banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / นามธารี

ชาติพันธุ์ / นามธารี

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

         ชาวนามธารีเป็นคำเรียกของชาวซิกข์กลุ่มหนึ่งนับถือนิกายนามธารีอันเป็นนิกายหนึ่งใน 10 กว่านิกายของศาสนาซิกข์ โดยคำว่า “นามธารี” แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) 
         ส่วนใหญ่ชาวนามธารีที่อพยพเข้ามาในไทยจะประกอบอาชีพกลุ่มพ่อค้าตั้งถิ่นฐานกระจายในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลําปาง เชียงราย ศาสถานของชาวนามธารีมี 2 แห่ง คือ บริเวณสี่แยกอโศก สุขุมวิท กรุงเทพฯ และบริเวณถนนช้างม่อยใกล้กับตลาดวโรรส ในจังหวัดเชียงใหม่
ชาวนามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “คุรุ” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
        คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย  รวมทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีอันนำไปสู่แนวปฏิบัติของชาวนามธารี


อ้างอิงจาก 
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/78

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database),เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

-

Collection

วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 12, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2558), หน้า 45-57

Annotation

บทความนี้นำเสนอเรื่องภาษาปัญจาบ ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวซิกข์ใช้เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันและเพื่อศึกษาพระธรรมตามหลักศาสนา ในปัจจุบันชาวซิกข์รุ่นใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้น มีการสื่อสารภาษาปัญจาบน้อยลง ส่งผลกระทบต่อกระบวนการถ่ายทอดภาษาปัญจาบและการสืบทอดหลักศาสนาซิกข์สู่คนรุ่นหลัง จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ 13 จังหวัดที่ชาวซิกข์ตั้งถิ่นฐาน โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่หลัก พบว่าความสามารถทางภาษาปัญจาบของชาวไทยซิกข์มีความแตกต่างกันมาก โดยพิจารณาได้จากช่วงวัยของชาวไทยซิกข์และระบบการศึกษาที่ได้รับ

อ่านต่อ...
image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

-

Collection

วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. ปีที่ 11, ฉบับที่ 2 (พ.ค./ส.ค. 2558), หน้า 113-138

Annotation

การศึกษาเรื่องชาวไทยซิกข์ในบทความนี้ เน้นเรื่องการตั้งถิ่นฐานและความเป็นชุมชนของชาวซิกข์ที่ย้ายจากกรุงเทพมหานครสู่หัวเมืองอีสาน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามเวียดนาม ปัจจุบันคือพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี และนครพนม ชาวซิกข์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายโดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นทหารอเมริกัน ระยะแรกเป็นลักษณะแทรกตัวอยู่ในย่านการค้าที่มีพ่อค้าชาวจีนโพ้นทะเลเป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีการสร้างคุรุดวาราถาวรขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางร่วมกันในการชุมนุมเจริญธรรมและเกิดเป็นชุมชนทางศาสนาชาวไทยซิกข์ 

อ่านต่อ...
image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

-

Collection

มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ปีที่ 28, ฉบับที่ 2 (พ.ค./ส.ค. 2554), หน้า 67-94

Annotation

บทความนี้แสดงให้เห็นข้อมูลและปัจจัยที่สนับสนุนให้ชาวซิกข์จากประเทศอินเดียเดินทางมาสู่ดินแดนสยามโดยลำดับตามระยะเวลา มีข้อสันนิษฐานว่าชาวซิกข์เริ่มเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกราวปีพ.ศ.2400 ผ่านทางด่านแม่สอด ก่อนที่จะมีการเดินทางไปสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาครั้งแรกในปีพ.ศ.2429 ลักษณะเด่นของชาวซิกข์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสยามและล้านนาคือ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าผ้า มีการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด แต่กระนั้นก็สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมท้องถิ่นได้ และมีน้ำใจช่วยเหลือเอื้อเฟื้อคนในชุมชน ชาวซิกข์ใช้ภาษาปัญจาบีในการสื่อสารแต่ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาดั้งเดิมน้อยลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่และการได้รับการศึกษาสมัยใหม่ นอกจากความเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ภาษาแล้ว ลูกหลานชาวไทยซิกข์ในปัจจุบันยังหันไปประกอบอาชีพอื่นตามที่ได้เรียนมา มากกว่าการสืบทอดกิจการค้าผ้าของครอบครัวอีกด้วย 

อ่านต่อ...
image

Author

อภิรัฐ คำวัง

Imprint

-

Collection

วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 32, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2553), หน้า 153-175

Annotation

บทความนี้ ผู้เขียนได้หยิบยกเรื่องราวของรองเท้าและวิถีปฏิบัติของชาวซิกข์เมื่อเข้าไปยังคุรุดวาราศาสนสถานขึ้นมานำเสนอ เนื่องจากชาวซิกข์มีความเชื่อว่าการทำงานรับฝากและดูแลรองเท้าในศาสนสถาน ถือเป็นงานบริการสังคมที่ได้แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถขจัดความอหังการในตัวมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาคำสอนและการปฎิบัติตนที่เน้นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการควบคุมตนเองของชาวซิกข์ จากบทความนี้จะเห็นได้ว่า การถ่ายทอดวิถีปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ของชาวซิกข์ สามารถเป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาจิตใจและเป็นสื่อกลางให้ชาวซิกข์ได้ปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนา และสามารถคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของกลุ่มท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายของสังคมได้ 

อ่านต่อ...
image

Author

Mand, Kanwal

Imprint

-

Collection

Ethnic and racial studies. vol. 29, no. 6 (Nov. 2006), p.1057-1071

Annotation

บทความนี้วิเคราะห์ประวัติศาสตร์บอกเล่าจากชายและหญิงสูงอายุชาวซิกข์ ถึงกระบวนการอพยพย้ายถิ่นจากรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย เข้ามายังประเทศแทนซาเนีย ซึ่งกระบวนการอพยพย้ายถิ่น รวมทั้งประสบการณ์และความทรงจำเกี่ยวกับการอพยพในเพศชายและเพศหญิงก็มีความแตกต่างกัน อีกทั้งอัตลักษณ์ทางสังคมและสถานที่อยู่อาศัยก็มีผลต่อการรวมกลุ่มทางสังคมของผู้อพยพอีกด้วย ซึ่งการศึกษาประวัติศาสตร์จากวิธีบอกเล่าเช่นนี้ สามารถช่วยให้ผู้วิจัยคลี่คลายข้อสงสัยในความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่ เพศ และความเป็นชาติพันธุ์ในการรวมกลุ่มทางสังคมของผู้อพยพได้เป็นอย่างดี 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ