banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ภูไท

ชาติพันธุ์ / ภูไท

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

อมรรัตน์ วันยาว

Imprint

สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Collection

วจ 495.91152 อ44ก

Annotation

ภาษาในการตั้งชื่อสะท้อนถึงความดีงาม ลักษณะสังคม และวิถีชีวิต วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีความมุ่งหมายในการศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทางด้านโครงสร้างทางภาษา ที่มาของคำที่ใช้และความหมายของชื่อเพื่อศึกษาภาพสะท้อนทางสังคมด้านค่านิยม และความเชื่อจากการตั้งชื่อบุคคล โดยมีแนวคิดในการศึกษาค้นคว้าด้วยกัน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. โครงสร้างทางภาษาเกี่ยวกับจำนวนพยางค์ของคำที่นำมาตั้งชื่อ 2. ที่มาของการตั้งชื่อ (ว่าเป็นภาษาใดเช่น ไทย, บาลี, สันสกฤต) 3.ความหมายของคำที่นำมาตั้งชื่อ ซึ่งกรอบแนวคิดนี้จะเป็นเกณฑ์เพื่อนำมาเปรียบเทียบการตั้งชื่อบุคคลในแต่ละกลุ่มอายุ

อ่านต่อ...
image

Author

ปิยะมาศ อรรคอำนวย

Imprint

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2545

Collection

Research and Thesis DS589.ผ7ป63 2545

Annotation

วิทยานิพนธ์เล่มนี้นำเสนอบทบาททางการเมืองของชนเผ่าผู้ไทยหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คือในปี พ.ศ. 2488-2499 ชาวผู้ไทยได้เข้ามามีบทบาทร่วมกับขบวนการเสรีไทยในภาคอีสาน ประกอบไปด้วยชาวผู้ไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม โดยมีวัตถุประสงค์คือต่อต้านญี่ปุ่น และเพื่อให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเห็นใจที่จะมองเอกราชและประชาธิปไตยให้แก่ประเทศไทย และกล่าวถึงการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของชนเผ่าผู้ไทยร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ ความตื่นตัวทางการเมือง แนวคิดที่เป็นปัจจัยผลักดันให้ชาวผู้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2500-2523
 

อ่านต่อ...
image

Author

พิเชฐ สายพันธ์

Imprint

[ปทุมธานี] : สถาบันไทคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545

Collection

Research and Thesis DS570.ผ7พ62 2545

Annotation

รายงานโครงการวิจัยในปีที่ 2 นี้ กล่าวถึงลำดับความสำคัญของผีในวัฒนธรรมของชาวผู้ไท และความเชื่อในเรื่องผี ตั้งแต่ผีผู้เป็นที่เคารพสักการะเช่น เจ้าปู่มเหศักดิ์ ปู่ถลา นางผีเทียมฟ้า ไปจนถึงผีบรรพบุรุษ และผีซึ่งเป็นญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งในรายงานวิจัยเล่มนี้ได้ศึกษาพิธีศพ และความตายจากกลุ่มผู้ไทเรณูนคร จังหวัดนครพนม และแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พิธีศพ ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวในพื้นที่ภาคอีสาน โดยยกตัวอย่างของชาวไทดำ บ้านนาป่าหนาด ชาวแสก จังหวัดนครพนม ชาวย้อในเขต จังหวัดนครพนม และสกลนคร

อ่านต่อ...
image

Author

ปรางทอง ดีวงษ์

Imprint

สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Collection

วจ 393 ป46ร

Annotation

ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบันประเพณีพิธีกรรมในชีวิตของชาวผู้ไทยก็ยังคงปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต กล่าวได้ว่าเป็นประเพณีสุดท้ายในชีวิตของบุคคลนั้นๆ ในงานวิจัยอิสระนี้จะกล่าวถึงเรื่องประเพณีงานศพของชาวผู้ไทยที่อาศัยอยู่ในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม จุดมุ่งหมายคือเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบประเพณีงานศพที่มีความเชื่อต่างถิ่นเข้ามาผสมผสาน อันมีสาเหตุมาจากการสื่อสาร การศึกษา และเทคโนโลยีต่างๆ พื้นที่ที่ทำการศึกษา มีจำนวนทั้งหมด 12 หมู่ในตำบลเรณูนคร และกลุ่มตัวอย่างคือผู้รู้ หรือผู้อาวุโสทั้งชายหญิงเพื่อดำเนินการค้นคว้าและเก็บรวบรวมองค์ความรู้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

อ่านต่อ...
image

Author

พิเชฐ สายพันธ์

Imprint

-

Collection

Journal จุลสารไทยคดีศึกษา. ปีที่ 18, ฉบับที่ 2 (พ.ย.2544-ม.ค.2545), หน้า 44-52

Annotation

บทความนี้ศึกษาเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทที่ยังเป็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ว่า แท้ที่จริงแล้ว ผู้ไทในสยามนั้นมีที่มาจากไหน และใครคือบรรพบุรุษของชาวผู้ไท และเป็นผู้ไทกลุ่มเดียวกับผู้ไทในที่อื่นๆหรือไม่ เนื่องด้วยคำว่าผู้ไทนั้น ใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยหลายๆกลุ่มรวมกันที่ใช้ภาษาตระกูล ไท- กะได  ผู้เขียนจึงได้ยกเอาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาวผู้ไทที่กระจายตัวอยู่ในเขตรอยต่อภาคเหนือของประเทศลาว กับเวียดนาม(สิบสองจุไท) มาพิจารณาหาความเหมือน และแตกต่างที่เป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของผู้ไทในประเทศไทย เช่น พงศาวดารเมืองแถง พงศาวดารเมืองไล ตำนานน้ำเต้าน้ำปุง เอกสารของพระโพธิวงศาจารย์ เป็นต้น

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ