banner image

Subject Guide

Home / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / นามธารี

ชาติพันธุ์ / นามธารี

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11

Imprint

กรุงเทพฯ : สถานี, [25?]

Collection

Audio Visual Materials :VT 000195

Annotation

มชนชาวไทยซิกข์อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาแล้วกว่า 111 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยเข้ามาครั้งแรกเพื่อการค้าขาย จากนั้นจึงมีการชักชวนญาติพี่น้องให้เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ชุมชนชาวซิกข์เป็นชุมชนที่ยังคงยึดมั่นในความเชื่อดั้งเดิมและมีวิถีชีวิตที่สงบเรียบง่าย ในทุกเช้าและเย็นชาวซิกข์มักจะมารวมตัวกันที่คุรุดวาราสถานเพื่อสวดมนต์เป็นประจำ คุรุดวาราสถานเป็นสถานที่เก็บคัมภีร์ที่ถือว่าเป็นตัวแทนพระศาสดา ศาสนาซิกข์ไม่มีนักบวช มีเพียงผู้ประกอบพิธีสวดประจำวันเท่านั้น โดยแบ่งเป็นศาสนจารย์ผู้อธิบายคำสอนและผู้นำสวดภาวนา นอกจากไม่มีนักบวชแล้ว ศาสนาซิกข์ยังไม่มีรูปเคารพอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ชาวซิกข์ได้ยึดถือในพระคัมภีร์และคำสอนของพระศาสดาเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม การแต่งกาย อาหาร และธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆ ที่ชาวซิกข์ต่างยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อธำรงไว้ซึ่งคำสอนของพระศาสดา 

อ่านต่อ...
image

Author

ศิวัช ศรีโภคางกุล

Imprint

กรุงเทพฯ : illuminations editions, 2562

Collection

Books (7th floor) (Book chapter) BL80.2 .ศ652 2562

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงชาวซิกข์ในประเทศอินเดียกับประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทั้งในฐานะที่เป็นเหยื่อและผู้ก่อความรุนแรง ผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ผู้เขียนได้พยายามศึกษาและประมวลผลปฏิบัติการต่อสู้อย่างสันติวิธีโดยยึดตามหลักความเชื่อทางศาสนาของชาวซิกข์ โดยเลือกปฏิบัติการครั้งสำคัญ 5 เหตุการณ์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้ ได้แก่ หลักการไม่ให้ความร่วมมือ หลักการปฏิรูปกฎเกณฑ์สังคม หลักการบริจาคเลือดเพื่อแก้แค้น หลักการปฏิเสธการใช้ความรุนแรง และการร่วมมือปฏิสังขรณ์มัสยิดเพื่อใช้สวดมนต์ร่วมกับศาสนาอิสลาม 

อ่านต่อ...
image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

นครปฐม : ศูนย์ภารตะศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559

Collection

Books (7th floor) BL2020.ซ6 อ46 2559

Annotation

หนังสือรวมบทความวิชาการนี้ มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์และศาสนาซิกข์ในสังคมไทย โดยบทความทั้ง 6 เรื่องภายในเล่มครอบคลุมเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์และการตั้งถิ่นฐาน ด้านปรัชญาศาสนาซึ่งศึกษาใน 2 ด้าน คือ การบริการรับใช้สังคมและพิธีมงคลสมรส ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์โดยศึกษาเรื่องภาษาปัญจาบในสังคมไทยซิกข์ในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้จึงถือได้ว่าช่วยทำหน้าที่เป็นตำราให้แก่นักวิชาการและนักศึกษา ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่สนใจในสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์อีกด้วย 

อ่านต่อ...
image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559

Collection

Books (7th floor) (Book chapter) HM62.ท9 ก642 2559

Annotation

การศึกษานี้มุ่งเน้นทำความใจกลุ่มชาติพันธุ์ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดียในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยส่วนใหญ่คือชาวซิกข์ ซึ่งถือเป็นชาวไทยอินเดียกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน ชาวไทยซิกข์ที่อยู่อาศัยและทำการค้าในกรุงเทพมหานครได้สร้างคุรุดวาราขึ้นในย่านพาหุรัดเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจและถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของชาวไทยซิกข์ในประเทศไทย ผู้เขียนได้ศึกษาพัฒนาการของย่านพาหุรัดในมิติสังคมพหุลักษณ์และพหุวัฒนธรรม โดยศึกษาควบคู่กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่มาจากประเทศอินเดีย รวมทั้งได้ศึกษาการปรับตัวและความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยซิกข์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในพาหุรัดด้วย 

อ่านต่อ...
image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

-

Collection

วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 12, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2558), หน้า 45-57

Annotation

บทความนี้นำเสนอเรื่องภาษาปัญจาบ ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวซิกข์ใช้เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันและเพื่อศึกษาพระธรรมตามหลักศาสนา ในปัจจุบันชาวซิกข์รุ่นใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้น มีการสื่อสารภาษาปัญจาบน้อยลง ส่งผลกระทบต่อกระบวนการถ่ายทอดภาษาปัญจาบและการสืบทอดหลักศาสนาซิกข์สู่คนรุ่นหลัง จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ 13 จังหวัดที่ชาวซิกข์ตั้งถิ่นฐาน โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่หลัก พบว่าความสามารถทางภาษาปัญจาบของชาวไทยซิกข์มีความแตกต่างกันมาก โดยพิจารณาได้จากช่วงวัยของชาวไทยซิกข์และระบบการศึกษาที่ได้รับ

อ่านต่อ...

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre Library

20 Baromaratchachonnani Rd, Taling Chan, Bangkok 10170

Tel. +662-880-9429 Ext. 3702 - 4 Fax. +662-434-6254 E-mail. library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @SAC-library หรือคลิ๊กเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library

SAC Library (8th Floor)

Mon-Fri : 8:30 am – 4:30 pm

Saturday: 9:00 am – 4:00 pm

SukKaiChai Library

Mon-Fri : 8:00 am – 18:00 pm

Saturday: 8:00 am – 17:00 pm

The library will be closed on public holidays and on the dates announced by the government.