banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / อคติทางวัฒนธรรม

อคติทางวัฒนธรรม

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564

ขอบเขตของเนื้อหา

            อคติ (Prejudice) คือทัศนคติที่เป็นผลมาจากความรู้ ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิดเห็นที่ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมต่อคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นำไปสู่การกระทำในเชิงการยอมรับ หรือไม่ยอมรับ การเลือกปฏิบัติ การตีตรา อคติที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือ อคติทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และสีผิว อคติทางเพศ อคติทางศาสนา/ความเชื่อ อคติทางการเมือง อคติทางวัย วยาคติ หรือการเหยียดอายุ อคติต่อผู้ป่วยไข้ อคติผ่านสื่อ เป็นต้น
            คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านอคติทางวัฒนธรรม subject guide ชุดนี้ รวบรวมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความในประเด็นข้างต้นที่มีให้บริการในห้องสมุดศูนย์ สรุปความ สรุปเนื้อหาเพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษา นักวิจัยได้ทราบว่าทรัพยากรแต่ละรายการมีเนื้องหาเกี่ยวกับอะไร ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกใช้ประโยชน์ต่อไป
 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

James Laurence

Imprint

-

Collection

Journal : Ethnic and racial studies. vol. 37, no. 8 (Jul. 2014), p.1328-1349 -- 0141-9870

Annotation

อังกฤษ (ช่วง ปี ค.ศ.1997-2007) มีการเปลี่ยนแปลงประชากรทางชาติพันธุ์นำไปสู่การเปลี่ยนวาทกรรมความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นกลายเป็นภัยคุกคามสังคมสมานฉันท์ (social cohesion) เป็นไปในลักษณะข้อโต้แย้งเรื่อง การอพยพและผู้ลี้ภัย หรือ พหุวัฒนธรรม การกลืนกลายทางวัฒนธรรม ในทำนอง “ไม่ใช่การให้คุณค่ากับความหลากหลาย แต่เป็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง” ภายใต้กรอบทฤษฎีคู่ตรงข้ามระหว่างภัยคุกคาม (threat) และการติดต่อ (contact) บทความแสดงให้เห็นว่า ความหลากหลายของชุมชนที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบเชิงลบต่อทัศนคติระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ เฉพาะในกลุ่มบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์างชาติพันธุ์ การติดต่อกลั่นกรองผลเสียของความหลากหลายในชุมชน ความสัมพันธ์นี้จะถูกกลั่นกรองเพิ่มเติมตามระดับความเสียเปรียบในชุมชน

อ่านต่อ...
image

Author

Hong Liu

Imprint

-

Collection

Journal : Ethnic and racial studies. vol. 37, no. 7 (Jun. 2014), p.1225-1238 -- 0141-9870

Annotation

ข้อโต้แย้งระหว่างบทบาทของสายสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ร่วม (co-ethnic ties) ในการสร้างอัตลักษณ์ของคนพลัดถิ่น (diaspora) ผ่านความคิดของคนจีนสิงคโปร์ที่อพยพใหม่จากแผ่นดินใหญ่และยุทธวิธีของรัฐในการบูรณาการผู้คน เกิดวาทกรรมชาวจีนอพยพใหม่ ความเป็นชาติพันธุ์ร่วมกันและมรดกทางวัฒนธรรมมีส่วนในมุมมองของชาวสิงคโปร์พื้นถิ่นต่อคนพลัดถิ่นใหม่ กรณีนี้แสดงถึงบทบาททางการเมืองและอำนาจการสร้างความสัมพันธ์ข้ามรัฐชาติ ประชาสังคม และการก่อร่างของปัจเจกชนและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่จัดการภายใต้ การกลมกลืนความเป็นจีนสู่ความเป็นชาติพันธุ์สิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นทั้งกรณีเฉพาะระดับสากลที่นำไปสู่วิธีการสำรวจเชิงเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐชาติ ชาติพันธุ์ และข้ามรัฐชาติ รวมถึงทำความเข้าใจเชิงเปรียบเทียบระหว่างชาติ ข้ามรัฐชาติ และสายสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ร่วมและการก่อร่างอัตลักษณ์ใหม่
 

อ่านต่อ...
image

Author

Raymond Taras

Imprint

London ; New York : Routledge, 2013

Collection

Books (7th floor)-JV6038 .M85 2013

Annotation

คำถามว่าผู้เชี่ยวชาญด้านชาตินิยมเข้าใจบทบาทของความผูกพันทางศาสนาและภาษาแม่ในการสร้างชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และสัญชาติได้อย่างไร? พวกเขาประเมินอิทธิพลของศาสนาและภาษาที่มีต่อการพัฒนาชาติพันธุ์และอาการเกลียดกลัวชาวต่างชาติอย่างไร? ปัจจัยเหล่านี้จะถือว่าเป็นแนวกำหนดมาตั้งแต่ดั้งเดิม (primordialist) และคงที่มากขึ้น หรือถูกทำให้เป็นเครื่องมือ (instrumentalist)/ถูกสร้างขึ้น (constructivist) และมีความยืดหยุ่นตามธรรมชาติหรือไม่? อัตลักษณ์ทางศาสนาและทางภาษามีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมแบบเสรีนิยมหรือผิดกฎหมายหรือไม่? ศาสนาเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความคิดที่ไม่เสรี ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ลักษณะเฉพาะทางภาษาอาจนำไปสู่การสร้างชุมชนชาติพันธุ์ที่บริสุทธิ์ได้อย่างไร? บทความแสดงผลกระทบของความแตกต่างทางศาสนาจากการปรากฏตัวของศาสนาอิสลามในยุโรปและนโยบายด้านภาษาที่มีการอ้างอิงเป็นพิเศษกับยุคหลังโซเวียต (post - Soviet) การเกิดขึ้นของกลุ่มประชากรฝ่ายขวาระลอกใหม่ที่เน้นอคติทางชาติพันธุ์และความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ
 

อ่านต่อ...
image

Author

Ann Doucette-Gates, Jeanne Brooks-Gunn, and P. Lindsay Chase-Lansdale

Imprint

Mahwah, N.J. : L. Erlbaum, 1998

Collection

Books (7th floor)-HM585.K665 2013

Annotation

การศึกษาความเข้าใจวัยรุ่นจากสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา มานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ รวบรวมข้อมูลหลายวิธีรวมถึงการสังเกตในบริบทต่าง ๆ การสัมภาษณ์และกลุ่มสนทนากับเยาวชนเอง ตลอดจนพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ครู โค้ช และเพื่อน ๆ งานทดลองในห้องปฏิบัติการ และรูปแบบการสำรวจรายงานตนเอง ความตื่นเต้นและพลังงานที่อยู่รอบ ๆ สมมติฐานหักล้างซึ่งอธิบายลักษณะของเนื้อหาคือความเชื่อที่ว่า อคติในการวิจัยไม่สามารถลดทอนความแตกต่างทางลักษณะที่ปรากฏ (phenotypic difference) และอคติทางสิ่งแวดล้อม สังคม หรือวัฒนธรรม ความซับซ้อนของอคติทางเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์ การวิจัยต้องการวิธีใหม่และละเอียดอ่อนมากขึ้นในการกำหนดปัญหาการวิจัยคำจำกัดความที่ชัดเจนของตัวแปรและโครงสร้างการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมยิ่งขึ้นและการใช้การออกแบบภายในกลุ่มที่เพิ่มขึ้นความเท่าเทียมกันของฟังก์ชันแนวคิดและการวัดผลและขยายวงกว้าง อีกทั้งวิธีการที่เชื่อมโยงการปฏิบัติเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

อ่านต่อ...
image

Author

Miles Hewstone, Nicole Tausch. And Joanne Hughes, Ed Cairns

Imprint

Thousand Oaks, Calif. : Sage, 2007

Collection

Books (7th floor)-HM585.K665 2013

Annotation

นัยยะของการมีชีวิตอยู่อาศัยท่ามกลางสังคมสิ่งแวดล้อมอันหลากหลายทั้งมากและน้อยมีความเสี่ยงที่จะถูกแปะป้ายว่า “Panglossian (มีลักษณะหรือให้กับการมองโลกในแง่ดีอย่างสุดขั้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับความยากลำบากหรือความทุกข์ยากที่ไม่ได้รับการบรรเทา) ข้อมูลจากไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) สนับสนุนการตีความเชิงบวกและแสดงถึงประโยชน์ของการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันแบบซึ่งหน้าอย่างแท้จริง (real face-to-face contact) กับคนนอกกลุ่ม (outgroup) และปรับใช้การรวมอัตลักษณ์ และความเป็นไปได้ในการสร้างทุนทางสังคมกับเพื่อนบ้านที่แตกต่างกัน (heterogenous neighbourhoods) มากขึ้น หลายคำถามรอการวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับการสำรวจแนวคิดทฤษฎี เช่น ทุนทางสังคม (social capital) อัตลักษณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น (emergence social identity) และสังคมสมานฉันท์ (social cohesion) ไม่ว่าจะเป็นการผสมหรือแยกความเป็นเพื่อนบ้าน (mixed and segregated neighbourhoods) ก็ตาม

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ