banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ภูไท

ชาติพันธุ์ / ภูไท

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Imprint

กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552

Collection

Books DS570.ก645 2552

Annotation

การบรรยายเรื่องหลากหลายชาติพันธุ์รวมใจไทยเป็นหนึ่ง กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย วิเคราะห์การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ศึกษาประวัติความเป็นมา ถิ่นที่อยู่ ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา  กลุ่มชาติพันธุ์ที่นำมาบรรยายประกอบไปด้วยชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์ที่อพยพมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชาวเลแห่งอันดามัน หรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามเกาะและริมฝั่งทะเลในประเทศไทย และชนชาติมอญในสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชาติที่พูดภาษามอญ-เขมร แบ่งออกเป็นสองพื้นที่ ได้แก่ มอญในดินแดนไทย และมอญในดินแดนพม่า

อ่านต่อ...
image

Author

-

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2552

Collection

Research and Thesis G155.A1ร64 2552

Annotation

รายงานการวิจัย เรื่อง การจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ตามระเบียบเศรษฐกิจตะวันออก –  ตะวันตก กรณีศึกษา ตามเส้นทางหมายเลข 12 และ 9 ได้ทำการศึกษาบริบทและศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านชาติพันธุ์ ตามพื้นที่ดังนี้ ชนเผ่าแสก ชนเผ่าไทยกวน และชนเผ่าผู้ไทยที่จังหวัดนครพนม ชนเผ่าโส้ บ้านหนองยางน้อย จังหวัดมุกดาหาร ตามเส้นทางหมายเลข 12 ในลาวและเวียดนาม เริ่มจากเมืองท่าแขก จังหวัดคำม่วน และจังหวัดกวางบิงห์ ประเทศเวียดนาม เส้นทางหมายเลข 9 เริ่มต้นจากเมืองท่าแขก จังหวัดคำม่วน ถึงจังหวัดกวางตริประเทศเวียดนาม คณะผู้ทำการวิจัยได้มีการวิเคราะห์ว่าการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวบ้านและเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆอย่างไร ซึ่งการศึกษามีด้วยกัน 3 ด้าน คือเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการท่องเที่ยวเช่น ประเพณีงานบุญต่างๆ รวมถึงสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ทำมือจากธรรมชาติ  ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
 

อ่านต่อ...
image

Author

ลักษณากร สัตถาผล

Imprint

ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา

Collection

ม.ร. ล2278 2550

Annotation

ความเชื่อและพิธีกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวภูไท ทั้งในด้านศาสนา เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนชาวภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร และชาวภูไทที่อยู่นอกเขตเทศบาลตำบลวาริชภูมิ คือหมู่บ้านหนองกุง และหมู่บ้านป่าโจด จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการความเชื่อ วิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมที่มีอิทธิพลต่อชาวภูไท ตลอดจนรวบรวมข้อมูลประเพณีต่างๆเพื่อบันทึกเป็นหลักฐานการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต โดยผลการศึกษาในงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้แบ่งเป็น 5 ประเพณีใหญ่ๆ ที่ยังคงดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบันมีดังนี้ ประเพณีบุญเดือนสาม มีความสำคัญกับวิถีชีวิตสังคมเกษตรกรรมของชาวภูไท พิธีเลี้ยงเจ้าปู่มเหสักข์และพิธีบายศรีสู่ขวัญ ประเพณีการเหยา หรือการรักษาโรคที่เกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติที่ดลบันดาลให้เกิดการเจ็บป่วย ประเพณีงานแต่งงาน และสุดท้ายคือประเพณีงานศพ
 

อ่านต่อ...
image

Author

นพดล ตั้งสกุล และ จันทนีย์ วงศ์คำ

Imprint

ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548

Collection

Books GR 490 .น33 2548

Annotation

งานวิจัยชุดนี้ได้กล่าวถึงวิถีชีวิตและคติความเชื่อผ่านทางวัฒนธรรมการสร้างที่อยู่อาศัยในแบบของชาวผู้ไท โดยผู้เขียนได้ให้คำนิยามว่าเรือนเป็นเครื่องหมายแห่งพลังและความรุ่งโรจน์ของผู้ไท รูปแบบเรือนของชาวผู้ไทสามารถแบ่งได้ดังนี้ เฮือนหัวลอย เฮือนเปิง และเฮือนชั่วคราว ซึ่งเรือนทั้งสามแบบจะแบ่งตามประเภทของการใช้งาน มีการสัมภาษณ์ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนถึงคติความเชื่อและแนวคิดในการปลูกเรือน แต่ด้วยแนวโน้มของการพัฒนาประเทศจากสังคมเมืองสู่ชนบททำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน กรอบแห่งประเพณีและจารีตที่สืบต่อกันมาลดลงจึงทำให้เรือนที่สร้างด้วยวัสดุธรรมชาติถูกทดแทนด้วยบ้านแบบสมัยใหม่มากขึ้น 

อ่านต่อ...
image

Author

สมใจ ดำรงสกุล

Imprint

นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, [2546]

Collection

Books DS570.ผ7ส49

Annotation

สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชาวผู้ไทจากการสัมภาษณ์ การออกภาคสนาม และร่วมสังเกตการณ์ในงานประเพณีงานบุญต่างๆ ซึ่งได้ศึกษาจากชาวผู้ไทยที่อาศัยอยู่ในอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร นำมารวบรวมเรียบเรียงเป็นประวัติความเป็นมาของชาวผู้ไทย อธิบายการแพร่กระจายของประชากรที่อพยพโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยไปจนถึงที่อยู่อาศัยและลักษณะบ้านเรือน ภาษา การแต่งกายเครื่องนุ่งห่ม การทำมาหากิน ศาสนาและความเชื่อ เช่น การเลี้ยงผี การฟ้อน

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ