banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / อคติทางวัฒนธรรม

อคติทางวัฒนธรรม

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564

ขอบเขตของเนื้อหา

            อคติ (Prejudice) คือทัศนคติที่เป็นผลมาจากความรู้ ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิดเห็นที่ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมต่อคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นำไปสู่การกระทำในเชิงการยอมรับ หรือไม่ยอมรับ การเลือกปฏิบัติ การตีตรา อคติที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือ อคติทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และสีผิว อคติทางเพศ อคติทางศาสนา/ความเชื่อ อคติทางการเมือง อคติทางวัย วยาคติ หรือการเหยียดอายุ อคติต่อผู้ป่วยไข้ อคติผ่านสื่อ เป็นต้น
            คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านอคติทางวัฒนธรรม subject guide ชุดนี้ รวบรวมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความในประเด็นข้างต้นที่มีให้บริการในห้องสมุดศูนย์ สรุปความ สรุปเนื้อหาเพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษา นักวิจัยได้ทราบว่าทรัพยากรแต่ละรายการมีเนื้องหาเกี่ยวกับอะไร ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกใช้ประโยชน์ต่อไป
 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Nicholas De Genova

Imprint

-

Collection

Journal : Ethnic and racial studies. vol. 36, no. 7 (Jul. 2013), p.1180-1198 -- 0141-9870

Annotation

มุมมองต่อผู้อพยพผิดกฎหมายเป็นการกีดกัน (exclusion) และแสดงความน่ารังเกียจของการผนวกรวม (inclusion) การรักษาชายแดนและการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองก่อให้เกิดการกีดกัน มุมมองดังกล่าวทำให้มองเห็นความผิดทางกฎหมายของผู้อพยพ ช่วยสร้างภาพและการก่อตัวที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อผู้อพยพผิดกฎหมายย้ายถิ่นซ้ำ ๆ ยิ่งมุมมองเหล่านี้กระตุ้นการถกเถียงในการต่อต้านผู้อพยพมากเท่าไหร่ การรวมกลุ่มผู้อพยพเพื่อหลีกเลี่ยงก็ยิ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วเท่านั้น ในที่สุดการรวมตัวของพวกเขาจะทุ่มเทกับบรรดาแรงงานใต้บังคับบัญชา ส่วนได้ส่วนเสียเป็นกระบวนการทางสังคมการเมือง (และกฎหมาย) ที่ใหญ่กว่าในการผนวกรวมภายใต้การกีดกัน เป็นความต่ำช้าของการผนวกรวม การตัดสินคดีผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นเหตุผลเพื่อความไม่เท่าเทียมของพลเมือง ความแตกต่างในการจัดจำแนกอาจจะเป็นการแบ่งเชื้อชาติ ผู้เขียนใช้แนวคิด the obscenity of power ของ Henri Lefebvre (1974/1991) พิจารณาความแตกต่างระหว่าง scene และ obscene มาใช้

อ่านต่อ...
image

Author

Raymond Taras

Imprint

-

Collection

Journal : Ethnic and racial studies. vol. 36, no. 3 (Mar. 2013), p.417-433 ISSN 0141-9870

Annotation

ความเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobia) เกี่ยวขvองสัมพันธzกับศาสนา ชาติพันธุz และอคติทางวัฒนธรรม ซึ่งแสดงความคับแคบทางความคิดในปจจุบัน คำนี้รวบศาสนาเขvากับชาติพันธุz และวัฒนธรรม กลายเปƒนคำพิพากษาทางศาสนา บ„อยครั้งวาทกรรมทางการเมืองไดvสรvางความแตกต่างและขยายวงไปยังลักษณะทางศาสนาและเชื้อชาติวัฒนธรรมของกลุ„มคนที่ไม„ใช„ยุโรป (non-European) ภายใตvกรอบสารัตถะนิยม (essentialist framing) ความเกลียดกลัวอิสลามกลายเปƒน
ความคลุมเครือทางชนชาติและการเหยียดผิวอย„างสุดโต„งดvวยอคติทางศาสนา เกี่ยวขvองทางดvานเชื้อชาติและศาสนา ไม„ต„างจากความคิดสมัครพรรคพวกและคู„ปฏิปกษz ขvอมูลที่ไดvสำรวจลักษณะพื้นฐานที่เลือกปฏิบัติต„อคนมุสลิม เชื้อชาติ กำเนิดทางชาติพันธุz ศาสนา และระบบความเชื่อถูกอvางถึงนvอยลงการเหยียดเชื้อชาติและลัทธิเหยียดผิวกลายเปƒนการตีตราต„อความเกลียดกลัวอิสลามมากขึ้น และนำไปสู„การจัดจำแนกใหvคนอิสลาม (Islamophobes) เปƒนเชื้อชาติทางการเมืองดvานลบ

อ่านต่อ...
image

Author

Anthony J. Conger, Judith A. Dygdom and David Rollock

Imprint

-

Collection

Journal : Ethnic and racial studies. vol. 35, no. 2 (Feb. 2012), p.298-319 ISSN 0141-9870

Annotation

การศึกษานี้ทำความเข้าใจทางจิตวิทยาผ่านรูปแบบการทดลองเชิงประจักษ์ (empirical work) ว่าด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ต่ออคติทางเชื้อชาติ (เชื้อชาติที่ไม่พึงประสงค์) ทำให้เกิดอารมณ์และพฤติกรรมที่เหยียดผิว (adverse race-elicited emotion) การปรับสภาพหลายรูปแบบ (multimodal classical conditioning approach) ระบุว่า ปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อสิ่งเร้าที่เป็นกลางนั้นสร้างขึ้นจากประสบการณ์ทั้งแบบปฏิปักษ์และเป็นกลาง เกี่ยวกับสิ่งเร้าโดยตรง เมื่อเกิดอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์จะหลีกเลี่ยงมากขึ้น ผู้คนที่ไม่มีประสบการณ์แบบเป็นปฏิปักษ์และเป็นกลางกับคนอื่นซึ่งต่างเชื้อชาติมีระดับของความกลัว ความวิตกกังวล และความโกรธ ท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างความต่างทางเชื้อชาตมีความถี่ที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยง/เข้าใกล้สถานการณ์ดังกล่าว  การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงมาจากความกลัวและความวิตกกังวล การใช้แนวทางวิเคราะห์นี้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอารมณ์ที่เกิดจากอคติทางเชื้อชาติ

อ่านต่อ...
image

Author

Etienne Balibar

Imprint

Cambridge ;Malden, MA : Polity, 2010

Collection

Books (7th floor)-GN495.6.E894 2010

Annotation

การเหยียดเชื้อชาติเป็นเรื่องสากลในฐานะความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์หลายมิติซึ่งปรับรูปแบบผ่านความทรงจำ ปัจจุบันการเหยียดเชื้อชาติเป็นความแตกต่างที่เกิดหลังลัทธิล่าอาณานิคมแทนที่วัฒนธรรมด้วยเผ่าพันธุ์ทางชีววิทยาและการจัดลำดับชั้น สัมพันธ์กับชาตินิยมและการต่อสู้ทางชนชั้น รัฐสมัยใหม่ มาจากความแตกต่างของพื้นเมืองและชาวต่างชาติ รัฐสมัยใหม่มีลักษณะเป็นสากลในทางทฤษฎี แต่เป็นการเหยียดเชื้อชาติในทางปฏิบัติ เมื่อใดก็ตามที่แต่ละคนจมดิ่งลงสู่ความไม่แยแสทางสังคมโดยการแบ่งชนชั้นกรรมาชีพ (social indifferentiation by proletarianization) จะเกิดวิกฤตการเหยียดเชื้อชาติ ในที่สุดถ้าการเหยียดเชื้อชาติมีลักษณะเป็นสากล นั่นเป็นเพราะสายพันธุ์ของมนุษย์มีความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ และระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ที่ต่ำกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างชาตินิยมและการเหยียดสีผิว (nationalism and racism) ต่างกำหนดซึ่งกันและกันระหว่างการเหยียดสีผิวทางชนชั้นและการเหยียดสีผิวทางชาติพันธุ์ (class racism and ethnic racism) การกำหนดทั้งสองนี้ไม่เป็นอิสระต่อกัน แต่ละเรื่องมีผลกระทบในตัวมันเอง
 

อ่านต่อ...
image

Author

Masoud Kamali

Imprint

London ; New York : Routledge, 2009

Collection

Books (7th floor) - HT1521.K36 2009

Annotation

มีภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในเชิงสถาบันในยุโรปที่ต่อต้านการอยู่ร่วมกันทางสังคมและความมั่นคง เป็นผลมาจากความขัดแย้งและความไม่ลงรอยกันระหว่างการประกาศคุณค่าสากล (เช่น สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย) และการกระทำที่เป็นสถาบันกีดกันและเลือกปฏิบัติต่อชาวยุโรปที่มีภูมิหลังอพยพและต่อต้านชนกลุ่มน้อย หนังสือเล่มนี้วิเคราะห์รูปแบบสถาบันและการเมืองของการเหยียดผิวเชื้อชาติ ในยุโรปปัจจุบัน จากโครงการวิจัยที่ดำเนินการภายใต้ผู้เขียนจาก 8 ประเทศในยุโรปเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ แสวงหาคำตอบสำหรับคำถามสำคัญจากพัฒนาการ ล่าสุดในแวดวงการเมืองและสาธารณะในยุโรปเกี่ยวกับการอพยพและการเพิ่มขึ้นของคนต่างชาติ ความรู้สึก ตลอดจนฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์ต่อนักสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ทุกคนที่สนใจเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในยุโรป และปัญหาพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และความพยายามก้าวไปสู่ประชาคมยุโรปแบบบูรณาการ

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ