีการนิเทศติดตามและประเมินผลเป็นระยะ เพื่อการปรับปรุงแก้ไข ทั้งยังนำผลการวิจัยได้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาพื้นฐานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวไทยใหญ่/พม่าต่อไป
 
กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ชายแดนไทย-พม่า : กรณีศึกษาหมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอ เวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ วันดี สันติวุฒิเมธี. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545 Research and Thesis DS582.5.ท9ว63 2545 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057820 ศึกษากระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ในหมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชายแดนที่อยู่ติดกับรัฐฉาน ประเทศพม่าและเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรกลุ่มใหญ่เป็นชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ จากการศึกษาพบว่าชาวไทใหญ่มีกระบวนการเลือกสรรอัตลักษณ์หลายรูปแบบ มีลักษณะของอัตลักษณ์ที่ท้าทายอำนาจ ต่อรองและประนีประนอมโดยเฉพาะกับรัฐไทยและรัฐพม่า ไม่ว่าจะเป็นการผลิตอัตลักษณ์ในช่วงเวลาที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ ที่มีการผลิตบทเพลงการเมืองวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลพม่า หรือสัญลักษณ์รูปธงชาติเพื่อสร้างสำนึกความเป็นชาติและการกู้ชาติ รวมทั้งรอยสักของชาวไทใหญ่ที่เป็นการแสดงอัตลักษณ์ที่ชัดเจนรูปแบบหนึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ในขณะเดียวกัน เมื่อสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนไป รอยสักของชาวไทใหญ่กลับเป็นอัตลักษณ์ที่ชาวไทใหญ่ในรัฐไทยต้องการปกปิด เนื่องจากมักเกิดความยุ่งยากในการติดต่อกับรัฐเมื่อเดินทางเข้าไปในตัวเมืองเชียงใหม่
          จะเห็นได้ว่าชาวไทใหญ่บ้านเปียงหลวงมีกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการธำรงชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ที่อยู่ในภาวะทางการเมืองที่ไม่แน่นอน
 
การศึกษาลวดลายการต้องกระดาษโดยใช้สิ่วตอกของกลุ่มไทยใหญ่ใน เขตอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน อนุสรณ์ บุญเรือง. เชียงใหม่ : ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545. Research and Thesis: NB1021.ห8อ37 2545 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00044903 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความเป็นมา โครงสร้างและวัสดุในการทำลวดลายการต้องกระดาษของกลุ่มชนชาวไทยใหญ่ ในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศึกษาข้อมูลและรูปแบบการเปรียบเทียบระหว่างลวดลายที่ปรากฏบนโลหะ กระดาษ และศึกษาอายุของลวดลายที่ปรากฏในอดีตถึงปัจจุบัน ตลอดจนแนวความคิดและเทคนิคการทำ จากการศึกษาพบว่า ลวดลายส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน โดยมีการเข้ามารูปแบบเดียวกัน และมีการประยุกต์ใช้ตามความคิดและจินตนาการของช่างทั้งรูปแบบของงานฉลุโลหะและการต้องลายกระดาษ โดยลวดลายการต้องกระดาษมีที่มาจากลวดลายการประดับอาคารทางศาสนาของไทยใหญ่และพม่า รวมทั้งคติความเชื่อด้านพุทธศาสนา และยังได้รับอิทธิพลของชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยล่าอาณานิคม
 
จิตรกรรมฝาผนังล้านนาฝีมือช่างไทใหญ่ วัดบวกครกหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กับวัดท่าข้าม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พิมพร เหรียญประยูร. เชียงใหม่ : ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545. Book: ND2835.ห7พ64 2545 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045978 การศึกษาการจิตกรรมฝาผนังล้านนาฝีมือช่างไทใหญ่ ที่ปรากฏภายในวิหารล้านนา โดยเลือกศึกษาที่ วัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และวัดท่าข้าม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยงานจิตรกรรมแต่ละแห่งนั้นมีลักษณะนิยมของท้องถิ่นสูง จิตรกรรมภายในพระวิหารวัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ทศชาติชาดก และคติชาวบ้าน โดยรูปแบบจิตรกรรมเป็นแบบไทใหญ่ ซึ่งยังไม่ได้รับอิทธิพลจากภายนอก ในขณะที่จิตรกรรมภายในพระวิหารวัดท่าข้าม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเรื่องพุทธประวัติ และวรรณกรรมพื้นเมืองล้านนา ซึงรูปแบบจิตรกรรมจะไม่เคร่งครัดกับระเบียบแบบแผนมากนัก ฝีมือช่างและการแสดงออกก็ค่อนไปทางงานพื้นบ้านอย่างชัดเจน เอกลักษณ์เด่นของจิตรกรรมฝีมือช่างไทใหญ่ จะใช้วัฒนธรรมชั้นสูงของพม่า ทั้งภาพบุคคลและสถาปัตยกรรม
ชุมชนไตใหญ่ร่วมสมัยกับกระบวนการสร้างสำนึกชาติพันธุ์: กรณีเมืองคำ รัฐไตใหญ่ เสมอชัย พูลสุวรรณ ไม่ระบุ จุลสารไทยคดีศึกษา. ปีที่ 17, ฉบับที่ 4 (พ.ค. 2544), หน้า 59-60 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00067569 การศึกษากรณีเมืองคำ บริเวณลุ่มน้ำมาว เนื่องจากลุ่มน้ำมาวอยู่คาบเกี่ยวกับรัฐไตใหญ่ของพม่าและมณฑลยูนนานของจีน พลเมืองของทั้งสองประเทศนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไตที่นับพุทธศาสนา ชาวไตในเมืองคำมีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมและผูกพันกับชาวไตในยูนนานมากกว่าชาวพม่า ในปัจจุบันมีความสำคัญทางเศรษฐกิจด้านการค้าขายผ่านชายแดนกับจีน รวมถึงเป็นเมืองสำคัญทางการท่องเที่ยว
จากการศึกษา เมืองคำในอดีตเป็นศูนย์กลางอาณาจักรมาวหลวงของชาวไตใหญ่ที่นำโดยเจ้าเสือข่านฟ้า โดยชาวไตใหญ่ใช้ตำนานเป็นเครื่องมือบอกเล่าถึงความเป็นชนชาติไตใหญ่ ที่แสดงถึงการมีตัวตนอยู่จริงของอาณาจักรมาวหลวงและวีรบุรุษเจ้าเสือข่านฟ้า รวมถึงโศกนาฎกรรมตำนานเจ้านางมอนละ ซึ่งความเป็นไตใหญ่ในปัจจุบันเป็นการปรับตัวและการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนไตใหญ่ภายใต้ความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของผู้ปกครองอย่างพม่า รวมถึงวัฒนธรรมกับคนไตกลุ่มอื่นๆ
 
การผลิตและการบริโภคถั่วเน่าของกลุ่มไทยใหญ่ อำเภอแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน จุฑารัตน์ สุภาษี. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544 Research and Thesis: DS530.8.ฉ6จ73 2544 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045094 การศึกษาการผลิตและการบริโภคถั่วเน่าของกลุ่มไทยใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเมืองแม่สะเรียงและบ้านโป่ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า “ถั่วเน่า” เป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยใหญ่ โดยถั่วเน่าเป็นการแปรรูปมาจากถั่วเหลืองที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่บริเวณนั้น มีขั้นตอนในการผลิตทั้งหมด 8 ขั้นตอน ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสามารถหาได้ในครัวเรือนและมีจำหน่ายในท้องตลาด
สำหรับการทำถั่วเน่าไว้รับประทานมี 4 แบบ คือ
1. ถั่วเน่าแผ่น ได้รับความนิยมมากสุดมักนำไปปรุงอาหารหรือทำน้ำพริก
2. ถั่วเน่าซา นำไปผัดหรือคั่วเป็นกับข้าว
3. ถั่วเน่าห่อ นำไปปรุงอาหารประเภทแกง
4. ถั่วเน่าทรงเครื่อง มักทำให้สุกและพร้อมรับประทาน
 
ชุมชนไตใหญ่ร่วมสมัยกับกระบวนการสร้างสำนึกชาติพันธุ์: กรณีเมืองน้ำคำ รัฐไตใหญ่ เสมอชัย พูลสุวรรณ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544 Research and Thesis: DS528.2.ฉ6ส74 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00031905 เมืองน้ำคำ ตั้งอยู่ในเขตรัฐไตใหญ่ทางภาคตะวันออกฉียงเหนือของพม่า ติดต่อกับบริเวณมณฑลยูนนานของประเทศจีน ส่วนใหญ่มีชาวไตอาศัยอยู่ ปัจจุบันมีความสำคัญทางเศรษฐกิจด้านการค้าขายผ่านชายแดนกับจีน รวมถึงเป็นเมืองสำคัญทางการท่องเที่ยว
 การศึกษาชุมชนไตใหญ่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันบริเวณเมืองน้ำคำเล่มนี้ ศึกษาลักษณะการปรับตัวและการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไตใหญ่ภายใต้วัฒนธรรมของผู้ปกครองอย่างพม่า รวมถึงวัฒนธรรมของคนไตกลุ่มอื่นๆ จากการศึกษาความเป็นไตใหญ่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมและวัฒนธรรม โดยชาวไตใหญ่อาศัยตำนานเป็นเครื่องมือเพื่อคงความเป็นไตใหญ่ เช่น ตำนานเจ้านางมอนละ ตำนานวีรบุรุษอย่างเจ้าเสือข่านฟ้า และครูบาเจ้าบุญชุ่มเป็นสัญลักษณ์ในการนับถือพุทธศาสนาดังเช่นคนไตโบราณกลุ่มอื่นๆ ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไตเพื่อสร้างเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์
 
ประวัติศาสตร์ไทใหญ่: พื้นไทตอนกลาง เจ้ายันฟ้าแสนหวี : เขียน ; นันทสิงห์ : เรียบเรียง ; สมปอง ไตตุ่มแก่น และฉัตรทิพย์ นาถสุภา : แปล. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ตรัสวิน, 2544 Book: DS582.5.ท9จ74 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00027811 หนังสือที่กล่าวถึงความเป็นมาของชาวไทใหญ่บริเวณแถบแม่น้ำเกียว (อิรวดี) กับแม่น้ำคง (สาละวิน) โดยอิงจากฉบับของเจ้ายันฟ้าแสนหวี พระราชบุตรองค์สุดท้ายของเจ้าฟ้าแสนหวี ที่ได้บันทึกเรื่องราวไว้ใน   ใบลาน โดยแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมยุคของความเจริญรุ่งเรือง และยุคเสื่อมถอยของอาณาจักร ต่อชนชาติไทกลุ่มอื่น และความสัมพันธ์กับชนชาติไทย ตั้งแต่ยุคแจ้ล้าน จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เมืองไทตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าฟ้าไทสละอำนาจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง
 
การคงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ สุทัศน์ กันทะมา. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542 Research and Thesis: DS582.5.ท9ส7 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045327 วัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ที่คงอยู่มิได้เหมือนเช่นเดิมอย่างในอดีต มีการเปลี่ยนแปลงทั้งคุณค่าและรูปแบบ ผู้ศึกษาจึงเลือกศึกษาจากเอกสารและลงภาคสนามโดยการสัมภาษณ์ผู้พักอาศัยในชุมชนบริเวณบ้านขุนยวม ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะเป็นชุนชนไทยใหญ่ที่ได้อพยพเข้ามาตั้งแต่ในอดีตซึ่งยังคงเอกลักษณ์แบบฉบับไทยใหญ่ไว้ โดยใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลรวม 9 เดือน ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2540 – เมษายน 2541
จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่ทำให้วัฒนธรรมคงอยู่ คือ การเห็นคุณค่าและประโยชน์ที่อยู่ในรูปของความเชื่อและถ่ายทอดผ่านพิธีกรรม คำสอน จนกลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ และมนุษย์กับมนุษย์ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา ส่วนกลไกที่ทำให้วัฒนธรรมคงอยู่ คือ ครอบครัว ผู้อาวุโส พระ ผู้ชำนาญ ผู้นำชุมชน และเครือญาติ ที่ช่วยกันถ่ายทอดประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น
 
รายงานการวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทใหญ่ สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. โครงการประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมชนชาติไท, 2542. Research and Thesis: DS582.5.ท9ส45 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040205 งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ ผ่านประวัติศาสตร์ราชวงศ์ พงศาวดาร จากการศึกษาเอกสาร ทั้งภาษาไทถิ่น ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ รวมทั้งลงภาคสนามในจังหวัดใต้คง อำเภอคุนหมิง  สาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่ายุคของอาณาจักรคนไทที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ยุคของเจ้าเสือข่านฟ้าที่ปกครองอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำคง โดยวัฒนธรรมไทใหญ่ในยุคนี้คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมไทใหญ่ในประเทศจีน ซึ่งเดิมเชื่อเรื่องผีแต่ได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา และมีอักษรภาษาเขียนเป็นของตนเอง ปัจจุบันชนชาติไทที่อาศัยในรัฐฉานของพม่ายังคงต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นจากการยึดครองของพม่า บางส่วนหนีการกดขี่ทารุณเข้ามายังทางเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน
 
รายงานการวิจัยเรื่องชุมชนและการสืบทอดวัฒนธรรมของไทใหญ่ในประเทศ สหภาพพม่า สุมิตร ปิติพัฒน์, เสมอชัย พูลสุวรรณ. กระทรวงศึกษาธิการ, 2542. Research and Thesis DS523.4.ท9ส74 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00031902 งานวิจัยเล่มนี้ศึกษาสังคม วัฒนธรรม และสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน สหภาพพม่า โดยเลือกเปรียบเทียบจาก 2 บริเวณ คือ 1) บริเวณตะวันตกของแม่น้ำสาละวินในเขตเมืองเมเมียว ภาคมัณฑะเลย์ โดยเป็นชุมชนไทใหญ่ที่เกิดใหม่  2) เขตเมืองยองห้วย และทะเลสาบอินเล เป็นชุมชนไทใหญ่เก่าแก่
จากการศึกษาพบว่า ในเขตเมืองยองห้วย และทะเลสาบอินเล ชาวไทใหญ่ส่วนใหญ่ยังคงอาชีพเกษตรกรรม และรักษาวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบไทใหญ่ไว้เป็นอย่างดี ใช้พุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งมีหลักฐานจากหอคำและวัดต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ 
ส่วนเขตเมืองเมเมียว ชาวไทใหญ่ มีความพยายามในการปลูกจิตสำนึกความเป็นไทใหญ่ ผ่านภาษา และการสืบทอดวัฒนธรรมให้แก่คนรุ่นใหม่ จึงออกมาในรูปแบบของวัฒนธรรมและการสร้างชุมชนให้เป็นปึกแผ่น
 
เครื่องจักสานของชาวไทยใหญ่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ณัฐพงษ์ ชำนาญตา. เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542 Book: TT873.ห8ณ63 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045997 การศึกษาเครื่องจักสานของชาวไทยใหญ่ โดยสะท้อนถึงภูมิปัญญาแฝงไปด้วยความเชื่อและความงาม รวมทั้งมีรูปแบบที่อำนวยความสะดวกต่อการใช้งาน โดยเครื่องจักสานของชาวไทยใหญ่แต่ละท้องถิ่นมีรูปแบบที่แตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม สำหรับเครื่องจักสานของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีโครงสร้าง ลายสาน และรูปทรงที่ยังคงสืบทอดรูปแบบเดิมจากการถ่ายทอดของปู่ย่าตายาย และเมื่อว่างจากการประกอบอาชีพเพาะปลูกก็จะมาผลิตเครื่องจักสานขายเพื่อสร้างรายได้และผลิตใช้เองภายในครัวเรือน
 
สถาปัตยกรรมไต บ้าน วัด จังหวัดแม่ฮ่องสอน สุรศักดิ์ ป้อมทองคำ, รุ่งฟ้า วิริยะเจริญกิจ, ชัยวิรัตน์ สวัสดิภาพ... [และคนอื่นๆ] แม่ฮ่องสอน: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงเรียนห้องสอนศึกษา, 2541 Book: NA6021.ส74 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045966 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชาวไตที่อพยพมาจากรัฐฉานในประเทศพม่า มาตั้งหลักแหล่งบริเวณปางหมู จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวไตเหล่านี้ได้นำศิลปวัฒนธรรม การสร้างงานศิลปะ สถาปัตยกรรม พร้อมกับวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตเข้ามาด้วย
          จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไตชัดเจน คือ บ้านและวัด โดยมีลักษณะพิเศษที่หลังคาบ้าน ส่วนใหญ่เป็นหลังคาทรงสูง มุงด้วยใบตองตึง ฝาเป็นไม้ไผ่สานลายต่างๆ ส่วนบ้านชาวไตที่มีฐานะดีจะมุงหลังคาบ้านด้วยสังกะสีเพราะในอดีตเป็นของหายากและมีราคาแพง สำหรับวัดในแม่ฮ่องสอนชาวไตมักสร้างวัดตามความเชื่อทางพุทธศาสนา และเชื่อว่าการสร้างศาสนสถานจะทำให้ได้สิ่งดีๆ ตอบแทนในภพหน้า ซึ่งมีรูปแบบหลังคาซ้อนขึ้นไปหลายๆ ชั้น มุงด้วยสังกะสีและเจาะลวดลายทุกชั้น
 
คำร้องในชีวิตและพิธีกรรมชาวไทเหนือ (ไทใหญ่ในยูนนาน) หม่านแสง พ่อสุ่ย, อ้ายดิน รวบรวมและชำระต้นฉบับภาษาไทเหนือ สมปอง ไตตุมแก่น แปลจากภาษาไทเหนือ; รณี เลิศเลื่อมใสเรียบเรียงและ เขียนบทนำ เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ตรัสวิน, 2544. Book: DS582.5.ท9ส43 2541 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028048 เป็นหนังสือที่รวบรวมคำอ่านหรือคำขับต่างๆ ที่ใช้ในประเพณีและพิธีกรรมของชาวไทเหนือ (ไทใหญ่ในยูนนาน) ซึ่งอาศัยบริเวณรัฐฉาน ของประเทศพม่าและมณฑลยูนนานของประเทศจีน คำร้องหรือคำขับต่างๆเหล่านี้ ถูกบันทึกในพับสา เนื้อความแสดงถึงคติ วัฒนธรรมแบบชนบท ในคำร้องจะพบอารมณ์ ความคิด ความเชื่อ หรือภูมิปัญญาที่ส่งต่อมาถึงลูกหลานผ่านการประกอบพิธีกรรมและงานมหรสพ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย อันเป็น “อัตลักษณ์ไทในระดับชุมชน” ที่มีบทบาทสำคัญในการสืบเนื่องทางสังคมของความเป็นชนชาติไท
 
ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไต (ไทใหญ่) ใน ประวัติศาสตร์สังคมและ วัฒนธรรมชนชาติไท: การประชุมสัมมนาโครงการวิจัย โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จ. เชียงใหม่ 7-9 มิถุนายน 2540 สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. สำนักเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวประวัติศาสตร์, 2540. Books Chapter: DS568.8.ป46 2540 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00050470 การวิจัยนี้ศึกษาประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไต, การเคลื่อนไหวและความสัมพันธ์ของกลุ่มไตกับชนชาติต่างๆ รวมทั้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาจากเอกสารไต เอกสารจีน และเอกสารจากตะวันตก พบว่ามีการก่อตั้งรัฐและขยายอาณาเขตจากดินแดน เมืองฮี เมืองฮามไปสู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง บางส่วนไปยังแม่น้ำพรหมบุตร จนกระทั่งเกิดเป็นอาณาจักรมาวหลวง แผ่ขยายอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งอาณาจักรชาวไตมีความเจริญสูงสุดในช่วงเจ้าเสือข่านฟ้าเป็นผู้ปกครอง หลังจากนั้นพม่าและจีนรุกรานอาณาจักรไตทำให้อาณาจักรไตล่มสลาย และเมื่อเวลาผ่านไป 300 กว่าปี ก็ยังมีความพยายามที่จะกู้อิสรภาพความเป็นไตใหญ่คืนมา โดยชาวไตหันมาใช้เอกสารและวรรณกรรมเป็นเครื่องมือเพื่อรอวันฟื้นคืนเอกราชชนชาติไต
 
ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ นันทสิงห์, สมปอง ไตตุมแก่น, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา แปล. กรุงเทพฯ: โครงการประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมชนชาติไท, 2540 Book: DS523.4.ท9น63 2540 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00030016 หนังสือเล่มนี้นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของชาวไทใหญ่แถบแม่น้ำเกียว (อิรวดี) และแม่น้ำคง (สาละวิน) หรือเรียกว่าบริเวณพื้นไทตอนกลาง เนื้อเรื่องของหนังสืออิงจากต้นฉบับของเจ้ายันฟ้าแสนหวี (พระราชบุตรองค์สุดท้ายของเจ้าฟ้าแสนหวี) ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวไว้ในใบลานตั้งแต่ยุคแจ้ล้านจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาณาจักรไทตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เนื้อหาของหนังสือแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมยุคของความเจริญรุ่งเรืองและยุคเสื่อมถอยของอาณาจักรไท รวมถึงความสัมพันธ์ภายใต้การปกครองของพม่า
 
ชาวไทยใหญ่ แม่ฮ่องสอน บนวิถีโลกไร้พรมแดน อมรรัตน์ ปานกล้า ไม่ระบุ สยามอารยะ. ปีที่ 3, ฉบับที่ 45 (พ.ย. 2539), หน้า 16-23 สยามอารยะ. ปีที่ 3, ฉบับที่ 45 (พ.ย. 2539), หน้า 16-23 กล่าวถึงเรื่องราวของชาวไทยใหญ่ที่อาศัยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งในอดีตจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นส่วนหนึ่งของรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ทำให้ชาวไทยใหญ่ในอดีตที่เคยอยู่อาศัยในบริเวณนั้นและอพยพมาจากเมียนมาร์ได้นำศิลปะ วัฒนธรรม คติความเชื่อ วิถีชีวิตต่างๆ มาจนทำให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน แม้ว่าปัจจุบันพื้นที่พรมแดนระหว่างไทยและเมียนมาร์แยกขาดกันอย่างชัดเจน แต่ชาวไทยใหญ่ในแม่ฮ่องสอนยังไปมาหาสู่พบญาติมิตรอยู่เสมอ แสดงให้เห็นว่าพรมแดนไม่อาจกั้นความเป็นชาวไทยใหญ่ได้
 
รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง ลายสักไทใหญ่ สายสม ธรรมธิ เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538. Research and Thesis: GT2345.ส64 2538 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00004026 การศึกษาลายสักไทใหญ่ โดยเลือกศึกษากลุ่มชาวไทใหญ่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย เนื่องจากยังมีประเพณีการสักร่างกายเหลืออยู่ จากการศึกษาการสักหรือสักยาในแต่ละพื้นที่มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับจารีตประเพณี ความเชื่อทางไสยศาสตร์โดยนำมาผสมผสานเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เช่น การนำรูปยันต์คาถาประกอบเข้ากับการสักรูปสัตว์ต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างขวัญและกำลังใจในยามศึกสงคราม แต่การสักในแต่ละพื้นที่ยังมีความแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย เช่น ส่วนผสมของยาสัก เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปการสักจึงถูกลดความสำคัญลง เพราะสภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลง

 
แผ่นดินไทยใหญ่: เรื่องราวและสารคดีแห่งชีวิตจริง จำลอง ทองดี. กรุงเทพฯ: ผู้นำการเมือง, 2538. Book: DS530.8.ฉ6จ64 2538 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046064 หนังสือที่รวบรวมเรื่องราวแผ่นดินไทยใหญ่ผ่านประสบการณ์การเดินทางเข้าไปในรัฐฉาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 โดยกล่าวถึงประวัติความเป็นมาในอดีตถึงปัจจุบัน สภาพภูมิประเทศ ชนชาติและชนเผ่าต่างๆ และเหตุการณ์ของแผ่นดินไทยใหญ่ในอดีตที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แผ่นดินไทยใหญ่กลับเป็นส่วนหนึ่งของพม่า นำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อย (ไทยใหญ่) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดในรัฐฉาน ผลประโยชน์ทางการเมือง และการบีบบังคับจากสังคมและเศรษฐกิจในพม่าที่มีต่อชาวไทยใหญ่
 
จองแปดหลัง อีกหนึ่งศรัทธาของชาวไทยใหญ่ที่เมืองปอน ขวัญใจ เอมใจ ไม่ระบุ สารคดี. ปีที่ 9, ฉบับที่ 107 (ม.ค. 2537), หน้า 38 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00059559 บทความนี้กล่าวถึงประเพณี “งานจองแปดหลัง” ของชาวไทยใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองปอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในทุกปีช่วงวันขึ้น 7-15 ค่ำ เดือน 12 ชาวบ้านจะรวมตัวกันสร้าง “จอง” ซึ่งเป็นปราสาทที่ทำด้วยไม้ไผ่ ล้อมด้วยรั้วราชวัติทรงสี่เหลี่ยมสำหรับเป็นแนวกำหนดเขตของจองเพื่อให้พระสงฆ์คอยรับบาตรตามแนวรั้วนั้น
การสร้างจองมีความหมายทางโลกเปรียบเสมือนการทำบุญสะเดาะห์เคราะห์ ส่วนทางธรรมเปรียบเหมือนการจำลองวัดในสมัยพุทธกาล ในวันแห่จองชาวบ้านจะรวมตัวกันนำจองของวัดมาแห่ไปรอบหมู่บ้านเพื่อไปรับจองอีก 7 หลังที่เกิดจากแรงศรัทธาของชาวบ้านที่ช่วยกันสร้าง เมื่อจองเคลื่อนไปที่ใด ชาวบ้านจะโปรยข้าวตอก ดอกไม้ใส่ขบวน หลังจากแห่เสร็จในวันรุ่งขึ้นชาวบ้านจะมาทำบุญตักบาตรตามแนวรั้วราชวัติที่ล้อมรอบจองทั้ง 8 หลัง รวมถึงฟังเทศน์ฟังธรรมจาก “จเร” นักปราชญ์หรือผู้รู้เป็นเวลา 7 วัน
 
ลาย: ศิลปะการป้องกันตัวของไทยใหญ่: รายงานผลการวิจัย สายสม ธรรมธิ. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537. Research and Thesis: GV1114.7.ส64 2537 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040947 ในอดีตไทยใหญ่ต้องเผชิญกับภาวะสงคราม สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่บังคับนี้ทำให้ชายชาวไทยใหญ่ต้องเรียนรู้เรื่องการต่อสู้เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน
ปัจจุบันสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ วิถีชีวิตชาวไทยใหญ่จึงเปลี่ยนไป ดังนั้นเพื่อปลูกฝังและกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมดังกล่าวจึงมีการศึกษาเรื่อง ลาย: ศิลปะการป้องกันตัวของไทยใหญ่ ในช่วงปี 2533 โดยเลือกศึกษาบริเวณหมู่บ้านไทยใหญ่ บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยใหญ่ที่อพยพหนีสงครามมาจากรัฐฉาน ประเทศพม่า โดยผลการศึกษาพบว่า ศิลปะการป้องกันตัวของไทยใหญ่มีลักษณะลีลาทางโครงสร้างไม่ค่อยสวยงาม เน้นความรวดเร็วและรุนแรงในการโจมตีและปัดป้องแก้ไข การฝึกมักเลียนแบบครูผู้ฝึกเพื่อเอาไว้ป้องกันตัวในช่วงระยะสั้นๆ

 
กรณีเรื่อง ไทยใหญ่: พลิกตำนานนิทานเท็จของสามเหลี่ยมทองคำ มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทยใหญ่. มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทยใหญ่, 2536. Book: DS530.8.ฉ6ก43 2536 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046062 ในอดีตชาวไทยใหญ่อาศัยในรัฐไทยใหญ่ (รัฐฉาน) โดยมีต๋องกี้เป็นเมืองหลวง เมื่อรัฐไทยใหญ่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า พม่าได้พัฒนาประเทศมากขึ้นและเกิดการกดขี่รุกรานชาวไทยใหญ่ การกระทำดังกล่าวทำให้ชาวไทยใหญ่ไม่มีที่ดินทำกินจนต้องต้องหลบหนีเข้าเมือง บางคนหนีเข้ามาประเทศไทยและบ่อยครั้งถูกส่งกลับ ดังนั้นชาวไทยใหญ่บางส่วนต้องหาวิธีอยู่รอดด้วยการปลูกฝิ่น ซึ่งทำให้เกิดปัญหายาเสพติด การก่ออาชญากรรม และการค้าประเวณี พม่าจึงต้องเร่งหาวิธีให้ชาวไทยใหญ่เลิกปลูกฝิ่นซึ่งเป็นต้นต่อของยาเสพติดและการก่ออาชญากรรม โดยมีตำนานว่าแหล่งปลูกฝิ่นของชาวไทยใหญ่อยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวแต่แหล่งปลูกฝิ่นอยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของรัฐฉาน (ไทยใหญ่)

 
สาระทางการศึกษาในกระบวนการส่างลองของชาวไทยใหญ่ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน ดนัย สิทธิเจริญ. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2535 Research and Thesis: DS570.ท94ด36 2535 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057817 การศึกษากระบวนการส่างลองจากเอกสาร การใช้วิธีสังเกต และการสัมภาษณ์ บริเวณพื้นที่บ้านปางหมู ตำบลปางหมู และบ้านตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยศึกษากระบวนการส่างลองย้อนหลัง 5-10 ปี เป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำหน้าที่ให้การศึกษา อบรม ปลูกฝัง ความเชื่อและอุดมการณ์ เพื่อช่วยหล่อหลอมนิสัยของคนรุ่นใหม่ในสังคมให้ดำเนินชีวิตตามบทบาทที่สังคมคาดหวัง ซึ่งคล้ายกับการให้การศึกษาในโรงเรียน แต่ในอดีตระบบการศึกษาสมัยใหม่ยังเข้าไม่ถึงชุมชน วัด จึงเป็นสถานที่ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ภายใต้การกำกับดูแลจากพระผู้เป็นอาจารย์
เมื่อระบบการศึกษาสมัยใหม่เข้าถึงชุมชนได้ วัดจึงลดบทบาททางการศึกษาเหลือแต่เพียงด้านพิธีกรรม กระบวนการส่างลองในปัจจุบันจึงให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในแม่ฮ่องสอนจำนวนไม่มากนัก มีเฉพาะในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน เพื่อช่วยขัดเกลาให้มีความประพฤติที่พึงประสงค์ด้วยการปฏิบัติกิจกรรมตามพิธีกรรมที่สืบทอดกันมา
 
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในพิธีกรรมของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน วิชญา ชำนาญมาก. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2535 Book: DS582.5.ท9ว62 2535 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046019 การศึกษาวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนผ่านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของชาวไทยใหญ่ โดยผู้ศึกษาได้แบ่งแยกประเภทวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ดังนี้
1. การใช้งานทั้งใช้ประกอบพิธีภายในวัด และภายนอกวัด
2. การจัดเป็นหมวดหมู่ของวัสดุที่ใช้ทำ เช่น เครื่องเขิน ไม้ โลหะ เซรามิค และวัสดุไม่ถาวร
3. โครงสร้างแบบถาวร ไม่ถาวร และถาวรเฉพาะพิธี
จากการศึกษาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในพิธีกรรมของชาวไทยใหญ่ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา เนื่องจากชาวไทยใหญ่นับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ สำหรับลักษณะการนำไปใช้ในพิธีกรรมต่างๆขึ้นอยู่กับหน้าที่ใช้สอยและตัวบุคคลที่นำไปใช้


 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทที่พักอาศัยของชาวไทยใหญ่ในเขตจังหวัด แม่ฮ่องสอน คมสัน ดีอุดมจันทร์. เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2534. Research and Thesis: NA7435.ห7ค45 2534 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045949 จากการศึกษาที่พักอาศัยของชาวไทยใหญ่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นโดยเป็นชาวไทยใหญ่ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานมาสร้างเรือนหรือเฮือนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งรูปแบบเรือนไทยใหญ่โดยทั่วไปยังไม่มีการจัดระเบียบแบบแผนในการก่อสร้างตายตัวเหมือนภาคกลาง มีลักษณะปลูกสร้างที่เรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในการตกแต่ง เน้นเข้ากับธรรมชาติที่อาศัยอยู่ ตามลักษณะของชาวไทยใหญ่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรจึงมักมีความผูกพันและใกล้ชิดกับธรรมชาติ
 
เครื่องจักสานของชาวไทยใหญ่: บทวิเคราะห์ข้อมูล จารุวรรณ โรจน์พงศ์เกษม. เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2534 Book: TT190.จ64 2534 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045083 การผลิตเครื่องจักสานชาวไทยใหญ่ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการเก็บข้อมูลช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน 2534 พบว่าการผลิตเครื่องจักสานของชาวไทยใหญ่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวก สนองความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยและมีความสวยงาม สะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น สภาพความเป็นอยู่ ภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
เครื่องจักสานเหล่านี้นอกจากเป็นประโยชน์ในการใช้งานของมนุษย์ ยังมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเพราะผลิตจากวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่และหวาย เมื่อเครื่องจักสานเหล่านี้ชำรุดและหมดสภาพสามารถทิ้งโดยไม่ต้องทำลาย เพราะสามารถย่อยสลายไปตามธรรมชาติ
 
ไทยน้อย ไทยใหญ่ ไทยสยาม ศรีศักร วัลลิโภดม; สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2534 Book: DS568.8ศ44 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000564 หนังสือที่รวบรวมแนวความคิด ความเชื่อ ว่าคนไทยมาจากไหน โดยผู้เขียนมีความเชื่อว่า คนไทยในประเทศไทยมีที่มาและสืบเชื้อสายมาจากบรรพชนหลายเผ่าพันธุ์ หลายสัญชาติ จึงยากที่จะเชื่อหรือพิสูจน์แม้แต่การจะพิสูจน์ด้วยผลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อค้นหากลุ่มชาติพันธุ์ หรือการสืบหาต้นตอทางภาษาที่แท้จริง เพราะเป็นเรื่องราวของความเปลี่ยนแปลง การผสมผสานทางวัฒนธรรมหลากหลายเผ่าพันธุ์ รวมถึงการย้ายถิ่นฐานที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดตั้งแต่อดีตจนแทบจะแยกออกจากกันได้ยาก
 
ไทยใหญ่ ทองไต. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์, 2531 Book: DS528.2.ฉ6ท52 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038532 หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับชาวไทยใหญ่ ซึ่งเป็นสายเลือดเดียวกับไทยน้อยหรือไทยสยามในประเทศไทย สำหรับไทยใหญ่เคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองที่อยู่บริเวณทางเหนือของประเทศไทยระหว่างเขตติดต่อของไทย พม่า และลาว แถบบริเวณแม่น้ำสาละวินในเขตรัฐฉาน การล่าอาณานิคมของอังกฤษทำให้รัฐไทยใหญ่กลายเป็นเมืองขึ้นของสหภาพพม่า ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งพม่าและไทยใหญ่ต่างช่วงชิงความเป็นใหญ่ จนกระทั่งไทยใหญ่ต้องออกมาต่อสู้เรียกร้องกู้แผ่นดินไทยใหญ่
พงศาวดารไทยใหญ่ เล่ม 1 พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์. กรุงเพทฯ: คุรุสภา, 2526. Book: DS560.น46 2526 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015890 หนังสือที่ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลของชาวไทยใหญ่ตั้งแต่อดีตจากพงศาวดาร และจดหมายเหตุต่างๆ เท่าที่จะหาได้ ทั้งแบบฉบับภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาพม่า และภาษาจีน
          ชาวไทยใหญ่ คือ ชนชาติหนึ่งที่มีการเรียกชื่อต่างกันจากชนชาติที่หลากหลายทั้งไทยเมา ไทยหลวง ชานเจ๊กหรือเงี้ยว ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยใหญ่ บ้างก็เรียกไทยคำตี่ คำเงี้ยว คำไทยเมาหลวง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยอยู่บ้าง ชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ในอาณาจักรโป่งหรือพง บ้างก็เรียกโกชานปญี โกสัมพี หรือมหานครไทยใหญ่ ในอดีตชาวไทยใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจากมณฑลฮุนหนำหรือยูนนาน และถอยร่นลงมาทางใต้ ซึ่งปัจจุบันคือแถบประเทศพม่า โดยชาวไทยใหญ่มักประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก 
 
Note On The Shan State Correspondent ไม่ระบุ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 6, ฉบับที่ 3 (ธ.ค. 2511), หน้า 26-33 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00064041 บทความที่กล่าวถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของรัฐฉานซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ราบสูง ลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างเย็น จึงเป็นเมืองที่ปลูกพืชผลและดอกไม้เมืองหนาวได้ดี ประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตที่สำคัญคือ ข้าว พืชตระกูลถั่ว กะหล่ำ พริก แครอท เป็นต้น คนฉานส่วนใหญ่มีความภูมิใจและสำนึกในชาติพันธุ์ของตน ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายทอดอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์ผ่านทางบทเพลง วรรณกรรม พิธีกรรม และขนบธรรมเนียม ทางด้านเศรษฐกิจนั้น รัฐฉานมีเมืองสำคัญ 3 แห่ง คือ เมืองตองจี ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการค้าและการปกครองตั้งอยู่ทางใต้ เมืองล่าเสี้ยว ตั้งอยู่ทางเหนือมีความสำคัญทางการค้า การคมนาคมขนส่ง และเมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ทางตะวันออก เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชาวเขินที่ผู้เขียนให้ความเห็นว่าหนุ่มสาวชาวเขินนั้นมีความสวยหล่อกว่าคนฉาน ในด้านการเมืองการปกครอง พบว่ามีการรุกรานจากกองกำลังทหารของรัฐบาลพม่า คนฉานทั้งหนุ่มสาวได้ออกมาเรียกร้องให้ฉานเป็นรัฐอิสระ แต่กองกำลังจากฝ่ายรัฐบาลพม่ากลับตอบโต้ด้วยความรุนแรง
 
บทบาทของไทยใหญ่ในพม่า เสือ เดินฟ้า ไม่ระบุ สังคมศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 4, ฉบับที่ 2 (ก.ย.-พ.ย. 2509), หน้า 63-68 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00063989 บทความที่นำเสนอบทบาทของชาวไทยใหญ่ในช่วง พ.ศ.2490-2507 ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉานของพม่า โดยมีอาณาเขตทางใต้ของรัฐติดกับประเทศไทย รัฐฉานมีลักษณะการปกครองโดยเจ้าฟ้า ซึ่งแบ่งออกเป็นเมืองต่างๆ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ทำให้เจ้าฟ้าไทยใหญ่ที่ปกครองรัฐฉานต้องการแยกตัวเป็นรัฐอิสระ แต่ผู้นำพม่าในเวลานั้น นำโดยอู นุ และ อู ออง ตกลงจัดตั้งเป็นสหภาพพม่าขึ้น ซึ่งให้รัฐต่างๆ มีสิทธิเท่าพม่า โดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐฉานตกเป็นรัฐหนึ่งของพม่า
หลังพม่าได้รับเอกราชไม่นานก็เกิดการจลาจลระหว่างฝ่ายรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ ภายในรัฐฉานเองก็ประสบปัญหากองทหารจีนก๊กมินตั๋งรุกรานเช่นกัน ในปี พ.ศ.2498-2499 เหล่าเจ้าฟ้าหนุ่มไทยใหญ่ซึ่งกลับมาจากการศึกษาในต่างประเทศ ได้มีบทบาทสำคัญทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำการต่อต้านพม่าเพื่อให้รัฐฉานแยกออกจากพม่า
 
From Princess to Persecuted: A Condensed history of the Shan/Tai to 1962 Shona T S Goodman. Seattle Washington : CreateSpace, 2014 Books DS528.2.S5G623 2014 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00087689
Tai magic : arts of the supernatural in the shan state and lan na Susan Convey Bangkok : River, 2014 Books GN475.3.C65T3 2014 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00083415 ผู้เขียนสนใจเกี่ยวกับเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคติความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา และในดินแดนล้านนา (ทางเหนือของประเทศไทย) โดยให้ความสนใจที่การประกอบพิธีกรรมและการส่งผ่านพลังเหนือธรรมชาติทั้งที่พบในจารึกใบลาน ลวดลายบนผ้าและเครื่องแต่งกาย โดยหลักฐานมักปรากฏคติจักรวาลที่แสดงออกถึงจิตวิญญาณอันเกี่ยวโยงร่วมกันในภูมิภาค  จากการศึกษาภาพวาด แผนภูมิ อักขระ เครื่องแต่งกาย ลายผ้า รอยสัก และพิธีกรรม พบว่าระบบความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเรื่องเหนือธรรมชาติมีความเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ ฮินดูและความเชื่อของชาวจีน ทั้งนี้ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทมีการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในระบบความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ ปรากฏอยู่ในรูปแบบเอกสารและภาษาซึ่งถูกใช้เป็นศูนย์รวมจิตใจ รวมถึงใช้ในการประกอบพิธีกรรมและวัตถุที่ผ่านพิธีกรรม
 
Dress and Tai Yai Identity in Thoed Thai, Northern Thailand Maya McLean. Bangkok : White Lotus, 2012 Books NK8877.M35 2012 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00076980 เป็นการศึกษาอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ที่แสดงออกผ่านเครื่องแต่งกายในสมัยหลังการปกครองของขุนส่า ที่บ้านเทอดไท อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่มีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทางการเมือง โดยประวัติศาสตร์ของรัฐไทยและพม่ามีผลกระทบต่ออัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ในประเทศไทย ภายหลังจากยุคของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ้ มีหลายองค์กรที่ให้การสนับสนุนในการพัฒนาชาวไทใหญ่ผ่านการฝึกทักษะในการทอผ้า ซึ่งการทอผ้านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างและแสดงอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ผ่านลวดลาวบนผืนผ้า ตลอดจนสร้างรายได้ให้กับชุมชนชาวไทใหญ่
 
Shan and beyond : Essays on shan archaeology, anthropology, history, politics, religion, and human rights edited by Montira Rato and Khanidtha Kanthavichai Bangkok : Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, 2011 Books DS528.2.S5S53 2011 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073983 รวมบทความจากการประชุมนานาชาติ Shan Studies จำนวน 14 เรื่อง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ การเมือง ศาสนา และสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของคนฉานหรือกลุ่มชาติพันธุ์ไตที่คนไทยมักเรียกว่าคนไทใหญ่ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในอินเดีย เมียนมา ไทย ลาว ทางใต้ของจีนและเวียดนาม โดยมีการภาษาในกลุ่มตระกูลไท-กะได
 
Shan ethnic food: the cultural politics of taste in Chiang Mai City Busarin Lertchavalitsakul Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University, 2009 Research and Thesis DS528.2.S5 B97 2009 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094533 วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ศึกษาการบริโภคอาหารชาติพันธุ์ไทใหญ่ของกลุ่มคนไทใหญ่ที่เป็นแรงงานอพยพ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิด “เทส ฮาบิตุส (taste habitus)” เพื่อทำความเข้าใจวัฒนธรรมการบริโภคของแรงงานอพยพไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้ศึกษาพบว่า ความผูกพันในรสชาติอาหารไทใหญ่เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงการยึดโยงบ้านเกิดผ่านรสชาติ กลิ่น และเครื่องปรุงบางอย่าง โดยยังคงดำรงวิถีอาหารเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และเพื่อความประหยัด นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างพื้นที่ของชาวไทใหญ่และเป็นการเชื้อเชิญให้คนนอกกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่มาลองชิมอาหารของคนอื่นจากคนขายของชาวไทใหญ่ที่เร่ขายไปตามแหล่งชุมชน ตลอดจนตลาดนัดทั้งในเมืองและชานเมือง
 
Tai lands and Thailand : community and state in Southeast Asia edited by Andrew Walker Singapore : Asian Studies Association of Australia in association with University Of Hawai'i Press, 2009 Books DS523.4.T35T35 2009 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00064359 รวมประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทโดยยึดจากกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไท ซึ่งประกอบด้วยคนไทยในประเทศไทย คนลาวในประเทศลาว คนฉานในประเทศพม่า และคนไตในตอนใต้ของประเทศจีน จุดมุ่งหมายในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ เพื่อเป็นการรวบรวมแนวความคิดเกี่ยวกับชุมชนคนไท สร้างกลุ่มชาติพันธุ์ไทในการเป็นชุมชนข้ามพรมแดนที่มีความเชื่อมโยงกันทางประวัติศาสตร์ มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมบางอย่างร่วมกัน
ในชุมชนชาวไทสมัยใหม่มีโครงการที่ผลักดันในประเด็นเรื่องการสร้างชาติ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการสร้างกระบวนการทางสังคมในระดับประชาชน เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
 
shan on the move : negotiating identities through spatial practices among Shan cross-border migrants in Northern Thailand Sachiko Yasuda. Chang Mai : Chang Mai university, 2008 Research and Thesis DS731.T27 Y37 2008 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095516           ศึกษาการย้ายถิ่นของคนฉาน (ไทใหญ่) เพื่ออธิบสยการเปลี่ยนแปลง การต่อรอง และกานำเสนออัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่โดยใช้พื้นที่ศึกษาที่ดอยไตแลง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นพื้นที่พรมแดนไทย – พม่า พื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง โดยเป็นงานศึกษาชาติพันธุ์แบบหลายสนามเพื่ออธิบายบริบททางการเมืองและสังคมของชาวไทใหญ่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะดอยไตแลงในฐานะศูนย์กลางของชาวไทใหญ่ทั้งกลุ่มเคลื่อนไหวต่อรัฐบาลพม่ารวมถึงที่พักพิงขิงชาวไทใหญ่อพยพ ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่ ชาวไทใหญ่มีความระวังในความสัมพันธ์กับรัฐไทยหรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ใช้วิธีการที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของความเป็นไทใหญ่โดยผ่านวัฒนธรมต่างๆ การแสดงออกถึงอัตลักษณ์เพื่อการต่อรองอำนาจมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
 
Weaving the Tai social world : the process of translocality and alternative mogernities along the Yunnan-Burma border Aranya Siriphon Chang Mai : Chang Mai university, 2008 Research and Thesis DS731.T27A73 2008 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058550 เป็นงานวิจัยที่ศึกษาการข้ามถิ่นทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนมณฑลยูนนาน ประเทศจีนและประเทศพม่า เพื่อศึกษาการบริโภคสินค้าไทยซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นชาติพันธุ์ไทเข้าไปเกี่ยวข้องจึงส่งผลให้เกิดความนิยมในหมู่ผู้ค้าและผู้บริโภคชาวไทใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าว ผู้วิจัยอภิปรายผลการศึกษาว่า การค้าขายสินค้าชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ในบริบทที่เศรษฐกิจชายแดนกำลังขยายตัวได้ส่งผลให้คนไทใหญ่ใต้คง สามารถใช้ความเป็นชาติพันธุ์ผ่านสัญลักษณ์ของสินค้า เพื่อสร้างภาพความเป็นไทที่สัมพันธ์กับคนไทยและคนไทกลุ่มอื่น ซึ่งสามารถเห็นความเชื่อมโยงระหว่างชาวไทกลุ่มต่างๆ ในต่างพื้นที่ นอกจากนี้ การเลือกใช้สินค้าไทยกลายเป็นเครื่องบ่งชี้ความทันสมัยที่ชาวไทใต้คงเลือกสรรให้กับตัวเอง
 
Tai Yai migration in the Thai-Burma border area : the settlement and assimilation process, 1962-1997 Ryoko Kaise Faculty of Arts Chulalongkorn University, 1999 Research and Thesis DS570.T35K35 1999 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045986 วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ศึกษาการอพยพของชาวไทยใหญ่จากประเทศพม่ามายังจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยเก็บข้อมูลในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2505 – 2540 ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวไทยใหญ่ในฐานะที่เป็นกลุ่มชนที่มาจากที่อื่นและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับชุมชนผู้อพยพหรือผู้พลัดถิ่นชาวไทยใหญ่ โดยพบว่า ชุมชนท้องถิ่นให้ความเห็นใจกลุ่มผู้พลัดถิ่น มีทัศนคติและการตอบสนองต่อผู้พลัดถิ่นที่แตกต่างจากรัฐไทย ตลอดจนการเกิดเครือข่ายของผู้พลัดถิ่นชาวไทยใหญ่ทำให้เกิดเป็นชุมชน ส่วนกระบวนการกลืนกลายของชาวไทยใหญ่ได้รับอิทธิพลจากประวัติศาสตร์การเมือง การอพยพและการตั้งถิ่นฐาน

 
The Phonology of Tai Yai at Amphoe Mae La Noi, Mae Hong Son province Orawan Poo-israkij Bangkok : Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, 1985 Collection Research and Thesis PL4165.O73 1985 Research and Thesis PL4165.O73 1985 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037500 วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ศึกษาระบบเสียงภาษาไทยใหญ่ที่บ้านแม่ลาน้อย ตำบาลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยผู้ศึกษาได้ลงภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ค.ศ. 1985 โดยเข้าไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแม่ลาน้อยซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวไทยใหญ่ ผู้วิจัยได้ศึกษาระบบเสียงของภาษาไทยใหญ่ในระดับหน่วยเสียง ประกอบด้วยสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ พร้อมทั้งเปรียบเทียบวรรณยุกต์ในภาษาไทยใหญ่กับภาษาขึน ลื้อ ยอง ซึ่งจัดเป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลไทด้วยเช่นกัน
 
Minority peoples in the Union of Burma George A. Theodorson. [s.l. : l.n.], 1964 Books DS528.T54 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040601 กล่าวถึงเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศพม่า เช่น กะเหรี่ยง ฉาน อินเดีย จีน มอญ ฯลฯ โดยคนฉาน มีจำนวนประมาณ 7% ของประชากรทั้งหมด และมีขนาดประชากรมากเป็นอันดับสองของจำนวนชนกลุ่มน้อย โดยที่รัฐฉานตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นที่ราบสูง มีภูเขาล้อมรอบ นอกจากคนฉานแล้วในรัฐฉานยังประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์อื่นซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง คนฉานมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับคนไทย และเขาเรียกตัวเองว่าเป็นคนไทยที่มีความสัมพันธ์กับคนสยามและอัสสัม นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของอาณาจักคนไทที่อาศัยบริเวณทางเหนือของพม่าและทางใต้ของจีน ประวัติศาสตร์สมัยที่รัฐบาลพม่าปกครองรัฐฉาน ประวัตาสตร์ภายหลังจากที่อังกฤษเข้ามาล่าอาณานิคมและรัฐฉานถูกรัฐบาลของพม่าผนวกรวมชาติภายหลังจากแนวคิดการขอแยกเป็นอิสระของผู้นำชนกลุ่มน้อยถูกรัฐบาลพม่าปฏิเสธ