banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / อคติทางวัฒนธรรม

อคติทางวัฒนธรรม

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564

ขอบเขตของเนื้อหา

            อคติ (Prejudice) คือทัศนคติที่เป็นผลมาจากความรู้ ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิดเห็นที่ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมต่อคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นำไปสู่การกระทำในเชิงการยอมรับ หรือไม่ยอมรับ การเลือกปฏิบัติ การตีตรา อคติที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือ อคติทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และสีผิว อคติทางเพศ อคติทางศาสนา/ความเชื่อ อคติทางการเมือง อคติทางวัย วยาคติ หรือการเหยียดอายุ อคติต่อผู้ป่วยไข้ อคติผ่านสื่อ เป็นต้น
            คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านอคติทางวัฒนธรรม subject guide ชุดนี้ รวบรวมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความในประเด็นข้างต้นที่มีให้บริการในห้องสมุดศูนย์ สรุปความ สรุปเนื้อหาเพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษา นักวิจัยได้ทราบว่าทรัพยากรแต่ละรายการมีเนื้องหาเกี่ยวกับอะไร ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกใช้ประโยชน์ต่อไป
 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

James L. Peacock, Patricia M. Thornton, and Patrick B. Inman

Imprint

New York : Berghahn Books, 2007

Collection

Books (7th floor)-HM753.I35 2007

Annotation

โครงการ New Century Scholars ของมูลนิธิฟูลไบรท์ (Fulbright Foundation) รวบรวมนักสังคมศาสตร์จากทั่วโลกเพื่อศึกษาความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และการแบ่งแยกดินแดนทั้งภายในและข้ามพรมแดนรัฐชาติ หนังสือเล่มนี้ตรวจสอบรากเหง้าของความรุนแรงโดยรวม และมาตรการที่ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวในเมียนมาร์ จีน เยอรมนี ปากีสถาน เซเนกัล สิงคโปร์ ไทย ทิเบต ยูเครน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรปตะวันตก เป็นบทความเชิงทฤษฎีแนะนำหลักการพื้นฐานที่จำเป็นจากการวิจัยทางรัฐศาสตร์ จิตวิทยา มานุษยวิทยา วารสารศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ด้วยมุมมองเชิงทฤษฎีของ Gordon Allport, Charles Taylor และ Max Weber เพื่ออธิบายและวิเคราะห์รูปแบบของพฤติกรรมที่กลุ่มทางสังคมทั่วโลกเพื่อรักษาอัตลักษณ์ของตน ให้ผู้อ่านทั่วไปทราบและสื่อสารข้ามสาขาวิชา แสดงให้เห็นถึงวิธีการทำความเข้าใจ การคาดการณ์ และการรับมือกับความรุนแรงทางชาติพันธุ์และการแบ่งแยกดินแดน
 

อ่านต่อ...
image

Author

Matti Bunzl

Imprint

Chicago : Prickly Paradigm Press, 2007

Collection

Books (7th floor) - DS146.E8B86 2007

Annotation

การฟื้นคืนความเป็นปรปักษ์ต่อชาวยิวเป็นประเด็นถกเถียงในยุโรป ชาวมุสลิมเผชิญกับความทุกข์ยากเพิ่มขึ้น Matti Bunzl เสนอคำอธิบายทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปัญหาการต่อต้านชาวยิวและความกลัวอิสลามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การถกเถียงโต้แย้งกับแรงกระตุ้นทั่วไปเปรียบเทียบการต่อต้านชาวยิวและศาสนาอิสลาม จึงเสนอขอบเขตที่ระบุตำแหน่งแห่งที่ของปรากฏการณ์ทั้งสองในการกีดกันที่แตกต่างกัน ข้อมูลของ Bunzl พบว่าการต่อต้านชาวยิวช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ใช้สำรวจตรวจสอบรัฐชาติที่มีชาติพันธุ์บริสุทธิ์ (the ethnically pure nation-state) ตรงกันข้ามความเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobia) ซึ่งในปัจจุบันมีเป้าหมายเพื่อปกป้องยุโรป ด้วยบทบาทของรัฐชาติที่ลดความสำคัญลง การต่อต้านชาวยิวแบบดั้งเดิมจึงดำเนินไปตามวิถีทางประวัติศาสตร์ ภัยคุกคามความกลัวอิสลามกลายเป็นเงื่อนไขของยุโรปใหม่ที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการกำจัดความเข้าใจผิดเรื่องการต่อต้านชาวยิวและศาสนาอิสลามทำให้เห็นแรงขับเคลื่อนเหล่านี้อีกครั้ง

อ่านต่อ...
image

Author

Mabel Berrezin

Imprint

London : SAGE, 2006

Collection

Books (7th floor)-JC311.S224 2006

Annotation

การเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นภายใต้ยุโรปตะวันตกตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1980 วาทกรรม “อาการเกลียดกลัวชาวต่างชาติ” (xenophobia) นำมาซึ่งความรุนแรง การต่อต้านชาวยิว ตลอดจนผู้อพยพจากแอฟริกันและตะวันออกกลาง เพิ่มกระแสเหยียดเชื้อชาติสีผิวมากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อาการเกลียดกลัวชาวต่างชาตินี้เป็นผลโดยตรงของลัทธิชาตินิยมในยุโรปร่วมสมัย บทความอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่าง xenophobia และการอพยพในยุโรปร่วมสมัย ทำให้เห็นแง่มุมของลัทธิชาตินิยมร่วมสมัยคือชาตินิยมแบบสุดโต่ง (ultra -nationalism) และการยืนยันของความเป็นชาติในรัฐชาติยุโรปที่เผชิญทั้งการอพยพและการรวมตัวของยุโรป xenophobia พัฒนาจากความคิด stranger ของ Georg Simmel และเหตุการณ์เดรย์ฟัส (Dreyfus Affair) จนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยุโรปตื่นตัวในแง่สิทธิและกระแสชาตินิยมมาก งานวรรณกรรมจำนวนไม่น้อยแสดงถึงอิทธิพลความคิดนี้ ความเป็นชาติ (nationhood) ถูกนำเสนอใหม่อีกครั้งภายใต้กระบวนการสร้างกลุ่มประเทศยุโรปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21

อ่านต่อ...
image

Author

Panayota Gounari

Imprint

London ; Boulder : Paradigm Publishers, 2006

Collection

Books (7th floor) - HT1521.G49 2006

Annotation

หนังสือกล่าวถึงการล้างเผ่าพันธุ์ สงครามทางวัฒนธรรม ความทุกข์ทรมานของมนุษย์ การก่อการร้าย การอพยพ และการกลัวชาวต่างชาติ (xenophobia) ที่ทวีความรุนแรงขึ้น "โลกาภิวัน์ของการเหยียดสีผิว" อธิบายว่าเหตุใดที่จะเข้าใจลึกซึ้งว่า อุดมการณ์มีผลอย่างไรต่อวาทกรรมทางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง และการกระทำที่เหยียดผิวทั้งหมด หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพัฒนาการล่าสุดในฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี โปรตุเกส สเปน และสหรัฐอเมริกา ใช้ตัวอย่างจากสื่อมวลชน วัฒนธรรมสมัยนิยม และการเมือง เพื่อจัดการกับความท้าทายที่ประเทศเหล่านี้และประเทศอื่น ๆ ต้องเผชิญกับสถาบันประชาธิปไตย ผู้เขียนแสดงให้เห็นว่า สามารถให้ความรู้แก่พลเมืองที่มีวิจารณญาณได้อย่างไรในโลกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและหลากหลายเชื้อชาติที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 21

อ่านต่อ...
image

Author

Guillermo Bernal, Joseph E. Trimble, A. Kaherleen Burker and Frederick T.L. Leong

Imprint

Thousand Oaks, Calif. : Sage Publications, 2003

Collection

Books (7th floor)-GN502.H363 2003

Annotation

หนังสือคู่มือเล่มนี้ประกอบด้วยผลงานจากหน่วยงานชั้นนำในสาขาจิตวิทยาเชื้อชาติและชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ (racial and ethnic minority psychology) นำเสนอภาพรวมทางวิชาการเกี่ยวกับจิตวิทยาของปัญหาทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยในสหรัฐอเมริกา เช่น แอฟริกัน สเปน เอเชีย และอเมริกันอินเดียน มุ่งเน้นไปที่ประเด็นทางวิชาชีพ ระเบียบวิธีวิจัย สังคมและการพัฒนา คลินิกและการประยุกต์ รวมถึงการป้องกันที่กำหนดรูปแบบของงานภาคสนามในปัจจุบัน เน้นผลการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในสาขาจิตวิทยาชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ การให้คำปรึกษาและการแทรกแซงทางจิตอายุรเวช (psychotherapeutic interventions) ครอบคลุมหัวข้อด้านความรู้ความเข้าใจพัฒนาการอุตสาหกรรม/องค์กร บุคลิกภาพ ภาวะผิดปกติ และจิตวิทยาสังคม สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตในเมืองชั้นใน รวมถึงแนวทางเปรียบเทียบ แต่ไม่ครอบคลุมประเด็นข้ามวัฒนธรรม
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ