banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มอแกลน

ชาติพันธุ์ / มอแกลน

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 10 ม.ค. 2565

ขอบเขตของเนื้อหา

            กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล (Chao Lay) หรือ ยิปซีทะเล (Sea Gypsies) พูดภาษาตระกูลออสโตรซีเนียน เป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมทางภาคใต้ของไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและมาเลเซียมานานหลายร้อยปี
            
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในประเทศไทยมีชาวเล 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโวจ ปัจจุบันอาศัยอยู่กระจายตามชุมชนชายฝั่งทะเลอันดามัน และทำมาหากินตามเกาะต่างๆของประเทศไทยในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และ สตูล 
            ชาวมอแกลน เรียกตัวเองว่า มอแกลน, ชาวบก คำว่า “มอแกลน” หากออกเสียงตามท้องถิ่นจะมีเสียงสูง คือ "หม่อแกล๊น" คนภายนอกเรียกพวกเขาว่า มอแกลน, มอแกลนบก, ออลังตามับ และชาวเล  ไม่มีภาษาเขียน ใช้ภาษามอแกลนเป็นภาษาพูด อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน
            ตามประวัติ ชาวมอแกลนตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยมายาวนานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ มีผู้นำคือ "พ่อตาสามพัน" หมู่บ้านของชาวมอแกลนอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก แถบจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมายุคการเปลี่ยแปลงการปกครองชาวมอแกลนถูกข่มเหงรังแก จนต้องแตกกระจายออกเป็น 2 สายคือ สายทางน้ำและสายทางบก "เฒ่าทวดธานี" ผู้นำสายบกได้พาลูกบ้านไปตั้งหลักปักฐานอยู่แคว้นตะโกลา เรียกกันว่า "อากูน" ปัจจุบันคือ อำเภอตะกํ่วป่า จังหวัดพังงา ต่อมาเฒ่าทวดธานี ถูกลอบฆ่า ผู้นำจึงพาลูกบ้านไปอยู่ที่ "บ้านในหยก" ต่อมาเกิดความขัดแย้งอีก ผู้นำจึงพาลูกบ้านอพยพไปตั้งหมู่บ้านตามป่าชายฟั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ถึงเกาะพระทอง จังหวัดพังงาในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีชุมชนมอแกลนกระจายตัวอยู่เพียง 2 จังหวัดคือพังงาและภูเก็ตแต่ก็มีจำนวนชุมชนกว่า 20 แห่ง ซึ่งนับว่ามีจำนวนชุมชนมากที่สุดในกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลด้วยกัน 
 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

หน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา โครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย

Imprint

โครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย เสนอต่อองค์กรแพลน (ประเทศไทย)

Collection

online

Annotation

            วิจัยเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวเลมีทั้ง 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ อุรักละโว้ย มอแกนและมอแกลน      เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเร่ร่อนมาจากมาฝั่งทะเลอันดามันและกระจัดกระจายกันอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ชาวเลความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งยังมีการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวเลนั้นมีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน วิจัยเล่มนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเพศและนามัยเจริญพันธุ์ของสตรีชาวมอแกนและมอแกลนในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ชุมชนคือ ชุมชนเกาะเหลาและเกาะช้างในจังหวัดระนอง ชุมชนบ้านน้ำเค็ม ทับตะวันและทุ่งหว้าในจังหวัดพังงา รวมถึงประเด็นและอุปสรรคต่างๆเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการและความกังวลด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวเลมอแกนและมอแกลนในการค้นหาข้อเสนอแนะและแนวนโยบายในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมกับวิถีวัฒนธรรมของชาวมอแกนและมอแกลน
 

อ่านต่อ...
image

Author

วรัญญา เกื้อนุ่น

Imprint

ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Collection

Thailis

Annotation

            วิจัยเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวเลหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากลุ่ม “มอแกลน” เป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเร่ร่อนมาจากฝั่งทะเลอันดามันเข้ามาปักหลักอยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ทั้งยังมีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณของบรรพชนและมีประเพณีใหญ่ที่เรียกว่า “ขอบุญหรือกินบุญเดือนสิบ” แต่กลับถูกกลบทับด้วยวัฒนธรรมของคนเชื้อสายไทยที่นับถือพุทธ คนเชื้อสายจีนและศาสนาอิสลามที่เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอตะกั่ว จังหวัดพังงา จะเห็นได้จากเทศกาลกินเจ ศาลเจ้า วัดและมัสยิด จากกรณีศึกษาเกี่ยวกับ “ความทุกข์ทางสังคมและการปรับตัวของผู้หญิงมอแกลนหลังภัยพิบัติสึนามิ” พบว่ามีผู้หญิงมอแกลนจำนวนหนึ่งที่สูญเสียคนในครอบครัว ทรัพย์สินและที่อยู่อาศัย บางคนเมื่อสูญเสียลูกก็ได้เลิกรากับสามีไปเหมือนต่างใช้ต่างชีวิตและเลือกทางเดินของตนเองอีกครั้ง หลังจากเกิดภัยพิบัติใหญ่ในครั้งทำให้ผู้หญิงชาวมอแกลนรู้สึกเป็นทุกข์และท้อใจเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนานในการตั้งหลักและปรับตัวใหม่จนไม่มีใครที่อยากจะกล่าวถึงความสูญเสียในครั้งนั้นอีก

อ่านต่อ...
image

Author

อิสระ ชูศรี

Imprint

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), 2553

Collection

Online elibrary

Annotation

            วิจัยเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ กลุ่ม “มานิ” ในประเทศไทย ซึ่งส่วนมากคนไทยจะเรียกกันว่า “เงาะป่า” หรือ “ซาไก” เป็นกลุ่มชนเล็กกลุ่มหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทยดำรงชีพโดยการหาของป่า ล่าสัตว์ หาหัวมันป่า กล้วยป่า ผลไม้ป่า จับปลาตามลำธารและล่าสัตว์เล็ก ชนกลุ่มนี้จะสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวด้วยพืชตระกูลปาล์มและอพยพถิ่นฐานไปในพื้นที่ที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ เงาะป่าหรือซาไกจะเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะผิวคล้ำ ริมฝีปากหนา ตาโต ผมหยิกหยอยและขมวดเป็นก้นหอย ภาษาที่ใช้จะเป็นภามอญ กลุ่มที่สองกลุ่ม “มลาบรี” หรือ ตองเหลือง คือคนป่าอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยโดยจังหวัดแพร่ น่าน ชนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตโดยการหาของป่า เช่น ผลไม้ หัวเผือก หน่อไม้ ฯลฯ และพักอาศัยอยู่ในเพิงที่มีแค่หลังคาไว้กันแดดกันฝนที่ทำจากใบไม้ขนาดใหญ่ มีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่เคยปรากฏเป็นตัวอักษร และกลุ่มที่สามกลุ่ม “มอแกล็น” อาศัยอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับกลุ่มชนอุรักละโว้ย ส่วนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันภายในพื้นที่มีทั้งภาษาไทย ภาษามอเก็น และภาษาอุรักละโว้ย

อ่านต่อ...
image

Author

เกศินี ทองทวีวิวัฒน์

Imprint

เศรษฐศาสตร์การเมือง เศรษฐศาสตร์การเมือง

Collection

Online Thailis

Annotation

            วิจัยเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ชาวเล หรือ “ชาวมอแกลน” ซึ่งเป็นคนกลุ่มหนึ่งใน 3 กลุ่มของชาวเลประกอบด้วย อูรักลาโว้ย มอแกนและมอแกลน ชาวมอแกลนเป็นกลุ่มคนที่อพยพเร่ร่อนมาจากทางฝั่งทะเลอันดาและได้ปักหลักอาศัยแถบฝั่งตะวันตกของประเทศไทยในจังหวัดพังงา มีวิถีที่ผูกพันกับทะเลและมีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน ชาวเลกลุ่มนี้มีความเชื่อเรื่องวิญญาณในธรรมชาติ ปัจจุบันกลุ่มคนนี้มีประเพณีวัฒนธรรมที่สามารถผสมผสานเข้ากับคนพื้นเมืองในแต่ละท้องถิ่นและยังได้รับสัญชาติไทยและมีบัตรประชาชน จากกรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจากการเกิดสึนามิครั้งใหญ่ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547ของชาวมอแกลนหมู่บ้านทุ่งหว้า ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีผู้เสียชีวิตและได้รับความเสียหาย ปัญหาที่ชาวมอแกลนได้รับหลังจากภัยพิบัติครั้งนี้ คือ ชาวเลกลุ่มนี้ไม่สามารถกลับไปสร้างบ้านในที่ดินเดิมได้เพราะองค์กรบริหารส่วนตำบลไม่อนุญาตโดยชี้แจ้งว่าจะใช้พื้นที่ในการก่อสร้างโรงพยาบาลที่ได้รับเงินบริจาคจากรัฐบาลเยอรมัน

อ่านต่อ...
image

Author

โอลิเวียร์ แฟร์รารี, นฤมล หิญชีระนันทน์, กุลทรัพย์ อุดพ้วย และจ๊าค อีวานอฟ.

Imprint

กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง, 2549

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ช67ฟ84 2549

Annotation

            นำเสนอผลการวิจัยชุมชนชาวเลมอแกลน เกาะพระทอง จังหวัดพังงา เพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ การทำมาหากิน การถือครองที่ดิน วัฒนธรรม พิธีกรรม การศึกษาเรียนรู้ของชุมชนก่อนที่จะลงมือดำเนินงานฟื้นฟูหลังเหตุภัยพิบัติสึนามิ   เนื้อหาในหนังสือแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องแผนภูมิลำดับญาติวงศ์ ประวัติความเป็นมาและวิถีปัจจุบัน  พลวัตทางเศรษฐกิจสังคมและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์   คำบอกเล่า กลุ่มชนพม่าที่ท่าแป๊ะโย้ย ส่วนที่สองเป็นเรื่องสิทธิ์ในที่ดิน  การเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ที่ดิน  การใช้ประโยชน์และการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ดิน  และส่วนที่สาม  เป็นเรื่องความต้องการเกี่ยวกับการศึกษาและเรียนรู้สำหรับชุมชน ซึ่งมีทั้งเรื่องโรงเรียน ครู ทุนการศึกษา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโรงเรียน  การศึกษานอกระบบ ความรู้พื้นบ้านและแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ