banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / นามธารี

ชาติพันธุ์ / นามธารี

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

         ชาวนามธารีเป็นคำเรียกของชาวซิกข์กลุ่มหนึ่งนับถือนิกายนามธารีอันเป็นนิกายหนึ่งใน 10 กว่านิกายของศาสนาซิกข์ โดยคำว่า “นามธารี” แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) 
         ส่วนใหญ่ชาวนามธารีที่อพยพเข้ามาในไทยจะประกอบอาชีพกลุ่มพ่อค้าตั้งถิ่นฐานกระจายในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลําปาง เชียงราย ศาสถานของชาวนามธารีมี 2 แห่ง คือ บริเวณสี่แยกอโศก สุขุมวิท กรุงเทพฯ และบริเวณถนนช้างม่อยใกล้กับตลาดวโรรส ในจังหวัดเชียงใหม่
ชาวนามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “คุรุ” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
        คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย  รวมทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีอันนำไปสู่แนวปฏิบัติของชาวนามธารี


อ้างอิงจาก 
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/78

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database),เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

-

Collection

วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 32, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2553), หน้า 153-175

Annotation

บทความนี้ ผู้เขียนได้หยิบยกเรื่องราวของรองเท้าและวิถีปฏิบัติของชาวซิกข์เมื่อเข้าไปยังคุรุดวาราศาสนสถานขึ้นมานำเสนอ เนื่องจากชาวซิกข์มีความเชื่อว่าการทำงานรับฝากและดูแลรองเท้าในศาสนสถาน ถือเป็นงานบริการสังคมที่ได้แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถขจัดความอหังการในตัวมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาคำสอนและการปฎิบัติตนที่เน้นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการควบคุมตนเองของชาวซิกข์ จากบทความนี้จะเห็นได้ว่า การถ่ายทอดวิถีปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ของชาวซิกข์ สามารถเป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาจิตใจและเป็นสื่อกลางให้ชาวซิกข์ได้ปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนา และสามารถคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของกลุ่มท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายของสังคมได้ 

อ่านต่อ...
image

Author

สุภาวดี มิตรสมหวัง

Imprint

โครงการวิจัยเรื่อง สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544

Collection

Research and Thesis (7th floor) GN495.4.ส74 2544

Annotation

านวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร” มุ่งศึกษาภูมิหลังและระบบสังคมย่อยของสถาบันครอบครัว รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงในสถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ซิกข์ มอญ เขมรและไทย เป็นการศึกษาโดยเน้นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถประมวลความคล้ายและความแตกต่างของวัฒนธรรมครอบครัวที่ทำให้เกิดเป็นความเข้มแข็งและอ่อนแอของสถาบันครอบครัวในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำมาพัฒนารูปแบบของระบบครอบครัวที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ต่อไป 

อ่านต่อ...
image

Author

ศรีคุรุสิงห์สภา

Imprint

กรุงเทพฯ : ศรีคุรุสิงห์สภา, 254-?

Collection

Books (7th floor) DS432.ซ6ว63

Annotation

ศรีคุรุสิงห์สภา คือองค์กรกลางของชาวไทยที่นับถือศาสนาซิกข์ ทำหน้าที่ประสานงานด้าน ศาสนา วัฒนธรรม และสังคมของชาวซิกข์ในประเทศไทย ได้จัดพิมพ์หนังสือ “วิถีแห่งซิกข์” เพื่อรวบรวมหลักธรรม ศาสนบัญญัติ พิธีทางศาสนา พิธีกรรมในวันสำคัญต่างๆ รวมทั้งบทบาทของสตรีชาวซิกข์ และหลักการดำเนินชีวิตของชาวซิกข์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวซิกข์และผู้คนในสังคม ตลอดทั้งผู้ที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของชาวซิกข์ในประเทศไทย ความโดดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ มีการรวบรวมและอธิบายคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับศาสนาซิกข์ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจคำศัพท์เฉพาะและเป็นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ศึกษาเรื่องศาสนาซิกข์ในเอกสารอื่นต่อไป 

อ่านต่อ...
image

Author

สมจินตนา รัตรสาร

Imprint

ราชบุรี : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537

Collection

Books (7th floor) GN495.4.น64ส42

Annotation

หนังสือเล่มนี้เป็นบทความที่นำเสนอในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “วัฒนธรรมเมือง : ชุมชนเมืองและการเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” ในปีพ.ศ. 2537 ซึ่งผู้เขียนได้เริ่มศึกษาวัฒนธรรมของชาวนัมดารี หรือ นามธารี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 เนื้อหาในบทความบรรยายถึงเอกลักษณ์และภูมิหลังของชาวนัมดารีตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งนิกายในยุคอาณานิคมอังกฤษ ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและวิถีปฏิบัติด้านศาสนาของชาวนัมดารีที่มีความแตกต่างจากชาวฮินดูและชาวซิกส์ ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2537)  

อ่านต่อ...
image

Author

สมจินตนา รัตรสาร

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2537

Collection

Books (7th floor) (Book chapter) HM101.ศ73

Annotation

“นัมดารี: กลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพฯ” เป็นเอกสารประกอบการบรรยายในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “วัฒนธรรมเมือง : ชุมชนเมืองและการเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” ซึ่งกล่าวถึงที่มาของการศึกษาเรื่องชาวนัมดารีในกรุงเทพฯ ทั้งในแง่ภูมิหลังทางสังคมวัฒนธรรม ข้อมูลประชากร สถาบันครอบครัว และการดำเนินชีวิตที่มีความแตกต่างจากชนส่วนใหญ่ในสังคม หรือแม้กระทั่งในกลุ่มชาวนัมดารีด้วยกันเองก็มีการปฏิบัติตนที่มีความแตกต่างหลากหลาย โดยอาจมีสาเหตุมาจากจิตวิทยาส่วนตัวของบุคคล การศึกษา การอบรมเลี้ยงดูและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม เป็นต้น 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ