banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ภูไท

ชาติพันธุ์ / ภูไท

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

พรสวรรค์ นามวัง

Imprint

[กรุงเทพฯ] : สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544

Collection

Research and Thesis PL4195.ส2พ45 2544

Annotation

เนื่องจากในชุมชนมักจะมีหลายกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่ละกลุ่มชนก็มีภาษาแม่เป็นของตนเอง ดังนั้นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือการใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษากลาง ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาและวิเคราะห์ภาษาอีสาน (ลาว) ที่พูดโดยคนอีสาน คนผู้ไทย และคนโซ่ ในชุมชนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ว่าคนทั้งสามกลุ่มนี้มีการใช้ภาษาที่มีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไรเมื่อใช้ภาษาอีสานในการติดต่อสื่อสาร และภาษาแม่ดั้งเดิมนั้นจะมีอิทธิพลต่อระบบเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษากลางหรือไม่ โดยจะศึกษาจากระบบวรรณยุกต์ และสัทลักษณ์ของวรรณยุกต์ในภาษาอีสานที่พูดโดยคนอีสาน คนผู้ไทย และคนโซ่ และใช้โปรแกรม Windows cecil ในการวิเคราะห์เสียงของผู้พูด ซึ่งจะเลือกใช้คำพยางค์เดียว หรือคำเดี่ยวมาใช้ศึกษาเป็นหลัก

อ่านต่อ...
image

Author

พิเชฐ สายพันธ์

Imprint

[ปทุมธานี] : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544

Collection

Research and Thesis DS570.ผ7พ67 2544

Annotation

กล่าวถึง ผี และความตายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวผู้ไท รายงานฉบับนี้จึงต้องการเปรียบเทียบประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมชาวผู้ไทที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและประเทศลาว นำเสนอกรอบแนวคิดในด้านพิธีกรรมการนับถือผีของชาวผู้ไท ว่ามีผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมในชุมชนที่ชาวผู้ไทต้องเผชิญอย่างไร และอธิบายถึงการดำรงอยู่และกลไกของสัญลักษณ์ผีอย่างเป็นระบบ  เนื่องจากในปัจจุบันก็ยังคงให้ความสำคัญกับการนับถือผีแต่ก็มีศาสนาพุทธเข้ามาอยู่ร่วมกับคติความเชื่อเดิมภายในท้องถิ่นที่ตนอาศัย จึงทำให้ชาวผู้ไทมีต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ท่ามกลางภาวะสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 

อ่านต่อ...
image

Author

พิเชฐ สายพันธ์

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2543?

Collection

Research and Thesis GV1703.ท9พ62

Annotation

การศึกษาการฟ้อนผู้ไท คือการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อชาวผู้ไทในเรณูนคร งานวิจัยฉบับนี้ได้นำเสนอความหมายและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตโดยใช้พิธีกรรมการฟ้อนในฐานะที่เป็นละครทางสังคม และเพื่อเข้าใจกลไกทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นภูมิปัญญาของกลุ่มชาวผู้ไท โดยศึกษาด้วยการสัมภาษณ์จากคนในพื้นที่ และคนนอกพื้นที่ รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องและนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลภาคสนาม เช่น จากที่มีการฟ้อนรำในงานบุญ ฟ้อนเพื่อความสนุกสนานผ่อนคลาย ปัจจุบันการฟ้อนรำได้กลายเป็นการแสดงชนิดหนึ่งที่นำเสนอขายแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการความแปลกใหม่ มีการนำเครื่องดนตรีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้นอกเหนือไปจากเครื่องดนตรีโบราณนอกจากนั้นการฟ้อนยังมีนัยสำคัญที่เชื่อมโยงถึงการปรับเปลี่ยนความเชื่อและวิถีชีวิตเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป

อ่านต่อ...
image

Author

สุนันทา หันชัยศรี

Imprint

สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Collection

วจ 929.259349 ส73ก 2542

Annotation

ชื่อสกุลคือวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงการสืบเชื้อสายวงศ์วานว่านเครือ และยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมายระบุถึงตัวตน และบุคคลนั้นๆ ว่ามีที่มาจากที่ใด วิทยานิพนธ์เรื่องการวิเคราะห์ชื่อสกุลในอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จึงต้องการศึกษาวัฒนธรรมภาษาชื่อสกุล และโลกทัศน์ที่ปรากฏในชื่อสกุลที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษ อาชีพ สถานที่ คำมงคล ลักษณะท่าทาง ลักษณะทางธรรมชาติ ศาสนา หรือแม้แต่สิ่งเร้นลับเหลือธรรมชาติ แนวคิดการตั้งชื่อสกุลสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต และเพื่อทำความเข้าใจในสังคมของกลุ่มชนต่างๆที่อาศัยอยู่ในอำเภอดงหลวงที่มีความเชื่อแตกต่างกันออกไป ประกอบไปด้วยชาวไทยอีสาน ชาวผู้ไทย ชาวไทยข่า(บรู) ชาวไทยกะโซ่ และชาวไทยย้อ

อ่านต่อ...
image

Author

วิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล

Imprint

กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542

Collection

Research and Thesis HT169.น2ว62 2542

Annotation

กล่าวถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวผู้ไท เมืองเรณูนคร จังหวัดนครพนม เทียบกับชาวผู้ไทบ้านหนองโอ่งใหญ่ และที่ตำบลหนองสูง อำเภอหนองสูงจังหวัดมุกดาหาร เน้นองค์ประกอบพิจารณา 5 ประเด็นดังนี้ ด้านสังคมการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านกายภาพ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามยุคด้วยกันคือ ยุคดั้งเดิมที่ใช้ธรรมเนียมลาวโบราณ (พ.ศ.2387-2446) ยึดถือประเพณีและจารีตเป็นสำคัญ ยุคที่สองคือยุคของการเปลี่ยนแปลง (พ.ศ.2447-2488) การปกครองเป็นนโยบายการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางจากเจ้าเมืองมาเป็นนายอำเภอ แต่คติความเชื่อและวัฒนธรรมยังคงเป็นที่ยึดถือของคนในท้องถิ่นดังเดิม และยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2489-2542) ที่สังคมเมืองมีความซับซ้อนขึ้น เพราะการพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม การดำเนินชีวิตจึงปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยมีความเป็นปัจเจกมากกว่าจะวัฒนธรรมร่วมที่เคยยึดถือกันในชุมชน
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ