Title Author Imprint Collection Url Annotation
I’m neither racist nor xenophobic, but: dissecting European attitudes towards a ban on Muslims’ immigration. Abdeslam Marfouk - Journal : Ethnic and racial studies. vol. 42, no. 9-10 (Jul.-Aug. 2019), p. 1747-1765 -- 0141-9870 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00072058 การเหยียดเชื้อชาติและความเกลียดกลัวชาวต่างชาติทั่วยุโรปแสดงปรปักษ์ของชาวยุโรปต่อการอพยพของชาวมุสลิม ข้อมูลระดับปัจเจกจากการสำรวจ European Social Survey (ESS) immigration module ระหว่าง ปี ค.ศ.2014 ถึง 2015 ในยุโรปจำนวน 24 ประเทศ รวมถึงอิสราเอล แสดงว่า การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายโดนัลด์ ทรัมป์เรียกร้องการห้ามชาวมุสลิมเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเด็ดขาด แม้ว่าผู้สังเกตการณ์ชาวยุโรปจำนวนมากรู้สึกตกใจกับข้อเสนอนี้ การใช้ European Social Survey พบว่า มีสัดส่วนของชาวยุโรปสนับสนุนการห้ามที่เหมือนกันในประเทศของตนเอง การเหยียดเชื้อชาติ (racism) และความกลัวการอพยพ (immigration phobia) มีบทบาทสำคัญในการก่อรูปการสนับสนุนของชาวยุโรปต่อการห้ามการอพยพของชาวมุสลิมเป็นหนทางเดียวที่จะหยุด“อิสลามานุวัฒน์ ในประเทศของเขา” ได้ หลักฐานที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่า วาทกรรมนี้มีการสะท้อนกลับอย่างมากในความคิดเห็นของชาวยุโรป
Is racism the new sectarianism? Negativity towards immigrants and ethnic minorities in Northern Ireland from 2004 to 2015 Stefanie Doebler, Ruth McAreavey and Sally Shortall - Journal : Ethnic and racial studies. vol. 41, no. 14-15 (Nov.-Dec. 2018), p.2426-2444 ISSN0141-9870 http://lib.sac.or.th/catalog/Results.aspx?Ntk=KEYWORD&Ntt=prejudice+Racism การปฏิเสธ (negativity) ต่อกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยเป็นปัญหาร้ายแรงในไอร์แลนด์เหนือ การปฏิเสธชาวมุสลิม ชาวยุโรปตะวันออก และคนอพยพในไอร์แลนด์เหนือ ข้อมูลจาก Northern Ireland Life and Times Survey และ the British Social Attitudes Survey แสดงว่า การปฏิเสธต่อต้านผู้อพยพในไอร์แลนด์เหนือไม่ได้แพร่หลายมากกว่าพื้นที่อื่นในสหราชอาณาจักร การปฏิเสธต่อชาวมุสลิมและยุโรปตะวันออกมีสูงกว่าในอังกฤษ และเพิ่มจำนวนมากขึ้น การวิเคราะห์พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการปฏิเสธการต่อต้านผู้อพยพ (anti-immigrant negativity) ลัทธินิกายแบ่งแยก (sectarianism) และรับรู้ถึงการแบ่งแยกพื้นที่ใกล้เคียง (neighbourhood segregation) การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher education) การติดต่อกับสมาชิกชนกลุ่มน้อย (contacts with minority members) และการเรียนแบบผสมผสานกับศาสนา (religiously mixed schooling) ต่างมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการปฏิเสธต่อผู้อพยพทั้งสิ้น
Do attitudes expressed in surveys predict ethnic discrimination? Magnus Carlsson and Stefan Eriksson - Journal : Ethnic and racial studies. vol. 40, no. 10 (Aug. 2017), p. 1739-1757 -- 0141-9870 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00067808 บทความนี้เป็นการสำรวจข้อมูลทัศนคติของสวีเดนต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่บางครั้งถูกเลือกปฏิบัติ (ethnic discrimination) ข้อมูลแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทัศนคติและการเลือกปฏิบัติ จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในตลาดที่อยู่อาศัยของชาวสวีเดน (Swedish housing market) ช่วงปี ค.ศ.2010 - 2011 ด้วยการส่งอีเมล์ถามถึงประเด็นในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องถึงเจ้าของบ้านจำนวน 5,825 หลัง และทวนผลซ้ำในกลุ่มตัวอย่าง 58,832 คนทั่วเมือง 290 แห่ง พบหลักฐานชัดเจนถึงความเชื่อมโยงระหว่างทัศนคติกับกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยและขอบเขตของการเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์ในภูมิภาคซึ่งพบว่า ยิ่งมีทัศนคติเชิงลบ ก็ยิ่งมีการเลือกปฏิบัติมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามกับการศึกษาส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ทัศนคติที่รายงานอาจเป็นตัวทำนายที่มีประโยชน์ในการเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์ได้อย่างดี
A New Tide of Racism, Xenophobia, and Islamophobia in Europe: Polish Anthropologists Swim Against the Current. Michal Buchowski - Journal : American anthropologist. vol. 119, no. 3 (Sep. 2017), p. 519-523 ISSN 0002- 7294 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068209 ต้นปี ค.ศ. 2017 เกิดโศกนาฎกรรมทำลายร้านค้าชาวเคิร์ดและอินเดียซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก ISIS และอิสลาม ในเมือง Elk และเมือง Lubin รวมถึงกรุงวอร์ซอร์ของโปแลนด์ จนลุกลามไปทั่วประเทศ ได้สะท้อนปัญหาในยุโรป เป็นรูปแบบของความรุนแรงที่มาจากความเชื่อทัศนคติที่มีต่อผู้คนที่มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างว่าเป็นพวกอิสลามหรือมุสลิม กลายเป็นการปะทะใช้ความรุนแรงและกีดกัน ทัศนคติ “คนต่างทางวัฒนธรรม” โดยเฉพาะผู้อพยพจากตะวันออกกลาง ซีเรีย และแอฟริกันเหนือ เกิดคดีอาชญากรรมต่อชาวต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะต่อชาวมุสลิมอพยพ ความกลัวนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 จาก anti-Semitism ที่ไม่ใช่ชาวยิวกลายเป็น “ปีศาจของความเกลียดกลัวอิสลาม” (phantom Islamophobia) ต่อต้านชาวมุสลิม ผ่านสื่อและเครือข่ายสังคมออนไลน์ งานของนักมานุษยวิทยาและสมาคมวิชาชีพพยายามแสดงบทบาทต่อสาธารณะออกแถลงการณ์ต่อต้านการเลือกปฏิบัติของนักมานุษยวิทยาและนักชาติพันธุ์วิทยา (Anti-Discrimination Manifesto pf Anthropologists and Ethnologists) เพื่อหยุดการเกลียดกลัวชาวต่างชาติและการเหยียดสีผิว
 
The Chin State-Mizoram Border: Institutionalized Xenophobia for State Control in Myanmar's mountain and maritime borderscapes : local practices, boundary-making and figured worlds N. William Singh, Bianca Son Suantak Singapore : ISEAS-Yusof Ishak Institute, 2016 Books (7th floor)-DS528.5 .M936 2016 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093577 ในรัฐมิโซรัมของอินเดีย รายการโทรทัศน์ Lamtluang (Mizo Lyric Blog 2014) รายงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมวิถีชีวิตสถาบันศาสนา ระบบขนส่ง และแง่มุมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันในต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 2013 นักข่าวเดินทางไปยังรัฐชินของเมียนมาร์ สัมภาษณ์ผู้เฒ่าชินเรื่องความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ที่ใกล้ชิดระหว่างชาวชิน (Chin) และมิโซ (Mizo) ผู้เฒ่ายืนยันว่าแม้ว่ารัฐชินเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอื่น แต่พวกเขาก็ไม่ได้แตกต่างจากมิโซ ชินและมิโซมีวัฒนธรรมและภาษาร่วมกัน พรมแดนจะถูกแยกออกมาในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคม ผู้คนมักจะคิดว่าตัวเอง “แบ่งแยกอย่างผิด ๆ; พวกเขาเป็นพี่น้องกัน” นี่ไม่ใช่แนวคิดใหม่ ข้อโต้แย้งมากมายเกี่ยวกับชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และการแบ่งระหว่างชินและมิโซถูกกำหนดอย่างไม่ถูกต้อง ชินและมิโซส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่รายการโทรทัศน์เน้นย้ำว่าชินมาจากประเทศที่ต่างออกไป ชาวชินไม่ยอมรับและเห็นว่า พี่น้องมิโซที่ปฏิบัติต่อชาวชินส่วนใหญ่จะเลวร้ายเพียงใดเมื่อพวกเขาข้ามพรมแดนจากเมียนมาร์เพื่อหนีความยากจนเพื่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในรัฐมิโซรัม
Color-conscious Anti-racism: Bias and Opportunity in the Violent Victimization of Central American Migrants in Long Island, NY Anthony Marcus, Kirk Dombrowski, and Dane Hautala - Journal : Human organization vol. 75, no. 2 (Summer 2016), p. 168-180 ISSN 0018-7259 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00046737 ใน ปี ค.ศ. 2008 ผู้อพยพชาวเอกวาดอร์ถูกฆาตกรรมในนิวยอร์กโดยกลุ่มวัยรุ่นเชื้อสายสเปน (Hispanic) คนดำ(Black) และคนขาว รวมจำนวน 7 คน ที่เรียกว่า “Mexican hopping” เชื่อว่าการฆาตกรรมสะท้อนความคิดเหยียดเชื้อชาติต่อผู้อพยพชาวลาตินอเมริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่ไม่มีทะเบียน การสำรวจผ่านกลุ่มตัวอย่างผู้อพยพชาวอเมริกากลาง 146 คน ซึ่งกลายเป็นเหยื่อในระยะเวลา 12 เดือนก่อนเหตุการณ์นั้นในบริเวณรอบเมือง Nassau County พบว่าค่มาตรฐานเชิงสหสัมพันธ์ในการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติต่อกรณีการฆาตกรรมไม่เกี่ยวข้องกับผู้อพยพที่เป็นเหยื่อความรุนแรง หากอยู่บนพื้นฐานของสถานะทางกฎหมายและฐานะ ประมาณ 20% ของอเมริกาเป็นเรื่องของเชื้อชาติหรืออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะ “ไม่เป็น” หรือ “ต่ำกว่า” “มากกว่า” หรือ “นอกไปจากนี้” หลังคดีฆาตกรรมชาวอเมริกันทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนไหวต่อบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งไม่รู้จักคุ้นเคย
Psychological and sociological perspectives on the acquisition of ethnic and racial prejudice in children in Race and the lifecourse : readings from the intersection of race, ethnicity, and age Christopher Donoghue New York, NY : Palgrave Macmillan, 2014 Books (7th floor)-HT1521.R33 2014 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00087510 สาขาจิตวิทยาและสังคมวิทยามี approach ที่แตกต่างกันมากในการอธิบายอคติทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติในเด็ก ทั้งสองสาขาพัฒนากระบวนทัศน์ทางทฤษฎีและการวิจัยเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการระลึกรู้และการขัดเกลาทางสังคม ซึ่งสนับสนุนความรู้สึกของอัตลักษณ์ภายในกลุ่มและการปฏิเสธคนนอกกลุ่ม ทั้งสองสาขามีคุณูปการต่อองค์ความรู้เรื่องอคติและชีวิตภายใต้องค์ความรู้พื้นฐานร่วมกัน บทความนี้ความสนใจระเบียบวิธีวิจัย และนำเสนอโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้เชิงประจักษ์และเชิงทฤษฎีการวิจัยเกี่ยวกับชีวิต โดยขยายการพัฒนาทฤษฎีระลึกรู้และการขัดเกลาทางสังคมเพื่อนำไปสู่การผลิตความจริงทางสังคมทางเชื้อชาติ และตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ของกลุ่มทางวัฒนธรรม นักสังคมวิทยาและนักจิตวิทยาสามารถใช้การปฏิบัติและทำงานร่วมกันได้ในเชิงวิธีวิทยา ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างมุมมองสหสาขาวิชาแนวใหม่ได้    
Prejudice and me : a sociological memoir in Race and the lifecourse : readings from the intersection of race, ethnicity, and age Fred L. Pincus New York, NY : Palgrave Macmillan, 2014 Books (7th floor)-HT1521.R33 2014 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00087510 เรื่องเล่าความทรงจำในวัยเยาว์ของตัวผู้เขียนเองในชุมชน Boyle Heights ทางตะวันออกของลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกาในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1940 เริ่มต้นกล่าวถึงบุพการีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และเกลียดพวกเม็กซิกัน ประสบการณ์ในเรื่อง “อคติ” และ “การกีดกัน ของครอบครัวและตนเอง ตั้งแต่เรียนในระดับมัธยมศึกษา ความสัมพันธ์กับเพื่อน แสดงถึงความเกลียดชังและการกีดกันของตัวเองสะท้อนถึงความเข้าใจต่อความซับซ้อนการนิยามทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นทั้งกระบวนการทางสังคมและปัจเจกบุคคล ผู้เขียนเป็นชาวยิวซึ่งถูกกีดกันมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้การต่อต้านชาวยิวเริ่มในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ทั้งสองอัตลักษณ์ถูกทำให้เป็นชายขอบและตราบาป ในฐานะเด็กคนหนึ่งที่มีอัตลักษณ์ทางการเมืองพื้นฐานด้วยการเป็นชาวยิวและคนผิวขาว การรับรู้ในอัตลักษณ์ส่วนบุคคลจากประสบการณ์ส่วนตัว ในฐานะนักสังคมวิทยา ผู้เขียนคิดว่าเราไม่ได้เข้าสู่สังคมยุคหลังเชื้อชาติ (post-racial society) ตามที่กล่าวอ้าง กระบวนการดังกล่าวนำมาสู่จุดจบความขัดแย้งทางเชื้อชาติ
Prejudice and me : a sociological memoir in Race and the lifecourse : readings from the intersection of race, ethnicity, and age Jack Levin Los Angeles : SAGE, 2014 Books (7th floor)-HM585.K665 2013 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00082810 Levinlei ร่วมกับ Gordana Rabrenovic และ Steve Wessler’s Center for the Prevention of Hate Violence นำนักศึกษาของวิทยาลัยมาร่วมการประชุมนักศึกษาระดับชาติที่ได้รับรางวัลในการต่อสู้กับความเกลียดชังและอคติ นักศึกษาจำนวน 300 คนจากวิทยาลัย 70 แห่ง และมหาวิทยาลัยมากกว่า 22 รัฐ ร่วมกับ District of Columbia และ Province of Quebec ร่วมการประชุมในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ.1999 และเมษายน 2005 สนับสนุนโดย Department of Education และ  U.S Department of Justice  สถาบันการศึกษาเป็นป้อมปราการแห่งการรู้แจ้งและเคารพในความหลากหลายด้วยเหตุผลที่ดีงาม อันที่จริงแล้วนักศึกษาในวิทยาเขตส่วนใหญ่จะได้รับความคิดหลากหลายวิทยากรคณาจารย์และเพื่อนนักศึกษา ได้รับการสนับสนุนให้แสดงมุมมองที่ไม่เห็นด้วยและโต้ตอบกับเพื่อนนักศึกษาและคณาจารย์ที่หลากหลาย พวกเขาอาจทำงานหรือศึกษาในประเทศอื่น ๆ หรือทำบริการชุมชนท่ามกลางประชากรที่หลากหลาย
 
Yellow peril! : an archive of anti-Asian fear John Kuo Wei Tchen and Dylan Yeats, editor London ; New York : Verso, 2014 Books (7th floor) - E184.A75Y45 2014 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00083695 วลี “ภัยเหลือง” (Yellow peril) บางครั้งก็เป็น ความหวาดกลัวคนเหลืองหรือ ปีศาจสีเหลือง” เป็นหนึ่งในแนวคิดเหยียดเชื้อชาติที่เก่าแก่ที่สุดและแพร่หลายมากที่สุดในวัฒนธรรมตะวันตก ย้อนกลับไปตั้งแต่ลัทธิล่าอาณานิคมของยุโรป  หนังสือ ภัยเหลือง! เป็นเสมือนจดหมายเหตุภาพและผลงานเขียนต่อต้านเอเชียที่ครอบคลุมเป็นเล่มแรกและได้สำรวจขอบเขตของความหวาดระแวงนี้ในเชิงวิชาการท่ามกลางโลกอันแตกต่างในวัฒนธรรมสมัยนิยม (Popular Culture)  ประกอบภาพวาด ภาพถ่าย และภาพที่วาดจากนวนิยาย โปสเตอร์ การ์ตูน ผลงานการแสดงภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ และวรรณกรรม หนังสือประหนึ่งคลังบันทึกจดหมายเหตุ (archive) ที่น่าสนใจต่อการวิเคราะห์สังคมสมัยใหม่ในรูปแบบประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่พวกเขากำหนดว่าเป็นภัยเหลือง ซึ่งเป็น "แนวปฏิบัติที่มีรากฐานมาจากการตรัสรู้ของยุโรปและโลกทัศน์ของนักล่าอาณานิคมในยุโรป"
Reconciling the contact and threat hypotheses: does ethnic diversity strengthen or weaken community inter-ethnic relations?. James Laurence - Journal : Ethnic and racial studies. vol. 37, no. 8 (Jul. 2014), p.1328-1349 -- 0141-9870 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00063528 อังกฤษ (ช่วง ปี ค.ศ.1997-2007) มีการเปลี่ยนแปลงประชากรทางชาติพันธุ์นำไปสู่การเปลี่ยนวาทกรรมความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นกลายเป็นภัยคุกคามสังคมสมานฉันท์ (social cohesion) เป็นไปในลักษณะข้อโต้แย้งเรื่อง การอพยพและผู้ลี้ภัย หรือ พหุวัฒนธรรม การกลืนกลายทางวัฒนธรรม ในทำนอง “ไม่ใช่การให้คุณค่ากับความหลากหลาย แต่เป็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง” ภายใต้กรอบทฤษฎีคู่ตรงข้ามระหว่างภัยคุกคาม (threat) และการติดต่อ (contact) บทความแสดงให้เห็นว่า ความหลากหลายของชุมชนที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบเชิงลบต่อทัศนคติระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ เฉพาะในกลุ่มบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์างชาติพันธุ์ การติดต่อกลั่นกรองผลเสียของความหลากหลายในชุมชน ความสัมพันธ์นี้จะถูกกลั่นกรองเพิ่มเติมตามระดับความเสียเปรียบในชุมชน
Beyond co-ethnicity: the politics of differentiating and integrating new immigrants in Singapore. Hong Liu - Journal : Ethnic and racial studies. vol. 37, no. 7 (Jun. 2014), p.1225-1238 -- 0141-9870 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00063493 ข้อโต้แย้งระหว่างบทบาทของสายสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ร่วม (co-ethnic ties) ในการสร้างอัตลักษณ์ของคนพลัดถิ่น (diaspora) ผ่านความคิดของคนจีนสิงคโปร์ที่อพยพใหม่จากแผ่นดินใหญ่และยุทธวิธีของรัฐในการบูรณาการผู้คน เกิดวาทกรรมชาวจีนอพยพใหม่ ความเป็นชาติพันธุ์ร่วมกันและมรดกทางวัฒนธรรมมีส่วนในมุมมองของชาวสิงคโปร์พื้นถิ่นต่อคนพลัดถิ่นใหม่ กรณีนี้แสดงถึงบทบาททางการเมืองและอำนาจการสร้างความสัมพันธ์ข้ามรัฐชาติ ประชาสังคม และการก่อร่างของปัจเจกชนและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่จัดการภายใต้ การกลมกลืนความเป็นจีนสู่ความเป็นชาติพันธุ์สิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นทั้งกรณีเฉพาะระดับสากลที่นำไปสู่วิธีการสำรวจเชิงเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐชาติ ชาติพันธุ์ และข้ามรัฐชาติ รวมถึงทำความเข้าใจเชิงเปรียบเทียบระหว่างชาติ ข้ามรัฐชาติ และสายสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ร่วมและการก่อร่างอัตลักษณ์ใหม่
 
Do religion and language as identity markers promote ethnocentrism and xenophobia? A theoretical exploration in The multicultural dilemma : migration, ethnic politics, and state intermediation Raymond Taras London ; New York : Routledge, 2013 Books (7th floor)-JV6038 .M85 2013 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00096921 คำถามว่าผู้เชี่ยวชาญด้านชาตินิยมเข้าใจบทบาทของความผูกพันทางศาสนาและภาษาแม่ในการสร้างชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และสัญชาติได้อย่างไร? พวกเขาประเมินอิทธิพลของศาสนาและภาษาที่มีต่อการพัฒนาชาติพันธุ์และอาการเกลียดกลัวชาวต่างชาติอย่างไร? ปัจจัยเหล่านี้จะถือว่าเป็นแนวกำหนดมาตั้งแต่ดั้งเดิม (primordialist) และคงที่มากขึ้น หรือถูกทำให้เป็นเครื่องมือ (instrumentalist)/ถูกสร้างขึ้น (constructivist) และมีความยืดหยุ่นตามธรรมชาติหรือไม่? อัตลักษณ์ทางศาสนาและทางภาษามีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมแบบเสรีนิยมหรือผิดกฎหมายหรือไม่? ศาสนาเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความคิดที่ไม่เสรี ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ลักษณะเฉพาะทางภาษาอาจนำไปสู่การสร้างชุมชนชาติพันธุ์ที่บริสุทธิ์ได้อย่างไร? บทความแสดงผลกระทบของความแตกต่างทางศาสนาจากการปรากฏตัวของศาสนาอิสลามในยุโรปและนโยบายด้านภาษาที่มีการอ้างอิงเป็นพิเศษกับยุคหลังโซเวียต (post - Soviet) การเกิดขึ้นของกลุ่มประชากรฝ่ายขวาระลอกใหม่ที่เน้นอคติทางชาติพันธุ์และความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ
 
The Role of Bias and Equivalence in the Study of Race, Class, and Ethnicity in Studying minority adolescents : conceptual, methodological, and theoretical issues Ann Doucette-Gates, Jeanne Brooks-Gunn, and P. Lindsay Chase-Lansdale Mahwah, N.J. : L. Erlbaum, 1998 Books (7th floor)-HM585.K665 2013 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057666 การศึกษาความเข้าใจวัยรุ่นจากสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา มานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ รวบรวมข้อมูลหลายวิธีรวมถึงการสังเกตในบริบทต่าง ๆ การสัมภาษณ์และกลุ่มสนทนากับเยาวชนเอง ตลอดจนพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ครู โค้ช และเพื่อน ๆ งานทดลองในห้องปฏิบัติการ และรูปแบบการสำรวจรายงานตนเอง ความตื่นเต้นและพลังงานที่อยู่รอบ ๆ สมมติฐานหักล้างซึ่งอธิบายลักษณะของเนื้อหาคือความเชื่อที่ว่า อคติในการวิจัยไม่สามารถลดทอนความแตกต่างทางลักษณะที่ปรากฏ (phenotypic difference) และอคติทางสิ่งแวดล้อม สังคม หรือวัฒนธรรม ความซับซ้อนของอคติทางเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์ การวิจัยต้องการวิธีใหม่และละเอียดอ่อนมากขึ้นในการกำหนดปัญหาการวิจัยคำจำกัดความที่ชัดเจนของตัวแปรและโครงสร้างการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมยิ่งขึ้นและการใช้การออกแบบภายในกลุ่มที่เพิ่มขึ้นความเท่าเทียมกันของฟังก์ชันแนวคิดและการวัดผลและขยายวงกว้าง อีกทั้งวิธีการที่เชื่อมโยงการปฏิบัติเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
Prejudice, Intergroup Contact and Identity : Do Neighbourhoods Matter? in Identity, ethnic diversity and community cohesion Miles Hewstone, Nicole Tausch. And Joanne Hughes, Ed Cairns Thousand Oaks, Calif. : Sage, 2007 Books (7th floor)-HM585.K665 2013 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058756 นัยยะของการมีชีวิตอยู่อาศัยท่ามกลางสังคมสิ่งแวดล้อมอันหลากหลายทั้งมากและน้อยมีความเสี่ยงที่จะถูกแปะป้ายว่า “Panglossian (มีลักษณะหรือให้กับการมองโลกในแง่ดีอย่างสุดขั้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับความยากลำบากหรือความทุกข์ยากที่ไม่ได้รับการบรรเทา) ข้อมูลจากไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) สนับสนุนการตีความเชิงบวกและแสดงถึงประโยชน์ของการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันแบบซึ่งหน้าอย่างแท้จริง (real face-to-face contact) กับคนนอกกลุ่ม (outgroup) และปรับใช้การรวมอัตลักษณ์ และความเป็นไปได้ในการสร้างทุนทางสังคมกับเพื่อนบ้านที่แตกต่างกัน (heterogenous neighbourhoods) มากขึ้น หลายคำถามรอการวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับการสำรวจแนวคิดทฤษฎี เช่น ทุนทางสังคม (social capital) อัตลักษณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น (emergence social identity) และสังคมสมานฉันท์ (social cohesion) ไม่ว่าจะเป็นการผสมหรือแยกความเป็นเพื่อนบ้าน (mixed and segregated neighbourhoods) ก็ตาม
Spectacles of migrant ‘illegality’: the scene of exclusion, the obscene of inclusion. Nicholas De Genova - Journal : Ethnic and racial studies. vol. 36, no. 7 (Jul. 2013), p.1180-1198 -- 0141-9870 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00062932 มุมมองต่อผู้อพยพผิดกฎหมายเป็นการกีดกัน (exclusion) และแสดงความน่ารังเกียจของการผนวกรวม (inclusion) การรักษาชายแดนและการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองก่อให้เกิดการกีดกัน มุมมองดังกล่าวทำให้มองเห็นความผิดทางกฎหมายของผู้อพยพ ช่วยสร้างภาพและการก่อตัวที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อผู้อพยพผิดกฎหมายย้ายถิ่นซ้ำ ๆ ยิ่งมุมมองเหล่านี้กระตุ้นการถกเถียงในการต่อต้านผู้อพยพมากเท่าไหร่ การรวมกลุ่มผู้อพยพเพื่อหลีกเลี่ยงก็ยิ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วเท่านั้น ในที่สุดการรวมตัวของพวกเขาจะทุ่มเทกับบรรดาแรงงานใต้บังคับบัญชา ส่วนได้ส่วนเสียเป็นกระบวนการทางสังคมการเมือง (และกฎหมาย) ที่ใหญ่กว่าในการผนวกรวมภายใต้การกีดกัน เป็นความต่ำช้าของการผนวกรวม การตัดสินคดีผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นเหตุผลเพื่อความไม่เท่าเทียมของพลเมือง ความแตกต่างในการจัดจำแนกอาจจะเป็นการแบ่งเชื้อชาติ ผู้เขียนใช้แนวคิด the obscenity of power ของ Henri Lefebvre (1974/1991) พิจารณาความแตกต่างระหว่าง scene และ obscene มาใช้
Islamophobia never stands still’: race, religion, and culture. Raymond Taras - Journal : Ethnic and racial studies. vol. 36, no. 3 (Mar. 2013), p.417-433 ISSN 0141-9870 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00062843 ความเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobia) เกี่ยวขvองสัมพันธzกับศาสนา ชาติพันธุz และอคติทางวัฒนธรรม ซึ่งแสดงความคับแคบทางความคิดในปจจุบัน คำนี้รวบศาสนาเขvากับชาติพันธุz และวัฒนธรรม กลายเปƒนคำพิพากษาทางศาสนา บ„อยครั้งวาทกรรมทางการเมืองไดvสรvางความแตกต่างและขยายวงไปยังลักษณะทางศาสนาและเชื้อชาติวัฒนธรรมของกลุ„มคนที่ไม„ใช„ยุโรป (non-European) ภายใตvกรอบสารัตถะนิยม (essentialist framing) ความเกลียดกลัวอิสลามกลายเปƒน
ความคลุมเครือทางชนชาติและการเหยียดผิวอย„างสุดโต„งดvวยอคติทางศาสนา เกี่ยวขvองทางดvานเชื้อชาติและศาสนา ไม„ต„างจากความคิดสมัครพรรคพวกและคู„ปฏิปกษz ขvอมูลที่ไดvสำรวจลักษณะพื้นฐานที่เลือกปฏิบัติต„อคนมุสลิม เชื้อชาติ กำเนิดทางชาติพันธุz ศาสนา และระบบความเชื่อถูกอvางถึงนvอยลงการเหยียดเชื้อชาติและลัทธิเหยียดผิวกลายเปƒนการตีตราต„อความเกลียดกลัวอิสลามมากขึ้น และนำไปสู„การจัดจำแนกใหvคนอิสลาม (Islamophobes) เปƒนเชื้อชาติทางการเมืองดvานลบ
Conditioned emotional responses in racial prejudice Anthony J. Conger, Judith A. Dygdom and David Rollock - Journal : Ethnic and racial studies. vol. 35, no. 2 (Feb. 2012), p.298-319 ISSN 0141-9870 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00062516 การศึกษานี้ทำความเข้าใจทางจิตวิทยาผ่านรูปแบบการทดลองเชิงประจักษ์ (empirical work) ว่าด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ต่ออคติทางเชื้อชาติ (เชื้อชาติที่ไม่พึงประสงค์) ทำให้เกิดอารมณ์และพฤติกรรมที่เหยียดผิว (adverse race-elicited emotion) การปรับสภาพหลายรูปแบบ (multimodal classical conditioning approach) ระบุว่า ปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อสิ่งเร้าที่เป็นกลางนั้นสร้างขึ้นจากประสบการณ์ทั้งแบบปฏิปักษ์และเป็นกลาง เกี่ยวกับสิ่งเร้าโดยตรง เมื่อเกิดอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์จะหลีกเลี่ยงมากขึ้น ผู้คนที่ไม่มีประสบการณ์แบบเป็นปฏิปักษ์และเป็นกลางกับคนอื่นซึ่งต่างเชื้อชาติมีระดับของความกลัว ความวิตกกังวล และความโกรธ ท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างความต่างทางเชื้อชาตมีความถี่ที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยง/เข้าใกล้สถานการณ์ดังกล่าว  การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงมาจากความกลัวและความวิตกกังวล การใช้แนวทางวิเคราะห์นี้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอารมณ์ที่เกิดจากอคติทางเชื้อชาติ
‘Class racism' in The ethnicity reader : nationalism, multiculturalism, and migration Etienne Balibar Cambridge ;Malden, MA : Polity, 2010 Books (7th floor)-GN495.6.E894 2010 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00076397 การเหยียดเชื้อชาติเป็นเรื่องสากลในฐานะความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์หลายมิติซึ่งปรับรูปแบบผ่านความทรงจำ ปัจจุบันการเหยียดเชื้อชาติเป็นความแตกต่างที่เกิดหลังลัทธิล่าอาณานิคมแทนที่วัฒนธรรมด้วยเผ่าพันธุ์ทางชีววิทยาและการจัดลำดับชั้น สัมพันธ์กับชาตินิยมและการต่อสู้ทางชนชั้น รัฐสมัยใหม่ มาจากความแตกต่างของพื้นเมืองและชาวต่างชาติ รัฐสมัยใหม่มีลักษณะเป็นสากลในทางทฤษฎี แต่เป็นการเหยียดเชื้อชาติในทางปฏิบัติ เมื่อใดก็ตามที่แต่ละคนจมดิ่งลงสู่ความไม่แยแสทางสังคมโดยการแบ่งชนชั้นกรรมาชีพ (social indifferentiation by proletarianization) จะเกิดวิกฤตการเหยียดเชื้อชาติ ในที่สุดถ้าการเหยียดเชื้อชาติมีลักษณะเป็นสากล นั่นเป็นเพราะสายพันธุ์ของมนุษย์มีความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ และระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ที่ต่ำกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างชาตินิยมและการเหยียดสีผิว (nationalism and racism) ต่างกำหนดซึ่งกันและกันระหว่างการเหยียดสีผิวทางชนชั้นและการเหยียดสีผิวทางชาติพันธุ์ (class racism and ethnic racism) การกำหนดทั้งสองนี้ไม่เป็นอิสระต่อกัน แต่ละเรื่องมีผลกระทบในตัวมันเอง
 
Racial discrimination : institutional patterns and politics Masoud Kamali London ; New York : Routledge, 2009 Books (7th floor) - HT1521.K36 2009 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073072 มีภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในเชิงสถาบันในยุโรปที่ต่อต้านการอยู่ร่วมกันทางสังคมและความมั่นคง เป็นผลมาจากความขัดแย้งและความไม่ลงรอยกันระหว่างการประกาศคุณค่าสากล (เช่น สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย) และการกระทำที่เป็นสถาบันกีดกันและเลือกปฏิบัติต่อชาวยุโรปที่มีภูมิหลังอพยพและต่อต้านชนกลุ่มน้อย หนังสือเล่มนี้วิเคราะห์รูปแบบสถาบันและการเมืองของการเหยียดผิวเชื้อชาติ ในยุโรปปัจจุบัน จากโครงการวิจัยที่ดำเนินการภายใต้ผู้เขียนจาก 8 ประเทศในยุโรปเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ แสวงหาคำตอบสำหรับคำถามสำคัญจากพัฒนาการ ล่าสุดในแวดวงการเมืองและสาธารณะในยุโรปเกี่ยวกับการอพยพและการเพิ่มขึ้นของคนต่างชาติ ความรู้สึก ตลอดจนฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์ต่อนักสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ทุกคนที่สนใจเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในยุโรป และปัญหาพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และความพยายามก้าวไปสู่ประชาคมยุโรปแบบบูรณาการ
Identity matters : ethnic and sectarian conflict James L. Peacock, Patricia M. Thornton, and Patrick B. Inman New York : Berghahn Books, 2007 Books (7th floor)-HM753.I35 2007 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00049229 โครงการ New Century Scholars ของมูลนิธิฟูลไบรท์ (Fulbright Foundation) รวบรวมนักสังคมศาสตร์จากทั่วโลกเพื่อศึกษาความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และการแบ่งแยกดินแดนทั้งภายในและข้ามพรมแดนรัฐชาติ หนังสือเล่มนี้ตรวจสอบรากเหง้าของความรุนแรงโดยรวม และมาตรการที่ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวในเมียนมาร์ จีน เยอรมนี ปากีสถาน เซเนกัล สิงคโปร์ ไทย ทิเบต ยูเครน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรปตะวันตก เป็นบทความเชิงทฤษฎีแนะนำหลักการพื้นฐานที่จำเป็นจากการวิจัยทางรัฐศาสตร์ จิตวิทยา มานุษยวิทยา วารสารศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ด้วยมุมมองเชิงทฤษฎีของ Gordon Allport, Charles Taylor และ Max Weber เพื่ออธิบายและวิเคราะห์รูปแบบของพฤติกรรมที่กลุ่มทางสังคมทั่วโลกเพื่อรักษาอัตลักษณ์ของตน ให้ผู้อ่านทั่วไปทราบและสื่อสารข้ามสาขาวิชา แสดงให้เห็นถึงวิธีการทำความเข้าใจ การคาดการณ์ และการรับมือกับความรุนแรงทางชาติพันธุ์และการแบ่งแยกดินแดน
 
Anti-semitism and Islamophobia : hatreds old and new in Europe Matti Bunzl Chicago : Prickly Paradigm Press, 2007 Books (7th floor) - DS146.E8B86 2007 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00064521 การฟื้นคืนความเป็นปรปักษ์ต่อชาวยิวเป็นประเด็นถกเถียงในยุโรป ชาวมุสลิมเผชิญกับความทุกข์ยากเพิ่มขึ้น Matti Bunzl เสนอคำอธิบายทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปัญหาการต่อต้านชาวยิวและความกลัวอิสลามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การถกเถียงโต้แย้งกับแรงกระตุ้นทั่วไปเปรียบเทียบการต่อต้านชาวยิวและศาสนาอิสลาม จึงเสนอขอบเขตที่ระบุตำแหน่งแห่งที่ของปรากฏการณ์ทั้งสองในการกีดกันที่แตกต่างกัน ข้อมูลของ Bunzl พบว่าการต่อต้านชาวยิวช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ใช้สำรวจตรวจสอบรัฐชาติที่มีชาติพันธุ์บริสุทธิ์ (the ethnically pure nation-state) ตรงกันข้ามความเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobia) ซึ่งในปัจจุบันมีเป้าหมายเพื่อปกป้องยุโรป ด้วยบทบาทของรัฐชาติที่ลดความสำคัญลง การต่อต้านชาวยิวแบบดั้งเดิมจึงดำเนินไปตามวิถีทางประวัติศาสตร์ ภัยคุกคามความกลัวอิสลามกลายเป็นเงื่อนไขของยุโรปใหม่ที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการกำจัดความเข้าใจผิดเรื่องการต่อต้านชาวยิวและศาสนาอิสลามทำให้เห็นแรงขับเคลื่อนเหล่านี้อีกครั้ง
Xenophobia and the new nationalisms in The SAGE handbook of nations and nationalism Mabel Berrezin London : SAGE, 2006 Books (7th floor)-JC311.S224 2006 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00077786 การเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นภายใต้ยุโรปตะวันตกตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1980 วาทกรรม “อาการเกลียดกลัวชาวต่างชาติ” (xenophobia) นำมาซึ่งความรุนแรง การต่อต้านชาวยิว ตลอดจนผู้อพยพจากแอฟริกันและตะวันออกกลาง เพิ่มกระแสเหยียดเชื้อชาติสีผิวมากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อาการเกลียดกลัวชาวต่างชาตินี้เป็นผลโดยตรงของลัทธิชาตินิยมในยุโรปร่วมสมัย บทความอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่าง xenophobia และการอพยพในยุโรปร่วมสมัย ทำให้เห็นแง่มุมของลัทธิชาตินิยมร่วมสมัยคือชาตินิยมแบบสุดโต่ง (ultra -nationalism) และการยืนยันของความเป็นชาติในรัฐชาติยุโรปที่เผชิญทั้งการอพยพและการรวมตัวของยุโรป xenophobia พัฒนาจากความคิด stranger ของ Georg Simmel และเหตุการณ์เดรย์ฟัส (Dreyfus Affair) จนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยุโรปตื่นตัวในแง่สิทธิและกระแสชาตินิยมมาก งานวรรณกรรมจำนวนไม่น้อยแสดงถึงอิทธิพลความคิดนี้ ความเป็นชาติ (nationhood) ถูกนำเสนอใหม่อีกครั้งภายใต้กระบวนการสร้างกลุ่มประเทศยุโรปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21
The globalization of racism Panayota Gounari London ; Boulder : Paradigm Publishers, 2006 Books (7th floor) - HT1521.G49 2006 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073826 หนังสือกล่าวถึงการล้างเผ่าพันธุ์ สงครามทางวัฒนธรรม ความทุกข์ทรมานของมนุษย์ การก่อการร้าย การอพยพ และการกลัวชาวต่างชาติ (xenophobia) ที่ทวีความรุนแรงขึ้น "โลกาภิวัน์ของการเหยียดสีผิว" อธิบายว่าเหตุใดที่จะเข้าใจลึกซึ้งว่า อุดมการณ์มีผลอย่างไรต่อวาทกรรมทางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง และการกระทำที่เหยียดผิวทั้งหมด หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพัฒนาการล่าสุดในฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี โปรตุเกส สเปน และสหรัฐอเมริกา ใช้ตัวอย่างจากสื่อมวลชน วัฒนธรรมสมัยนิยม และการเมือง เพื่อจัดการกับความท้าทายที่ประเทศเหล่านี้และประเทศอื่น ๆ ต้องเผชิญกับสถาบันประชาธิปไตย ผู้เขียนแสดงให้เห็นว่า สามารถให้ความรู้แก่พลเมืองที่มีวิจารณญาณได้อย่างไรในโลกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและหลากหลายเชื้อชาติที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 21
Handbook of racial & ethnic minority psychology Guillermo Bernal, Joseph E. Trimble, A. Kaherleen Burker and Frederick T.L. Leong Thousand Oaks, Calif. : Sage Publications, 2003 Books (7th floor)-GN502.H363 2003 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00049229 หนังสือคู่มือเล่มนี้ประกอบด้วยผลงานจากหน่วยงานชั้นนำในสาขาจิตวิทยาเชื้อชาติและชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ (racial and ethnic minority psychology) นำเสนอภาพรวมทางวิชาการเกี่ยวกับจิตวิทยาของปัญหาทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยในสหรัฐอเมริกา เช่น แอฟริกัน สเปน เอเชีย และอเมริกันอินเดียน มุ่งเน้นไปที่ประเด็นทางวิชาชีพ ระเบียบวิธีวิจัย สังคมและการพัฒนา คลินิกและการประยุกต์ รวมถึงการป้องกันที่กำหนดรูปแบบของงานภาคสนามในปัจจุบัน เน้นผลการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในสาขาจิตวิทยาชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ การให้คำปรึกษาและการแทรกแซงทางจิตอายุรเวช (psychotherapeutic interventions) ครอบคลุมหัวข้อด้านความรู้ความเข้าใจพัฒนาการอุตสาหกรรม/องค์กร บุคลิกภาพ ภาวะผิดปกติ และจิตวิทยาสังคม สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตในเมืองชั้นใน รวมถึงแนวทางเปรียบเทียบ แต่ไม่ครอบคลุมประเด็นข้ามวัฒนธรรม
 
Prejudice and its Intellectual Effect in American Anthropology: An Ethnographic Report in American anthropology, 1971-1995 : papers from the American anthropologist Francis L. K. Hsu Arlington, VA : American Anthropological Association ; Lincoln : University of Nebraska Press, c2002 Books (7th floor)-GN29.A423 2002 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00049769 อคติเชิงลึกในวงการมานุษยวิทยาอเมริกัน (American anthropology) รากฐานของอคตินี้มาจากลัทธิปัจเจกนิยมแบบตะวันตก (Western individualism) แม้จะมีการประท้วงข้ามวัฒนธรรม (crosscultural protestations) มานุษยวิทยาอเมริกันกลายเป็นมานุษยวิทยาอเมริกันผิวขาว (White American anthropology) วิธีการที่เปิดกว้างมากขึ้นต่อสมมติฐานการแข่งขันอื่น ๆ ซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมอื่น ๆ เกี่ยวกับมนุษย์ มีโลกแห่งความแตกต่างระหว่างศาสตร์แห่งการข้ามวัฒนธรรมของมนุษย์อย่างแท้จริงกับศาสตร์แห่งมนุษย์ผิวขาวเป็นศูนย์กลาง (White centered science of man) ด้วยการประดับประดาข้ามวัฒนธรรม การแสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของอคติ (การเหยียดผิว ชาติพันธุ์ และกลุ่มคนนอกรีต) และความผูกพันทางจิตใจทำให้ทิศทางความรู้แปรปรวนนำไปสู่วิชาชีพทางมานุษยวิทยา แยกการเหยียดเชื้อชาติออกจากกลุ่มชาติพันธุ์ และลัทธิพาโรเชียลนิยม (parochialism: สภาวะของจิตใจโดยหนึ่งจะมุ่งเน้นไปที่ส่วนเล็ก ๆ ของปัญหาแทนที่จะพิจารณาบริบทที่กว้างขึ้น)
Coming Full Circle: Learning from the Experience of Emigration and Ethnic Prejudice in Light from the ashes : social science careers of young Holocaust refugees and survivors Karl W. Butzer Ann Arbor : University of Michigan Press, 2001 Books (7th floor)-D804.48.L55 2001 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059501 บทความใช้การบรรยายส่วนบุคคลเพื่อแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติอันร้ายกาจของการปราบปรามเผด็จการ ประสบการณ์ของการย้ายถิ่นฐานและผลกระทบของความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และการเหมารวมที่มีต่อเด็กชนกลุ่มน้อย การรวมรัฐชาติตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 -19 เกิดขึ้นพร้อมกันกับการลดความหลากหลายของภูมิภาคทั้งทางตรงและทางอ้อมในแง่ของจารีตประเพณีภาษาและวัฒนธรรมหรือศาสนา เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือระบบโรงเรียนของภาครัฐที่บังคับใช้การศึกษาแบบผูกขาดและมุ่งไปสู่อัตลักษณ์ประจำชาติแบบเสาหิน (a monolithic national identity) ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ยอมรับได้ลดลงจนเหลือเพียงตำนาน ไม่ว่าจะเป็นการเต้นรำมื้อค่ำของกลุ่มชาติพันธุ์ที่โบสถ์หรือขบวนพาเหรด ในบางประเทศการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและสงบสุขในบางประเทศไม่ได้เป็นเช่นนั้น การทำให้เป็นเนื้อเดียวกันจากนโยบาย และการขจัดความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นหัวใจสำคัญในการทำความเข้าใจความซับซ้อนของชาติพันธุ์
 
Understanding prejudice, racism, and social conflict Martha Augoustinos and Katherine J. Reynolds London ;Thousand Oaks, Calif. : SAGE, 2001 Books (7th floor)-HT1521.U55 2001 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038730 เมื่อไม่นานมานี้มีกิจกรรมระหว่างประเทศที่ให้ความสนใจประเด็นอคติการเหยียดสีผิวและความขัดแย้งทางสังคม ได้เพิ่มความตึงเครียดกับกลุ่มประเทศตะวันออกในอดีต  ความขัดแย้งทางการเมืองในไอร์แลนด์เหนือ และสหรัฐอเมริกา ตลอดจนความขัดแย้งทางเชื้อชาติในบอลติก ตะวันออกกลาง แอฟริกา และออสตราเลเซีย (Australasia) เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับอคติการเหยียดเชื้อชาติและความขัดแย้งทางสังคมด้วยข้อมูลทันสมัยน่าเชื่อถือและท้าทาย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการถกเถียงในสาขาวิชาจิตวิทยา ครอบคลุมข้อมูลเชิงลึกเชิงทฤษฎีในประเด็นของอคติและการเหยียดเชื้อชาติในระดับปัจเจกบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม และระดับสถาบัน บูรณาการแนวทางต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจการเหยียดสีผิวและอคติ ความขัดแย้งทางสังคม และเสนอแนวทางใหม่ ๆ ต่อการศึกษาประเด็นอันซับซ้อน
Ethnocentrism and Xenophobia :A Cross-Cultural Study. Elizabeth Cashdan - Journal : Current anthropology. vol. 42, no. 5 (Dec. 2001), p.760-765 ISSN 0011-3204 http://lib.sac.or.th/Catalog/Results.aspx?Ntk=&Ntt=Xenophobia ผู้เขียนใช้ข้อมูลข้ามวัฒนธรรมเพื่อ (I) กำหนดปัจจัยที่เสริมสร้างและลดแนวโน้มเหล่านี้และ (II) ตรวจสอบว่ามีปัจจัยเดียวกันหรือไม่ ซึ่งมักถูกมองว่า อคติทางชาติพันธุ์ (ethnocentrism) และความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ (xenophobia) เป็นคนละด้านของเหรียญเดียวกัน แต่มีบางเสียงเตือนว่า  ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป ข้อมูลข้ามวัฒนธรรมแสดงว่า ความเป็นปฏิปักษ์กับคนนอกกลุ่ม (out-group hostility) มีความจำเป็นที่ต้องใช้ร่วมกับความภักดีภายในกลุ่มเดียวกัน (in-group loyalty) ภัยคุกคามต่อกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงช่วยเพิ่มความภักดีทางชาติพันธุ์โดยไม่เพิ่มความเป็นปรปักษ์ต่อกลุ่มภายนอก (สวัสดิการภายนอก) สัมพันธ์กับอคติทางชาติพันธุ์และความเกลียดกลัวชาวต่างชาติที่มีสาเหตุแตกต่างกัน งานศึกษาเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นปรปักษ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์นั้นไม่ได้เป็นส่วนสำคัญของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อันแข็งแกร่งที่ต้องแสวงหาแหล่งที่มาแหล่งอื่น
New tribalisms : the resurgence of race and ethnicity Michael W. Hughey New York : New York University Press, 1998 Books (7th floor) - GN495.6.H84 1998 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00065539 หนังสือนี้พิจารณาการฟื้นคืนความภักดีทางเชื้อชาติชาติพันธุ์และชาตินิยมในโลกร่วมสมัย จากแนวความคิดเชื้อชาติและชาติพันธุ์และการตรวจสอบเชิงประจักษ์เกี่ยวกับความสำคัญของการฟื้นฟูและผลกระทบต่อสังคมร่วมสมัยจากประสบการณ์ของชาวอเมริกันกับพหุนิยมทางชาติพันธุ์และการเคลื่อนไหวของนักชาติพันธุ์นิยมในส่วนอื่น ๆ ของโลก บรรณาธิการนำเสนอการปฏิบัติอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับต้นกำเนิดการแสดงออกและผลกระทบของชนเผ่าใหม่ (New tribalisms) ที่กำลังเผชิญหน้ากับโลกตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เริ่มต้นความคิดเรื่องพหุนิยมเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับจริยธรรมเกิดขึ้นในกลุ่มชาวยุโรป ภารกิจอันควรตระหนักปะทะกับนักวิชาการที่ต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และชาตินิยม ในการพยายามทำความเข้าใจศักยภาพของแรงขับเคลื่อนในโลกร่วมสมัย ซึ่งต้องเริ่มต้นจากความตระหนักว่าความสัมพันธ์ทางสายเลือดสามารถวิเคราะห์ได้ แต่ไม่อาจอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล
Steven Beller Seattle : University of Washington Press, c1997 Books (7th floor)-DS523.4.C45I57 1997 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00065382 การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust) การต่อต้านชาวยิว (anti-Semitism) เป็นสิ่งที่ครอบงำประวัติศาสตร์สมัยใหม่ซึ่งไม่ใช่ประวัติศาสตร์ของชาวยิวเอง แต่เป็นสิ่งที่สอนเกี่ยวกับชาวยิวในยุโรปสมัยใหม่ เนื่องจากการต่อต้านชาวยิวและผลที่ตามมาได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในศัตรูที่อันตรายที่สุดของรัฐเสรีนิยม สาเหตุและลักษณะของการต่อต้านชาวยิวอยู่ลึกมากเกินกว่าความเป็นจริงเกี่ยวกับชาวยิว ความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับมุมมองของการต่อต้านชาวยิวคือความแพร่หลายในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ผ่านอุปมาของโรคว่ามี "ระยะฟักตัว" หลังจากนั้นก็แพร่กระจาย "โรคระบาด" ที่ติดเชื้อทั้งประชากร โดยกระบวนการทางธรรมชาติที่ดูเหมือนจะไม่สามารถหยุดยั้งได้นี้  ความหายนะของการต่อต้านชาวยิวจึงก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทางเศรษฐกิจและสังคม เมื่อภูมิคุ้มกันของสังคมอยู่ในระดับต่ำมันก็ตกเป็นเหยื่อของโรคระบาดในรูปแบบที่รุนแรง ที่สุดนั่นคือการต่อต้านทางเชื้อชาติ ชาวยิวและเหตุการณ์ต่าง ๆ
 
Migrants, minorities, and health : historical and contemporary studies Lara Marks, and Michael Worboys London ;New York : Routledge, 1997 Books (7th floor)-RA553.M54 1997 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00034344 ความหลากหลายของการศึกษาที่ต้องการทำความเข้าใจปัญหาสุขภาพกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม และเวลาที่แตกต่างกันมีปฏิสัมพันธ์กับการพัฒนาความคิดเรื่องชาติพันธุ์และเชื้อชาติ การดูถูกเหยียดหยาม เปิดเผยความซับซ้อน ด้วยกรอบการวิเคราะห์ที่เป็นแนวทางต่อการศึกษาในอนาคต หนังสือวางลำดับบทความจากแบบแผนดั้งเดิม โรค เชื้อชาติ และสุขภาพ ความได้เปรียบเสียเปรียบทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และความหมายของสุขภาพ ภาพกว้างการปฏิบัติต่ออัตลักษณ์อันซับซ้อนในฐานะแนวคิดทางประวัติศาสตร์หรือการแพทย์ การต่อต้านแนวคิดสุขภาพแบบตะวันตกจากสาขาวิชาและประเทศต่าง ๆ บทความเกี่ยวกับชาวจีน คนพื้นเมือง ไอริช ยิว อิตาลี เบงกอล กรีก บังกลาเทศ แอฟริกันอเมริกัน แอฟริกัน และอินเดีย แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกี่ยวข้องกับโรคและข้อสันนิษฐานทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของกลุ่ม ความต้องการและนโยบายสุขภาพซึ่งประกาศใช้โดยกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่มีอำนาจทางการเมืองและวัฒนธรรม
Power and prejudice : the politics and diplomacy of racial discrimination Paul Gordon Lauren Boulder : WestviewPress, 1996 Books (7th floor)-HT1521.L33 1996 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028416 งานบุกเบิกความสัมพันธ์ระหว่างอคติทางเชื้อชาติและความขัดแย้งระดับโลก แสดงให้เห็นว่า ประเด็นทางเชื้อชาติ หรือ สิ่งที่ W.E.B. Du Bois เรียกว่า ปัญหาแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการสำคัญทางการเมืองระหว่างประเทศ การอภิปรายที่กระตุ้นความคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคนผิวสี การเป็นทาส ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ รวมถึงการกีดกัน การย้ายถิ่นฐาน และภัยเหลือง (Yellow Peril) ทางแก้ปัญหาความหายนะ การปลดปล่อยจากอาณานิคม ผลกระทบของสงครามเย็นต่อการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองและการต่อสู้กับอคติทางเชื้อชาติทั่วโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 Lauren เพิ่มมิติของเอเชีย ละตินอเมริกา และแปซิฟิก การกีดกัน ผู้อพยพและสงคราม รวมถึงเนื้อหาประเด็นระหว่างประเทศเกี่ยวกับชนพื้นเมืองทั่วโลก ตลอดจนการตัดสินใจด้วยตนเอง (self determination) อำนาจอธิปไตย (sovereignty) และการเลือกปฏิบัติ (discrimination) และเหตุการณ์เกี่ยวกับการสิ้นสุดการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้
Race and poverty in the psychology of prejudice in The color of hunger : race and hunger in national and international perspective David L.L. Shields Lanham, Md. : Rowman & Littlefield, c1995 Books (7th floor)-HD9000.6.C54 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00072860 เชื้อชาติและชนชั้นทางจิตวิทยาว่าด้วยอคติไม่ได้กล่าวถึงปัญหาทางสังคมในฐานะการเหยียดสีผิว ความอดอยาก  ไร้บ้าน และความยากจน หากลดระดับเป็นจิตวิทยาของปัจเจกบุคคล ความหิวโหย และการเหยียดสีผิว ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกตัดสินและเกิดปฏิกิริยามากพอที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย อคติทางเชื้อชาติที่มีร่วมกันอย่างกว้างขวางช่วยรักษาอุดมการณ์ที่มีอยู่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหิวโหยได้อย่างไร เนื้อหาบทความแบ่งเป็นสองส่วนสำคัญ ส่วนแรกคือจิตวิทยาว่าด้วยอคติโดยสังเขป ส่วนที่สอง เชื่อมโยงอคติทางเชื้อชาติกับปัญหาของความยากจนและความหิวโหยอย่างชัดเจน ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติ อคติเป็นสาเหตุหนึ่งของความหิวโหย เพราะว่ามันสร้างช่องทางปฏิบัติในการกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจจากสีผิวของผู้คน อคติผลักไสความจนให้อยู่ชายขอบ และกำจัดคนจน
Preliminary Notes on Ethnocentrism and Xenophobia in Human nature and the new Europe Paul Bohannan Boulder, [Colo.] : Westview Press, 1993 Books (7th floor) - HN373.5.H86 1993 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059501 บทความของ Paul Bohannan เกี่ยวกับอคติทางชาติพันธุ์และการเกลียดกลัวชาวต่างชาติ Bohannan อภิปรายถึงความเป็นมนุษย์ที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางการหล่อหลอมทางวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญตั้งแต่ยังเป็นทารก ประสบการณ์วัยรุ่น ล้วนแล้วแต่เป็นตัวแบบต่อความเป็นมนุษย์ ข้อมูลทางพันธุกรรมและและวัฒนธรรมเป็นส่วนสร้างความเป็นมนุษย์ เขาอธิบายประกอบตัวอย่างกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนชุดความคิดภายในและโครงสร้างของความรู้ ได้แก่ การแสดงออกทางใบหน้า (facial displays) การรับรู้และจังหวะของการเคลื่อนไหว (rhythm of movement and perception)  การรับรู้และการออกเสียงทางสัทศาสตร์  (phonemic perception and utterance) กลิ่นกาย (body odor) การตอบสนองทางอารมณ์และการผสมผสานผัสสะการรับรู้ (emotional response and the  integration of sensory perception)  และวัฒนธรรม (culture)
Chicano indianism : a historical account of racial repression in the United States. Martha Menchaca - Journal : American ethnologist vol. 20,no. 3 (AUG. 1993),p.583-603 -- 0094-0496 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00020650 การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เชื้อชาติของกลุ่มคนที่พูดภาษาสเปน (Chicano) กฎหมายและบันทึกการพิจารณาคดีความชนกลุ่มน้อยอเมริกันที่ถูกกีดกันทางเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกา เป็นประสบการณ์แรงกดดันทางเชื้อชาติของชาวเม็กซิกันที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเนื่องจากสนธิสัญญา Treaty of Guadalupe Hidalgo ใน Queretaro เพื่อยุติสงครามเม็กซิโก- อเมริกาในปี ค.ศ. 1848 ถึง 1947 กฎหมายกีดกันคนเม็กซิกันอินเดียน (Mexicanized- American Indians) มากกว่าคนเม็กซิกันผิวขาว ผู้ออกฎหมายชาวแองโกล-อเมริกัน (Anglo -American) ได้แยกสนธิสัญญาและปฏิเสธการขยายสิทธิทางการเมืองของคนเม็กซิกันทั้งหมด ยกเลิกสิทธิพิเศษกับคนเม็กซิกันจำนวนมาก เช่นเดียวกับลูกหลานอินเดียนแดงที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางการเมืองเช่นเดียวกับพลเมืองผิวขาว โดยเฉพาะในรัฐแคลิฟอร์เนียและแอริโซนา กลุ่มชนพื้นเมืองอินเดียนถูกสร้างภาพเป็นคนเม็กซิกันฐานะต่ำกว่า ถูกจำแนกและปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม
Of pride and prejudice : adapting ethnic identity among the Akha of northern Thailand Jennifer Siriwan Como Master of Arts/Bachelor of Arts (Anthropology), Middletown : Wesleyan University, 1991 Research and Thesis (7th floor)-DS570.A35C66 1991 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058792 งานชาติพันธุ์วรรณนาผ่านการเล่าเรื่องประสบการณ์การทำงานภาคสนามทางมานุษยวิทยาและข้อมูลพิธีกรรมในชุมชนหมู่บ้านอาข่าดอยเปลี่ยน (Doi Plian) ภาคเหนือของไทย นำเสนอความสัมพันธ์ของชาวอาข่าในบริบทการประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ การอพยพ กฎหมาย และแนวปฏิบัติของรัฐไทยต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่า ชาวเขาความสัมพันธ์ระหว่างศักดิ์ศรีและความภูมิใจของชาวอาข่าในคุณค่าทางวัฒนธรรมของตน ขณะที่ต่อสู้เพื่อจะได้รับความชอบธรรมทางการเมือง รวมถึงความเพ้อฝันและความเสียสละในการต่อสู้เพื่อสถานะทางกฎหมายของอาข่า การเปลี่ยนแปลงในระบบวัฒนธรรมในหลายรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเครือญาติหรือพิธีกรรม และองค์กรทางการเมืองภายในสังคมอาข่า บริบทของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงประเด็นของอุดมการณ์ “ความเป็นอาข่า” (Akhazang) และการเซ่นไหว้บูชา การเปลี่ยนแปลงในสังคมอาข่าผ่านกรอบการศึกษาวัฒนธรรมวัตถุ (material culture study) นำมาซึ่งความคิดและนิยามตัวเองต่างจากผู้อื่น ถูกมองในฐานะชนกลุ่มน้อย/คนชายขอบที่ถูกเลือกปฏิบัติ
Christian Faith and Ethnic Prejudice : A Review and Interpretation of Research Richard L. Gorsuch - Journal : Journal for the scientific study of religion. vol. 13, no. 3 (Sep. 1974), p.281-308 -- 0021-8294 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00032879 ความเป็นคริสเตียนมีผลต่ออคติทางชาติพันธุ์ เฉลี่ยแล้วสมาชิกของโบสถ์มีอคติมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ขณะที่กลุ่มที่ต้องการรวมกลุ่มก็มีอคติสูง พบว่าผู้มีอคติเป็นไปตามวิถีชาวอเมริกันที่รวมองค์ประกอบของคนผิวขาว (white Anglo-Saxon) ที่มีอำนาจสูงสุดและเป็นคริสเตียน ขณะที่กลุ่มที่ไม่นับถือศาสนาและเคร่งศาสนาเลือกปฏิบัติตามคุณค่าและประเพณี ทัศนคติทางศาสนาและความเชื่อมีผลต่อลักษณะทางชาติพันธุ์ ความเชื่อทางศาสนาเป็นยุทธวิธีในการเข้าแทรกแซงทัศนคติทางชาติพันธุ์ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสนับสนุนนักศึกษาระดับวิทยาลัยภายใต้โครงสร้างระบบคุณค่าที่มีผลเชิงพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญ ระดับและประเภทของศาสนามีส่วนสำคัญในการพิจารณาการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้คน
Ethnic Prejudice and Susceptibility to Persuasion. Russell Middleton - Journal : American sociological review. vol. 25,no. 5 (OCT. 1960),pp. 679-686 -- 0003-1224 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00023463 การทดลองในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่เรียนสังคมศาสตร์เบื้องต้นในมหาวิทยาลัยของรัฐทางภาคใต้ของอเมริกาให้ชมภาพยนตร์เรื่อง "Gentleman's Agreement" แล้วตอบคำถามเกี่ยวกับลักษณะทางสังคมทัศนคติต่อชาวยิวและชาวนิโกร รวมไปถึงทัศนคติด้านอื่น ๆ ช้เวลาทดลองหนึ่งสัปดาห์ในต้นเดือนตุลาคมปี ค.ศ.1959 พบว่า นักศึกษาผู้ได้ชมภาพยนตร์มีแนวโน้มที่จะแสดงให้เห็นถึงการลดการแสดงออกของความรู้สึกต่อต้านชาวยิว (anti-Semitic sentiments) มากกว่าคนที่ไม่ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ส่งผลต่อให้ลดการต่อต้านชาวนิโกรลง แม้จะยังคงมีอยู่ก็ตาม ผู้ชมที่รับรู้แก่นเรื่องอย่างถูกต้องและผู้ที่ชื่นชอบกับภาพยนตร์เรื่องนี้มีแนวโน้มที่จะลดการต่อต้านชาวยิวลงอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ในทางกลับกัน ปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวข้องอย่างผกผันกับการต่อต้านชาวยิว ภาพยนตร์กระตุ้นให้อดทนกับชนกลุ่มน้อยและคนต่างชาติ ลดการแสดงออกเชิงอคติทางชาติพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ
 
Education, prejudice and discrimination : A study in readiness for desegregation. Melvin Tumin, Paul Barton, and Bernie Burrus - Journal : American sociological review. vol. 23,no. 1 (FEB. 1958),p.41-49 ISSN0003-1224 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00023106 การศึกษามุมมองที่ตอบโต้และทัศนคติต่อการไม่แบ่งแยกเชื้อชาติพัฒนาขึ้นในระหว่างการศึกษาเล่าเรียนช่วยสร้างปัจเจกบุคคลที่มีวุฒิภาวะและมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1956 ที่เมือง Guilford County รัฐ North Carolina สหรัฐอเมริกา เพื่อนำไปสู่การอภิปราย ภาพลักษณ์ของนิโกร (Image of the Negro) อุดมการณ์ทางสังคม (Social Ideology) โครงสร้างความรู้สึกนึกคิด (Sentiment Structure) และชุดการกระทำทั่วไป (General Action Set)  และ (Specific Action Set) ผลการศึกษาพบว่า (a) ระดับการศึกษาที่ต่างกันจะเห็นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ต่อต้านกับภาพลักษณ์ของชาวนิโกร แต่ (b) ข้อมูลกระจายตัวเมื่อพิจารณาในแง่อุดมการณ์ยังคงมีค่าความสัมพันธ์ที่สูงในความแตกต่างซึ่งกันและกัน (c) แนวโน้มเหมือนกันค่อนข้างสูง แต่มีคะแนนที่แตกต่างกันจากการวัดความรู้สึก (d) จากนั้นจะมีการลดลงอย่างรวดเร็วสำหรับทุกกลุ่ม เมื่อมีการประมาณชุดการกระทำทั่วไป และ (e) สุดท้ายกลุ่มต่าง ๆ เริ่มรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น