banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มอแกลน

ชาติพันธุ์ / มอแกลน

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 10 ม.ค. 2565

ขอบเขตของเนื้อหา

            กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล (Chao Lay) หรือ ยิปซีทะเล (Sea Gypsies) พูดภาษาตระกูลออสโตรซีเนียน เป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมทางภาคใต้ของไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและมาเลเซียมานานหลายร้อยปี
            
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในประเทศไทยมีชาวเล 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโวจ ปัจจุบันอาศัยอยู่กระจายตามชุมชนชายฝั่งทะเลอันดามัน และทำมาหากินตามเกาะต่างๆของประเทศไทยในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และ สตูล 
            ชาวมอแกลน เรียกตัวเองว่า มอแกลน, ชาวบก คำว่า “มอแกลน” หากออกเสียงตามท้องถิ่นจะมีเสียงสูง คือ "หม่อแกล๊น" คนภายนอกเรียกพวกเขาว่า มอแกลน, มอแกลนบก, ออลังตามับ และชาวเล  ไม่มีภาษาเขียน ใช้ภาษามอแกลนเป็นภาษาพูด อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน
            ตามประวัติ ชาวมอแกลนตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยมายาวนานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ มีผู้นำคือ "พ่อตาสามพัน" หมู่บ้านของชาวมอแกลนอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก แถบจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมายุคการเปลี่ยแปลงการปกครองชาวมอแกลนถูกข่มเหงรังแก จนต้องแตกกระจายออกเป็น 2 สายคือ สายทางน้ำและสายทางบก "เฒ่าทวดธานี" ผู้นำสายบกได้พาลูกบ้านไปตั้งหลักปักฐานอยู่แคว้นตะโกลา เรียกกันว่า "อากูน" ปัจจุบันคือ อำเภอตะกํ่วป่า จังหวัดพังงา ต่อมาเฒ่าทวดธานี ถูกลอบฆ่า ผู้นำจึงพาลูกบ้านไปอยู่ที่ "บ้านในหยก" ต่อมาเกิดความขัดแย้งอีก ผู้นำจึงพาลูกบ้านอพยพไปตั้งหมู่บ้านตามป่าชายฟั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ถึงเกาะพระทอง จังหวัดพังงาในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีชุมชนมอแกลนกระจายตัวอยู่เพียง 2 จังหวัดคือพังงาและภูเก็ตแต่ก็มีจำนวนชุมชนกว่า 20 แห่ง ซึ่งนับว่ามีจำนวนชุมชนมากที่สุดในกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลด้วยกัน 
 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

รุ่งโรจน์ ตั้งสุรกิจ

Imprint

กรุงเทพฯ : คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกยุติธรรมและสันติ(ยส.), 2559

Collection

Sac Journal

Annotation

            การบอกเล่าถึงเรื่องราวของเหตุการณ์การสนทนาระหว่างหญิงสาวชาวมอแกลนคนหนึ่ง ซึ่งพบเจอระหว่างการประชุมสรุปบทเรียนเรื่องการป้องกันและการเตรียมรับมือภัยธรรมชาติ หลังการเกิดภัยธรรมชาติ   สึนามิ 2 - 3 ปี เป็นการพูดคุยกันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวมอแกลน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและประเพณีทางความเชื่อของชาวมอแกลนที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมา นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงเรื่องราวของมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ซึ่งชาวไทยอื่น ๆ มักจะเรียกพวกเขาว่า “ชาวเล” ชื่อที่เป็นทางการ คือ “ไทยใหม่” แต่อย่างไรก็ตามชาวมอแกลนจะเรียกตนเองว่า “มอแกลน” เพื่อยืนยันอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ของตน ไม่เรียกตนเองว่าชาวเล หรือไทยใหม่

อ่านต่อ...
image

Author

นฤมล อรุโณทัย...[และคณะ], บรรณาธิการ

Imprint

กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2559

Collection

online

Annotation

            หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับเด็ก ๆ ชาวมอแกน ชาวมอแกลน และชาวอูรัก ลาโว้ย ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่อาศัยและมีวิถีชีวิตอยู่ตามชายฝั่งและอยู่ในหมู่เกาะอันดามันทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายคือเด็ก ๆ ที่ไม่คุ้นเคยกับกลุ่มชนพื้นเมืองในไทยมากนัก และยังมีภาพประกอบจากฝีมือการวาดของเด็กชาวเลที่ร่วมด้วยช่วยกันสื่อสารออกมาเป็นภาพให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงวิถีชีวิตของตน ที่แม้จะมีสิ่งแวดล้อม ภาษา วัฒนธรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ แต่เด็ก ๆ เหล่านี้ก็มีบ้าน มีครอบครัวเครือญาติ การทำมาหากิน การทำอาหาร ศิลปะ ดนตรี งานฝีมือและการละเล่นต่าง ๆ ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป
 

อ่านต่อ...
image

Author

นฤมล อรุโณทัย, อุษา โคตรศรีเพชร, กิ่งแก้ว บัวเพชร และพลาเดช ณ ป้อมเพชร

Imprint

กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550

Collection

SAC Library-Books-DS570.ช67 น444 2549 and online

Annotation

            อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลประวัติชุมชน และเส้นทางเรียนรู้วัฒนธรรมของบ้านบางสัก ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยเนื้อหาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ประวัติชุมชนบ้านบางสัก ได้แก่ พัฒนาการของชุมชน ภูมินิเวศ ที่อยู่อาศัย พื้นที่ทางจิตวิญญาณ นิเวศวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การทำเหมือง การเปลี่ยนแปลงของชุมชน ชุมชนมอแกนหลังภัยพิบัติสีนามิ และคลื่นการท่องเที่ยว ส่วนที่ 2 คือ เส้นทางการเรียนรู้วัฒนธรรมบ้านบางสัก ทั้ง 13 เส้นทาง ข้อมูลดังกล่าวได้เพื่อสร้างความภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนที่กำลังเผชิญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องต่อชุมชน ระบบนิเวศท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษาท้องถิ่น รวมถึงเสริมสร้างการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้านนิเวศวัฒนธรรมให้แก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย

อ่านต่อ...
image

Author

นฤมล อรุโณทัย…[และคนอื่นๆ]

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2557

Collection

SAC Library-Books-DS570.ช67ท62 2557

Annotation

            หนังสือเล่มนี้เป็นงานศึกษาที่ได้จากการสัมภาษณ์ผ่านแบบสอบถามจำนวน 100 ข้อ โดยกลุ่มชาวเลที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งและอยู่ในหมู่เกาะอันดามันทางภาคใต้ของประเทศไทยมีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มชาวมอแกน กลุ่มชาวมอแกลน และกลุ่มชาวอูรัก ลาโว้ย เนื้อหาในการศึกษาครอบคลุมทั้งทางด้านที่มา ประวัติศาสตร์ ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต การทำมาหากิน ประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเลในแต่ละด้านตั้งแต่อดีตมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวเลในปัจจุบัน ซึ่งกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ชาวเลในปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการ 

อ่านต่อ...
image

Author

ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล

Imprint

กรุงเทพฯ : สารคดี, 2556

Collection

SAC Journal

Annotation

            เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ทั้งมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ผู้ซึ่งดำรงวิถีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเล หรือตามหมู่เกาะต่างๆ เกิดผลกระทบในการดำรงชีพด้วยวิธีจับปลา หรือสัตว์น้ำต่างๆ ต้องประสบปัญหาทั้งในเรื่องการประกาศเป็นพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล การรุกล้ำของกลุ่มนายทุนหรือกลุ่มเอกชน จนกระทั้งการท่องเที่ยวที่กำลังจะทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ชาวเลในแถบทะเลอันดามันกำลังจะหดหายไป ซึ่งส่งผลให้กลุ่มชาวเลในแถบทะเลอันดามันจำเป็นที่จะต้องดิ้นรนออกไปในพื้นที่ที่ใกล้จากชายฝั่งมากยิ่งขึ้น จำเป็นที่จะต้องดำน้ำในระดับความลึกที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อจำเป็นต่อการหาปลาหรือสัตว์ทะเล ส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาทางสุขภาพนั้นคือ โรคน้ำหนีบ อีกทั้งบางรายจำเป็นที่จะต้องละทิ้งอาชีพประมงและหันมาทำอาชีพด้านการท่องเที่ยวเสียส่วนใหญ่
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ