banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มานิ

ชาติพันธุ์ / มานิ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ คนในเรียกตัวเองว่า มานิ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ปัจจุบันเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลา พัทลุง และยะลา และประเทศเพื่อนบ้านชายแดนภาคใต้ของไทยจากมาเลเซียถึงอินโดนีเซีย ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง คำค้น มานิ , โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า, Mani , Orang Asli, Nigro-itos, Semang, Sakai , Chong, Mos, Tonga, Ngo, Ngo-pa, Senoi (Southeast Asian people) , Orang Asal (Malaysian people)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

โครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2543

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

รายงานขั้นสรุปของโครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย  เป็นรายงานเล่มที่ 2 เนื้อหาเป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการขุดค้นที่ถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ และถ้ำซาไก จังหวัดตรัง ปีพ.ศ. 2534 และผลการวิเคราะห์ข้อมูลชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดีของชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไกที่จังหวัดตรัง โดยข้อมูลการสรุปได้แบ่งออกเป็น 4 บทตามลักษณะประเภทของข้อมูลที่ได้จากผลการวิเคราะห์ ซึ่งได้แก่ บทที่ 1 สภาพธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์และผลการขุดค้นทางโบราณคดี ถ้ำหมอเขียว และถ้ำซาไก บทที่ 2 ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำหมอเขียว และถ้ำซาไก ประจำปี 2534 บทที่ 3 ผลการวิเคราะห์และตีความข้อความทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นถ้ำหมอเขียว และถ้ำซาไกประจำปี 2534 และบทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี
 

อ่านต่อ...
image

Author

วีรวัฒน์ สุขวราห์.

Imprint

กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล,2539.

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

ศึกษาพฤติกรรมของประชากรซาไกที่บ้านซาไก หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ในการดูแลสุขภาพตามความรู้ดั้งเดิมและการบำบัดรักษาด้วยวิธีการรักษาแผนใหม่ รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของชาวซาไก ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งสภาพภูมิศาสตร์ สภาพสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรม รวมถึงได้รับอิทธิพลจากกลุ่มสังคมภายนอก เมื่อรูปแบบวิถีชีวิตในสังคมเร่ร่อนหาอาหารเพื่อยังชีพแบบดั้งเดิมของซาไกเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพแต่เดิมที่มักเชื่อในอำนาจการกระทำของผี ส่งผลต่อวิธีการรักษา เช่น การใช้เวทมนตร์คาถาเสกหมากพลู หรือที่เรียกว่าทำ "ซาโฮส"  แต่เมื่อเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลง ซาไกได้รับการจัดสรรที่ดินจากทางการให้เข้ามาตั้งหลักแหล่งถาวร มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการยังชีพด้วยการรับจ้างและถางป่าแลกเปลี่ยนเงิน เมื่อซาไกได้รับอิทธิพลทางสังคมวัฒนธรรมและรูปแบบวิถีชีวิตจากชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิม ก็เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เพื่อให้เกิดการยอมรับจากกลุ่มสังคมในชุมชนใกล้เคียง รู้จักใช้ยาแผนปัจจุบันควบคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีการดั้งเดิมเมื่อเจ็บป่วย

อ่านต่อ...
image

Author

เสาวณีย์ พากเพียร

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532

Annotation

ชาวซาไกซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในป่าทางภาคใต้ของประเทศไทยนั้นมีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน โดยภาษาซาไกจัดอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatics) ซึ่งเป็นตระกูลภาษาใหญ่ตระกูลหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ แต่กลับมีผู้ศึกษาภาษาซาไกในประเทศไทยเพียงคนเดียวเท่านั้น คือ รศ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์ ซึ่งได้จำแนกภาษาซาไกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ภาษาซาไกกันซิว ซาไกแต็นแอ๊น ซาไกแตะเด๊ะ และซาไกยะฮาย สำหรับภาษาซาไกแต็นแอ๊นนั้นมีซาไกที่พูดได้อาศัยอยู่แถบจังหวัดสตูล ตรัง พัทลุงโดยมีจำนวนแค่ 100 คนเท่านั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาภาษาซาไกแต็นแอ๊นที่ชาวซาไกอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรังใช้พูดกันในปี พ.ศ 2531 - 2532 ตั้งแต่ระบบหน่วยเสียง พยางค์ คำ การเน้นเสียง ทำนองเสียง โดยมีผู้ให้ข้อมูลบอกภาษา (informant) เป็นชาวซาไกแต็นแอ๊นจากบ้านเจ้าพะ หมู่ที่ 4 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน 4 คน

อ่านต่อ...
image

Author

Roy Davis Linville Jumper

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

: Knoxville. Ann Arbor : The University of Tennessee, 1996

Annotation

วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกทางด้านรัฐศาสตร์ เป็นผลการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ทางตะวันตกของมาเลเซีย การศึกษาผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ก่อนอาณานิคม ยุคอาณานิคม และหลังอาณานิคม แสดงให้เห็นว่า กลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี มีพัฒนาการของอัตลักษณ์ร่วมของความเป็นโอรัง อัสลี      (a common pan-Orang Asli identity) และจิตสำนึกทางการเมือง (political consciousness)  ชาวโอรัง อัสลีกลุ่มชนที่มีถิ่นที่อยู่กระจัดกระจายจึงไม่เป็นไปตามแรงผลักทางการเมือง ด้วยเหตุปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ ที่ดิน และศาสนาอิสลาม เป็นตัวบ่งชี้สำคัญอย่างยิ่งต่อแรงขับเคลื่อนสำคัญเบื้องหลังการรวมตัวทางการเมือง ดังนั้นชาวโอรัง อัสลีจึงเป็นกังวลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและอิสรภาพทางศาสนา ผลการศึกษาพวกเขาสามารถต่อรองในการดำรงอยู่กับรัฐมาเลเซียและผู้ปกครองในยุคก่อนอาณานิคม ลักษณะของความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เป็นที่มมาของสมมติฐานของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า โอรัง อัสลีเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองในมาเลเซีย

อ่านต่อ...
image

Author

Roy Davis Linville Jumper

Imprint

Knoxville. Ann Arbor : The University of Tennessee, 1996

Collection

SAC Library-Books- Research- DS595.R32 2006

Annotation

วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกทางด้านรัฐศาสตร์ เป็นผลการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ทางตะวันตกของมาเลเซีย การศึกษาผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ก่อนอาณานิคม ยุคอาณานิคม และหลังอาณานิคม แสดงให้เห็นว่า กลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลี มีพัฒนาการของอัตลักษณ์ร่วมของความเป็นโอรัง อัสลี      (a common pan-Orang Asli identity) และจิตสำนึกทางการเมือง (political consciousness)  ชาวโอรัง อัสลีกลุ่มชนที่มีถิ่นที่อยู่กระจัดกระจายจึงไม่เป็นไปตามแรงผลักทางการเมือง ด้วยเหตุปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ ที่ดิน และศาสนาอิสลาม เป็นตัวบ่งชี้สำคัญอย่างยิ่งต่อแรงขับเคลื่อนสำคัญเบื้องหลังการรวมตัวทางการเมือง ดังนั้นชาวโอรัง อัสลีจึงเป็นกังวลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและอิสรภาพทางศาสนา ผลการศึกษาพวกเขาสามารถต่อรองในการดำรงอยู่กับรัฐมาเลเซียและผู้ปกครองในยุคก่อนอาณานิคม ลักษณะของความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เป็นที่มมาของสมมติฐานของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า โอรัง อัสลีเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองในมาเลเซีย ทั่วทุกหนแห่ง ดังนั้นชาวโอรัง อัสลีจึงเป็นกังวลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและอิสรภาพทางศาสนา ผ่านระยะเวลาที่พวกเขาสามารถต่อรองในการดำรงอยู่กับรัฐมาเลเซียและผู้ปกครองในยุคก่อนอาณานิคม ลักษณะของความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ของพวกเขาแสดงในสมมติฐานของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า โอรัง อัสลีเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองในมาเลเซีย

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ