banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / นามธารี

ชาติพันธุ์ / นามธารี

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

         ชาวนามธารีเป็นคำเรียกของชาวซิกข์กลุ่มหนึ่งนับถือนิกายนามธารีอันเป็นนิกายหนึ่งใน 10 กว่านิกายของศาสนาซิกข์ โดยคำว่า “นามธารี” แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) 
         ส่วนใหญ่ชาวนามธารีที่อพยพเข้ามาในไทยจะประกอบอาชีพกลุ่มพ่อค้าตั้งถิ่นฐานกระจายในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลําปาง เชียงราย ศาสถานของชาวนามธารีมี 2 แห่ง คือ บริเวณสี่แยกอโศก สุขุมวิท กรุงเทพฯ และบริเวณถนนช้างม่อยใกล้กับตลาดวโรรส ในจังหวัดเชียงใหม่
ชาวนามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “คุรุ” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
        คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย  รวมทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีอันนำไปสู่แนวปฏิบัติของชาวนามธารี


อ้างอิงจาก 
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/78

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database),เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ศิวัช ศรีโภคางกุล

Imprint

กรุงเทพฯ : illuminations editions, 2562

Collection

Books (7th floor) (Book chapter) BL80.2 .ศ652 2562

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงชาวซิกข์ในประเทศอินเดียกับประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทั้งในฐานะที่เป็นเหยื่อและผู้ก่อความรุนแรง ผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ผู้เขียนได้พยายามศึกษาและประมวลผลปฏิบัติการต่อสู้อย่างสันติวิธีโดยยึดตามหลักความเชื่อทางศาสนาของชาวซิกข์ โดยเลือกปฏิบัติการครั้งสำคัญ 5 เหตุการณ์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้ ได้แก่ หลักการไม่ให้ความร่วมมือ หลักการปฏิรูปกฎเกณฑ์สังคม หลักการบริจาคเลือดเพื่อแก้แค้น หลักการปฏิเสธการใช้ความรุนแรง และการร่วมมือปฏิสังขรณ์มัสยิดเพื่อใช้สวดมนต์ร่วมกับศาสนาอิสลาม 

อ่านต่อ...
image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

นครปฐม : ศูนย์ภารตะศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559

Collection

Books (7th floor) BL2020.ซ6 อ46 2559

Annotation

หนังสือรวมบทความวิชาการนี้ มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์และศาสนาซิกข์ในสังคมไทย โดยบทความทั้ง 6 เรื่องภายในเล่มครอบคลุมเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์และการตั้งถิ่นฐาน ด้านปรัชญาศาสนาซึ่งศึกษาใน 2 ด้าน คือ การบริการรับใช้สังคมและพิธีมงคลสมรส ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์โดยศึกษาเรื่องภาษาปัญจาบในสังคมไทยซิกข์ในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้จึงถือได้ว่าช่วยทำหน้าที่เป็นตำราให้แก่นักวิชาการและนักศึกษา ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่สนใจในสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์อีกด้วย 

อ่านต่อ...
image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559

Collection

Books (7th floor) (Book chapter) HM62.ท9 ก642 2559

Annotation

การศึกษานี้มุ่งเน้นทำความใจกลุ่มชาติพันธุ์ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดียในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยส่วนใหญ่คือชาวซิกข์ ซึ่งถือเป็นชาวไทยอินเดียกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน ชาวไทยซิกข์ที่อยู่อาศัยและทำการค้าในกรุงเทพมหานครได้สร้างคุรุดวาราขึ้นในย่านพาหุรัดเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจและถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของชาวไทยซิกข์ในประเทศไทย ผู้เขียนได้ศึกษาพัฒนาการของย่านพาหุรัดในมิติสังคมพหุลักษณ์และพหุวัฒนธรรม โดยศึกษาควบคู่กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่มาจากประเทศอินเดีย รวมทั้งได้ศึกษาการปรับตัวและความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยซิกข์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในพาหุรัดด้วย 

อ่านต่อ...
image

Author

วรเดช อมรวรพิพัฒน์ ...[และคนอื่นๆ]

Imprint

กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, 2556

Collection

Books (7th floor) BL80.2 .ว63 2557

Annotation

หนังสือ “วิถีชีวิต 5 ศาสนิกในประเทศไทย : พุทธ อิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู ซิกข์” นำเสนอรูปแบบและหลักคำสอนพื้นฐานของศาสนาทั้ง 5 เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในหลักปฏิบัติของศาสนาต่างๆ ได้อย่างถ่องแท้ จากนั้นจึงกล่าวถึงประเด็นสำคัญ 4 ประการที่ปรากฎให้เห็นในทั้ง 5 ศาสนา ได้แก่ ข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ข้อปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต วันสำคัญทางศาสนา และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจระหว่างศาสนา เป็นรากฐานให้เกิดพลังสร้างสรรค์ร่วมกันในสังคมไทย 

อ่านต่อ...
image

Author

ศรีคุรุสิงห์สภา

Imprint

กรุงเทพฯ : ศรีคุรุสิงห์สภา, 254-?

Collection

Books (7th floor) DS432.ซ6ว63

Annotation

ศรีคุรุสิงห์สภา คือองค์กรกลางของชาวไทยที่นับถือศาสนาซิกข์ ทำหน้าที่ประสานงานด้าน ศาสนา วัฒนธรรม และสังคมของชาวซิกข์ในประเทศไทย ได้จัดพิมพ์หนังสือ “วิถีแห่งซิกข์” เพื่อรวบรวมหลักธรรม ศาสนบัญญัติ พิธีทางศาสนา พิธีกรรมในวันสำคัญต่างๆ รวมทั้งบทบาทของสตรีชาวซิกข์ และหลักการดำเนินชีวิตของชาวซิกข์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวซิกข์และผู้คนในสังคม ตลอดทั้งผู้ที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของชาวซิกข์ในประเทศไทย ความโดดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ มีการรวบรวมและอธิบายคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับศาสนาซิกข์ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจคำศัพท์เฉพาะและเป็นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ศึกษาเรื่องศาสนาซิกข์ในเอกสารอื่นต่อไป 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ