banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทลื้อ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

นิรัญญา กาติ๊บ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อผ้าทอไทลื้อของหมู่บ้านทุ่งมอก ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 2) ศึกษาการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคผ้าทอไทลื้อของหมู่บ้านทุ่งมอก ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภค จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดผ้าทอไทลื้อบ้านทุ่งมอก จำนวน 15 คน โดยจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อยและวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นที่กำหนด ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อ ประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อไปใช้เอง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อมีเอกลักษณ์ ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อเนื่องจากเพื่อนแนะนำ เลือกซื้อตามโอกาสที่เหมาะสม ซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อจากแหล่งผลิต (บ้านทุ่งมอก) เนื่องจากความพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์
 

อ่านต่อ...
image

Author

พาสนา ธรรมเลอศักดิ์

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะหมู่บ้านไทลื้อ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาวไทลื้อแบบดั้งเดิม ที่สะท้อนออกมาเป็นรูปแบบชุมชนทางกายภาพ การวางผังหมู่บ้าน องค์ประกอบของหมู่บ้าน และสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้าน รูปแบบของเรือนไทลื้อ โดยเน้นลักษณะพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านพื้นถิ่นไทลื้อ และองค์ประกอบภายในเรือน ความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอยกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามแบบแผนของการดำเนินชีวิต
(วิถีชีวิต) แบบไทลื้อ ศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน ลักษณะและขนาดพื้นที่ภายใน เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบและปรับปรุงที่พัก สัมผัสวัฒนธรรมชนบท หมู่บ้านไทลื้อบ้านดอนมูล เพื่อให้นักท่องเที่ยวโฮมสเตย์ได้เข้าใจ และสัมผัสวัฒนธรรมชนบทอย่างแท้จริง จากผลการวิจัยพบว่าลักษณะเรือนพื้นถิ่นไทลื้อแบบดั้งเดิม ได้ถูกประยุกต์และผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ทำให้เรือนไทลื้อที่ภาคเหนือของประเทศไทยก็มีการผสมผสานแบบไทลื้อเข้ากับเรือนแบบล้านนา และสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในเรื่องของความต้องการด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอยกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับวิถีชีวิตชนบท และสร้างสรรค์กิจกรรมที่ต้องทำร่วมกันระหว่างเจ้าบ้านกับนักท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ

 

อ่านต่อ...
image

Author

เอื้อมพร จรนามล

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อ โดยศึกษารูปแบบ ส่วนประกอบ หน้าที่ กระบวนการสร้างคำ และโลกทัศน์ของชาวไทลื้อจากคำสี่พยางค์ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารภาษาไทลื้อ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาไทลื้อที่อาศัยอยู่ในสิบสองปันนา ประเทศจีน โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ช่วงสมัย คือ ช่วงที่ 1 .. 2400 - .. 2500 ช่วงที่ 2 .. 2501 - .. 2530 และช่วงที่ 3 .. 2531 - .. 2551 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ ABCD ABCB ABAC และ AABB ด้านส่วนประกอบของคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อมีทั้งหมด 3 ปะเภท ได้แก่ คำสี่พยางค์ที่มีส่วนประกอบไม่ใช่คำมูลทุกคำ และคำสี่พยางค์ที่ไม่มีส่วนประกอบเป็นคำมูล คำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อสามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยในประโยคได้ คือ หน่วยอกรรม หน่วยกรรมตรง หน่วยสกรรม หน่วยขยายกริยา หน่วยขยายกรรม หน่วยประธาน หน่วยขยายประธาน หน่วยเสริม และหน่วยนามเดี่ยว อนึ่งคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อเกิดจากกระบวนการ 4 กระบวนการ คือ กระบวนการซ้อน กระบวนการประสม กระบวนการเสริมซ้อน และกระบวนการซ้ำ ด้านโลกทัศน์ของคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อ พบว่าคำสี่พยางค์สะท้อนโลกทัศน์ 3 ประการ โลกทัศน์ประการแรกคือ โลกทัศน์เรื่องการปกครองและการแบ่งชนชั้น โลกทัศน์ประการที่สองคือ โลกทัศน์เรื่องศาสนาและความเชื่อ และโลกทัศน์ประการสุดท้ายคือ โลกทัศน์เรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ

 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552]

Collection

Audio Visual Materials CDF 000547

Annotation

รายการ “พันแสงรุ้ง” ตอน “อัตลักษณ์ไทลื้อ” กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตนเอง เช่น
การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรมและประเพณี เป็นต้น โดยได้ลงพื้นที่จริงและสัมภาษณ์ข้อมูลโดยตรงจากชาวไทลื้อ
และนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้แก่คนรุ่นหลังต่อไป

 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552]

Collection

Audio Visual Materials CDF 000600

Annotation

รายการ “พันแสงรุ้ง” ตอน “ผ้าทอไทลื้อเชียงของ” กล่าวถึงผ้าทอไทลื้อ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญและโดดเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกายหาซื้อได้ง่ายจึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ผ้าทอไทลื้อยังคงมีความสำคัญอย่างไรกับคนไทลื้อ และสถานภาพปัจจุบันของผ้าทอไทลื้อเป็นอย่างไรบ้าง โดยทีมงานพันแสงรุ้ง ได้เดินทางไปยัง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เพื่อดูสถานการณ์ของผ้าทอไทลื้อและหาคำตอบของคำถามเหล่านั้น
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ