banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ภูไท

ชาติพันธุ์ / ภูไท

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ชยา ภาคภูมิ

Imprint

สาขาวิชา การวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Collection

วจ 323.1593 ช46ท

Annotation

งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงประเพณีแต่งงานของชาติพันธุ์ผู้ไทย อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และชาวญ้อ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในอดีตและปัจจุบัน และเพื่อเปรียบเทียบทัศนคติต่อประเพณีแต่งงาน ของเยาวชนในกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย และญ้อ ที่มีระดับการศึกษาและเพศที่แตกต่างกัน วิถีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมทำให้เกิดการกลมกลืนของวัฒนธรรมอื่นที่เข้ามาสอดแทรกในประเพณีการกินดอง แต่ยังคงไว้ซึ่งคติความเชื่ออันดีงามเช่น การไหว้ผีบรรพบุรุษ การทำบายศรีสู่ขวัญ การเตรียมเรือนหอหรือห้องหอที่บ้านเจ้าสาว การเฆี่ยนเขย  และเพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าและสามารถปฏิบัติตนตามแบบประเพณีวัฒนธรรมที่ดี

อ่านต่อ...
image

Author

อัมพร นันนวล

Imprint

สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Collection

ธบ072 ว2552 392.5 อ555ป

Annotation

ประเพณีกินดองหรือประเพณีแต่งงานของชาวภูไทเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน และคงเอกลักษณ์ของตนไว้ด้วยการมีคำสอนเจ้าบ่าวที่เรียกกันว่า คำเฆี่ยนเขย งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาความเป็นมาของประเพณีกินดองของชาวภูไท ในตำบลโพนทอง ตำบลเรณู ตำบลเรณูใต้ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม และเพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ประเพณีกินดองไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรชาวผู้ไทยที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มผู้รู้ ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนเรณูนครวิทยานุกุล กลุ่มผู้ปฏิบัติ ได้แก่ ล่ามผู้ประกอบพิธีในงานแต่งงาน และกลุ่มทั่วไป ได้แก่ ผู้อยู่ในพิธีกรรมประเพณีการกินดองของชาวภูไท
 

อ่านต่อ...
image

Author

-

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2552

Collection

Research and Thesis G155.A1ร64 2552

Annotation

รายงานการวิจัย เรื่อง การจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ตามระเบียบเศรษฐกิจตะวันออก –  ตะวันตก กรณีศึกษา ตามเส้นทางหมายเลข 12 และ 9 ได้ทำการศึกษาบริบทและศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านชาติพันธุ์ ตามพื้นที่ดังนี้ ชนเผ่าแสก ชนเผ่าไทยกวน และชนเผ่าผู้ไทยที่จังหวัดนครพนม ชนเผ่าโส้ บ้านหนองยางน้อย จังหวัดมุกดาหาร ตามเส้นทางหมายเลข 12 ในลาวและเวียดนาม เริ่มจากเมืองท่าแขก จังหวัดคำม่วน และจังหวัดกวางบิงห์ ประเทศเวียดนาม เส้นทางหมายเลข 9 เริ่มต้นจากเมืองท่าแขก จังหวัดคำม่วน ถึงจังหวัดกวางตริประเทศเวียดนาม คณะผู้ทำการวิจัยได้มีการวิเคราะห์ว่าการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวบ้านและเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆอย่างไร ซึ่งการศึกษามีด้วยกัน 3 ด้าน คือเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการท่องเที่ยวเช่น ประเพณีงานบุญต่างๆ รวมถึงสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ทำมือจากธรรมชาติ  ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
 

อ่านต่อ...
image

Author

ลักษณากร สัตถาผล

Imprint

ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา

Collection

ม.ร. ล2278 2550

Annotation

ความเชื่อและพิธีกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวภูไท ทั้งในด้านศาสนา เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนชาวภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร และชาวภูไทที่อยู่นอกเขตเทศบาลตำบลวาริชภูมิ คือหมู่บ้านหนองกุง และหมู่บ้านป่าโจด จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการความเชื่อ วิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมที่มีอิทธิพลต่อชาวภูไท ตลอดจนรวบรวมข้อมูลประเพณีต่างๆเพื่อบันทึกเป็นหลักฐานการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต โดยผลการศึกษาในงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้แบ่งเป็น 5 ประเพณีใหญ่ๆ ที่ยังคงดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบันมีดังนี้ ประเพณีบุญเดือนสาม มีความสำคัญกับวิถีชีวิตสังคมเกษตรกรรมของชาวภูไท พิธีเลี้ยงเจ้าปู่มเหสักข์และพิธีบายศรีสู่ขวัญ ประเพณีการเหยา หรือการรักษาโรคที่เกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติที่ดลบันดาลให้เกิดการเจ็บป่วย ประเพณีงานแต่งงาน และสุดท้ายคือประเพณีงานศพ
 

อ่านต่อ...
image

Author

อมรรัตน์ วันยาว

Imprint

สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Collection

วจ 495.91152 อ44ก

Annotation

ภาษาในการตั้งชื่อสะท้อนถึงความดีงาม ลักษณะสังคม และวิถีชีวิต วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีความมุ่งหมายในการศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทางด้านโครงสร้างทางภาษา ที่มาของคำที่ใช้และความหมายของชื่อเพื่อศึกษาภาพสะท้อนทางสังคมด้านค่านิยม และความเชื่อจากการตั้งชื่อบุคคล โดยมีแนวคิดในการศึกษาค้นคว้าด้วยกัน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. โครงสร้างทางภาษาเกี่ยวกับจำนวนพยางค์ของคำที่นำมาตั้งชื่อ 2. ที่มาของการตั้งชื่อ (ว่าเป็นภาษาใดเช่น ไทย, บาลี, สันสกฤต) 3.ความหมายของคำที่นำมาตั้งชื่อ ซึ่งกรอบแนวคิดนี้จะเป็นเกณฑ์เพื่อนำมาเปรียบเทียบการตั้งชื่อบุคคลในแต่ละกลุ่มอายุ

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ