Title Author Imprint Collection Url Annotation
วิถีแห่ง ซิกข์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 กรุงเทพฯ : สถานี, [25?] Audio Visual Materials :VT 000195 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036386

มชนชาวไทยซิกข์อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาแล้วกว่า 111 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยเข้ามาครั้งแรกเพื่อการค้าขาย จากนั้นจึงมีการชักชวนญาติพี่น้องให้เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ชุมชนชาวซิกข์เป็นชุมชนที่ยังคงยึดมั่นในความเชื่อดั้งเดิมและมีวิถีชีวิตที่สงบเรียบง่าย ในทุกเช้าและเย็นชาวซิกข์มักจะมารวมตัวกันที่คุรุดวาราสถานเพื่อสวดมนต์เป็นประจำ คุรุดวาราสถานเป็นสถานที่เก็บคัมภีร์ที่ถือว่าเป็นตัวแทนพระศาสดา ศาสนาซิกข์ไม่มีนักบวช มีเพียงผู้ประกอบพิธีสวดประจำวันเท่านั้น โดยแบ่งเป็นศาสนจารย์ผู้อธิบายคำสอนและผู้นำสวดภาวนา นอกจากไม่มีนักบวชแล้ว ศาสนาซิกข์ยังไม่มีรูปเคารพอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ชาวซิกข์ได้ยึดถือในพระคัมภีร์และคำสอนของพระศาสดาเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม การแต่งกาย อาหาร และธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆ ที่ชาวซิกข์ต่างยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อธำรงไว้ซึ่งคำสอนของพระศาสดา 

ชาวซิกข์และปฏิบัติการสันติวิธี ใน ศาสนากับความรุนแรง ศิวัช ศรีโภคางกุล กรุงเทพฯ : illuminations editions, 2562 Books (7th floor) (Book chapter) BL80.2 .ศ652 2562 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00096764

บทความนี้กล่าวถึงชาวซิกข์ในประเทศอินเดียกับประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทั้งในฐานะที่เป็นเหยื่อและผู้ก่อความรุนแรง ผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ผู้เขียนได้พยายามศึกษาและประมวลผลปฏิบัติการต่อสู้อย่างสันติวิธีโดยยึดตามหลักความเชื่อทางศาสนาของชาวซิกข์ โดยเลือกปฏิบัติการครั้งสำคัญ 5 เหตุการณ์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้ ได้แก่ หลักการไม่ให้ความร่วมมือ หลักการปฏิรูปกฎเกณฑ์สังคม หลักการบริจาคเลือดเพื่อแก้แค้น หลักการปฏิเสธการใช้ความรุนแรง และการร่วมมือปฏิสังขรณ์มัสยิดเพื่อใช้สวดมนต์ร่วมกับศาสนาอิสลาม 

สิงห์ปัญจาบ ณ สยามประเทศ : ประวัติศาสตร์ ปรัชญาศาสนา สังคมวัฒนธรรม อภิรัฐ คำวัง นครปฐม : ศูนย์ภารตะศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559 Books (7th floor) BL2020.ซ6 อ46 2559 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095280

หนังสือรวมบทความวิชาการนี้ มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์และศาสนาซิกข์ในสังคมไทย โดยบทความทั้ง 6 เรื่องภายในเล่มครอบคลุมเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์และการตั้งถิ่นฐาน ด้านปรัชญาศาสนาซึ่งศึกษาใน 2 ด้าน คือ การบริการรับใช้สังคมและพิธีมงคลสมรส ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์โดยศึกษาเรื่องภาษาปัญจาบในสังคมไทยซิกข์ในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้จึงถือได้ว่าช่วยทำหน้าที่เป็นตำราให้แก่นักวิชาการและนักศึกษา ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่สนใจในสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์อีกด้วย 

พหุลักษณ์ พาหุรัด : พ่อค้าชาวปัญจาบในสังคมไทย ใน การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม อภิรัฐ คำวัง นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559 Books (7th floor) (Book chapter) HM62.ท9 ก642 2559 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00091584

การศึกษานี้มุ่งเน้นทำความใจกลุ่มชาติพันธุ์ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดียในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยส่วนใหญ่คือชาวซิกข์ ซึ่งถือเป็นชาวไทยอินเดียกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน ชาวไทยซิกข์ที่อยู่อาศัยและทำการค้าในกรุงเทพมหานครได้สร้างคุรุดวาราขึ้นในย่านพาหุรัดเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจและถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของชาวไทยซิกข์ในประเทศไทย ผู้เขียนได้ศึกษาพัฒนาการของย่านพาหุรัดในมิติสังคมพหุลักษณ์และพหุวัฒนธรรม โดยศึกษาควบคู่กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่มาจากประเทศอินเดีย รวมทั้งได้ศึกษาการปรับตัวและความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยซิกข์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในพาหุรัดด้วย 

สถานภาพภาษาปัญจาบในสังคมไทยซิกข์ในปัจจุบัน อภิรัฐ คำวัง - วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 12, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2558), หน้า 45-57 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00049503 บทความนี้นำเสนอเรื่องภาษาปัญจาบ ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวซิกข์ใช้เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันและเพื่อศึกษาพระธรรมตามหลักศาสนา ในปัจจุบันชาวซิกข์รุ่นใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้น มีการสื่อสารภาษาปัญจาบน้อยลง ส่งผลกระทบต่อกระบวนการถ่ายทอดภาษาปัญจาบและการสืบทอดหลักศาสนาซิกข์สู่คนรุ่นหลัง จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ 13 จังหวัดที่ชาวซิกข์ตั้งถิ่นฐาน โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่หลัก พบว่าความสามารถทางภาษาปัญจาบของชาวไทยซิกข์มีความแตกต่างกันมาก โดยพิจารณาได้จากช่วงวัยของชาวไทยซิกข์และระบบการศึกษาที่ได้รับ
พ่อค้าชาวซิกข์ ณ หัวเมืองอีสาน อภิรัฐ คำวัง - วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. ปีที่ 11, ฉบับที่ 2 (พ.ค./ส.ค. 2558), หน้า 113-138 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00045968

การศึกษาเรื่องชาวไทยซิกข์ในบทความนี้ เน้นเรื่องการตั้งถิ่นฐานและความเป็นชุมชนของชาวซิกข์ที่ย้ายจากกรุงเทพมหานครสู่หัวเมืองอีสาน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามเวียดนาม ปัจจุบันคือพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี และนครพนม ชาวซิกข์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายโดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นทหารอเมริกัน ระยะแรกเป็นลักษณะแทรกตัวอยู่ในย่านการค้าที่มีพ่อค้าชาวจีนโพ้นทะเลเป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีการสร้างคุรุดวาราถาวรขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางร่วมกันในการชุมนุมเจริญธรรมและเกิดเป็นชุมชนทางศาสนาชาวไทยซิกข์ 

การปรับตัวภายใต้วิถีแห่งซิกข์ในสังคมไทย อภิรัฐ คำวัง วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมและการพัฒนา) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557 Research and Thesis (7th floor) BL2020.ซ6 อ46 2557 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095515

ทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยในการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวซิกข์ในประเทศไทย ที่มีมานานกว่าศตวรรษ โดยการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่เกิดขึ้นในช่วงการแบ่งแยกประเทศอินเดีย-ปากีสถาน นอกจากนี้ยังศึกษากระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตลอดทั้งการถ่ายทอดวิถีชีวิตของชาวซิกข์ตามบริบทสังคมไทยและสังคมท้องถิ่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยด้านต่างๆ นอกเหนือจากการทำการค้า การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศาสตร์และมนุษยซชศาสตร์ โดยใช้กระบวนการศึกษา 3 ลักษณะคือ การศึกษาจากเอกสาร การศึกษาจากตัวบุคคล และการศึกษาภาคสนาม จากชุมชนชาวไทยซิกข์ 16 จังหวัด  

ไทยซิกข์ : รูปแบบการอนุรักษ์และสืบสานอัตลักษณ์เพื่อการดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างสันติสุข นักรบ นาคสุวรรณ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556 Research and Thesis (7th floor) DS589 .น62 2556 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00089572

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและอัตลักษณ์ของชาวไทยซิกข์ในกรุงเทพมหานคร ที่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านหม้อ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนที่จะขยายไปยังบริเวณอื่นๆ ในภายหลัง อีกทั้งยังศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการสืบสานอัตลักษณ์ ไปจนถึงรูปแบบของการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของชาวไทยซิกข์ เพื่อการดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างสันติสุข ตามหลักคำสอนที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมา ผลการวิจัยนี้ยังสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นรูปแบบในการอนุรักษ์และสืบสานอัตลักษณ์ของกลุ่มอื่นๆ ในสังคมไทยได้อีกด้วย 

วิถีชีวิต 5 ศาสนิกในประเทศไทย : พุทธ อิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ วรเดช อมรวรพิพัฒน์ ...[และคนอื่นๆ] กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, 2556 Books (7th floor) BL80.2 .ว63 2557 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093548

หนังสือ “วิถีชีวิต 5 ศาสนิกในประเทศไทย : พุทธ อิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู ซิกข์” นำเสนอรูปแบบและหลักคำสอนพื้นฐานของศาสนาทั้ง 5 เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในหลักปฏิบัติของศาสนาต่างๆ ได้อย่างถ่องแท้ จากนั้นจึงกล่าวถึงประเด็นสำคัญ 4 ประการที่ปรากฎให้เห็นในทั้ง 5 ศาสนา ได้แก่ ข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ข้อปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต วันสำคัญทางศาสนา และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจระหว่างศาสนา เป็นรากฐานให้เกิดพลังสร้างสรรค์ร่วมกันในสังคมไทย 

ชาวซิกข์ในสยามและล้านนาว่าด้วยเรื่องประวัติศาสตร์การตั้งชุมชน ศาสนา และการค้า อภิรัฐ คำวัง - มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ปีที่ 28, ฉบับที่ 2 (พ.ค./ส.ค. 2554), หน้า 67-94 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00035796

บทความนี้แสดงให้เห็นข้อมูลและปัจจัยที่สนับสนุนให้ชาวซิกข์จากประเทศอินเดียเดินทางมาสู่ดินแดนสยามโดยลำดับตามระยะเวลา มีข้อสันนิษฐานว่าชาวซิกข์เริ่มเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกราวปีพ.ศ.2400 ผ่านทางด่านแม่สอด ก่อนที่จะมีการเดินทางไปสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาครั้งแรกในปีพ.ศ.2429 ลักษณะเด่นของชาวซิกข์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสยามและล้านนาคือ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าผ้า มีการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด แต่กระนั้นก็สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมท้องถิ่นได้ และมีน้ำใจช่วยเหลือเอื้อเฟื้อคนในชุมชน ชาวซิกข์ใช้ภาษาปัญจาบีในการสื่อสารแต่ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาดั้งเดิมน้อยลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่และการได้รับการศึกษาสมัยใหม่ นอกจากความเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ภาษาแล้ว ลูกหลานชาวไทยซิกข์ในปัจจุบันยังหันไปประกอบอาชีพอื่นตามที่ได้เรียนมา มากกว่าการสืบทอดกิจการค้าผ้าของครอบครัวอีกด้วย 

รองเท้าในวิถีชาวซิกข์ : ปรัชญาจากปัญจาบสู่เจ้าพระยา = The Shoes in Sikh Way : the Philosophy from Punjab to Chao Praya อภิรัฐ คำวัง - วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 32, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2553), หน้า 153-175 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00061321

บทความนี้ ผู้เขียนได้หยิบยกเรื่องราวของรองเท้าและวิถีปฏิบัติของชาวซิกข์เมื่อเข้าไปยังคุรุดวาราศาสนสถานขึ้นมานำเสนอ เนื่องจากชาวซิกข์มีความเชื่อว่าการทำงานรับฝากและดูแลรองเท้าในศาสนสถาน ถือเป็นงานบริการสังคมที่ได้แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถขจัดความอหังการในตัวมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาคำสอนและการปฎิบัติตนที่เน้นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการควบคุมตนเองของชาวซิกข์ จากบทความนี้จะเห็นได้ว่า การถ่ายทอดวิถีปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ของชาวซิกข์ สามารถเป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาจิตใจและเป็นสื่อกลางให้ชาวซิกข์ได้ปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนา และสามารถคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของกลุ่มท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายของสังคมได้ 

สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีกลุ่มชาติพันธุ์ซิกข์ มอญ เขมรและไทย สุภาวดี มิตรสมหวัง โครงการวิจัยเรื่อง สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 Research and Thesis (7th floor) GN495.4.ส74 2544 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00089572

านวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร” มุ่งศึกษาภูมิหลังและระบบสังคมย่อยของสถาบันครอบครัว รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงในสถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ซิกข์ มอญ เขมรและไทย เป็นการศึกษาโดยเน้นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถประมวลความคล้ายและความแตกต่างของวัฒนธรรมครอบครัวที่ทำให้เกิดเป็นความเข้มแข็งและอ่อนแอของสถาบันครอบครัวในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำมาพัฒนารูปแบบของระบบครอบครัวที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ต่อไป 

วิถีแห่งซิกข์ ศรีคุรุสิงห์สภา กรุงเทพฯ : ศรีคุรุสิงห์สภา, 254-? Books (7th floor) DS432.ซ6ว63 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033404

ศรีคุรุสิงห์สภา คือองค์กรกลางของชาวไทยที่นับถือศาสนาซิกข์ ทำหน้าที่ประสานงานด้าน ศาสนา วัฒนธรรม และสังคมของชาวซิกข์ในประเทศไทย ได้จัดพิมพ์หนังสือ “วิถีแห่งซิกข์” เพื่อรวบรวมหลักธรรม ศาสนบัญญัติ พิธีทางศาสนา พิธีกรรมในวันสำคัญต่างๆ รวมทั้งบทบาทของสตรีชาวซิกข์ และหลักการดำเนินชีวิตของชาวซิกข์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวซิกข์และผู้คนในสังคม ตลอดทั้งผู้ที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของชาวซิกข์ในประเทศไทย ความโดดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ มีการรวบรวมและอธิบายคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับศาสนาซิกข์ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจคำศัพท์เฉพาะและเป็นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ศึกษาเรื่องศาสนาซิกข์ในเอกสารอื่นต่อไป 

นัมดารี : กลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพฯ สมจินตนา รัตรสาร ราชบุรี : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537 Books (7th floor) GN495.4.น64ส42 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00003444 หนังสือเล่มนี้เป็นบทความที่นำเสนอในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “วัฒนธรรมเมือง : ชุมชนเมืองและการเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” ในปีพ.ศ. 2537 ซึ่งผู้เขียนได้เริ่มศึกษาวัฒนธรรมของชาวนัมดารี หรือ นามธารี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 เนื้อหาในบทความบรรยายถึงเอกลักษณ์และภูมิหลังของชาวนัมดารีตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งนิกายในยุคอาณานิคมอังกฤษ ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและวิถีปฏิบัติด้านศาสนาของชาวนัมดารีที่มีความแตกต่างจากชาวฮินดูและชาวซิกส์ ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2537)  
นัมดารี: กลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพฯ ใน วัฒนธรรมเมือง : ชุมชนเมืองและการเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สมจินตนา รัตรสาร กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2537 Books (7th floor) (Book chapter) HM101.ศ73 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000481

“นัมดารี: กลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพฯ” เป็นเอกสารประกอบการบรรยายในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “วัฒนธรรมเมือง : ชุมชนเมืองและการเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” ซึ่งกล่าวถึงที่มาของการศึกษาเรื่องชาวนัมดารีในกรุงเทพฯ ทั้งในแง่ภูมิหลังทางสังคมวัฒนธรรม ข้อมูลประชากร สถาบันครอบครัว และการดำเนินชีวิตที่มีความแตกต่างจากชนส่วนใหญ่ในสังคม หรือแม้กระทั่งในกลุ่มชาวนัมดารีด้วยกันเองก็มีการปฏิบัติตนที่มีความแตกต่างหลากหลาย โดยอาจมีสาเหตุมาจากจิตวิทยาส่วนตัวของบุคคล การศึกษา การอบรมเลี้ยงดูและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม เป็นต้น 

Gender, ethnicity and social relations in the narratives of elderly Sikh men and women Mand, Kanwal - Ethnic and racial studies. vol. 29, no. 6 (Nov. 2006), p.1057-1071 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00062118

บทความนี้วิเคราะห์ประวัติศาสตร์บอกเล่าจากชายและหญิงสูงอายุชาวซิกข์ ถึงกระบวนการอพยพย้ายถิ่นจากรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย เข้ามายังประเทศแทนซาเนีย ซึ่งกระบวนการอพยพย้ายถิ่น รวมทั้งประสบการณ์และความทรงจำเกี่ยวกับการอพยพในเพศชายและเพศหญิงก็มีความแตกต่างกัน อีกทั้งอัตลักษณ์ทางสังคมและสถานที่อยู่อาศัยก็มีผลต่อการรวมกลุ่มทางสังคมของผู้อพยพอีกด้วย ซึ่งการศึกษาประวัติศาสตร์จากวิธีบอกเล่าเช่นนี้ สามารถช่วยให้ผู้วิจัยคลี่คลายข้อสงสัยในความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่ เพศ และความเป็นชาติพันธุ์ในการรวมกลุ่มทางสังคมของผู้อพยพได้เป็นอย่างดี 

Sikh martyrs in India's religions : perspectives from sociology and history Fenech, Louis E New Delhi ; New York : Oxford University Press, 2004 Books (7th floor) (Book chapter) BL2001.3.I53 2004 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00064471

ปลายศตวรรษที่ 15 ถึงต้นศตวรรษที่ 16 ถือเป็นช่วงเวลาที่มีการกดขี่ข่มเหงชาวซิกข์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง คุรุนานัก พระศาสดาองค์แรกของศาสนาซิกข์ พยายามที่จะแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมและมีอิสรภาพ ท่านและผู้ติดตามได้อุทิศตนอย่างมากเพื่อพิสูจน์และเผยแพร่แนวคิดนี้สู่สังคมในขณะนั้น จนเรียกได้ว่าเป็นผู้อุทิศชีวิตเพื่อศาสนาซิกข์ ประเพณีการอุทิศชีวิตเพื่อศาสนานี้ได้รับการสืบทอดไปยังคุรุศาสดาและผู้ติดตามในยุคต่อๆ ไป โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เกิดสงครามเพื่อทำลายศาสนาซิกข์หลายต่อหลายครั้ง คุรุศาสดาทุกองค์ล้วนเป็นกำลังสำคัญหลักในการต่อสู้และสละชีพเพื่อปกป้องศาสนา 

Sikhs and Sikhism : understanding Sikhism (the gospel of the gurus) a precise account of the religious history of the Sikhs, their political heritage and their aspirations for the future Retired Justice Choor Singh of the Supreme Court of Singapore Durham : Duke University Press, 2001 Books (7th floor) BL2018.S56 2001 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033581

เอกสารเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนขยายบทความชื่อ “Who is a Sikh” ของผู้เขียน เนื่องจากบทความเดิมมีเนื้อหาค่อนข้างกระชับและมีศัพท์เฉพาะที่ยากต่อความเข้าใจสำหรับผู้อ่านที่ไม่ใช่ชาวซิกข์ เนื้อหาภายในเอกสารนี้ประกอบด้วยประวัติความเป็นมาของศาสนาซิกข์ตั้งแต่ครั้งเริ่มก่อตั้งศาสนาโดยคุรุนานักเดว รวมทั้งเรื่องประวัติศาสตร์และการปกครองรัฐของชาวซิกข์ในประเทศอินเดีย จนกระทั่งเกิดสงครามระหว่างจักรวรรดิซิกข์กับราชอาณาจักรอังกฤษ ในปีค.ศ.1845 ในส่วนของพระคัมภีร์ที่เป็นหลักของศาสนานั้น ชาวซิกข์ยึดถือในพระคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ (Guru Granth Sahib) ซึ่งประกอบไปด้วยหลักคำสอนที่เขียนโดยคุรุศาสดาทั้ง 10 องค์ ในท้ายเล่มผู้เขียนได้อธิบายข้อแตกต่างระหว่างศาสนาซิกข์และศาสนาฮินดูไว้ เนื่องจากมักมีความสับสนระหว่างสองศาสนานี้อยู่เป็นประจำ 

The nation's tortured body : violence, representation, and the formation of a Sikh "Diaspora" Brian Keith Axel Durham : Duke University Press, 2001 Books (7th floor) DS432.S5A94 2001 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038950

ประเด็นเรื่องชาวซิกข์พลัดถิ่นในหนังสือเล่มนี้ ถูกยกขึ้นมาวิเคระห์ถึงปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้ชาวซิกข์ต้องเกิดการพลัดถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานะพลเมืองของรัฐ ลัทธิอาณานิคม หรือแนวคิดหลังอาณานิคม ผู้เขียนชี้ให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนในการศึกษาเรื่องนี้ในมิติมานุษยวิทยาประวัติศาสตร์ โดยการมุ่งประเด็นศึกษาไปในช่วงปีค.ศ.1849 และ ค.ศ.1998 ที่ปรากฎเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นที่เมืองขาลิสถาน รัฐปกครองตนเองของชาวซิกข์ นอกจากนั้นผู้เขียนยังได้วิเคราะห์เหตุการณ์กองกำลังความมั่นคงอินเดียทำร้ายและทรมานร่างของชาวซิกข์ในปีค.ศ.1983 จนมีภาพความรุนแรงเผยแพร่สู่อินเทอร์เน็ตเมื่อปีค.ศ.1996  

The Sikh religion : its gurus, sacred writings and authors (vol.III&IV) Max Arthur Macauliffe Delhi : Low Price Publications, 1998 Books (7th floor) BL2018.M33 1998 v.2 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033393

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือลำดับที่ 2 จากทั้งหมด 3 เล่ม ของหนังสือชุด “The Sikh religion” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหนังสือไม่กี่เล่มที่เขียนถึงเรื่องของศาสนาซิกข์ในรูปแบบภาษาอังกฤษได้อย่างครอบคลุมที่สุด ในหนังสือเล่มที่ 2 นี้ แบ่งเป็นตอนที่ 3 และตอนที่ 4 ผู้เขียนได้กล่าวถึงคุรุอาร์จัน (Guru Arjan) คุรุศาสดาองค์ที่ 5 พร้อมด้วยบทแปลพระธรรมของท่านที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ ในตอนที่ 4 กล่าวถึงชีวประวัติและบทแปลพระธรรมของคุรุศาสดาองค์ที่ 6 ถึงองค์ที่ 9 ได้แก่ คุรุฮัรโควินท์ (Guru Har Gobind) คุรุฮัรราย (Guru Har Rai)  คุรุฮัรกฤษณ (Guru Har Krishan) และคุรุเตคบฮาดัร (Guru Tegh Bahadur) 

The Sikh religion : its gurus, sacred writings and authors (vol.I&II) Max Arthur Macauliffe. Delhi : Low Price Publications, 1998 Books (7th floor) BL2018.M33 1998 v.1 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033393

หนังสือชุดนี้เป็นหนึ่งในหนังสือไม่กี่เล่มที่เขียนถึงเรื่องของศาสนาซิกข์ในรูปแบบภาษาอังกฤษได้อย่างครอบคลุมที่สุด ผู้แต่งได้ศึกษาพระคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ (Granth Sahib) และยังได้รับความสนับสนุนช่วยเหลือจากนักวิชาการชาวซิกข์รวมทั้งผู้นำศาสนาเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเขียน หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือลำดับที่ 1 จากทั้งหมด 3 เล่ม ในตอนที่ 1 ของเล่มกล่าวถึงบทเริ่มต้นของศาสนาซิกข์ และชีวประวัติของ คุรุ นานัก (Guru Nanak) พระศาสดาองค์แรกของศาสนาซิกข์ ส่วนตอนที่ 2 กล่าวถึงคุรุศาสดาองค์ที่ 2  3 และ 4 ได้แก่ คุรุอังกัต (Guru Angat) คุรุอามัรดาส (Guru Amar Das) และคุรุรามดาส (Guru Ram Das) ดังนั้นผู้ที่จะศึกษาเรื่องศาสนาซิกข์จึงควรเริ่มศึกษาจากหนังสือเล่มนี้เป็นลำดับแรก 

The context of ethicity : Sikh identity in a comparative perspective Dipankar Gupta Delhi : Oxford University Press, 1996 Books (7th floor) DS485.P3G87 1996 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00004304

หนังสือเล่มนี้พยายามอธิบายกรอบความคิดเรื่องรัฐชาติและความเป็นอัตลักษณ์ ผ่านการศึกษาเรื่องราวของชาวซิกข์ในรัฐปัญจาบ ผู้เขียนแสดงให้เห็นว่าอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์นั้นไม่ใช่สิ่งที่จะคงอยู่ถาวร แต่มักจะมีการขับเคลี่อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การวิเคราะห์ปัญหาของรัฐปัญจาบในบริบทความเป็นชาติพันธุ์ของชาวซิกข์นี้ ผู้เขียนใช้ข้อมูลด้านชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐานสำหรับศึกษาเปรียบเทียบกับข้อมูลเหตุการณ์เคลื่อนไหวของพรรคชีฟ เซนา ในเมืองบอมเบย์ 

The evolution of the Sikh community : five essays W.H. Mcleod. Delhi : Oxford University Press, 1975 Books (7th floor) BL2018.M317 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00001443 หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงวิวัฒนาการของสังคมชาวซิกข์ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่เริ่มมีการสถาปนาศาสนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 โดยคุรุนานัก พระศาสดาองค์แรกของศาสนาซิกข์ ในบทที่ 2 ผู้เขียนกล่าวถึงพระประวัติของคุรุนานัก และพระศาสดาองค์อื่นๆ ทั้งยังได้อธิบายเรื่องชนชั้นทางสังคม อุดมคติ รวมทั้งวิถีปฏิบัติของประชาคมชาวซิกข์ตามหลักศาสนาที่เน้นการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและอุทิศตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยยึดตามหลักคำสอนในพระคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ หรืออาดิ ครันถ์ ซึ่งเป็นคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์และเป็นพระศาสดาตลอดกาลของชาวซิกข์หลังจากที่ศาสดาองค์ที่ 10 สิ้นพระชนม
The Sikh religion : its gurus, sacred writings and authors (vol.V&VI) Max Arthur Macauliffe. Delhi : Low Price Publications, 1998 Books (7th floor) BL2018.M33 1998 v.3 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033393

หนังสือชุด “The Sikh religion” เล่มที่ 3 มีทั้งหมด 2 ตอน ตอนที่ 5 กล่าวถึงชีวประวัติและพระธรรมของคุรุโควินท์สิงห์ (Guru Gobind Singh) ศาสนาองค์ที่ 10 และเป็นองค์สุดท้ายก่อนที่จะมีการแต่งตั้งพระคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ และใช้เป็นดังพระศาสดาของศาสนาซิกข์โดยไม่มีการแต่งตั้งคุรุศาสดาที่เป็นบุคคลอีกต่อไป ในตอนนี้ยังได้กล่าวถึงบันดาบฮาดัร (Banda Bahadur) ผู้เริ่มสถาปนารัฐแห่งซิกข์เป็นคนแรก ในส่วนของตอนที่ 6 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดนี้ กล่าวถึงนักบวชในศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามซึ่งมีส่วนร่วมในพระคัมภีร์ของศาสนาซิกข์ พร้อมทั้งบทแปลพระธรรมเป็นภาษาอังกฤษ