banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / นามธารี

ชาติพันธุ์ / นามธารี

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

         ชาวนามธารีเป็นคำเรียกของชาวซิกข์กลุ่มหนึ่งนับถือนิกายนามธารีอันเป็นนิกายหนึ่งใน 10 กว่านิกายของศาสนาซิกข์ โดยคำว่า “นามธารี” แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) 
         ส่วนใหญ่ชาวนามธารีที่อพยพเข้ามาในไทยจะประกอบอาชีพกลุ่มพ่อค้าตั้งถิ่นฐานกระจายในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลําปาง เชียงราย ศาสถานของชาวนามธารีมี 2 แห่ง คือ บริเวณสี่แยกอโศก สุขุมวิท กรุงเทพฯ และบริเวณถนนช้างม่อยใกล้กับตลาดวโรรส ในจังหวัดเชียงใหม่
ชาวนามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “คุรุ” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
        คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย  รวมทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์นามธารีอันนำไปสู่แนวปฏิบัติของชาวนามธารี


อ้างอิงจาก 
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/78

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์นามธารี ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database),เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สมจินตนา รัตรสาร

Imprint

ราชบุรี : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537

Collection

Books (7th floor) GN495.4.น64ส42

Annotation

หนังสือเล่มนี้เป็นบทความที่นำเสนอในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “วัฒนธรรมเมือง : ชุมชนเมืองและการเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” ในปีพ.ศ. 2537 ซึ่งผู้เขียนได้เริ่มศึกษาวัฒนธรรมของชาวนัมดารี หรือ นามธารี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 เนื้อหาในบทความบรรยายถึงเอกลักษณ์และภูมิหลังของชาวนัมดารีตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งนิกายในยุคอาณานิคมอังกฤษ ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและวิถีปฏิบัติด้านศาสนาของชาวนัมดารีที่มีความแตกต่างจากชาวฮินดูและชาวซิกส์ ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2537)  

อ่านต่อ...
image

Author

สมจินตนา รัตรสาร

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2537

Collection

Books (7th floor) (Book chapter) HM101.ศ73

Annotation

“นัมดารี: กลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพฯ” เป็นเอกสารประกอบการบรรยายในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “วัฒนธรรมเมือง : ชุมชนเมืองและการเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” ซึ่งกล่าวถึงที่มาของการศึกษาเรื่องชาวนัมดารีในกรุงเทพฯ ทั้งในแง่ภูมิหลังทางสังคมวัฒนธรรม ข้อมูลประชากร สถาบันครอบครัว และการดำเนินชีวิตที่มีความแตกต่างจากชนส่วนใหญ่ในสังคม หรือแม้กระทั่งในกลุ่มชาวนัมดารีด้วยกันเองก็มีการปฏิบัติตนที่มีความแตกต่างหลากหลาย โดยอาจมีสาเหตุมาจากจิตวิทยาส่วนตัวของบุคคล การศึกษา การอบรมเลี้ยงดูและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม เป็นต้น 

อ่านต่อ...
image

Author

Fenech, Louis E

Imprint

New Delhi ; New York : Oxford University Press, 2004

Collection

Books (7th floor) (Book chapter) BL2001.3.I53 2004

Annotation

ปลายศตวรรษที่ 15 ถึงต้นศตวรรษที่ 16 ถือเป็นช่วงเวลาที่มีการกดขี่ข่มเหงชาวซิกข์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง คุรุนานัก พระศาสดาองค์แรกของศาสนาซิกข์ พยายามที่จะแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมและมีอิสรภาพ ท่านและผู้ติดตามได้อุทิศตนอย่างมากเพื่อพิสูจน์และเผยแพร่แนวคิดนี้สู่สังคมในขณะนั้น จนเรียกได้ว่าเป็นผู้อุทิศชีวิตเพื่อศาสนาซิกข์ ประเพณีการอุทิศชีวิตเพื่อศาสนานี้ได้รับการสืบทอดไปยังคุรุศาสดาและผู้ติดตามในยุคต่อๆ ไป โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เกิดสงครามเพื่อทำลายศาสนาซิกข์หลายต่อหลายครั้ง คุรุศาสดาทุกองค์ล้วนเป็นกำลังสำคัญหลักในการต่อสู้และสละชีพเพื่อปกป้องศาสนา 

อ่านต่อ...
image

Author

Retired Justice Choor Singh of the Supreme Court of Singapore

Imprint

Durham : Duke University Press, 2001

Collection

Books (7th floor) BL2018.S56 2001

Annotation

เอกสารเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนขยายบทความชื่อ “Who is a Sikh” ของผู้เขียน เนื่องจากบทความเดิมมีเนื้อหาค่อนข้างกระชับและมีศัพท์เฉพาะที่ยากต่อความเข้าใจสำหรับผู้อ่านที่ไม่ใช่ชาวซิกข์ เนื้อหาภายในเอกสารนี้ประกอบด้วยประวัติความเป็นมาของศาสนาซิกข์ตั้งแต่ครั้งเริ่มก่อตั้งศาสนาโดยคุรุนานักเดว รวมทั้งเรื่องประวัติศาสตร์และการปกครองรัฐของชาวซิกข์ในประเทศอินเดีย จนกระทั่งเกิดสงครามระหว่างจักรวรรดิซิกข์กับราชอาณาจักรอังกฤษ ในปีค.ศ.1845 ในส่วนของพระคัมภีร์ที่เป็นหลักของศาสนานั้น ชาวซิกข์ยึดถือในพระคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ (Guru Granth Sahib) ซึ่งประกอบไปด้วยหลักคำสอนที่เขียนโดยคุรุศาสดาทั้ง 10 องค์ ในท้ายเล่มผู้เขียนได้อธิบายข้อแตกต่างระหว่างศาสนาซิกข์และศาสนาฮินดูไว้ เนื่องจากมักมีความสับสนระหว่างสองศาสนานี้อยู่เป็นประจำ 

อ่านต่อ...
image

Author

Brian Keith Axel

Imprint

Durham : Duke University Press, 2001

Collection

Books (7th floor) DS432.S5A94 2001

Annotation

ประเด็นเรื่องชาวซิกข์พลัดถิ่นในหนังสือเล่มนี้ ถูกยกขึ้นมาวิเคระห์ถึงปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้ชาวซิกข์ต้องเกิดการพลัดถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานะพลเมืองของรัฐ ลัทธิอาณานิคม หรือแนวคิดหลังอาณานิคม ผู้เขียนชี้ให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนในการศึกษาเรื่องนี้ในมิติมานุษยวิทยาประวัติศาสตร์ โดยการมุ่งประเด็นศึกษาไปในช่วงปีค.ศ.1849 และ ค.ศ.1998 ที่ปรากฎเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นที่เมืองขาลิสถาน รัฐปกครองตนเองของชาวซิกข์ นอกจากนั้นผู้เขียนยังได้วิเคราะห์เหตุการณ์กองกำลังความมั่นคงอินเดียทำร้ายและทรมานร่างของชาวซิกข์ในปีค.ศ.1983 จนมีภาพความรุนแรงเผยแพร่สู่อินเทอร์เน็ตเมื่อปีค.ศ.1996  

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ