เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดกับกระบวนการกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

 |  มรดกวัฒนธรรม และภูมิปัญญา
ผู้เข้าชม : 2406

เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดกับกระบวนการกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดกับกระบวนการกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

อรวิภา มงคลดาว

 

บทนํา

ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปตามกระแสโลกาภิวัตน์มากขึ้น ความรวดเร็วและทันสมัยของ เทคโนโลยีทําให้ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา รวมถึงการให้คุณค่าสิ่งต่างๆ ได้เปลี่ยนไปจาก อดีต บางสิ่งมีคุณค่ามากในอดีตกลับถูกแทนที่ หรือลดทอนคุณค่าลงในปัจจุบัน ทุนนิยมได้กลายมาเป็นหัวใจ หลัก ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับยุคปัจจุบันรวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิดของคน เกิดการ เปลี่ยนแปลงในด้านแบบแผนการใช้ชีวิตประจําวันของทุกคนในสังคม เป็นเหตุสําคัญที่ทําให้เยาวชนในยุค ปัจจุบันเกิดการปฏิเสธวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนและรับเอาความทันสมัยให้เข้ามา ทําให้การพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกันภายในครอบครัวและชุมชนลดลง (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2553)

 

จังหวัดนนทบุรีซึ่งประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อสายทั้งไทย จีน แขก และยังมีชนชาติที่อพยพเข้า มาภายหลังอีกสองเชื้อชาติคือชาวไทยเชื้อสายมอญ ซึ่งอพยพมาอยู่ในจังหวัดนนทบุรีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี ตลอดจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังปรากฏหลักฐานในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม การละเล่นพื้นเมืองที่สําคัญนิยมปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึง ปัจจุบัน คืองานสงกรานต์ของทางการและของชาวมอญจัดในช่วงวันที่ 13–15 เมษายน ขบวนแห่หางหงส์ ธงตะขาบน้ําหวานและแห่ปลา และการละเล่นของชาวมอญ ซึ่งในงานประเพณีสงกรานต์จะมีการรํามอญเป็น นาฏศิลป์ที่เก่าแก่อย่างยิ่งของมอญเกาะเกร็ด นอกวัฒนธรรมประเพณีของชาวมอญที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยัง พบว่ามีอาชีพการปั้นเครื่องปั้นดินเผาได้สร้างรายได้ให้กับคนบนเกาะมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยปลายอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและชาวมอญ เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเกื้อกูลกันในชุมชน เพื่อการดํารงชีวิตอย่างมีความสุข ผู้คนถูกหล่อหลอมด้วยหลักธรรมคําสั่งสอนศาสนา มีการปฏิบัติตามกฎ เกณฑ์ความเชื่อ จารีต ประเพณีจึงเกิดการผสานทางวัฒนธรรมไทย-มอญบนพื้นที่เกาะ ผ่านการร่วมตัวของการ ทํากิจกรรมต่างๆ บนเกาะ เช่น การรวมตัวเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ บนเกาะ การทําข่าวแช่ในวัน สงกรานต์ และการประกอบอาชีพการปั้นเครื่องปั้นดินเผา “เครื่องปั้นดินเผา หม้อน้ําลายวิจิตร ” เป็นศิลปะ ที่มีความงดงาม และมีลักษณะเฉพาะของเกาะเกร็ด ทั้งรูปทรง สีสันของเนื้อดิน และลวดลายในการแกะสลัก ที่บ่งบอกชัดเจนถึงศิลปะรามัญ ชาวไทยเชื้อสายมอญเหล่านี้มีความชํานาญในการปั้นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ เครื่องปั้นดินเผาของเกาะเกร็ด มีลวดลายสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นงานปั้นโอ่งน้ํา หม้อน้ํา และหม้อข้าวแช่ ซึ่งในอดีตเครื่องปั้นประเภทนี้จะทําขึ้นในโอกาสพิเศษ เช่น ทําให้แก่ผู้มีพระคุณ เพื่อเป็นที่ระลึกหรือทําถวายพระ มีการประดิษฐ์คิดค้นลวดลายและแกะสลักลวดลายบัวคล้ํา บัวหงาย ลงบนเครื่องปั้นอย่างงดงาม จนกลายเป็นชิ้นงานศิลปะพื้นบ้านและได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากอดีตจนถึง ปัจจุบัน เครื่องปั้นดินเผาของเกาะเกร็ดได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพและคงทน และยังมีรู ปทรงที่สวยงาม สมมาตร เกาะเกร็ดได้รับความสนใจจากภาครัฐเนื่องจากได้รับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OTOP ต้นแบบ” ในปี 2540 และเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวและผู้ที่ต้องการจะมาสัมผัสวัฒนธรรมความเป็นไทยมอญและ ความต้องการในการเรียนรู้การปั้นเครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดหรือที่เรียกว่าหม้อน้ําลายวิจิตร ได้รับเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนนทบุรี อีกทั้งด้วยระยะทางที่ไม่ห่างไกลจากกรุงเทพนักทําให้ช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์มีผู้คนเดินทางมาที่เกาะเกร็ดเพื่อสัมผัสวิถีชีวิตและเรียนรู้การปั้น (The local office at Koh Kret, 2016)

การกลายเป็นสินค้าของผลผลิตต่างๆ ได้เริ่มทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองและระบบ เศรษฐกิจที่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในครอบครัว การปั้นเครื่องปั้นดินเผาเพื่อใช้ในครัวเรือนแน้นการใช้งานและ ผลิตของที่ใหญ่เพื่อการกักเก็บน้ํา เช่น โอ่ง อ่าง กระถาง และครก กระบวนการผลิตมีการใช้คนในพื้นที่เข้ามา เพื่อช่วยเหลือกันและกันในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้การปั้นเครื่องปั้นดินเผาสามารถทําออกมาได้สมบูรณ์ จากการ เข้ามาของระบบทุนนิยมทําให้การผลิตเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้ สามารถขายสินค้าได้ตามความต้องการอย่างแท้จริง (Chanyasri W, 2003) ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษา การกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมของเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษากระบวนการกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมของเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด

 

วิธีการวิจัย

รายงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งศึกษาการกลายเป็นสินค้าของ เครื่องปั้นดินเผา เพื่อให้ทราบความเป็นมาและสภาพปรากฏการณ์ในพื้นที่และเข้าใจผลกระทบที่เกิดกับชุมชน การวิจัยครั้งนี้คัดเลือกพื้นที่ในการวิจัยและเก็บข้อมูลบริเวณตําบลเกาะเกร็ดในหมู่ที่ 1 6 และ 7 ที่เป็นแหล่งที่ มีการปั้นเครื่องปั้นดินเผาบนเกาะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้วิจัยได้ทําการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบ เจาะจง (Purposive -sample) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุม ลุ่มลึก และเป็นองค์รวมจากประสบการณ์ของผู้ ถ่ายทอดความรู้เครื่องปั้นดินเผา ผู้สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้เครื่องปั้นดินเผา ผู้วิจัยมีการดําเนินการวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูลดังต่อไปนี้ 1. ผู้ให้ข้อมูล 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การดําเนินการวิจัย 4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล (Key Information) ผู้วิจัยได้ทําการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive sample) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลุ่มลึก ครอบคลุมและเป็นองค์รวมจากประสบการณ์ตรงของผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญา เครื่องปั้นดินเผา ผู้สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้เครื่องปั้นดินเผา ร่วมทั้งสิ้น 4 ท่าน โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ดังต่อไปนี้ คือ 1) สําหรับผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผา ต้องเป็นผู้ผลิตและถ่ายทอด ความรู้เครื่องปั้นดินเผาและอาศัยอยู่บนเกาะเกร็ดมาตั้งแต่อดีต 2) สําหรับผู้สนับสนุนภูมิปัญญา เครื่องปั้นดินเผา ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลเกาะเกร็ดที่มีความรู้และเชียวชาญด้านการ ปั้นเครื่องปั้นดินเผา และดํารงตําแหน่งที่มีความเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผา 3) มีความสมัครใจเข้า ร่วมการวิจัยและยินดีให้ข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ตัวผู้วิจัยซึ่งถือเป็นเครื่องมือหลัก และมีเครื่องมือช่วยผู้วิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกภาคสนาม (Field note) เครื่องบันทึกเสียง (โทรศัพท์มีอถือ) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งมี ข้อคําถามเกี่ยวกับสภาพอดีตและปัจจุบันของการปั้นเครื่องปั้นดินเผา และการกลายเป็นสินค้าวัฒนธรรม ลักษณะของแบบสัมภาษณ์เป็นแบบคําถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ตอบสามารถถ่ายทอดผ่านการเล่าประสบการณ์ ของตนเองที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุมและลึกซึ้ง จากนั้นจึงนําข้อมูลที่ได้มาทําการตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธี การตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) เพื่อพิจารณาจากแหล่งข้อมูล ระยะเวลา และสถานที่ เพื่อหาความ เหมือนและแตกต่างของข้อมูล เมื่อตรวจสอบแล้วถ้าข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกันก็ถือว่าข้อมูลนั้นมีความน่า เชื่อถือ แต่ถ้าหากว่ามีความต่างกันก็จะใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า คือ นําข้อมูลจากแหล่งที่หนึ่งและแหล่งที่ สองมาตรวจสอบกับข้อมูลแหล่งที่สาม ถ้าตรวจสอบแล้วข้อมูลจากแหล่งใดตรงกันก็ถือว่าข้อมูลนั้นมีความน่า เชื่อถือ เมื่อทําการตรวจสอบข้อมูลแล้ว จึงทําการจัดระบบของข้อมูลด้วยการจําแนก และจัดข้อมูลให้เป็น หมวดหมู่ตามประเด็นที่ศึกษา หลังจากนั้นทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลในแต่ละประเด็นและหาข้อสรุป โดยนําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาจัดระเบียบข้อมูล ด้วยการถอดเทปบันทึกเสียง สัมภาษณ์คําต่อคํา (vervbatim transcription) นํามาอ่านทวนข้อมูลที่ได้จากการถอดเทปและการบันทึกภาคสนาม เพื่อผู้วิจัยจะ ได้เข้าใจประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลที่ถ่ายทอดออกมาอย่างลึกซึ้ง พร้อมกับเทียงเคียงกับข้อมูลจากแบบบันทึก ข้อมูลภาคสนาม (Field Note) เพื่อตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่จากการที่สังเกตเห็นได้อย่างตรงตามความเป็นจริง ในขณะนั้น เช่น การบันทึกสีหน้า ท่าทาง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ให้ข้อมูล ซึ่งใช้บันทึกเพิ่มเติมจากเครื่อง บันทึกเสียงหรือการถ่ายภาพ

การดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth interview) ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจํานวน 4 ท่าน และบันทึกการสัมภาษณ์ด้วย เครื่องบันทึกเสียง โดยผู้วิจัยได้ ดําเนินการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นเตรียมการวิจัย ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมของผู้วิจัย โดยการศึกษาวิธีการดําเนินการ วิจัยอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือ เช่น การเตรียมความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การฝึกฝนการสัมภาษณ์ เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่วก่อนการสัมภาษณ์จริง และการบันทึกภาคสนามก่อนการ ลงสนามเพื่อเก็บข้อมูลจริง นอกจากนี้มีการทบทวนความรู้และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญา เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด และกระบวนกายเป็นสินค้าวัฒนธรรม ร่วมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเกาะเกร็ด

 

อ่านบทความฉบับเต็ม  เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดกับกระบวนการกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Share