banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ภูไท

ชาติพันธุ์ / ภูไท

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สุเทพ ไชยขันธุ์

Imprint

กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2557

Collection

Books DS570.ผ7ส77 ภาค 2 2557

Annotation

คำว่า “แถนเราพบคำๆ นี้ในหลายความหมาย คือแปลว่าเทพเจ้า (ผีบรรพบุรุษ) แถนที่เป็นชื่ออาณาจักรโบราณในจีน และเมืองแถนซึ่งตั้งอยู่ที่เวียดนาม ย้อนกลับไปตั้งแต่ยังเป็นอาณาจักรสมัยโบราณ มีการศึกษาประวัติศาสตร์โดยอาศัยนิทานพื้นบ้านของชาวไทดำ ไทขาว ลื้อดำ ลาวลื้อ ปายี และคนไท(ไต)ในสุโขทัย ในรูปแบบของตำนาน เช่น ตำนานน้ำเต้าน้ำปุง และนิทานพญาแถน ผู้เขียนคือสุเทพ ไชยขันธ์ ได้เดินทางไปค้นคว้าดัวยตนเองบันทึกเรื่องราวที่ได้พบจากการไปพักอาศัยในชุมชนต่างๆของชาวผู้ไทในหลายๆ ประเทศมาเรียบเรียง เพื่ออธิบายอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผ่านวรรณกรรมพื้นบ้านของผู้ไทนานาชาติหลากหลายกลุ่มที่กระจัดกระจายอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง

อ่านต่อ...
image

Author

ธัญญลักษณ์ ไชยสุข มอลเลอร์รพ และ Asger Mollerup

Imprint

กรุงเทพฯ : บางกอก อิมเมจ แอดเวอร์ไทซิ่ง, 2556

Collection

Books PL4195.ผ7ธ62 2556

Annotation

ภาษาผู้ไทเพื่อสุขภาพนำเสนอภาษาที่ชนเผ่าผู้ไทในแถบอำเภอเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  อยู่ในตระกูลไท-กะได(Tai-Kadai) แปลเป็นสามภาษาด้วยกันคือ ผู้ไท-ไทย-อังกฤษ มีตารางการเปรียบเทียบตัวอักษรและวรรณยุกต์เพื่อศึกษาการออกเสียง โดยใช้การบันทึกเสียงและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์เป็นกราฟ รวมทั้งคำศัพท์ที่จะช่วยให้สื่อสารอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  เพราะผู้สูงอายุและกลุ่มชนเผ่ายังอนุรักษ์การใช้ภาษาดั้งเดิมจึงเป็นปัญหาสำหรับบุคลากรที่มาจากถิ่นอื่นซึ่งไม่คุ้นเคย
 

อ่านต่อ...
image

Author

สุเทพ ไชยขันธุ์

Imprint

กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2556

Collection

Books DS570.ผ7ส77 2556

Annotation

ผู้ไทคือใคร มาจากไหน และชีวิตความเป็นอยู่รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีนั้นเป็นอย่างไร คำตอบอยู่ในหนังสือผู้ไท ลูกแถน ซึ่งสุเทพ ไชยขันธ์ ได้รวบรวมและทำการศึกษาเรื่องราวของชาวผู้ไทที่ข้ามแม่น้ำโขง อพยพเรื่อยมาตั้งแต่อดีต จนมาตั้งถิ่นฐานในสยามอย่างถาวร กลายมาเป็นชุมชนที่มีอัตลักษณ์ มีภาษา วัฒนธรรมเป็นของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามชาวผู้ไทไม่ได้มีเฉพาะแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังกระจัดกระจายอยู่ที่เวียดนาม(เดียนเบียนฟู) ลาว(เวียงจันทน์) ก่อนจะเลยมาถึงสิบสองปันนา และในประเทศไทยตามจังหวัดดังกล่าวต่อไปนี้ นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี บึงกาฬ ศรีสะเกษ มหาสารคามสุดท้ายคือจังหวัดสกลนครซึ่งมีคนผู้ไทมากที่สุดในประเทศไทย

อ่านต่อ...
image

Author

ประทับใจ สิกขา

Imprint

อุบลราชธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2554

Collection

Books TT848 .ป563 2554 ฉ.2

Annotation

ผ้าทอผู้ไทยคือวัฒนธรรมประเพณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ก็ยังถือได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชาวผู้ไทย โดยหนังสือผ้าทอผู้ไทยได้นำเสนอประวัติชาวผู้ไทย วัฒนธรรมการแต่งกาย การทอผ้า ขั้นตอนการย้อมผ้าด้วยเปลือกไม้ การย้อมคราม และภาพถ่ายลวดลายผ้าทอที่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นที่ชาวผู้ไทยอาศัยอยู่ ซึ่งในที่นี้จะนำเสนอผ้าทอชาวผู้ไทยในแถบภาคอีสานแบ่งตามจังหวัดดังนี้ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
 

อ่านต่อ...
image

Author

กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Imprint

กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552

Collection

Books DS570.ก645 2552

Annotation

การบรรยายเรื่องหลากหลายชาติพันธุ์รวมใจไทยเป็นหนึ่ง กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย วิเคราะห์การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ศึกษาประวัติความเป็นมา ถิ่นที่อยู่ ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา  กลุ่มชาติพันธุ์ที่นำมาบรรยายประกอบไปด้วยชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์ที่อพยพมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชาวเลแห่งอันดามัน หรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามเกาะและริมฝั่งทะเลในประเทศไทย และชนชาติมอญในสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชาติที่พูดภาษามอญ-เขมร แบ่งออกเป็นสองพื้นที่ ได้แก่ มอญในดินแดนไทย และมอญในดินแดนพม่า

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ