banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / อคติทางวัฒนธรรม

อคติทางวัฒนธรรม

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564

ขอบเขตของเนื้อหา

            อคติ (Prejudice) คือทัศนคติที่เป็นผลมาจากความรู้ ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิดเห็นที่ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมต่อคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นำไปสู่การกระทำในเชิงการยอมรับ หรือไม่ยอมรับ การเลือกปฏิบัติ การตีตรา อคติที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือ อคติทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และสีผิว อคติทางเพศ อคติทางศาสนา/ความเชื่อ อคติทางการเมือง อคติทางวัย วยาคติ หรือการเหยียดอายุ อคติต่อผู้ป่วยไข้ อคติผ่านสื่อ เป็นต้น
            คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านอคติทางวัฒนธรรม subject guide ชุดนี้ รวบรวมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความในประเด็นข้างต้นที่มีให้บริการในห้องสมุดศูนย์ สรุปความ สรุปเนื้อหาเพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษา นักวิจัยได้ทราบว่าทรัพยากรแต่ละรายการมีเนื้องหาเกี่ยวกับอะไร ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกใช้ประโยชน์ต่อไป
 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Abdeslam Marfouk

Imprint

-

Collection

Journal : Ethnic and racial studies. vol. 42, no. 9-10 (Jul.-Aug. 2019), p. 1747-1765 -- 0141-9870

Annotation

การเหยียดเชื้อชาติและความเกลียดกลัวชาวต่างชาติทั่วยุโรปแสดงปรปักษ์ของชาวยุโรปต่อการอพยพของชาวมุสลิม ข้อมูลระดับปัจเจกจากการสำรวจ European Social Survey (ESS) immigration module ระหว่าง ปี ค.ศ.2014 ถึง 2015 ในยุโรปจำนวน 24 ประเทศ รวมถึงอิสราเอล แสดงว่า การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายโดนัลด์ ทรัมป์เรียกร้องการห้ามชาวมุสลิมเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเด็ดขาด แม้ว่าผู้สังเกตการณ์ชาวยุโรปจำนวนมากรู้สึกตกใจกับข้อเสนอนี้ การใช้ European Social Survey พบว่า มีสัดส่วนของชาวยุโรปสนับสนุนการห้ามที่เหมือนกันในประเทศของตนเอง การเหยียดเชื้อชาติ (racism) และความกลัวการอพยพ (immigration phobia) มีบทบาทสำคัญในการก่อรูปการสนับสนุนของชาวยุโรปต่อการห้ามการอพยพของชาวมุสลิมเป็นหนทางเดียวที่จะหยุด“อิสลามานุวัฒน์ ในประเทศของเขา” ได้ หลักฐานที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่า วาทกรรมนี้มีการสะท้อนกลับอย่างมากในความคิดเห็นของชาวยุโรป

อ่านต่อ...
image

Author

Stefanie Doebler, Ruth McAreavey and Sally Shortall

Imprint

-

Collection

Journal : Ethnic and racial studies. vol. 41, no. 14-15 (Nov.-Dec. 2018), p.2426-2444 ISSN0141-9870

Annotation

การปฏิเสธ (negativity) ต่อกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยเป็นปัญหาร้ายแรงในไอร์แลนด์เหนือ การปฏิเสธชาวมุสลิม ชาวยุโรปตะวันออก และคนอพยพในไอร์แลนด์เหนือ ข้อมูลจาก Northern Ireland Life and Times Survey และ the British Social Attitudes Survey แสดงว่า การปฏิเสธต่อต้านผู้อพยพในไอร์แลนด์เหนือไม่ได้แพร่หลายมากกว่าพื้นที่อื่นในสหราชอาณาจักร การปฏิเสธต่อชาวมุสลิมและยุโรปตะวันออกมีสูงกว่าในอังกฤษ และเพิ่มจำนวนมากขึ้น การวิเคราะห์พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการปฏิเสธการต่อต้านผู้อพยพ (anti-immigrant negativity) ลัทธินิกายแบ่งแยก (sectarianism) และรับรู้ถึงการแบ่งแยกพื้นที่ใกล้เคียง (neighbourhood segregation) การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher education) การติดต่อกับสมาชิกชนกลุ่มน้อย (contacts with minority members) และการเรียนแบบผสมผสานกับศาสนา (religiously mixed schooling) ต่างมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการปฏิเสธต่อผู้อพยพทั้งสิ้น

อ่านต่อ...
image

Author

Magnus Carlsson and Stefan Eriksson

Imprint

-

Collection

Journal : Ethnic and racial studies. vol. 40, no. 10 (Aug. 2017), p. 1739-1757 -- 0141-9870

Annotation

บทความนี้เป็นการสำรวจข้อมูลทัศนคติของสวีเดนต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่บางครั้งถูกเลือกปฏิบัติ (ethnic discrimination) ข้อมูลแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทัศนคติและการเลือกปฏิบัติ จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในตลาดที่อยู่อาศัยของชาวสวีเดน (Swedish housing market) ช่วงปี ค.ศ.2010 - 2011 ด้วยการส่งอีเมล์ถามถึงประเด็นในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องถึงเจ้าของบ้านจำนวน 5,825 หลัง และทวนผลซ้ำในกลุ่มตัวอย่าง 58,832 คนทั่วเมือง 290 แห่ง พบหลักฐานชัดเจนถึงความเชื่อมโยงระหว่างทัศนคติกับกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยและขอบเขตของการเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์ในภูมิภาคซึ่งพบว่า ยิ่งมีทัศนคติเชิงลบ ก็ยิ่งมีการเลือกปฏิบัติมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามกับการศึกษาส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ทัศนคติที่รายงานอาจเป็นตัวทำนายที่มีประโยชน์ในการเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์ได้อย่างดี

อ่านต่อ...
image

Author

Michal Buchowski

Imprint

-

Collection

Journal : American anthropologist. vol. 119, no. 3 (Sep. 2017), p. 519-523 ISSN 0002- 7294

Annotation

ต้นปี ค.ศ. 2017 เกิดโศกนาฎกรรมทำลายร้านค้าชาวเคิร์ดและอินเดียซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก ISIS และอิสลาม ในเมือง Elk และเมือง Lubin รวมถึงกรุงวอร์ซอร์ของโปแลนด์ จนลุกลามไปทั่วประเทศ ได้สะท้อนปัญหาในยุโรป เป็นรูปแบบของความรุนแรงที่มาจากความเชื่อทัศนคติที่มีต่อผู้คนที่มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างว่าเป็นพวกอิสลามหรือมุสลิม กลายเป็นการปะทะใช้ความรุนแรงและกีดกัน ทัศนคติ “คนต่างทางวัฒนธรรม” โดยเฉพาะผู้อพยพจากตะวันออกกลาง ซีเรีย และแอฟริกันเหนือ เกิดคดีอาชญากรรมต่อชาวต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะต่อชาวมุสลิมอพยพ ความกลัวนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 จาก anti-Semitism ที่ไม่ใช่ชาวยิวกลายเป็น “ปีศาจของความเกลียดกลัวอิสลาม” (phantom Islamophobia) ต่อต้านชาวมุสลิม ผ่านสื่อและเครือข่ายสังคมออนไลน์ งานของนักมานุษยวิทยาและสมาคมวิชาชีพพยายามแสดงบทบาทต่อสาธารณะออกแถลงการณ์ต่อต้านการเลือกปฏิบัติของนักมานุษยวิทยาและนักชาติพันธุ์วิทยา (Anti-Discrimination Manifesto pf Anthropologists and Ethnologists) เพื่อหยุดการเกลียดกลัวชาวต่างชาติและการเหยียดสีผิว
 

อ่านต่อ...
image

Author

N. William Singh, Bianca Son Suantak

Imprint

Singapore : ISEAS-Yusof Ishak Institute, 2016

Collection

Books (7th floor)-DS528.5 .M936 2016

Annotation

ในรัฐมิโซรัมของอินเดีย รายการโทรทัศน์ Lamtluang (Mizo Lyric Blog 2014) รายงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมวิถีชีวิตสถาบันศาสนา ระบบขนส่ง และแง่มุมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันในต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 2013 นักข่าวเดินทางไปยังรัฐชินของเมียนมาร์ สัมภาษณ์ผู้เฒ่าชินเรื่องความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ที่ใกล้ชิดระหว่างชาวชิน (Chin) และมิโซ (Mizo) ผู้เฒ่ายืนยันว่าแม้ว่ารัฐชินเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอื่น แต่พวกเขาก็ไม่ได้แตกต่างจากมิโซ ชินและมิโซมีวัฒนธรรมและภาษาร่วมกัน พรมแดนจะถูกแยกออกมาในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคม ผู้คนมักจะคิดว่าตัวเอง “แบ่งแยกอย่างผิด ๆ; พวกเขาเป็นพี่น้องกัน” นี่ไม่ใช่แนวคิดใหม่ ข้อโต้แย้งมากมายเกี่ยวกับชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และการแบ่งระหว่างชินและมิโซถูกกำหนดอย่างไม่ถูกต้อง ชินและมิโซส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่รายการโทรทัศน์เน้นย้ำว่าชินมาจากประเทศที่ต่างออกไป ชาวชินไม่ยอมรับและเห็นว่า พี่น้องมิโซที่ปฏิบัติต่อชาวชินส่วนใหญ่จะเลวร้ายเพียงใดเมื่อพวกเขาข้ามพรมแดนจากเมียนมาร์เพื่อหนีความยากจนเพื่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในรัฐมิโซรัม

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ