banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / นามธารี

ชาติพันธุ์ / นามธารี

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

         ชาวนามธารีเป็นคำเรียกของชาวซิกข์กลุ่มหนึ่งนับถือนิกายนามธารีอันเป็นนิกายหนึ่งใน 10 กว่านิกายของศาสนาซิกข์ โดยคำว่า “นามธารี” แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) 
         ส่วนใหญ่ชาวนามธารีที่อพยพเข้ามาในไทยจะประกอบอาชีพกลุ่มพ่อค้าตั้งถิ่นฐานกระจายในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลําปาง เชียงราย ศาสถานของชาวนามธารีมี 2 แห่ง คือ บริเวณสี่แยกอโศก สุขุมวิท กรุงเทพฯ และบริเวณถนนช้างม่อยใกล้กับตลาดวโรรส ในจังหวัดเชียงใหม่
ชาวนามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “คุรุ” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
        คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย  รวมทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีอันนำไปสู่แนวปฏิบัติของชาวนามธารี


อ้างอิงจาก 
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/78

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database),เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมและการพัฒนา) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557

Collection

Research and Thesis (7th floor) BL2020.ซ6 อ46 2557

Annotation

ทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยในการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวซิกข์ในประเทศไทย ที่มีมานานกว่าศตวรรษ โดยการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่เกิดขึ้นในช่วงการแบ่งแยกประเทศอินเดีย-ปากีสถาน นอกจากนี้ยังศึกษากระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตลอดทั้งการถ่ายทอดวิถีชีวิตของชาวซิกข์ตามบริบทสังคมไทยและสังคมท้องถิ่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยด้านต่างๆ นอกเหนือจากการทำการค้า การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศาสตร์และมนุษยซชศาสตร์ โดยใช้กระบวนการศึกษา 3 ลักษณะคือ การศึกษาจากเอกสาร การศึกษาจากตัวบุคคล และการศึกษาภาคสนาม จากชุมชนชาวไทยซิกข์ 16 จังหวัด  

อ่านต่อ...
image

Author

นักรบ นาคสุวรรณ์

Imprint

วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556

Collection

Research and Thesis (7th floor) DS589 .น62 2556

Annotation

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและอัตลักษณ์ของชาวไทยซิกข์ในกรุงเทพมหานคร ที่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านหม้อ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนที่จะขยายไปยังบริเวณอื่นๆ ในภายหลัง อีกทั้งยังศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการสืบสานอัตลักษณ์ ไปจนถึงรูปแบบของการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของชาวไทยซิกข์ เพื่อการดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างสันติสุข ตามหลักคำสอนที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมา ผลการวิจัยนี้ยังสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นรูปแบบในการอนุรักษ์และสืบสานอัตลักษณ์ของกลุ่มอื่นๆ ในสังคมไทยได้อีกด้วย 

อ่านต่อ...
image

Author

สุภาวดี มิตรสมหวัง

Imprint

โครงการวิจัยเรื่อง สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544

Collection

Research and Thesis (7th floor) GN495.4.ส74 2544

Annotation

านวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร” มุ่งศึกษาภูมิหลังและระบบสังคมย่อยของสถาบันครอบครัว รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงในสถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ซิกข์ มอญ เขมรและไทย เป็นการศึกษาโดยเน้นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถประมวลความคล้ายและความแตกต่างของวัฒนธรรมครอบครัวที่ทำให้เกิดเป็นความเข้มแข็งและอ่อนแอของสถาบันครอบครัวในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำมาพัฒนารูปแบบของระบบครอบครัวที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ต่อไป 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ